ททท.“รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย”ปี’58
20ปีจัดยิ่งใหญ่แจ้งเกิด "ชุมชนดาวรุ่ง"วิถีไทย
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน
(เจ้าของรายการ รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz.ออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา11.00-12.00 น.และนักเขียนอิสระสื่อสิ่งพิมพ์ และโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/penroong www.googleplus.com/penroong)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
กับผลงานความยิ่งใหญ่ในรอบ 20 ปี การจัดงานประกาศ “รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย”
ครั้งที่ 10 ประจำปี 2558 โดยมีผลงานท่องเที่ยวสาขาต่างๆ
จากทั่วประเทศผ่านมาตรฐานเข้ารับรางวัลมากที่สุดถึง 117
รางวัล จาก 5 ประเภทรางวัล รวมทั้งรางวัลเกียรติยศ Hall
of Fame แห่งวงการท่องเที่ยว
ผลงานของทุกรางวัล ททท.ถือเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยตอกย้ำถึงมาตรฐานของผู้ประกอบการไทย
ได้มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพครอบคลุมครบทุกเรื่องทั้งทางด้าน สถานที่ท่องเที่ยว
การให้บริการ ประสิทธิภาพคุณภาพของบุคลากรในอาชีพ และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
อันเป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวพร้อมที่จะรองรับตลาดในและต่างประเทศ ขานรับนโยบาย “ปีท่องเที่ยววิถีไทย” ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา
ศุกรีย์ สิทธิวนิช รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท. |
“ศุกรีย์ สิทธิวนิช” รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อธิบายว่า
การจัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 10 ประจำปี 2558 ในวันที่ 27 กันยายน
2558 ททท.ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 ปีนี้นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เป็นประธานการเปิดงาน และภายในงาน นายยุทธศักดิ์ สุภสร
ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศจะแสดงพลังใช้จุดเด่นที่เป็นประโยชน์จากผลงานที่ได้รับรางวัลช่วยกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศตั้งแต่ฐานรากระดับชุมชนขึ้นไปจนถึงระดับประเทศเติบโตไปพร้อม
ๆ กัน อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน นำไทยเป็นประเทศผู้นำการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวต้อนรับการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(AEC) ปลายปีนี้ได้อย่างสง่างาม
ประวัติ "รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย" เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2539 |
3.รางวัลประเภทที่พักนักท่องเที่ยว
รางวัลยอดเยี่ยม 7 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลดีเด่น 8 รางวัล 4.รางวัลประเภทท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แบ่งเป็น
รางวัลยอดเยี่ยม 9 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลดีเด่น 10 รางวัล 5.รางวัลประเภทรายการนำเที่ยว
แบ่งเป็น รางวัลยอดเยี่ยม 6 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลดีเด่น 12
รางวัล
สำหรับ รางวัล Hall of Fame เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศสำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยอดเยี่ยมติดต่อกัน
3 ปีซ้อนก็จะได้รับรางวัลดังกล่าวไป ปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 7 รางวัล
รองผู้ว่าการด้านสื่อสาร ททท.เล่าถึงที่มาการจัดโครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 20
นั้น เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2539 ถือเป็นกลยุทธ์การเปิดช่องทางสำคัญทางด้านพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาครอบคลุม
3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านแรก
เป็นมาตรการเชิงบวกที่จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สร้างความมั่นใจและเพิ่มความน่าเชื่อให้การท่องเที่ยวไทยเป็นที่ยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ด้านที่สอง เป็นเครื่องมือสำคัญการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืน
และ ด้านที่สาม เป็นเครื่องหมายรับประกันการท่องเที่ยวระดับโลกได้
“ประการสำคัญตั้งแต่ต้นปี 2558 รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายปีท่องเที่ยววิถีไทย ซึ่งโครงการมอบรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยของ
ททท.สามารถช่วยขยายผลความสำเร็จทางด้านการสนับสนุนสถานประกอบการแต่ละประเภทตามชุมชนและส่งเสริมวิถีไทยทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลทุกประเภทให้เข้มแข็งได้
อีกทั้งรางวัลดังกล่าวยังเป็นเครื่องหมายยืนยันถึงมาตรฐานการให้บริการและความพร้อมของสถานที่ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งตลาดคนไทยและนานาประเทศ
ซึ่ง ททท.วางแผนนำผลงานที่ได้รับรางวัลไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การตลาดต่อเนื่องทุกปีในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยซึ่งจัดประจำทุกปีเป็นงานใหญ่การซื้อขายท่องเที่ยวภายในประเทศ
และในงานท่องเที่ยวรายการใหญ่ในต่างประเทศซึ่งได้รับความนิยมมีผู้กลุ่มผู้ประกอบการจากทั่วโลกจำนวนมากเข้าร่วมงาน”
“ส่วนผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวนมากที่สุดถึง 44 ผลงาน ในปี 2558 คือ
รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยว สามารถเป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นและสนใจเสนอผลงานครั้งต่อไปใช้ศึกษา
เรียนรู้นำไปพัฒนา ปรับปรุง สร้างมาตรฐานสถานประกอบการของตนเองให้มีความพร้อมการเข้าสู่เวทีระดับประเทศและนานาชาติ
โดยเฉพาะ ประเภทรางวัลแหล่งท่องเที่ยวยอดเยี่ยม
13 ผลงาน และ ประเภทรางวัลแหล่งท่องเที่ยวดีเด่น 31 ผลงาน ปีนี้น่ายินดีอย่างมาก เนื่องจากมีผลงานจากทาง
ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มใหม่ได้รับรางวัลเพิ่มมากขึ้นตามมาตรฐาน แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและเชิงนิเวศน์
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แหล่งนันทนาการ เป็นสัญญาณที่ดีกับอนาคตของชุมชนทุกแห่งที่จะใช้เป็นแม่เหล็กขยายรายได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตร่วมกับทุกภาคส่วนได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืนต่อไป”
สำหรับวันที่ 27 กันยายน 2558
ตรงกับวันสำคัญเป็น “วันท่องเที่ยวโลก” ททท.จึงกำหนดจัดพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 10 และภายในงานยังได้ผนวกจัดกิจกรรมการวางแนวนโยบายและแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. รวมถึงการเชิญชวนผู้ประกอบการรับรู้ข้อมูลที่น่าสนใจจากกูรูในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
3 เรื่องหลัก
เรื่องแรก “การนำเสนอแนวคิดเชิงสร้างสรรค์กับนวัตกรรมการท่องเที่ยว” โดยคุณกิตติพงษ์ วีระเตชะ
ประธานบริหารด้านสร้างสรรค์กลยุทธ์และนวัตกรรม บริษัท Y&R ประเทศไทย เรื่องที่สอง “โอกาสทางการตลาดสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว” โดยคุณนราธิป อ่ำเที่ยงตรง
วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการตลาดและการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน เรื่องที่สาม
“จุดประกายความคิดสู่ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” จะสะท้อนความหลากหลายของมุมมองและแนวคิดจากถึง 5 ผู้เชี่ยวชาญด้วยกัน ประกอบด้วย คุณนราธิป
อ่ำเที่ยงตรง คุณพึงจิต ศิริชัยวัฒน์ Business Development Director ฟาร์มโชคชัย คุณวริสร รักษ์พันธุ์
กรรมการผู้จัดการโรงแรมชุมพรคาบาน่า ดร.ศราวุฒิ ศรีศกุน
ผู้อำนวยการสำนักงานเชียงใหม่ไนซ์ซาฟารี คุณนันทพงศ์ นาคฤทธิ์
ประธานวิสาหกิจเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนอ่าวลึก จังหวัดกระบี่
สำหรับความยิ่งใหญ่ของ
“รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” ที่ ททท.บุกเบิกพัฒนามาตลอด 2 ทศวรรษนั้น นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นสร้างความสำเร็จด้วย
“สัญลักษณ์มาตรฐานท่องเที่ยวไทย” พร้อมก้าวไกลสู่เวทีโลกไปด้วยกัน
สำหรับ "รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย" ครั้งที่ 10 ประจำปี 2558 มีกลุ่มดาวรุ่ง 10 ผลงาน
ซึ่งส่งรายชื่อสถานที่เข้าประกวดชิงรางวัลปีแรกก็ผ่านฉลุยได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลประเภท
“แหล่งท่องเที่ยว”แยกเป็น แหล่งท่องเที่ยวยอดเยี่ยม และ แหล่งท่องเที่ยวดีเด่น
โดยแบ่งหมวดดังนี้
ถ้ำเล สเตโกดอน จ.สตูล |
“แหล่งชุมชนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม”
ได้แก่ 1.ชุมชนคนรักษ์สุขภาพไร่กองขิง
จ.เชียงใหม่ มีความโดดเด่นในฐานะชุมชนที่ร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นมาเป็นผลสำเร็จและยังนำภูมิปัญญาความรู้วิธีใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมานำเสนอในการดูแลสุขภาพ
“แหล่งชุมชนที่ได้รับรางวัลดีเด่น” ได้แก่ 2.กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนพระบาทห้วยต้ม
จ.ลำพูน เป็นชุมชนที่มีครูบาของชาวพุทธ ที่รักษาวัฒนธรรม
รักษาวิถีชีวิตการทำผ้าย้อมผ้าทอ และกรรมวิธีทำเครื่องเงิน ไว้ให้นักท่องเที่ยวชม 3.กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนห้วยตองก๊อ จ.แม่ฮ่องสอน โดดเด่นด้านวิถีชาวกระเหรี่ยง
การทำนาขั้นบันได 4.ชุมชนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยรามัญ
อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี อนุรักษ์ประเพณีชาวมอญดั้งเดิมไว้เป็นอย่างดี
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับรางวัลดีเด่น
ได้แก่ 5.สวนสะละลุงถัน จ.พัทลุง ดินแดนแห่งเกษตรอินทรีย์ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 6.หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงบ้านทอน-อม
จ.ชุมพร รายล้อมด้วยสวนเกษตร ปลูกพืช ผัก ผลไม้
ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงดูชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงนิเวศน์ ได้รับรางวัลดีเด่น7.ถ้ำเล สเตโกดอน จ.สตูล อาณาจักรแห่งดินงอกหินย้อย
ภายในถ้ำมีซากช้างดึกดำบรรพ์ “สเตโกดอน” เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศ
แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม 8.อนุสรณ์สถานแห่งความทรงจำเขาช่องขาด จ.กาญจนบุรี พื้นที่ย้อนภาพความทรงจำสมัยสงครามเอเชียบูรพา ซึ่งใช้แรงงานระเบิดช่องเขาผ่านเป็นเส้นทางทัพ
ปัจจุบันได้จัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์” ที่ได้นักจัดการชาวออสเตรเลียมาช่วยออกแบบวิธีบริหารจัดการ
เพื่อทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเล่าเรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ
แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ ได้รับรางวัลดีเด่น 9.Thai Elephant Home จ.เชียงใหม่ มีความโดดเด่นเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่ชาวบ้านจัดรูปแบบโดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถมีประสบการณ์ร่วมแบบธรรมชาติระหว่างชีวิตคนกับช้างเลี้ยง
10.Flying
Hanuman จ.ภูเก็ต ได้ดัดแปลงสวนสมรม
และทัศนียภาพอันงดงามให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวกึ่งผจญภัยห้อยโหนตัวลอยอยู่เหนือธรรมชาตินั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น