ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท.คนที่ 10
"นักรบเศรษฐกิจ"พันธุ์ใหม่ในรัฐบาล คสช.
กระแสข่าวที่อยู่ในความสนใจของวงการท่องเที่ยวในช่วงเดือน สิงหาคม 2558 กรณีที่ "ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร" บุคคลจากภายนอกองค์กรได้รับเลือกเข้ามาเป็น "ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย-ททท." เป็นคนแรกในรอบ 55 ปี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำ ททท.คนที่ 10
"เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน" ในฐานะนักข่าวเศรษฐกิจและนักเขียนสารคดีท่องเที่ยว จึงได้นำเสนอเรื่องราวความเคลื่อนไหวกรณีดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ ในเครือ "มติชน" และ รายการ "รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์" FM 97.0 MHz.ทางวิทยุแห่งประเทศไทย ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น. และ ทางโซเชียล มีเดีย www.facebook.com/penroong บล็อกเกอร์ www.gurutourzablogspot.com ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน สัมภาษณ์พิเศษ "ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร" ผู้ว่าการ ททท.คนที่ 10 เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2558 เวลา 14.00-16.00 น.ณ อาคารมติชน |
‘ยุทธศักดิ์ สุภสร’ ผู้ว่าททท.คนใหม่เปิดวิสัยทัศน์
โชว์รหัส “MOVE” ปลดชนวนเผือกร้อนท่องเที่ยว
ในที่สุด
“ยุทธศักดิ์ สุภสร” ก็สามารถฟันฝ่าทุกประเด็นร้อนเข้ารับตำแหน่ง
“ผู้ว่าการ” การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คนที่ 10 อย่างเป็นทางการ
หลังจาก “กลินทร์ สารสิน” ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ททท.เรียกประชุมนัดพิเศษไปเมื่อวันที่
8 สิงหาคม 2558 เพื่อขอมติเห็นชอบแต่งตั้งยุทธศักดิ์
เป็นผู้ว่าการ ททท.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกองค์กรคนแรกในประวัติศาสตร์ 55 ปี ททท.ที่ชนะการคัดเลือกผ่านเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว
“ยุทธศักดิ์
สุภสร” เปิดเผยถึง “วิสัยทัศน์” ว่าจะใช้รหัสปลดชนวน “เผือกร้อนการปฏิรูปท่องเที่ยวของประเทศไทย” เข้าสู่ระบบใหม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา
สกู๊ปสัมภาษณ์ "ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร" นำเสนอวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนท่องเที่ยวด้วยรหัส MOVE |
ยุทธศักดิ์อธิบายว่าขณะนี้ได้วางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เตรียมบริหารองค์กรและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยุคใหม่ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่
“Big Change”
ด้วยการนำสูตรแนวคิดสไตล์ใหม่ที่เรียกว่า “MOVE” เข้ามาขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย และททท.ในเชิงสร้างสรรค์ควบคู่กับการผลักดันท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Connectivity)
สูตรแนวคิดที่เรียกว่า “MOVE” นั้น “ยุทธศักดิ์” ระบุว่าได้จัดวางแผน
“สร้าง เสริม เติมเต็ม” อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยแนวใหม่ออกเป็น 4 กลุ่ม ภายใต้รหัส “6M-7O-5V-3E”
รหัสตัวแรกคือ “M” : Marketing & More เป็นกลยุทธ์การทำตลาดและการสร้างจุดขายใหม่ให้ได้มากกว่าทุกประเทศ
ภายใต้กลยุทธ์นี้ต้องเดินหน้าทำ 6 เรื่อง (6M) ได้แก่ เรื่องแรก (M1 : Intelligence-Led Plticing) ทำงานแบบนำตลาด แบ่งกลุ่มลูกค้าแบบผสมผสาน แบ่งตามประเทศ
แบ่งตามโปรไฟล์นักท่องเที่ยว ทั้งเรื่องอายุและรายได้ สื่อผ่านไปในทุกงานเทรดแฟร์ทั่วโลก
เรื่องที่ 2 (M2 : Target for Value)
วางแผนสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งเก่าและใหม่ให้สอดคล้องกับกลุ่มตลาดโดยสามารถขยายฐานเพิ่มรายได้สูงต่อเนื่องขึ้นเรื่อย
ๆ รองรับกลุ่มกำลังซื้อคุณภาพมากกว่าเน้นจำนวนหรือปริมาณนักท่องเที่ยว
เรื่องที่ 3 (M3 : Tourism Ambassador)
เน้นการสร้างสมดุลเชิงพื้นที่ด้วยการคัดเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียงมาทำหน้าที่เป็นฑูตท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด
เรื่องที่ 4 (M4)
มุ่งส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างวิถีชีวิตไทย
เรื่องที่ 5 (M5 :TAT Ready)
วิเคราะห์ขีดความสามารถการรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่อย่างยั่งยืน
เรื่องที่ 6 (M6 :How to Thailand)
เร่งประยุกต์ใช้ดิจิตอลเข้ามาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลไปยังทั่วโลก
รหัสตัวที่สองคือ
“O” : Operation Exellence เป็นการวางแผนปฏิบัติการโดยยกระดับองค์กรให้มีสมรรถภาพสูง
ปรับตัวได้รวดเร็ว คล่องตัว เป็นอิสระ ทั้งเรื่องคนและทรัพย์สิน โดยจะขับเคลื่อนผ่าน
7 เรื่องหลัก หรือ 7O นั่นเอง ได้แก่ เรื่องแรก
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนในองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถผู้เชี่ยวชาญ เรื่องที่
2 สร้างหลักขององค์กร
ททท.สร้างแรงใจกระตุ้นให้คนเติมเต็มด้วย “3ร” รอบรู้ รวดเร็ว
รอบคอบ เรื่องที่ 3 ปรับวิธีการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถ
ไปพร้อมกับการปลดล็อกแก้ไขข้อจำกัดในกระบวนการทำงานให้เหลือน้อยที่สุด
เรื่องที่ 4 ปรับปรุงสวัสดิการและผลตอบแทนให้เหมาะสมทัดเทียมกับองค์กรชั้นนำในระดับเดียวกัน
เรื่องที่ 5 นำเครื่องมือในการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาสร้างความคุ้มค่าเพื่อให้แต่ละสำนักงานสามารถสร้างรายได้ท่องเที่ยวสูงสุด
เรื่องที่ 6 วางกรอบแนวรับและรุกบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อรับมือได้ทุกสถานการณ์
เรื่องที่ 7 ขยายผลกระบวนการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้ครอบคลุมทุกด้านทุกพื้นที่
ยุทธศักดิ์ย้ำว่า รหัสตัวที่สามคือ
“V” : Value
Creation เป็นหัวใจสำคัญมากหากจะต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวกับนานาชาติทั่วโลกได้ต้องมี
“ความคิดสร้างสรรค์ผลิตสินค้า” ออกสู่ตลาดได้ทุกฤดูกาล ซึ่งภาครัฐและเอกชนต้องจับมือกันทำ
แล้วการดึงเงินเข้าประเทศเพิ่มเพื่อกระจายรายได้ไปยังชุมชนทั่วประเทศจึงจะเกิดเป็นรูปธรรมได้จริง
ภายใต้เงื่อนไขระบบนิเวศน์ต้องยั่งยืนด้วย ซึ่งต้องพึ่งพา 5 เรื่องหลัก
(5V)
เรื่องแรก
เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวด้วยการภาพลักษณ์ที่น่าจดจำและมีความหมาย
กระตุ้นทุกฝ่ายร่วมกันปลุกจิตสำนึกเป็นเจ้าบ้านที่ดีและภูมิใจในวิถีชีวิตไทย
ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้ ร่วมมือ แบ่งปัน สร้างความสุขด้วยเสน่ห์ไทย
เรื่องที่ 2 สนับสนุนการสร้างมูลค่ากับธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่
ๆ ตอบสนองการทำขายได้สูงขึ้น เรื่องที่ 3
ผสมผสานสินค้าและบริการของไทยซึ่งมีความหลากหลายให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป็นศูนย์กลางของอาเซียนอย่างจริงจังทั้งทางด้าน
ภูมิศาสตร์ ชีวภาพ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ไทย ให้พร้อมรองรับการเปิดเสรีท่องเที่ยว
เรื่องที่ 4 บูรณาการความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนจุดอ่อนของประเทศให้เป็นจุดแข็ง
ทั้งทางด้านสาธารณูปโภค บุคลากร ความสะอาด สุขอนามัย การจราจร การใช้ภาษา
มาตรฐานการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินนักท่องเที่ยวคนไทยและนานาชาติ
เรื่องที่ 5 ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐกับเอกชน
ชุมชน ลุกขึ้นมารับผิดชอบและอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ สังคม
ไปด้วยกัน
รหัสตัวสุดท้ายคือ
“E” : Effectiveness เป็นวิธีทำแผนเชิงรุกในการพัฒนากลไกแก้วิกฤตและทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจนภายในเวลาอันรวดเร็ว
เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ทุกภาคส่วนต้องการนั่นคือ
การเพิ่มรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ การคงสถานที่ท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
เป็นประเทศศูนย์กลางการเชื่อมโยงอาเซียนทางการท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องนำ 3E หรือ 3 เรื่อง เข้ามาช่วยขับเคลื่อน
เรื่องแรก
การจัดตั้งกองทุน เป็นแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Tourism Response Fund :TRF
ซึ่งสามารถใช้ได้ทันทีกรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤตฉุกเฉินต่าง ๆ
เบื้องต้นรัฐบาลจัดสรรหรือเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยกองทุนต้องมีความคล่องตัวสูง นำไปใช้จ่ายช่วยเหลือ อุดหนุน ส่งเสริม และ
สนับสนุนการปฏิบัติงานของ
ททท.เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและเพิ่มความพึงพอใจนักท่องเที่ยวเป็นหลัก
เรื่องที่ 2 จัดระบบบริหารจัดการลงทุนเพิ่มความเข้มข้นเชิงธุรกิจทั้งทางด้านการลงทุนและการร่วมทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวภายใต้พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เพื่อสร้างผลกำไรแก่องค์กรให้มีรายได้มากพอที่ ททท.จะนำไปใช้สำรวจ วางแผน
และดำเนินการได้ครบเครื่อง และ เรื่องที่ 3 การบริหารจัดการทรัพย์สินของ ททท.ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้
เพื่อนำมาทำให้จัดกลุ่มใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
น่าสนใจอย่างยิ่งว่า
รหัสที่ “ยุทธศักดิ์ สุภสร” ผู้ว่าการ ททท.คนที่ 10 จะปลดชนวนเผือกร้อนสำเร็จเรียบร้อยภายในเวลาอันรวดเร็วได้หรือไม่
เพราะทันทีที่เข้ารับตำแหน่งก็ต้องเผชิญกับศึกในองค์กรจากกรณีรัฐบาลประกาศเดินหน้าปฏิรูปท่องเที่ยว
บวกกับเศรษฐกิจในประเทศซบเซา เรื่อยไปจนถึงจุดเปลี่ยนจากภายนอกประเทศ
ทั้งเรื่องการรวมเป็นตลาดเดียวกับประชาคมอาเซียน (AEC) ต้นปี
2559 ผนวกกับช่วงนี้ชาติมหาอำนาจสหภาพยุโรปและอเมริกาเพิ่มความกดดันมาตรฐานการบินและการใช้แรงงานมนุษย์ของไทย
เรื่อยไปจนถึงกระแสเขย่าโลกจากการลดค่าเงินหยวนของจีน
ทุกเรื่องล้วนเป็นตัวแปรใหญ่และสำคัญที่จะส่งผลทั้งเชิงลบและเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยทั้งสิ้น
เปิดใจ“ยุทธศักดิ์
สุภสร” ผู้ว่าการ ททท.คนใหม่พลิกท่องเที่ยวสู่ยุคใหม่”รุก-รับ-ขับเคลื่อน”เร็วแรง
(ลงมติชนรายวัน
ฉบับวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2558 หน้า 5 และ สัมภาษณ์พิเศษฉบับเต็ม ออกอากาศในรายการ "รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทาง FM.97.0 MHz.สถานีวิทยุประเทศไทย วันเสาร์ที่ 29 ส.ค58 เวลา 11.15-11.35 น. และ ทางรายการข่าวค่ำทีวี "มติชนทีวี" ช่อง Workpoint วันศุกร์ที่ 28 ส.ค.58)
ในวันที่ 1 กันยายน 2558 “ดร.ยุทธศักดิ์
สุภสร” จะเข้ารับตำแหน่ง “ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.)
คนแรกในประวัติศาสตร์ 55 ปี ที่มีบุคคลจากภายนอกองค์กรเข้ามาเป็นผู้นำ
ทำหน้าที่ช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและทิศทางประเทศไทยเพิ่มรายได้อีกปีละ
2 ล้านล้านบาทขึ้นไป โดยได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ “เครือมติชน” ถึงวิสัยทัศน์และแผนงานทั้งทางด้านการตลาด
การบริหาร ไว้อย่างน่าสนใจ (หลังจากบอร์ด
ททท.มีมติลงนามสัญญาจ้างวันที่ 28 สิงหาคม นี้)
-จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นเสาหลักเศรษฐกิจประเทศไปข้างหน้าด้วยวิธีใดบ้าง
แผนงานและทิศทางหลักจะเข้ามาผลักให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเติบโตแบบ
“ยั่งยืน” โดยการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมโดยให้ทุกภาคส่วนทั้งองค์กรรัฐ เอกชน ชุมชนท้องถิ่น
และนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและนานาประเทศที่เดินทางเข้ามาใช้บริการ ได้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา
รับผิดชอบ กระจายความมั่งคั่ง มีส่วนได้เสียการรับประโยชน์เติบโตเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน
โดยเตรียมเพิ่มบทบาทของ ททท.ทำให้ได้นอกเหนือจากเป็นองค์กรขับเคลื่อนการตลาดท่องเที่ยวเพียงด้านเดียว
จากนี้ไปจะต้องทำงานเชิงรุกในทิศทางใหม่ ๆ ประกอบด้วย ส่วนแรก ช่วยเตรียมความพร้อมสถานที่ท่องเที่ยวและทุกองค์ประกอบเพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในอนาคต
นั่นคือต้องทำหน้าที่เป็น “หน่วยบูรณาการ” เชื่อมโยงศูนย์การทำงานร่วมกันเป็นทีม
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาอาจจะยังเล่นบทบาทนี้ได้ไม่เต็มที่
แต่จากนี้ไปผมจะเข้านำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในฐานะที่เคยทำงานอยู่ในหลากหลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้ง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.)
ส่วนที่สอง การประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของกระทรวงการคลังและรัฐบาล
รวมถึง การพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร เตรียมตัวให้ทุกฝ่ายใน
ททท.พร้อมเป็นกำลังสำคัญทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศอย่างเข้มแข็งในทุกสถานการณ์
ส่วนที่ 3 การเข้าไปช่วยดูงานทางด้านซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่ทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ออกแบบสถานที่ท่องเที่ยว เรียกว่า Destination Design ให้ตอบสนองกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายทั้งหมดและเทร็นด์การเปลี่ยนแปลงนักเดินทางทั่วโลก
ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเกินกว่า 60 %
ส่วนที่ 4 การทำหน้าที่ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีธุรกิจการลงทุนรวมอยู่ด้วย
การเข้าร่วมทุนใน บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ การ์ด จำกัด เจ้าของบัตรอีลิต
สนามกอล์ฟบางพระ น้ำพุร้อนสันกำแพง
หรืออีกหลายธุรกิจ ต่อไปจะต้องไม่เป็นภาระของสำนักงบประมาณ รวมถึงต้องทำให้เกิดมีรายได้
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ให้สัมภาษณ์พิเศษ ด้วยท่าทีที่จริงจังหนักแน่น |
-ในจังหวะที่เข้ามารับตำแหน่งพอดีมีเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างท่องเที่ยวครั้งใหญ่
จะทำอย่างไรให้แรงกระเพื่อมรอบด้านนิ่งและพร้อมจะจับมือก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างราบรื่น
การปฏิรูปเป็นกลไกของภาครัฐที่จะนำมาใช้ขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของประเทศก้าวไปข้างหน้าพร้อม
ๆ กัน การปฎิรูปโครงสร้าง ททท.เองก็ต้องศึกษารายละเอียดทุกเรื่อง โดยคำนึงถึงสิ่งที่รัฐบาลต้องการให้องค์กรเกี่ยวข้องกับงานท่องเที่ยวทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบ้านเมือง
ในความเห็นผม ททท.เป็นได้ทุกรูปแบบจะเป็นรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก็ได้
สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องผลักดัน
ททท.ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน
ก็เหมือนกับทีมฟุตบอลจะวางเกมการเล่นอย่างไร ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม
สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ สวัสดิการ
ที่คน ททท.พึงได้รับต้องไม่ขาดตกบกพร่องเมื่อวัดประเมินจากภารกิจของ
ททท.จึงต้องแสวงหาสิ่งที่เท่าเทียมหรือเพิ่มขึ้นมาชดเชยให้ได้อย่างเต็มที่
ผลสรุปหลังการปฏิรูปแล้วน่าจะเป็นเชิงบวกมากกว่า
-ในการปฏิรูปท่องเที่ยวครั้งนี้จะเปลี่ยนโครงสร้างการจัดสรรนำงบประมาณใหม่ด้วยหรือไม่
ปัจจุบัน ททท.เบิกจ่ายงบประมาณรายปี
ซึ่งอาจจะถูกบังคับด้วยระเบียบ อาจสร้างความยุ่งยาก
ในขณะที่ทุกประเทศหันมาแข่งขันกันเรื่องท่องเที่ยว เพื่อให้ทันเหตุการณ์การเปลี่ยนไปสู่ทางเลือกใหม่ระบบโดยใช้โครงสร้างงบประมาณจัดทำ
"กองทุน“ ก็มีส่วนดีตรงคล่องตัวสูงไม่ผูกติดกับระเบียบมากจนเกินไป
แต่ประเด็นคือต้องออกแบบระเบียบการใช้กองทุนอย่างเหมาะสมถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลด้วย
ทั้ง 2 รูปแบบมีข้อดีและข้อเสียต่างกันนั่นเอง
-การสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่ม
“ปริมาณ-รายได้-ความยั่งยืน” ของท่องเที่ยวเตรียมทำอะไรไว้บ้าง
โลกเปลี่ยนแปลงไปคนทั่วโลกเริ่มเดินทางมากขึ้น
ททท.ไม่สามารถปฏิเสธนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลเข้าไทยเป็นจำนวนมาก เป็นหน้าที่ที่
ททท.จะต้องจัดการกับตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการกระจายปริมาณและรายได้เข้าไปยังหลากหลายพื้นที่
ผนวกกับการคิดในเชิงคุณภาพกระตุ้นการใช้เงินแต่ละทริปเพิ่มขึ้น
ส่วนการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY :AEC) เริ่มต้น 1 มกราคม
2559 ททท.ต้องระดมความร่วมมือยกระดับไทยเป็น
“ประเทศศูนย์กลางการเชื่อมโยงท่องเที่ยวอาเซียน หรือ CONNECTIVITY นั่นเอง
เชิญชวนนานาประเทศเดินทางเข้าออกไทยไปยังสมาชิก 9 ประเทศ โดยใช้จุดแข็งโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและมาตรฐานบริการซึ่งได้เปรียบอีกหลายประเทศ
กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวใช้สนามบิน เที่ยวบิน พักค้างคืนโรงแรมรีสอร์ต และ
บริการร้านอาหารในไทย นานวันและใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น
โดยสามารถไปเที่ยวยังประเทศใกล้เคียง ทำให้สมาชิกทุกประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน
-แล้วจะส่งเสริมวาระแห่งชาติ
“ท่องเที่ยววิถีไทย” อย่างไรบ้าง
วิถีไทยเป็นจุดขายที่แข็งแกร่งมานานทั้งรอยยิ้ม
การทักทาย ต้อนรับ และ อาหารไทย
ต้องเพิ่มช่องทางกระจายให้คนไทยทั้งประเทศปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
เพราะตอนนี้บางพื้นที่ทำได้ดี แต่บางพื้นที่ยังต้องได้รับการแนะนำอย่างถูกวิธี
-การฟื้นความเชื่อมั่นหลังเหตุการณ์ระเบิดราชประสงค์และปัจจุบันกำลังซื้อในประเทศซบเซา
ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งจะต้องประชุมร่วมกับผู้บริหารทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
ดังนั้นช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปี 3 เดือนหลังเดินหน้ากระตุ้นกำลังซื้อด้วยรูปแบบเชิงรุกและพร้อมที่จะเลื่อนกิจกรรมแรงกับงบประมาณมาใช้ให้เร็วขึ้นสอดคล้องทันสถานการณ์
โดยการวางกลยุทธ์แรก คือ ร่วมมือกันสร้างแคมเปญและกิจกรรมกระตุ้น
“ตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศ” สร้างความคึกคักก่อนอันดับแรก
เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ออกสู่สายตาชาวโลกว่าประเทศไทยปกติเที่ยวได้อย่างมีความสุข
ปลอดภัย กลยุทธ์สอง ตลาดในต่างประเทศ
โดยเฉพาะตลาดขนาดใหญ่อย่างจีน รัสเซีย
และตลาดจากประเทศที่มีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยปีละเกิน 1 ล้านคนขึ้นไป
ต้องสร้างความท้าทายด้วยการเพิ่มเป้าหมายขึ้นอีกประเทศละ 20 % ขึ้นไป อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกเป็นปัจจัยฉุดหรือลดเป้าหมายลงโดยไม่ได้ลงมือทำอย่างจริงจัง
“ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร”
เปิดแผนปฏิบัติการที่จะนำมาใช้ขับเคลื่อน
ททท.และเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนเข้มแข็ง เพื่อพิสูจน์ว่าคนจากภายนอก
ททท.คนแรกที่เข้ามาเป็นผู้นำ พร้อมที่จะใช้ความเป็นมืออาชีพทำงานร่วมกับทุกภาคนำพาท่องเที่ยวของประเทศวิน
วิน ได้
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ลงนามสัญญาจ้างกับ กลินทร์ สารสิน ประธานบอร์ด ททท. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 เวลา 14.00 น. |
จำลองโมเดลต้นแบบ"นักรบเศรษฐกิจ"
1ในศิษย์เอกรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 58 ณ สำนักงานใหญ่ ททท.เวลา 14.00-15.45 น.ลงใน www.facebook.com/penroong วันที่ 28 ส.ค.58)
บรรยากาศการลงนามสัญญาจ้าง "ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร" เป็นผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 เวลา 14.00 น.ณ ห้องประชุมชั้น 10 เพื่อเข้าปฎิบัติหน้าที่ตี้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
ตั้งแต่เวลาช่วงบ่ายขิงวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2558 "ดร.ยุทธศักดิ์" เดินทางไปถึงอาคารสำนักงาน ททท.ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เวลา 13.30 น. มีบรรดาพนักงานที่เรียกกลุ่มของตนเองว่า "ชมรมคนรักททท." มายืนเข้าแถวต้อนรับ พร้อมทั้งส่งตัวแทนหมุนเวียนกันมามอบกระเช้าดอกไม้เแสดงความยินดี เพื่อส่งสัญญาณต้อนรับผู้ว่าคนใหม่
จากนั้นทีมสำนักผู้ว่าการก็พาขึ้นไปยังชั้น 18 เพื่อดูฮวงจุ้ยห้องทำงาน ซึ่งเป็นห้องเดิมที่ผู้ว่าการ ททท.เคยปฏิบัติหน้าที่กันมาหลายสมัย
เสร็จจากดูห้องทำงานผู้ว่าการคนใหม่ก็ลงมาพยกับคณะกรรมการที่มี คุณกลินทร์ สารสิน ประธานบอร์ด สรุปผลการพิจารณาและมอบนโยบายหลัก ๆ เพื่อเตรียมลงนามสัญญาจ้าง
โดยทีมงาน ททท.ได้เตรียมห้องประชุมเพื่อให้ฝ่ายบรืหารและพนักงานได้ร่วมนั่งเป็นสักขีพยานไปพร้อมกับการบันทึกภาพของสื่อมวลชนก่อนที่คุณกลินทร์จะเชิญคุณยุทธศักดิ์จะกลับไปคุยในห้องทำงานประธานบอร์ดอีกครั้ง
เวลา 15.45 น.สื่อมวลชนจึงมีโอกาสได้สัมภาษณ์นโยบายผู้ว่าการ ททท.คนใหม่ สรุปใจความได้ 3 ประเด็นหลัก ที่จะต้องทำเร่งด่วนที่จะต้องทำภายในเดือนตุลาคมและธันวาคม58 ทันที คือ
1.Global Confident ภารกิจเพื่อชาติ การนำเข้านักท่องเที่ยวทั่วโลกมาใช้เงินในไทยให้ได้ถึง 30 ล้านคน เหนือเป้าที่ ททท.ตั้งไว้เเดิม 28 ล้านคน
2.Local Tourism ทำแคมเปญกระตุ้นอารมณ์คนไทยให้ลุกขึ้นมาเทียวในประเทศในสไตล์ Stronger Together เพื่อส่งสัญญาณให้ต่างชาติรู้ว่าเมืองไทยเที่ยวได้ปกติ โดยจะไปคุยกับทางกองทุนบำนาญข้าราชการ (กบข. ) ส่งเสริมให้คนสูงสัยและข้าราชการรวมวันล่หยุดออกมาเที่ยวกัน และคุยกับ สำนักงานกาประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ) ส่งเสริมให้เยาวชนออกมาเที่ยว โดยจะทดลองทำ Tourism Check Point เที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด ครบ จะได้รับของที่ระลึกด้วยทุกครั้ง
3..Better TAT สร้างพลังความเชื่อมั่นในองค์กร รวมถึงการทบทวนแนวทางปฎิรูปโครงสร้าง ททท.ใหม่อาจจะวางบทบาทและตำแหน่งไว้ดังเดิม หากสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ของงานท่องเที่ยวภาพรวมออกมาได้ดีกว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างใหม่ซึ่งอาจยุ่งยากซับซ้อนแล้วเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรงานของท่องเที่ยวภาพรวมประเทศ
ดร.ยุทธศักดิ์ มุ่งนำความคิดแนวใหม่ ๆ เช่น การทำ Destination Design หรือการออกแบบสถานที่ท่องเที่ยวที่จะนำไปขายให้สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มตลาดเป้าหมาย มาขับเคลื่อนแผนงานให้เกิดเป็นรูปธรรม และเพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ สร้างจุดแข็งความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยว เรื่อยไปจนถึงการวางรากฐานให้กับชุมชนฐานรากได้รับโอกาสสร้างรายได้และสร้างงานควบคู่กันไป
การลงนามสัญญาและการถอดรหัสแนวคิดของ "ผู้ว่าการททท.คนใหม่" เป็นสปอตไลต์ครั้งแรกที่จะฉายภาพสะท้อนให้คน ททท.และ สาธารณชน พอจะเห็นเค้ารางบ้างแล้วว่า ความหมายที่ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ" รองนายกรัฐมนตรีขึ้นเวทีประกาศสร้าง "นักรบเศรษฐกิจ"วางอนาตประเทศ ตามถ้อยแถลงของ 1 ในศิษย์เอกอย่าง "ยุทธศักดิ์" ก็น่าจะเข้าใจได้เกินกว่าครึ่งทางแล้วว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ภายใต้การนำของทัมเศรษฐกิจป้ายแดง สมคิด จมตุศรีพิทักษ์ มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงการเดินหน้าประเทศไทย ไปสู่แนวทางไหน ส่วนผลสัมฤทธิ์จะออกมาเป็นอย่างที่ตั้งไว้หรืแไม่ พี่น้องชาวไทยต้องติดตามกันต่อไป
บรรยากาศพิธีลงนามสัญญาจ้าง "ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร" เป็นผู้ว่าการ ททท. โดยมีผู้บริหารททท.ตัวแทนจากแต่ละฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน เริ่มปฏิบัติงาน 1 กันยายน 2558 ตามเทอม 4 ปี ระหว่าง 2558-2562 |
ท่องเที่ยวของประเทศต้องการก้าวสู่ความเข้มแข็งโดยเร็ว
ตอบลบ