"การบินไทย-ททท.”55ปีเจอมรสุมขั้นโคม่า
เส้นทาง “ปฏิรูปท่องเที่ยว”ที่เกาไม่ถูกที่คัน
เส้นทาง “ปฏิรูปท่องเที่ยว”ที่เกาไม่ถูกที่คัน
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง
ใยสามเสน : rakdeethai@gmail.com
(อ่านฉบับเต็มได้ใน “มติชนสุดสัปดาห์” ฉบับวันที่ 31 ก.ค.-6 ส.ค.2558) ติดตามสกู๊ปต่อเนื่องในรายการ
“รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์ และโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/penroong, blogger
:gurutourza.blogspot.com, www.googleplus.com/penroong
เครืองการบินไทย B747-400 จอดที่สนามบินกรุงโรม(29ก.ค.2558) |
กระแสการปฎิรูป
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบิน”
ในรัฐบาล “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” กลายเป็นประเด็นร้อนเขย่าเสาหลักเศรษฐกิจของประเทศที่เหลือเพียงเสาเดียวทันที
เมื่อมีการเสนอให้ผ่าโครงสร้าง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) และ บริษัท การบินไทย จำกัด
(มหาชน) ซึ่งทั้งสององค์กรเพิ่งฉลองครบรอบ
55 ปีเมื่อกลางปี 2558 แต่ขณะนี้พนักงานรวมกว่า 30,000 คน เกิดอาการช็อกขั้นโคม่า
หากต้องถูกผ่าตัดครั้งใหญ่ในเร็ววันนี้ จากเหตุการณ์ 2 เวที
เวทีแรก “คณะกรรมาธิการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์
การท่องเที่ยวและบริการ”
เสนอรัฐบาลผ่าโครงสร้างท่องเที่ยวใหม่ทั้งระบบ ด้วยวิธีจัดตั้ง “คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ” ขึ้นตรงกับ “สำนักนายกรัฐมนตรี”
ควบคู่กับการจัดตั้ง “สำนักงานนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ” มีฐานะเทียบเท่ากรมหรือกระทรวง
รับโอนย้ายทั้งคนและภารกิจ ททท. และ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปรวมอยู่ด้วยกัน
ส่วน “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องยุบหรือผ่าเป็นสองเสี่ยง
เวทีที่สอง กรรมการอำนวยการในคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท
การบินไทย จำกัด (มหาชน) อนุมัติให้ "ปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศ" เพิ่ม
2 เส้นทางหลัก ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป ได้แก่ เที่ยวบิน ไป-กลับ กรุงเทพฯ-โรม (อิตาลี)
และ กรุงเทพฯ-โซล-ลอสแองเจลิส (สหรัฐอเมริกา)
เป็นการทยอยประกาศปิดจุดบินต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่การบินไทยหยุดบิน
กรุงเทพฯ-มอสโค (รัสเซีย) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 ต่อด้วย กรุงเทพฯ-แมดริด (สเปน)
วันที่ 5 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
โดยก่อนหน้าก็ยกเลิกบินญี่ปุ่นบางเมืองไปเรียบร้อยแล้ว และอนาคตยังมีอีกหลายเมืองอยู่ระหว่างจ่อหยุดบินเพราะอ้างขาดทุนถึง
50 จุดบิน
การตัดสินใจใช้เหตุผลต้อห้ามเลือด
“ผลการดำเนินงานที่ขาดทุน” ด้วยวิธี “หยุดบินเส้นทางระหว่างประเทศ” มองในมุมกลับสวนทางกัน 3 เรื่อง คือ เรื่องแรก เมื่อวันที่ 1
กรกฎาคม 2558 การบินไทยเพื่ออนุมัติจ้าง
นายเวร์น เพียซ
อดีตผู้บริหารสายการบินต่างชาติเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้วยค่าจ้างเดือนละประมาณ 3
ล้านบาท จ่ายค่าจ้างสูงกว่านายจรัมพร โชติเสถียร
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) 3.5 เท่า เรื่องที่ 2
การบินไทยยังคงเดินหน้าเตรียมแผนจัดซื้อฝูงบินเพิ่มกว่า 20 ลำ
เรื่องที่สาม สวนทางกับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกซึ่งตกต่ำถึงขีดสุดไปเมื่อ 1-2
ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ในสหภาพยุโรปหลายประเทศเริ่มดีขึ้นโดยเฉพาะ “อิตาลี” จีดีพีจากเดิมติดลบ ปีนี้เป็นบวก 0.4
%
หน้าสำนักงานการบินไทย กรุงโรม (เมื่อ27 กรกฎาคม 2558) |
สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบินเมืองไทย
ในส่วนของ “ททท.” ใช้เวลานานกว่า 30
ปี ต่อสู้เพื่อออกจากระบบราชการเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อให้การทำงานคล่องตัวสง่างามสมฐานะกับบทบาท
"องค์กรความเป็นเลิศทางการตลาดด้านท่องเที่ยว” จากจุดเริ่มปีแรก
ๆ ทำรายได้จากนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้หลักพันล้านบาท ปี 2558 ทำได้กว่า 1.3
ล้านล้านบาท
และยังได้แสดงอย่างมืออาชีพฟื้นฟูกำลังซื้อหลังวิกฤตการเมืองในประเทศ
โดยใช้เวลาไม่ถึง 6 เดือนกระตุ้นนักท่องเที่ยวทั่วโลกกลับมาเที่ยวเพิ่มอย่างรวดเร็วกว่า
60 %
สิ่งที่รัฐควร “ปฎิรูป”
คือ สร้างกองกำลังหนุนให้ ททท.นำพา “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว”
ของประเทศเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในประชาคมอาเซียน (AEC) และภูมิภาคเอเชียได้ด้วย 3 เรื่องหลัก ๆ คือ
เรื่องแรก การสนับสนุนงบประมาณ
ททท.ทำกิจกรรมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
เพราะทุกวันนี้ทั่วโลกแข่งขันกันสูงมาก เพื่อใช้การท่องเที่ยวเป็นแม่เหล็กดึงดูดรายได้
ขณะนี้ประเทศในยุโรปทยอยประกาศยกเว้นวีซ่าให้นักเดินทางจากกลุ่มตะวันออกลาง
สหรัฐอเมริกาอำนวยความสะดวกให้จีนทำวีซ่าตลอด 24
ชั่วโมง ญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าให้อาเซียนและไทย
และอีกหลายประเทศหันมาเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
ในขณะที่ไทยยังคงปล่อยให้ ททท.ทำไปตามมีตามเกิด
เพื่อนำรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นปีละ 8-10 % จากปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้ง
สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจโลก การเกิดโรคระบาดใหม่ ๆ
ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางได้ตลอดเวลา
เรื่องที่ 2
เร่งรัดทุกกระทรวงซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ท่องเที่ยวบูรณาการใช้งบประมาณร่วมกัน
เพื่อพัฒนาโปรดักซ์ท่องเที่ยวที่อยู่ในความรับผิดชอบให้มีมาตรฐานและยั่งยืน
โดยเฉพาะกระทรวงหลัก ๆ อาทิ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงกลาโหม (แหล่งท่องเที่ยวทหาร)
ประการสำคัญที่สุดรัฐต้องสร้างกลไกให้องค์กรท้องถิ่นทั่วประเทศใช้งบฯอย่างถูกทาง
เรื่องที่ 3 รื้อโครงสร้างมาตรฐานความปลอดภัย (Safety & Security) นักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาตินานาประเทศให้มีคุณภาพ
กำหนดเกณฑ์การปกป้องดูแลและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกพื้นที่ทั่วประเทศให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
พร้อมทั้งให้คุณและโทษเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง
หากจะ “ปฏิรูปท่องเที่ยว” ด้วยวิธีรื้อโครงสร้างหน่วยงาน
ททท.กลับไปสู่ยุคเก่า
แต่ไม่ปรับทัศคติวิธีทำงานของกระทรวงใหญ่ๆ
ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักมีทั้งอำนาจอยู่เต็มมือให้ลุล่วงแล้ว
แก่นแท้ของปัญหาจะยังคงอยู่ ส่วน “การปฎิรูป” ก็เป็นเพียงการประดิษฐ์คำสวย ๆ ขึ้นมาพูดเท่านั้นเอง
เครื่องการบินไทย B747-400 จอดรอผู้โดยสารในโรม (29ก.ค.58) |
ขณะที่ “การบินไทย” สายการบินแห่งชาติ
ต้องฟันฝ่านาน 30 ปีเช่นกัน กว่าจะช่วงชิงตารางเวลาบินในช่วงที่ดีที่สุด (slot time) จากแต่ละประเทศ
มาให้ผู้โดยสารทำรายได้เป็นกอบกำปีละ 2-2.5 แสนล้านบาท
เป็นจุดแข็งและจุดขาย
และการบินไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศที่บริการบินตรงจากเมืองหลักทั่วโลกเข้าไทยโดยไม่ต้องบินไปแวะพักตามเมืองต่าง
ๆ ให้เสียเวลาเหมือนกับสายการบินนานาชาติอื่น ๆ
เรื่องแรก
“แข่งขันไม่ได้” หรือ
“ไม่ได้คิดแข่งขัน” จึงทำให้ “ค่าใช้จ่าย”
สูงกว่า “รายได้” และสูญเสีย “ส่วนแบ่งการตลาดการบรรทุกผู้โดยสาร” ในยุโรปให้กับสายการบินคู่แข่งไปมากถึง 60
% ขณะที่สายการบินชั้นนำของโลกยังเติบโตตามปกติ 2-5
%
เรื่องที่ 2 การจ้างฝ่ายบริหารไปประจำเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก อยู่ดีกินดีแต่ละคนนานนับ 10
ปี
มีรายได้และสิทธิพิเศษสูงลิบ ส่วนการทำตลาดปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสต๊าฟท้องถิ่น
จึงหนึ่งในสาเหตุทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย ฐานลูกค้าใหม่ไม่กระเตื้อง
เรื่องที่ 3 ผลพวงจากรัฐบาลบังคับให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องซื้อตั๋วโดยสารการบินไทยเท่านั้น
(ทุกเส้นทางที่การบินไทยมีบริการ) และต้องจ่ายเต็มราคา (IATA Fare) เป็นส่วนทำให้กลายเป็นเสือนอนกิน
เรื่องที่ 4
วางกลยุทธ์ตั้งราคาขายไม่สอดคล้องกับตลาด ใช้เครื่องบินไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสาร ทำให้ลูกค้าจึงหันไปซื้อตั๋วจากคู่แข่ง ซึ่งมีฝูงบินทันสมัย
มีบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก ดีกว่าการบินไทย
เรื่องที่ 5 ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารหลักในสำนักงานใหญ่
โดยเฉพาะฝ่ายการพาณิชน์ ขาดความเป็นมืออาชีพหรือไม่ จึงไม่ตัดสินใจอนุมัติโครงการที่ฝ่ายผู้บริหารประจำสาขาหลายแห่งทั่วโลกเสนอมา
การทำกิจกรรมการตลาดร่วมกับภาคีพันธมิตรในประเทศนั้น ๆ จึงหมดโอกาสขยายตลาดใหม่ ๆ
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า
นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะปี 2558 จะมีจำนวนมากถึง 28 ล้านคน
และเป้าหมายปี 2559 ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มเฉลี่ยอีกไม่ต่ำกว่า 8
% จากสายการบินระหว่างประเทศให้บริการบินประจำเข้า
มายังสนามบินนานาชาติกรุงเทพฯ ทั้ง 2 แห่ง คือ
สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองปีละกว่า 100 แอร์ไลน์ส ตลาดยุโรปเข้ามาเที่ยวเมืองไทยปีละกว่า
5 ล้านคน จากอิตาลีทั้งโรมและมิลานรวมกันปีละกว่า 2 แสนคน
“เชน โอแฮร์”
รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาด สายการบินเอทิฮัด ซึ่งใหญ่อันดับ 1 ใน 5 ของโลก กล่าวว่า
ผู้โดยสารในตลาดสหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีต่อเนื่องมาตลอดจากปัจจุบันถึงอนาคต
ทางเอทิฮัดได้เลือกใช้ประเทศไทยเป็นเกตเวย์บริการนักท่องเที่ยว 2 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ มีบินตรงประจำทุกวัน
และต่อเที่ยวบินเข้าไปยังภูเก็ตอีกสัปดาห์ละ 5 เที่ยว
รวมสัปดาห์ละ 35 เที่ยว และภายในเดือนตุลาคม 2558 จะเพิ่มเที่ยวบินเข้าภูเก็ตสัปดาห์ละ 7 เที่ยว
ล่าสุดในงาน
World Expo 2015 เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 “เอทิฮัด” ได้ลงนามโครงการความร่วมมือทางการตลาดกับ ททท.ลงขันเงินกันรวม 30 ล้านบาท ตั้งเป้านำนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพในยุโรปกว่า 20 ตลาด และ ตะวันออกกลาง 8 ประเทศ รวม 800,000 คน
เลือกเที่ยวในไทยตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2559 พร้อมนำรายได้เข้าไทยกว่า 500 ล้านบาท
ณ ขณะนี้การเสนอแนวทาง“ปฎิรูปท่องเที่ยว” ด้วยการรื้อโครงสร้าง
ททท.ใหม่ และ/หรือ
การเลือกใช้วิธีสะดวกให้สายการบินแห่งชาติหยุดบินระหว่างประเทศ
ล้วนแล้วแต่เป็นการปฎิรูปโดย “เกาไม่ถูกที่คัน” ทั้งสิ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น