อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา...ทายาทกลุ่มคิง เพาเวอร์
เปิดภารกิจปั้นนักเตะเยาวชนไทยไป "บอลพรีเมียร์โลก" นำเด็กรุ่นแรกเข้าวงการ“FOX HUNT LEICESTER CITY ACADEMY”
(ถอดบทสัมภาษณ์จาก...รายการ “รวยด้วยข่าว” ทาง FM 97.0 MHz สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พ.ย.2557 เวลา 11.15-11.30 น. ดำเนินรายการโดย "เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน" และ "นฤมล พุกยม)
อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา |
คำถามที่ 1 – การเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยโครงการ
Fox Hunt Leicester City Academy 2014 เพื่อคัดเยาวชนนักเตะไทยไปพรีเมียร์โลกเป็นครั้งแรก
จะวางอนาคตให้เด็กทั้งหมดจะก้าวไปเติบโตในวงการกีฬาโลกได้อย่างไร
จึงเป็นที่มาว่าตอนนี้เรา
“พร้อมทุกอย่าง” แล้ว จึงลงมือทำโครงการนี้ เริ่มต้นตรงคัดเลือกนักเตะเยาวชนอายุ 16
ปี
ไปฝึกอย่างจริงจังในเลสเตอร์ ซิตี้ ที่อังกฤษ อย่างมืออาชีพ เป็นการหล่อหลอมเด็ก ๆ
เปลี่ยนทัศนคติ การไปใช้ชีวิตอยู่และเล่นฟุตบอลในอังกฤษจะต้องเสียสละมากขนาดไหน
เด็กอาจจะมองว่าการไปเล่นในอังกฤษเพื่อความเป็น
“ซูเปอร์สตาร์” เราบอกเขาเลยว่า “ไม่ใช่” ระหว่าง 2 ปีเศษนี้ทุกคนต้องเติบโต
ต้องอยู่ห่างจากพ่อแม่และครอบครัว เพื่อจะก้าวเป็นซูเปอร์สตาร์ในอนาคต เมื่อเด็กจบหลักสูตรตอนอายุ
18 ปี ตอนนั้นเขาสามารถเลือกได้แล้วว่าคุณจะไปทำอะไรต่อ
เพราะทุกคนเติบโตเพียงพอหลังจากผ่านการฝึกจากโค้ชสโมสรของเรา การจะเป็นคนที่เก่งขึ้น
และ เป็นนักฟุตบอลที่ดี ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ด้วยรูปแบบไหนบ้าง ทางสโมสรจะใส่เข้าไปในโปรแกรมทั้งหมด
เพราะฉะนั้นเด็กชุดนี้จะได้เรียนรู้ทั้งหมดตลอดโครงการ
ก้าวเข้าสู่นักเตะชั้นนำที่เป็นนักกีฬาอาชีพเต็มตัว
ประการสำคัญที่สุดคือต้องสอนเด็กให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเมื่อคุณเป็น
“ซูเปอร์สตาร์” แล้วจะทำอะไรก็ได้ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง
แต่ต้องทำให้สาธารณชนเห็นว่าเด็กที่จบจาก เลสเตอร์ ซิตี้ อคาเดมี
จะต้องมีวินัยดีมากทั้งในสนามและนอกสนาม
โดยสรุปคือทางคุณพ่อ ตัวผมและผู้บริหารทุกคนต้องการเห็นมาตรฐานนี้ ฉะนั้นเยาวชนชุดแรกที่ร่วมเดินกับเราครั้งนี้จะต้องทำได้ เพราะนอกจากการเล่นกีฬาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ต้องเรียนรู้ชีวิต” อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นนักกีฬาคุณภาพในฐานะคนไทยที่จะเป็นต้นแบบการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย เป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชนนักเตะรุ่นต่อไปในวันข้างหน้า
ฝรั่งที่เป็นทีมคัดเลือกเยาวชนชุดแรกนั้น
เลือกจากคุณสมบัติหลัก 3 อย่าง คือ 1.ทักษะ 2.บุคลิกลักษณะ (chalactor) บวกกับ 3.ศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไป
ไม่ใช่เน้นความเก่งอย่างเดียวแต่นิสัยไม่ดี ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง
เพราะการไปอยู่ในสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ หลาย ๆ ปี จะต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายเรื่อง
เช่น ไปแล้วห่างไกลบ้านอาจจะเป็น home sick หรือมีปัญหา
ทางเราไม่อยากเห็นเด็กที่ไปแล้วมีอาการเหล่านี้
สำหรับเรื่อง
“ภาษา” ก็เป็นอีกจุดที่สำคัญเพราะเด็กไทยยังด้อยอยู่
ดังนั้นทางสโมสรจึงวางแผนเตรียมความพร้อมขั้นต้นอันดับแรกคือในเดือนพฤศจิกายน 2557
นี้
เด็กจะยังอยู่เมืองไทยเพื่อเข้าแคมป์เรียนภาษาอังกฤษและเตรียมร่างกายแบบจริงจัง
จากนั้นจึงเดินทางไปอังกฤษในเดือนมกราคม 2558
โฉมหน้ารุ่น 1-นักเตะเยาวชนวัย 16 ปีรุ่นแรก 16 คน ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าไปฝึกใน "เลสเตอร์ ซิตี้ อคาเดมี" ที่อังกฤษ 2 ปีครึ่ง |
อัยยวัฒน์ – ทางกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ มี “V.R.CLUB” ตรงบางบ่อ เพื่อฝึกนักกีฬา และ สถานที่พัก
คำถามที่ 6 – เมื่อไปถึงอังกฤษแล้วเรื่องการเรียนในสถานศึกษาจะเป็นอย่างไร
อัยยวัฒน์ – เรียนตามหลักสูตรปกติของโรงเรียนในอังกฤษระดับ
high school แบ่งเทอมเรียนและปิดภาคเรียนเหมือนโปรแกรมทั่วไปทั้งหมด
ระหว่างเรียนทางสโสมสรเลสเตอร์ฯ ประสานกับทางโรงเรียนปกติไว้แล้วต้องแบ่งเวลาเรียนกี่ชั่วโมง
อัยยวัฒน์ – ต้องรอให้รุ่นแรกจบก่อน 2 ปี
สิ่งแรกคือรุ่นต่อไปต้องศึกษารุ่นแรกว่ามีความตั้งใจมาก ๆ
แล้วโชว์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นมากจริง ๆ เพราะตอนช่วงคัดเลือกรุ่นแรกนั้นบางคนท้องเสียต้องวิ่งเข้าวิ่งออกแต่ก็ทุ่มเทเล่นเต็มที่
จนทีมงานฝรั่งบอกกับเด็กว่าคุณนั่งพักเถอะพวกเราเข้าใจคุณว่าเล่นต่อไม่ได้
บางคนถึงกับนั่งร้องไห้ ผลลัพธ์เด็กคนนั้นก็ติดชุดนี้เป็น 1 ใน 16 คน
บางคนอาจจะเกิดคำถามว่าก็เล่นมาตลอดการคัดเลือก 4 วัน แล้ววันสุดท้ายเล่นไม่ได้แต่กลับติด
เด็กเหล่านั้นกลับมาร้องไห้อีกครั้งด้วยความดีใจ
เป็นภาพสะท้อนที่พวกเราเห็นถึง “ความมุ่งมั่น ทุ่มเท ตั้งใจ” ของพวกเยาวชนจริง ๆ ซึ่งอยากตามความฝัน รุ่นน้องต่อไปควรเรียนรู้เป็นตัวอย่างไว้ แล้วบอกกับครอบครัวให้ชัดเจน เด็กอายุ 16 ปีสมัยนี้ เปรียบเทียบแล้วความคิดเติบโตมากกว่าสมัยก่อน ซึ่งอาจจะตัดสินใจยากกว่านี้ ต่างกับเด็กสมัยนี้ตอบทันทีว่าตั้งใจและพร้อมที่จะไปลุยด้วยกัน
อันดับแรกทำให้พวกเราเห็นความมุ่งมั่นจากสีหน้า แววตา และ ท่าทาง ทุกอย่าง ซึ่งเมื่อไปฝึกในอังกฤษแล้วแต่ละปีจะได้กลับมาประเทศไทย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวให้รุ่นต่อไปฟังปีละ 2 ครั้ง เพราะทางเราเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญกับเด็ก ทางสโมสรจะดูแลรักษาความสัมพันธ์ทุกเรื่องไว้
อัยยวัฒน์ – เด็กไทยจะทำให้เอเชียเห็นความสำเร็จที่แท้จริง ที่พูดว่าเอเชียเพราะปัจจุบันมีอีกหลายนักธุรกิจเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลในต่างประเทศ มีทั้งชาวอินโดจีน มาเลเซีย รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เรื่องฟุตบอลแล้วประเทศนี้แข็งแรงมาก มองแล้วคนที่บ้าฟุตบอลแล้วเอาจริงมีมากน้อยขนาดไหน ทางทีมงานของเลสเตอร์ ซิตี้ ตั้งใจจะทำให้การพัฒนานักเตะเยาวชนครั้งนี้เป็น “โมเดลต้นแบบ” ให้ชาติอื่นในเอเชียมองเห็นแล้วเดินตามฝันไปด้วยกัน ซึ่งจะเป็นเรื่องดีกับวงการกีฬาฟุตบอลเอเชีย
ในอีก 10 ปีข้างหน้า เลสเตอร์ ซิตี้ จะมีเด็กไทย 16 คน ที่จะไปฝึกต่อเนื่องกันอีก 5 ชุด รวมกัน 80 คน นั่นหมายถึงรุ่นสุดท้ายที่ไปฝึกอายุ 16 ปี กับรุ่นแรกที่จบอายุ 26 ปี แล้วไล่เรียงอายุตามมา 24, 22, 18 ปี เราจะนักเตะไทยนับ 100 คน ซึ่งไม่ใช่ “ความฝัน” ที่ “คนไทยมองไม่เห็น” ต่อไป
ส่วนจะเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวเด็กด้วย อย่างน้อยก็ถือเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่ดี ระยะยาวจะไปเล่นสนามไหน เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย
อัยยวัฒน์ – สิ่งแรกการบริหารเป็นไปตามมาตรฐานธุรกิจทั่วไปคือ ดูแลเรื่องระบบการเงินทุนหมุนเวียน การซื้อนักเตะเข้าสโมสร สปอนเซอร์มีหรือไม่ ยอดขายตั๋วแต่ละแมทช์ดีหรือไม่ เพราะตอนนี้ตั๋วเข้าชมแต่ละครั้งไม่พอขาย ยอดจองเต็มทุกแมทช์ เสื้อขายหมดไป 4 รอบแล้ว ทางคุณพ่อ (วิชัย) ก็ตำหนิเหมือนกันว่าทำไมทางสปอนเซอร์ผลิตเสื้อขายไม่ทัน ไม่ใช่ความผิดทางเราเพราะเป็นร้านรีเทล เป็นหน้าที่ของสปอนเซอร์จะต้องสั่งผลิตมาวางในร้านให้เพียงพอ
ภาพเหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าทีมบริหารทำงานหนักทุกฝ่าย หรือ สต๊าฟโค้ช ไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ก็อย่างที่ว่า “ฟุตบอลไม่ได้เป็นตามหลักปรัชญาทั่วไป” ถึงแม้คนลงทุนจะใส่ทุกอย่างเข้าไปดีแต่ก็อาจจะไม่สมหวังเสมอไป เพราะฉะนั้นผมกับทีมบริหารจะคุยกับคุณพ่อเสมอว่าให้เราทำในสิ่งที่ “ดีที่สุด” ก่อน แล้วผลออกมาเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นไร เพราะได้ทำเต็มที่แล้ว
ก็เหมือนกับตอนที่สโมสรของเราอยู่ในลีก แชมเปี้ยนชิพ เราทำให้ถูก ให้ดีให้ได้ ปีแรกกับปีที่สองเราล้มเหลวก็จริง แต่เราสร้างฐานรากที่แข็งแรงไว้ให้ถูกทาง แล้วเราก็ตั้งเป้าว่า “ต้องอยู่รอดให้ได้ในพรีเมียร์ลีก”
คำถามที่ 10
– ถ้าอย่างนั้นก็ช่วยตอบคำถามที่คาใจแฟนคลับเลสเตอร์
ซิตี้ ด้วยได้ไหมว่าพอชนะทีมใหญ่อย่าง แมนยูไนเต็ด แล้วเกิดอะไรขึ้นเพราะแมทช์ต่อมาถึงแพ้ทีมเล็ก
ๆ ต่อเนื่องกัน
ถามว่าเกิดอะไรขึ้น
ผมขอตอบว่าเป็นจังหวะ down turn เมื่อเราขึ้นไปสูงสุดแล้วเราก็จะลง
เป็นปกติของทุกอย่าง ฉะนั้นเมื่อเราชนะแมนยูได้เราไปถึงที่สุดแล้ว
จึงทำให้เกิดความมั่นใจ ภูมิใจ จนทำให้ประมาทแพ้ทีมอื่น
แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นทั้งทีมยังมีความมั่นใจถึงจะแพ้ติดต่อกัน 4 แมทช์
ซึ่งทุกคนรู้ว่าผลการแข่งขันออกมาไม่ดี
แต่ทุกคนก็รู้ว่าสักประเดี๋ยวก็จะเข้าทางเราบ้าง เมื่อเราชนะสักเกม
กำลังใจทั้งหมดจะฟื้นคืนชีพกลับมา ผู้จัดการทีมเองก็คิดเช่นนี้
วิธีการคือเรากลับมาคุยกันเพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด
เพราะเราบอกแล้วว่าการขึ้นมาอยู่ชั้นพรีเมียร์ลีก “ไม่ใช่เรื่องง่าย”
แล้วก็บอกเสมอว่าเราเป็นทีมที่ “หนีตายตกชั้น” เราไม่ได้จะไป “แข่งชิงแชมป์”
กับทีมแถวหน้าตอนนี้ ซึ่งตรงกับ “แนวคิดเริ่มต้น”
ปัญหานี้เรารู้แล้วยอมรับสภาพว่านักเตะที่เรามี กับ ลีกที่เราเล่นอยู่ แต่ละทีมสร้างมานาน ซึ่งเราต้องอาศัยเวลาพัฒนาศักยภาพของทีมไต่ระดับโดยคงเป้าหมายไว้ให้ได้ที่จะเป็นทีม 1 ใน พรีเมียร์ลีกตลอดไป รอจังหวะและโอกาสเติบโตในวันข้างหน้า เมื่อเราพร้อมทุกอย่างเหมือนกับสโมสรอื่น ๆ ที่ขึ้นไปยืนอยู่แถวหน้าทุกวันนี้
2 พ่อลูก "อัยยวัฒน์ กับคุณพ่อ "วิชัย" ศรีวัฒนประภา ผู้บุกเบิกนำเด็กไทยก้าวเข้าวงการบอลพรีเมียร์โลก |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น