เจาะลึก“บินไทย”ยุคใหม่ทุ่มจ้างต่างชาติ
จับตาประชุมบอร์ด20ก.ค.นี้ล้างล็อตใหญ่
จ้าง“เวย์น เพียซ”ที่ปรึกษาเดือนละ3ล้าน
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน (สื่ออิสระ และ เจ้าของรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ทาง FM 97.0 MHz.สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์)
ในวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2558 หลายฝ่ายกำลังจับตา “การประชุมคณะกรรมการหรือบอร์ด “บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)” เรื่องการนำร่องใช้มาตรฐานใหม่พิจารณาข้อเสนอโครงการรับสมัครคนนอกเข้ามาเป็นผู้บริหาร “ระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่” (Execlutive Vice President :EVP) หลังจากล่าสุดได้ทำสัญญาจ้าง “เวย์น เพียร์ซ” เข้ามาเป็นที่ปรึกษาการบินไทย โดยมีรายงานระบุว่าการบินไทยทำสัญญาจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาชาวต่างชาติสูงถึงเดือนละประมาณ 3 ล้านบาท และในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ก็จะบรรจุวาระเพื่อทราบกรณีจ้างนาย เวย์น เพียร์ซ รวมอยู่ด้วย ควบคู่กับการพิจารณา “รายชื่อผู้ยื่นสมัครรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อีก 3 ตำแหน่ง” ที่การบินไทยสรรหาโดยเปิดโอกาสให้คนนอกองค์กรทั้งคนไทยและต่างชาติสามารถลงสมัครได้
การเปิดสรรหาผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ครั้งนี้ ตามวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะให้เข้ามาเป็นพนักงานตามสัญญาจ้างใหม่ทำหน้าที่แทนผู้ที่จะเกษียนปลายปีนี้ 3 คน ได้แก่ นายสุรพล อิศรางกูร ณ อยุธยา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ ร.ต.อนุสสรณ์ นาคศรีชุ่ม รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หน่วยธุรกิจบริการการบิน และนายพูนศักดิ์ ชุมช่วย กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบิน
ส่วนเกณฑ์การสรรหาครั้งนี้อ้างอิงตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรณีการเสนอค่าจ้างหรือเงินเดือนนั้นจะต้องน้อยกว่ากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ซึ่งปัจจุบันนายจรัมพร โชติกเสถียร ได้รับตามสัญญาจ้างเดือนละ 900,000 บาท ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ ในการสรรหาครั้งนี้ไม่ได้กำหนดจะต้องเป็นคนไทยหรือต่างชาติ
รวมทั้งได้ใช้ช่องทางประกาศรับสมัครด้วยการแจ้งผ่านเครือข่ายสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association :IATA) ประกอบด้วย การรับสมัครตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ และ กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบิน ยกเว้นตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หน่วยธุรกิจบริการการบิน กำหนดสมัครได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น
สำหรับ “เวย์น เพียร์ซ” ที่ปรึกษาการบินไทยซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนแรกในรอบหลายทศวรรษการบินไทยนั้น เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา มีประวัติและประสบการณ์ทำงานช่วงก่อนหน้านี้กับ 3 สายการบิน คือ แควนตัส (ตำแหน่งVarious Regional and Planning Poisitions) ,สายการบินเอทิฮัด (ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการวางแผน) และโอมานแอร์ (ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ “การบินไทย” ซึ่งเป็น “สายการบินแห่งชาติ” มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ และในปี 2558 ก่อตั้งมาครบ 55 ปีพอดี แต่สถานการณ์ทางธุรกิจและรายได้ระยะหลัง ๆ ผันผวนมาตลอด รวมถึงการประสบปัญหาผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 ก็ประกาศทยอยหยุดบินเส้นทางระหว่างประเทศ รัสเซีย และ ยุโรปหลายประเทศ ในทางกลับกันก็เดินหน้าจัดซื้อฝูงบินเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งการบินไทยยังคงถูกตั้งคำถามในหลายประเด็นซึ่งล้วนแต่เป็น “ตัวแปรต้นทุนค่าใช้จ่าย” แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการฝูงบินบางรุ่นที่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะฝูงบิน แอร์บัส A340-500/600 เรื่องการให้สิทธิพนักงานระดับบริหารบางสำนักงานสาขาในต่างประเทศปักหลักอยู่ยาวนานเป็นเวลาเกิน 10 ปี โดยไม่ได้ย้ายกลับเข้ามาทำงานในประเทศ
ประการสำคัญยิ่งกว่าคือ “การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน” กับสายการบินยุคใหม่ประเภทสายการบินต้นทุนต่ำ (budget/lowcost Airlines) ทั้งในประเทศและนานาชาติประเทศ ซึ่งการบินไทยเองเป็นหนึ่งในสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตร “STAR ALLIANCE” อยู่กับกลุ่มสายการบินซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสายการบินชั้นนำของโลกแทบทั้งสิ้น แต่การบินไทยได้ใช้ศักยภาพดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างจริงจังและหรือได้ใช้ “จังหวะ” และ “โอกาส” อย่างมืออาชีพหรือไม่ ?
ทุกคำถามเหล่านี้คนไทยทั้งประเทศยังคง “ตั้งตารอ” คำตอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาแท้จริง และน่าสนใจอย่างยิ่งแนวทางของบอร์ดชุดปัจจุบัน กับการผ่าทางตันด้วยวิธี “ทุ่มทุนจ้างต่างชาติ” เข้ามาเป็น “ที่ปรึกษาบริษัท” หรือ “ฝ่ายบริหารระดับสูง” จะสามารถตอบโจทก์แก้ไขปัญหาที่หมักหมมอยู่ให้เบาบางลงได้หรือไม่
เพราะ “การบินไทย” ได้ผ่านประสบการณ์ทางเลือกทุกรูปแบบมาอย่างโชกโชนตลอด 55 ปี ทว่าสถานการณ์ปัจจุบันจะใช้ “ลมใต้ปีก” นำพาอนาคตความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ฝ่ามรสุมทั้งมวลเพื่อกลับมายืนอย่างสง่างาม เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยทั้งชาติ อีกครั้งได้หรือไม่ ต้องรอดูกันต่อไป
จับตาประชุมบอร์ด20ก.ค.นี้ล้างล็อตใหญ่
จ้าง“เวย์น เพียซ”ที่ปรึกษาเดือนละ3ล้าน
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน (สื่ออิสระ และ เจ้าของรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ทาง FM 97.0 MHz.สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์)
ในวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2558 หลายฝ่ายกำลังจับตา “การประชุมคณะกรรมการหรือบอร์ด “บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)” เรื่องการนำร่องใช้มาตรฐานใหม่พิจารณาข้อเสนอโครงการรับสมัครคนนอกเข้ามาเป็นผู้บริหาร “ระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่” (Execlutive Vice President :EVP) หลังจากล่าสุดได้ทำสัญญาจ้าง “เวย์น เพียร์ซ” เข้ามาเป็นที่ปรึกษาการบินไทย โดยมีรายงานระบุว่าการบินไทยทำสัญญาจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาชาวต่างชาติสูงถึงเดือนละประมาณ 3 ล้านบาท และในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ก็จะบรรจุวาระเพื่อทราบกรณีจ้างนาย เวย์น เพียร์ซ รวมอยู่ด้วย ควบคู่กับการพิจารณา “รายชื่อผู้ยื่นสมัครรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อีก 3 ตำแหน่ง” ที่การบินไทยสรรหาโดยเปิดโอกาสให้คนนอกองค์กรทั้งคนไทยและต่างชาติสามารถลงสมัครได้
การเปิดสรรหาผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ครั้งนี้ ตามวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะให้เข้ามาเป็นพนักงานตามสัญญาจ้างใหม่ทำหน้าที่แทนผู้ที่จะเกษียนปลายปีนี้ 3 คน ได้แก่ นายสุรพล อิศรางกูร ณ อยุธยา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ ร.ต.อนุสสรณ์ นาคศรีชุ่ม รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หน่วยธุรกิจบริการการบิน และนายพูนศักดิ์ ชุมช่วย กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบิน
ส่วนเกณฑ์การสรรหาครั้งนี้อ้างอิงตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรณีการเสนอค่าจ้างหรือเงินเดือนนั้นจะต้องน้อยกว่ากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ซึ่งปัจจุบันนายจรัมพร โชติกเสถียร ได้รับตามสัญญาจ้างเดือนละ 900,000 บาท ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ ในการสรรหาครั้งนี้ไม่ได้กำหนดจะต้องเป็นคนไทยหรือต่างชาติ
รวมทั้งได้ใช้ช่องทางประกาศรับสมัครด้วยการแจ้งผ่านเครือข่ายสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association :IATA) ประกอบด้วย การรับสมัครตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ และ กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบิน ยกเว้นตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หน่วยธุรกิจบริการการบิน กำหนดสมัครได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น
สำหรับ “เวย์น เพียร์ซ” ที่ปรึกษาการบินไทยซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนแรกในรอบหลายทศวรรษการบินไทยนั้น เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา มีประวัติและประสบการณ์ทำงานช่วงก่อนหน้านี้กับ 3 สายการบิน คือ แควนตัส (ตำแหน่งVarious Regional and Planning Poisitions) ,สายการบินเอทิฮัด (ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการวางแผน) และโอมานแอร์ (ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ “การบินไทย” ซึ่งเป็น “สายการบินแห่งชาติ” มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ และในปี 2558 ก่อตั้งมาครบ 55 ปีพอดี แต่สถานการณ์ทางธุรกิจและรายได้ระยะหลัง ๆ ผันผวนมาตลอด รวมถึงการประสบปัญหาผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 ก็ประกาศทยอยหยุดบินเส้นทางระหว่างประเทศ รัสเซีย และ ยุโรปหลายประเทศ ในทางกลับกันก็เดินหน้าจัดซื้อฝูงบินเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งการบินไทยยังคงถูกตั้งคำถามในหลายประเด็นซึ่งล้วนแต่เป็น “ตัวแปรต้นทุนค่าใช้จ่าย” แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการฝูงบินบางรุ่นที่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะฝูงบิน แอร์บัส A340-500/600 เรื่องการให้สิทธิพนักงานระดับบริหารบางสำนักงานสาขาในต่างประเทศปักหลักอยู่ยาวนานเป็นเวลาเกิน 10 ปี โดยไม่ได้ย้ายกลับเข้ามาทำงานในประเทศ
ประการสำคัญยิ่งกว่าคือ “การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน” กับสายการบินยุคใหม่ประเภทสายการบินต้นทุนต่ำ (budget/lowcost Airlines) ทั้งในประเทศและนานาชาติประเทศ ซึ่งการบินไทยเองเป็นหนึ่งในสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตร “STAR ALLIANCE” อยู่กับกลุ่มสายการบินซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสายการบินชั้นนำของโลกแทบทั้งสิ้น แต่การบินไทยได้ใช้ศักยภาพดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างจริงจังและหรือได้ใช้ “จังหวะ” และ “โอกาส” อย่างมืออาชีพหรือไม่ ?
ทุกคำถามเหล่านี้คนไทยทั้งประเทศยังคง “ตั้งตารอ” คำตอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาแท้จริง และน่าสนใจอย่างยิ่งแนวทางของบอร์ดชุดปัจจุบัน กับการผ่าทางตันด้วยวิธี “ทุ่มทุนจ้างต่างชาติ” เข้ามาเป็น “ที่ปรึกษาบริษัท” หรือ “ฝ่ายบริหารระดับสูง” จะสามารถตอบโจทก์แก้ไขปัญหาที่หมักหมมอยู่ให้เบาบางลงได้หรือไม่
เพราะ “การบินไทย” ได้ผ่านประสบการณ์ทางเลือกทุกรูปแบบมาอย่างโชกโชนตลอด 55 ปี ทว่าสถานการณ์ปัจจุบันจะใช้ “ลมใต้ปีก” นำพาอนาคตความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ฝ่ามรสุมทั้งมวลเพื่อกลับมายืนอย่างสง่างาม เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยทั้งชาติ อีกครั้งได้หรือไม่ ต้องรอดูกันต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น