ผู้ว่าฯยุทธศักดิ์จ่อเสนอครม.8ต.ค.นี้
คงสถานภาพททท.เป็นรัฐวิสาหกิจ
ผนึกกระทรวงท่องเที่ยวล้มข้อเสนอสปช.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. |
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ได้เดินหน้าประชุมร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อหาข้อสรุป “โครงสร้างองค์กร ททท.” เพื่อคงสถานะและสภาพความเป็นหน่วยงาน “รัฐวิสาหกิจ” ไว้ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวทั้งทางด้านการตลาด การใช้งบประมาณ และ การบริหารจัดการธุรกิจบางประเภทที่รัฐบาลมอบหมายให้อยู่ในความดูแลของ ททท. เช่น สนามกอล์ฟบางพระ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ การ์ด จำกัด ธุรกิจบัตรท่องเที่ยวอีลิตการ์ดมีสมาชิกต่างชาติจำนวนมากที่ยังค้างมาหลายรัฐบาลโดยยังไม่มีข้อยุติอนาคตจะเปิดหรือปิดดำเนินการ
บรรยากาศในอาคาร ททท.รัฐวิสาหกิจมีทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ |
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้
คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ และ การท่องเที่ยว ที่มีนายกงกฤช
หิรัญกิจ เป็นประธานในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างท่องเที่ยว ได้จัดทำสรุปผลการลงมติของคณะกรรมาธิการฯ
เสนอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้าง ททท.ด้วยวิธีโอนย้าย ททท.ไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ
สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วเสนอตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นคือ
“สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ”
เพื่อโอนย้ายหน่วยงานการท่องเที่ยวเข้ามาอยู่ด้วยพร้อมกับจัดกลุ่มการทำงานใหม่ ประกอบด้วย
1.สำนักงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ททท.สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
2.สำนักงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มีกรมท่องเที่ยว
(เดิมอยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยว) และโอนย้าย
องค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เข้ามาอยู่ด้วย
ส่วนหน่วยงานธุรกิจร่วมทุนอื่น ๆ ของ ททท.ให้โอนไปยังต้นสังกัดหรือยุบทิ้ง เช่น
บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ การ์ด จำกัด เจ้าของบัตรอิลิตการ์ด
สำหรับโครงสร้างของหน่วยงานใหม่ใน “สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ” จะโอนย้ายพนักงาน
ททท.เกือบ 2,000 คน มาสังกัดโดยเกลี่ยบุคลากรใหม่ให้รับผิดชอบหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญ
กระจายอยู่ใน 4 หน่วยงาน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สำนักงานการตลาดคือ
ททท.ทั้งในและต่างประเทศ 2.สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (กรมท่องเที่ยวเดิม)
ตั้งใหม่เพิ่มอีกสองหน่วยงานคือ 3.สำนักยุทธศาสตร์ 4.สถาบันวิจัยและพัฒนา
คณะกรรมาธิการฯ สภาปฏิรูป ชุดที่มีนายกงกฤช เป็นประธาน ระบุว่าโครงสร้างใหม่จะทำให้ทั้ง 4 หน่วยงาน
ได้บูรณาการทำงานผสมผสานด้วยการนำโมเดลองค์กรใหญ่ระดับประเทศมาจำลองวิธีทำงานอยู่รวมกันในสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
คือ
1.โมเดลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
วางแผนให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจอนาคตของประเทศ
2.โมเดลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ข้อแนะนำการลงทุนแหล่งท่องเที่ยวและการลงทุนก่อสร้างต่าง
ๆ
ให้สอดคล้องกับการเติบโตทางด้านอุปสงค์กับอุปทานเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3.โมเดลสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
จะเป็นโมเดลขับเคลื่อนที่สำคัญของ
ททท.ด้านการส่งเสริมธุรกิจแบบครบวงจรด้วยองค์ประกอบครบวงจร คือ
มีพระราชบัญญัติเฉพาะรองรับการปฏิบัติงาน มีคณะกรรมการ (บอร์ด)
กำกับนโยบายเหมือนรัฐวิสาหกิจทุกวันนี้ มีความคล่องตัวในการใช้งบประมาณ
ซึ่งเปิดทางให้เปลี่ยนจากปัจจุบันต้องทำแผนเสนอขอเงินรายปีไปยังสำนักงานงบประมาณ
เป็นการจัดตั้ง “กองทุนบริหารงบประมาณ” ได้เอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น