วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ครม.เปิดชิมช้อปใช้เฟส3ให้ททท.ใช้งบก้อน9พันล้าน ขยายเวลาใช้เงิน5หมื่นรับCashBackเงินคืนทันที20%

ครม.เปิดชิมช้อปใช้เฟส3ให้ททท.ใช้งบก้อน9พันล้าน
ขยายเวลาใช้เงิน5หมื่นรับCashBackเงินคืนทันที20%


เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ชิมช้อปใช้เฟส3 



การประชุมคณะรัฐทนตรีสัญจร โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบ มาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” เฟส 3 เรียบร้อยแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 

             ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอว่า เนื่องจากมาตรการส่งเสริม “ชิมช้อปใช้” (มาตรการส่งเสริมฯ) และมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ  “ชิมช้อปใช้” (มาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ) ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี  ดังนั้น  เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง  จึงมีความจำเป็นต้องขยายการดำเนินมาตรการและปรับปรุงวิธีดำเนินมาตรการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

            เพื่อให้มาตรการส่งเสริมฯ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ  ที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินมาตรการในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีความต่อเนื่อง   กระทรวงการคลังจึงเสนอการขยายการดำเนินมาตรการและปรับปรุงวิธีดำเนินมาตรการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



 โดยมติ ครม.สัญจร กาญจนบุรี มีสาระสำคัญดังนี้

       1. มาตรการส่งเสริมฯ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนสัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน  และมีบัตรประจำตัวประชาชนรวมจำนวนไม่เกิน 13 ล้านคน  (มาตรการส่งเสริมฯ ไม่เกิน 10 ล้านคน  และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ ไม่เกิน 3 ล้านคน) โดยผู้ลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อการใช้จ่ายในจังหวัดที่เลือกที่ไม่ใช่จังหวัดตามทะเบียนบ้าน  ผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (g-Wallet) ดังนี้

       1.1 รัฐบาลสนับสนุนวงเงินสำหรับ g-Wallet ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง ช่อง 1” (g-Wallet ช่อง 1)  จำนวน 1,000 บาทต่อคน เพื่อเป็นสิทธิ์ในการซื้อสินค้าและบริการในจังหวัดที่เลือกไว้เมื่อตอนลงทะเบียนกับผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางกำหนด  และติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน"

       1.2 กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเติมเงินเข้าบัญชี g-Wallet ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง ช่อง 2” (g-Wallet ช่อง 2 )  เพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม  ค่าที่พัก  รวมถึงบริการต่าง ๆ ตามปกติของที่พักนั้น  ค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น  ค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ  หรือค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางในท้องถิ่นนั้น  เช่น สปา การเช่าพาหนะ  ค่าบริการนำเที่ยวในพื้นที่ เป็นต้น  ในจังหวัดที่ไม่ใช่จังหวัดตามทะเบียนบ้าน  กับผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางกำหนด  และติดตั้งแอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” รัฐบาลจะสนับสนุนเงินชดเชยเข้าบัญชี g-Wallet ช่อง 2 ดังนี้

    โดยชดเชยเงินคืน (cash back )15 % ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน) เงินชดเชยเป็น 20 % ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน สำหรับวงเงินใช้จ่ายในส่วนที่เกิน 30,000 บาท   แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 20,000 บาทต่อคน) 
  

ทั้งนี้การซื้อสินค้าและบริการตามข้อ 1.1 และ 1.2 ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด 

 อนึ่งมาตรการส่งเสริมฯ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 

1.ความคืบหน้าการดำเนินมาตรการส่งเสริมฯ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ มีผู้ได้รับสิทธิ์ 12,901,825 ล้านคน  สำหรับข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562  มีผู้ใช้สิทธิ์ 10,942,486 คน มียอดใช้จ่ายรวม  11,335 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่าน  g-Wallet  ช่อง 1 ประมาณ 10,732 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 981 บาท  สำหรับการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 2 มีผู้ใช้สิทธิ์ 81,656 คน มียอดใช้จ่ายประมาณ 603 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 7,385 บาท

2.กระทรวงการคลังได้มีการติดตามการดำเนินมาตรการ รวมทั้งตรวจสอบความผิดปกติจากการรับชำระเงินด้วยแอพพลิเคชั่น “ถุงเงิน” โดยมีคำสั่งที่ 1458/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลและความคุ้มค่าของมาตรการส่งเสริมฯ “ชิมช้อบใช้”  (คณะทำงานฯ) ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2562  และในการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการประเมินผลและความคุ้มค่าของมาตรการรวมทั้งได้รับทราบการดำเนินการเบื้องต้นกรณีพบความผิดปกติในการทำธุรกรรมภายใต้มาตรการดังกล่าว  และมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทำงานย่อยด้านการประเมินผลความคุ้มค่ามาตรการ “ชิมช้อปใช้” เพื่อประเมินผลการดำเนินการและความคุ้มค่าของมาตรการ  “ชิมช้อปใช้”และคณะทำงานย่อยด้านกฎหมาย  เพื่อติดตามตรวจสอบร้านค้ากรณีพบความผิดปกติจากการรับชำระเงินให้ดำเนินการสั่งระงับการจ่ายเงินและตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติดังกล่าว

เนื่องจากยังมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมมาตรการอีกเป็นจำนวนมากที่พร้อมจะจับจ่ายใช้สอยแต่ยังไม่สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้  กระทรวงการคลังจึงเสนอแนวทางการดำเนินมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ เพิ่มเติม ดังนี้



วัตถุประสงค์ : เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศผ่าน g-Wallet  ช่อง 2 โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนสัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน และมีบัตรประจำตัวประชาชน จำนวนไม่เกิน 2 ล้านคน โดยจะกันสิทธิ์บางส่วนสำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน ตามเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด

ระยะเวลามาตรการ: ขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการส่งเสริมฯ  และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2563

วิธีดำเนินมาตรการ ตาม ขั้นตอน คือ 

1.ขยายการเปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ สำหรับประชาชน   โดยรัฐบาลจะเสนอเฉพาะเงินชดเชดสำหรับการใช้จ่ายผ่าน g-Wallet  ช่อง 2
2. การใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการผ่าน g-Wallet  ช่อง 2 ตามมาตรการส่งเสริมฯ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ ให้สามารถใช้จ่ายได้ทุกจังหวัด รวมทั้งจังหวัดตามทะเบียนบ้าน  โดยให้รวมถึงค่าบริการแพ็คเกจที่พักพร้อมการเดินทางหรือบริการที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนค่าสินค้าและบริการผ่านระบบที่ตรวจสอบการทำธุรกรรมได้  ทั้งนี้  ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด

 3.กรณีพบความผิดปกติจากการรับชำระเงินด้วยแอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” ให้กรมบัญชีกลางในฐานะผู้รับสมัครร้านค้าเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมฯ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ และผู้อนุมัติและดำเนินการแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกันเป็นผู้ดำเนินการการจ่ายเงินและตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติดังกล่าว   หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกระทำผิด ให้กรมบัญชีกลาง ระงับสิทธิร้านค้าในการรับชำระเงินด้วยแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”  และดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป 

 4.กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง  ให้ความอนุเคราะห์การตรวจสอบข้อมูลบุคคลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์สำหรับการดำเนินมาตรการส่งเสริมการบริโภคฯ

  สำหรับงบประมาณ : ใช้งบประมาณเดิมสำหรับมาตรการส่งเสริมฯ ในส่วนของ ททท.ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ในกรอบวงเงินสำหรับเงินชดเชยจำนวน 9,050 ล้านบาท


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ททท.เปิดTTE2025นำไทยสู่ Land of Art Toy เที่ยวเชิงสร้างสรรค์

  ททท.เปิดงาน TTE 2025 ดันไทยเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Land of Art Toy ททท.ลั่นใช้ TTE2025 นำไทยสู่ Land of Art Toy ปลุกเทรนด์เที่ยวเชิงสร...