บิ๊กเซอร์ไพรส์!บินไทยซุ่มนำเข้า3 EVPฝรั่งชุดแรก23-25ส.ค.
“คสช.”พร้อมขุดรากถอนโคนปฎิรูปสายการบินแห่งชาติหรือไม่?
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน
ติดตามได้วิเคราะห์เจาะลึกข่าวการบินได้ทางโซเชียล www.facebook.com/penroong,
www.googleplus.com/penroong และ www.gurutourza.blogspot.com
มหากาพย์ “การบินไทย-สายการบินแห่งชาติ”
ในวัย 55 ปี ซึ่งเป็นยุค “กลายพันธุ์ธุรกิจ” เปลี่ยนผ่านการค้าแบบ
360 องศา โดยเฉพาะ “การทุ่มทุนจ้าง-มือปืนรับจ้างนอกองค์กร”
เข้ามานั่งตำแหน่งต่างๆ ทั้งตำแหน่ง “กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
(DD)” และภายในเร็ววันนี้ยังเตรียมขยายวงจ้าง “คนนอก-ต่างชาติ”
มาสอบสัมภาษณ์ตำแหน่ง “รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ Execlutive
Vice Prestident : EVP” ซึ่งครั้งนี้ส่งสัญญาณการคิดนอกกรอบไกลสุด ๆ
พร้อมควักเงินจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดนำเข้าชาวต่างชาติเข้ามานั่งสอบสัมภาษณ์
เตรียมคัดสรรเสนอชื่อรายชื่อคนที่โดนใจให้บอร์ดรับทราบในการประชุมวันที่ 26
สิงหาคม 2558 นี้
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 55 ปี
กรณีการสรรหาคนนอกจากต่างชาติเข้ามาเป็นลูกจ้างประจำ
และการคัดเลือกครั้งนี้จะใช้กลยุทธ์ “เสนอรายชื่อคนไทยและ/หรือคนในเข้าร่วมเป็นไม้ประดับ”
การสัมภาษณ์ด้วยหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป
จากเอกสารลงวันที่
14 สิงหาคม 2558 ส่งถึง DN-รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการพาณิชย์
การบินไทย”
เรื่อง การออกบัตรโดยสาร สำรองห้องพัก
และ พาหนะรับ-ส่ง ผู้เข้าร่วมการพิจารณาสรรหา
(การบินไทยรับผิดชอบด้วยการออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้แก่ชาวต่างชาติทั้ง 3 คน
เดินทางมาสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาให้เป็น EVP การบินไทย ชุดใหม่เริ่มปีงบประมาณ 2559
เป็นต้นไป โดยวงเล็บใน IOC เอกสารดังกล่าวว่า
ค่าใช้จ่ายค่าบัตรโดยสารจะระบุลงในบัญชีฝ่ายบริหาร Account No.502950312
)
พร้อมกับระบุรายละเอียด -
ตามที่คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ในการประชุมครั้งที่ 8/2558
มีมติเห็นควรเชิญ “ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับการพิจารณาสัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่”
ในวันและเวลา ดังนี้
1.MR. MICHAEL JOHN BURKE ชาวสหราชอาณาจักร (UK) กำหนดเดินทางด้วยเที่ยวบิน TG 601 วันที่ 24 สิงหาคม 2558 และ TG 600 วันที่ 25 สิงหาคม 2558
2.MR.BRYAN EMEST BANSTAON ชาวออสเตรเลีย เดินทางด้วยเที่ยวบิน TG
476 วันที่ 23 สิงหาคม 2558, TG 475วันที่ 25 สิงหาคม 2558
3.MR.AARON MILES CLAXTON ชาวสหราชอาณาจักร (UK) รอการยืนยันการเดินทางด้วยเที่ยวบิน TG…
“3ชาวต่างชาติ” ที่ถูกเสนอชื่อให้ผ่านการคัดเลือกด้วยวิธี
HUNT และได้รับความไว้วางใจให้บินลัดฟ้าข้ามทวีปทยอยเดินทางถึงเมืองไทยตั้งแต่วันอาทิตย์ที่
23 -25 สิงหาคม 2558 นั้น
น่าสนใจอย่างยิ่งว่า บริษัท การบินไทย
จำกัด (มหาชน) ภายใต้การนำของ “จรัมพร โชติกเสถียร” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
(DD) และ คณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทย
ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ภายในกำลังลุกโชนจากการถูกตั้งคำถามมากมายทั้งกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย
สาธารณชนคนไทย และ แวดวงการบินนานาชาติด้วยกัน ถึงการประกาศผลการดำเนินงาน “ครึ่งปีแรก
2558” ซึ่งใช้วิธีนำผลประกอบการมารวมกัน 2 ไตรมาส
เพื่อสะท้อน “ผลขาดทุนก่อนภาษีให้เหลือน้อยที่สุดเพียง 10,274
ล้านบาท” แทนที่เดิมถูกนำตัวเลขขาดทุนเฉพาะไตรมาสสองเพียงอย่างเดียวกว่า
20,000
ล้านบาทหรือไม่
สะท้อนจากตัวเลข “รายรับ”
ไตรมาส 1 ปีนี้การบินไทยมีรายได้ 61,302 ล้าน
โดยรวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ด้วย 9,652 ล้านบาท
และไตรมาส 2 มีรายได้ 99,521
ล้านบาท
ซึ่งรวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ด้วย 5,974 ล้านบาท ดังนั้น “ตัวเลขกำไรที่มาจากการทำธุรกิจ”
น่าจะต่ำกว่านี้หรือไม่? และ
"ผลการขาดทุนน่าจะสูงกว่านี้หรือไม่ ?"
รวมถึงมีบทวิเคราะห์โต้แย้งฝ่ายบริหารมาจากคนภายในองค์กร
“การบินไทย” ส่งกันว่อนทุกวัน
กรณีตัวเลข “รายจ่ายรวม ปี 2558” สูงถึง
109,795
ล้าน เปรียบเทียบแล้วมีนัยสำคัญแตกต่างจากปี 2557 อยู่ 4 เรื่อง ได้แก่
1.ค่าเชื้อเพลิง 29,413
ล้านบาท 2.ขาดทุนจากการด้อยค่าเครื่องบิน (การขายเครื่องบิน 13 ลำ
ที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี) 12,116
ล้านบาท 3.ผลตอบแทนพนักงาน โครงการ MSP
3,721
ล้านบาท 4.เหลือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 64,545 ล้านบาท
แตกต่างจาก “รายจ่ายรวมปี
2557” ทั้ง 2 ไตรมาสมีประมาณ 105,692
ล้าน ได้แก่ 1.ค่าเชื้อเพลิง 39,459
ล้าน(แพงกว่า ปี 58 ประมาณ 10,000
ล้านบาท)
2.การขาดทุนจากการด้อยค่าเครื่องบิน 1,162 ล้าน
3.เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นเดียวกันกับปี 58 จำนวน 65,071
ล้านบาท
ตัวเลข “ค่าใช้จ่ายระหว่างปี
2558” เปรียบเทียบกับปี “ค่าใช้จ่ายระหว่างปี
2557” คือข้อสงสัยและถกเถียง ที่ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ
จากฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกรณีดังกล่าว ยังคงปล่อยให้สังคมสงสัยต่อไป
ในทางกลับกันผู้ที่ตั้งคำถามซึ่งเป็นคนในองค์กร
ก็มุ่งหวังเพียงเพื่อการตั้งประเด็นกระตุกการทำงานของฝ่ายบริหารการบินไทยยุคปัจจุบัน
ถึงวิธีการทำธุรกิจควรมีศักยภาพความสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนหรือไม่
?
เพราะถึงอย่างไรการบินไทยยังมีสถานะเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ที่คนไทยทั้งประเทศอีกกว่า
70 ล้านคน ควรจะได้รับรู้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมเหมือนกัน จากองค์กรต้นแบบการกำกับดูแลกิจการอย่างมีธรรมาภิบาลหรือ
Corporate Governance ของประเทศ
ประการสำคัญที่สุดสถานการณ์ ณ ขณะนี้ ภายใต้การนำ “คสช.” และรัฐบาล “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ซึ่งประกาศทำหน้าที่ “นำประเทศเข้าสู่การปฏิรูปในเส้นทางที่ถูกต้อง” ควรอย่างยิ่งที่จะต้องกำกับดูแล
“สายการบินแห่งชาติของไทย” อย่างใกล้ชิดเข้มข้นส่งเสริมปฏิรูปอุตสาหกรรมการบินของชาติก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกทิศทางมีธรรมาภิบาลยิ่ง
ๆ ขึ้นต่อไป
เพราะ “เหตุปัจจัย”
อันเป็นจุดเริ่มต้นของ “ปัญหาและโอกาส” สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งคือ
การคัดสรรบุคลากรทุกระดับอย่างมี “คุณค่า-คุณภาพ-จงรักภักดีต่อแบรนด์”
เข้าสู่องค์กร ตามสูตรที่ยังคงใช้ได้มาจนถึงทุกวันนี้ “เลือกคนให้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน
: Put the right man in the right job”
วันและเวลานี้ “การบินไทย” จะ “เพิ่มรายจ่ายลดรายได้” และ/หรือ จะ “เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย” ควรแม่นยำทุกเสาหลักปฏิบัติการพัฒนาธุรกิจ
เพราะไม่เช่นนั้นต่อให้ทุ่มจ้าง “คนเก่ง-อัจฉริยะ” มีชื่อเสียงเพียงใดเข้ามานั่งแถวหน้า
ก็ไม่สามารถสร้างความแตกต่างได้
เนื่องจากกำลังรอ “ปฏิรูป-แบบขุดรากถอนโคน” ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จาก “กระทรวงคมนาคม” เรื่อยไปจนถึงการแต่งตั้ง “บอร์ดการบินไทย” การคัดสรร “DD” และการพิจารณาตำแหน่ง “ฝ่ายบริหารทุกระดับ” ควรที่จะต้อง ละ-ลด-เลิก ระบบอุปถัมภ์ ทำให้ “มืออาชีพทางด้านปฏิบัติการในองค์กรมีที่ยืน” และมี “โอกาสเติบโตตามตำแหน่ง” อย่างถูกต้องตามครรลอง เพื่อร่วมกันจับมือคนไทยทุกคนก้าวไปข้างหน้าอย่างสง่างามและภาคภูมิใจจะบอกต่อปากต่อปากไปยังทั่วโลกว่า
“สายการบินแห่งชาติไทย-STRONGER TOGETHER” อย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น