ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)
“ดร.ยุทธศักดิ์”พลิกโฉมกนอ.3ปีหน้าดึงลงทุน3.05ล้านล้าน
ปลุกนิคมสีเขียวผนึกซอฟท์พาวเวอร์เชื่อมโยงสู่ท่องเที่ยว
เคลื่อนเขตเศรษฐกิจEEC-หนุนตั้งนิคมใหม่รับแลนด์บริดจ์
กดรัวๆ!!ช้อปคิงเพาเวอร์ออนไลน์“7
DAYS SUPER DEAL”
คิงเพาเวอร์รางน้ำชวนช้อปใหม่2แบรนด์WACAY-จีวองซี่”
คิงเพาเวอร์มหานครชวนร่วมประมูลของเล่นโลก Sofubi
สุดาวรรณนำททท.รับ2โจทย์ใหญ่อินเดียขยายวีซ่า/การบิน
กลุ่มบางจากทุบสถิตินำธุรกิจปี’66โกยEBITDA4.1หมื่นล้าน
สุขที่จันทน์“บูชาดาว-ชุมชนขนมแปลก-ตลาดบางสระแก้ว”
5วิธีรับมือปัญหาตื่นเช้ามาแล้วมีอาการเจ็บคอแก้ได้ไม่ยาก
นายกเศรษฐาโชว์วิสัยทัศน์นำไทยสู่8HUBเอเชียรุกท่องเที่ยว
การบินไทยคืนชีพรับท่องเที่ยวโตปี’66ทำกำไร2.8หมื่นล้าน
วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์
2567 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์”
เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน”
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทางfacebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen
#gurutourza #รวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #เพ็ญรุ่งใยสามเสน #เที่ยวกับกู๋ #KingPower #TAT #บางจาก # #
ฟัง Live สดจากลิงค์นี้...
ช่วงที่ 1 สัมภาษณ์ “ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร” ประธานกรรมการ (บอร์ด)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำทีมพลิกโฉม “กนอ.” ใหม่ เพิ่มมาตรการจูงใจการลงทุน
3 ปีหน้าขยับเป็นปีละ 3.05 ล้านล้านบาท
ขับเคลื่อน “3 ภารกิจ “พัฒนาพื้นที่-พลังงาน-คน”
ผนวกเทรนด์ใหม่ ซอฟท์ พาวเวอร์ การลงทุนที่ยั่งยืน 3 พลัง “การลงทุนอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-ใช้พลังงานสะอาด-หมุนเวียนใช้ทรัพยากร”
เชื่อมโยงสู่ “เส้นทางท่องเที่ยวจัดไมซ์ในนิคมสีเขียว” ร่วมดัน EEC และตั้งนิคมขานรับเมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์แห่งอนาคต
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการ (บอร์ด)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.มีบทบาท 3 ภารกิจหลัก ได้แก่ 1.ขายให้เช่าพื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมทั้งกับกลุ่มทุนไทยและต่างประเทศ
2.ให้บริการสาธารณูปโภคเพื่อการผลิตและบริการ
3.บริการขนถ่ายสินค้านำเข้า-ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมตามท่าเรือต่าง
ๆ โดยพร้อมจะทำภารกิจทั้งหมดสร้างแรงดูดเม็ดเงินไหลเข้ามาประเทศไทยอีก 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศเติบโตตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด
โดยเน้น พัฒนาพื้นที่ พลังงาน และคน ไปพร้อมกัน 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่
1 การพัฒนาพื้นที่
กนอ.ต้องเข้าไปส่วนมีร่วมในบริเวณซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ประเทศ หรือ Area
base ไม่ว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(EEC :Eastern Economic Corridor )
รวมทั้งโครงการที่กำลังพูดถึงกันอยู่ขณะนี้อย่างแลนด์บริดจ์ ภาคใต้
ส่วนที่
2 พัฒนาพลังงาน
ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด พลังงานทดแทน
รวมถึงหามาตรการช่วยผู้ประกอบการลดการใช้พลังงานในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ส่วนที่ 3 พัฒนาคน ยิ่งอุตสาหกรรมพัฒนาก้าวหน้ามากเพียงใด กนอ.ก็ต้องยิ่งมีส่วนร่วมสร้างแรงงานทักษะสูง โดยเฉพาะวิศวกร ให้มีศักยภาพด้วยจำนวนคนมากเพียงต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ปี 2567
มองอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า
กนอ.วางยุทธศาสตร์ดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ไทยโดยจะต้องเน้นภาพรวม
โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาอาจจะมีเม็ดเงินลงทุนต่ำส่งผลทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามไปด้วย
ปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุน 24 % ของจีดีพีหรือผลผลิตมวลรวมของประเทศ
(GDP) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท
หากต้องการให้ประเทศไทยเติบโตตามเป้าหมายที่กำหนดหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางแล้ว
ฉนั้น กนอ.จะต้องเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้มีไม่น้อยกว่า 27 % ของจีดีพี
ผู้บริหารและบุคลกรทุกคนจึงตั้งเป้าหมายปี 2569 เพิ่มเป็น 3.05 ล้านล้านบาท จากปีนี้ 2567 ที่ทำไว้ 2.6 ล้านล้านบาท
โดย
กนอ.จะให้น้ำหนักความสำคัญกับ 4 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก
ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 อุตสาหกรรม BCG
ทั้งผลิตภัณฑ์ชีวภาพ อาหารแปรรูป
การแปรสภาพของเสียเป็นพลังงาน อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคนโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 2 อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด
ได้แก่ การผลิตพลังงานหมุนเวียน การรผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV กลุ่มที่ 3 อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ ทั้งการผลิตอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง
ๆ เซมิคอนดรักเตอร์ กลุ่มที่ 4 อุตสาหกรรมดิจิทัล
เช่น ผลิตซอฟท์แวร์ แพลตฟอร์ม อีคอมเมอร์ซ ต่าง ๆ
ด้วยการเตรียมความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้ครอบคลุม
ผนวกกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สนับสนุนการลงทุนที่ดีมากขึ้น
สำหรับอินเซ็นทีฟที่จะนำมาใช้ดึงดูดการลงทุนทั้งอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศ
จะทำควบคู่กันไปทั้ง 2 ส่วน คือ
“มาตรการทางภาษี” ซึ่งปัจจุบันไทยให้ในอัตราที่ดีเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้
จากการสอบถามผู้เกี่ยวข้องนักลงทุนปัจจุบันให้น้ำหนักกับสิทธิประโยชน์
“ไม่ใช่ภาษี” เพิ่มมากขึ้นคือความสะดวกการลงทุน Ease of doing business ทาง กนอ.สามารถทำได้โดยตรง แล้วก็ทำแบบ One
Stop Service ได้
หากสามารถขยายบริการไปยังส่วนอื่นได้ด้วย
ก็จะทำให้ประเทศไทยมีความน่าในการลงทุนเสริมได้มากกว่าทาง BOI และ กนอ.ดูแลด้านภาษีเป็นอย่างดีเป็นปกติ
ปี 2567
กนอ.จะมีข่าวดี
โดยปรับรูปแบบการทำงานเชิงรุกเป็นทีม เรื่องที่ 1 ร่นระยะขั้นตอนกับระยะเวลาให้กระชับและสั้นลง
เช่น นักลงทุนมาดูพื้นที่แล้ว ยังไม่ได้ตัดสินใจ
กนอ.จะทำใหม่ควบคู่กันไปคือแนะนำเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีขอส่งเสริมการลงทุนเข้าไปด้วย
ระหว่างการเลือกพื้นที่ในนิคมกับนอกนิคม
ความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับประเทศ
นักลงทุนน่าจะเลือกพื้นที่ในเขตนิคมมากว่า หมายความถึงเมื่อมีพื้นที่พร้อม
บริการที่ดี ทำทุกอย่างได้สะดวกมากขึ้น
ซึ่งการกระชับเวลาจะเป็นแรงดึงดูดการลงทุนได้ง่ายขึ้น แล้วก็จะเกิดการกระจายรายได้
สร้างงาน ไปยังภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ เติบโตตามนโยบายรัฐบาล
สำหรับ
2 พื้นที่เขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่
พื้นที่แรก EEC มีความคืบหน้าไปค่อนข้างมาก
เพียงแต่จะต้องหาวิธีทำให้ EEC เป็นหัวจักรขับเคลื่อนโดยบูรณาการร่วมกันปลดล็อกปัญหาต่าง
ๆ เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ซึ่งทาง กนอ.พยายามเชิญชวนให้คนเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนเป็น Customize
incentive ตอบโจทย์ความต้องการผู้ประกอบการมากขึ้น
โดยได้จัดเตรียมครบทั้ง “ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ” ไว้แล้ว ได้แก่ “ดิน” คือพื้นที่ลงทุน
“น้ำ” ระบบสาธารณูปโภคมีเพียงพอไม่กระทบภาคครัวเรือน “ลม”
จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และ“ไฟ” พลังงานสะอาด
สอดคล้องตามนโยบายของนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พื้นที่ที่
2 Landbridge โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก
2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยในจังหวัดชุมพร
และท่าเรือน้ำลึกฝั่นอันดามันจังหวัดระนอง เพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น
กนอ.จะเข้าไปเสริมได้อย่างไร ทั้งชุมพรกับระนอง
จะต้องมีนิคมรองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างท่าเรือน้ำลึก
ซึ่งจะต้องพัฒนา LINK to Landbridge
ขึ้นมาเพื่อให้ กนอ.ได้วางแผนระยะยาวเติบโตคู่กับเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลต่อไปในอนาคต
ดร.ยุทธศักดิ์
กล่าวว่า กนอ.ก็สามารถเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ต่อยอดเข้ากับ กนอ.ยกระดับเป็น “นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์” มากขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียวและความยั่งยืน
เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทาง
กนอ.ให้บริการด้านสาธารณูปโภค แล้วทาง รมว.พิมพ์ภัทรา
เน้นย้ำมากเรื่องประสิทธิภาพบริการและสิ่งแวดล้อม
เน้นผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นกับทั้งสิ่งแวดล้อมและชุมชน
นับจากนี้เป็นต้นไปพลิกโฉมใหม่ 2
แนวทาง คือ
แนวทางที่
1 “นิคมอุตสาหกรรมเที่ยวได้”
เปลี่ยนมาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
หรือเชิงนิเวศน์ รวมทั้งการเปิดให้ผู้ประกอบการไมซ์สาขาต่าง ๆ เข้ามาทำกิจกรรม
เช่น จัดประชุม สัมมนา ดูงาน จัด Conference
แนวทางที่
2 เชื่อมโยงการท่องเที่ยวมูลค่าสูงกับภาคการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมได้
ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
ระบุไว้ชัดเจนถึงเป้าหมายขับเคลื่อนการท่องเที่ยวมูลค่าสูง
นั่นก็คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical Hub ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในนิคมได้ด้วยศักยภาพความพร้อมของไทย
ประกอบด้วย แพทย์มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญ
ผนวกกับการมีโรงงานผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าไปด้วย
ก็จะช่วยขยายฐานนักเดินทางกลุ่มดูแลรักษาสุขภาพต่างประเทศเข้ามาไทยมากขึ้น
เป็นกลุ่มที่พร้อมใช้จ่ายเงินเฉลี่ยกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปหลายเท่า
อีกทั้ง
กนอ.พร้อมขับเคลื่อนหัวใจภารกิจหลักเรื่อง “ความยั่งยืน”
ล่าสุดเพิ่งรีแบรนด์โลโก้ใหม่เป็น infinity Mark จะมีเครื่องหมายอินฟินีตี้ 3 อัน ประกอบอยู่ด้วยกัน หมายถึง การเติบโตทางเศรษฐกิจ ชุมชน
และสิ่งแวดล้อม โดยสอดแซกตัว S อยู่ตรงกลางด้วย
สื่อถึง กนอ.พร้อมสร้างนิคมสีเขียวทุกมิติ กระตุ้นการลงทุนตลอดห่วงโซ่การลงทุน
โดยใช้การยั่งยืนสร้างการเติบโต หรือเป็น “ซอฟท์ พาวเวอร์”
ให้ไทยเป็นจุดหมายปลายการลงทุนของไทยและทั่วโลก โดยจะทำอย่างเข้มข้น 3 เรื่อง
เรื่องที่
1
ช่วยผู้ประกอบการหรือ Supply Chain ปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมเชื่อมโยงไปสู่การแบ่งปันเชิงคุณค่าเพิ่มมากขึ้น
อาศัยการมีส่วนร่วม ตลอดห่วงโซ่อุปทานนำไปสู่การออกแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
เรื่องที่
2 เปลี่ยนผ่านนวัตกรรมพลังงาน
ทั้งพลังหมุนเวียน สะอาด และนวัตกรรมอื่น ๆ ที่จะสร้างผลตอบแทนระยะยาว
โดยมีแผนแม่บทชัดเจน ยกระดับพลังงานโรงงานเป็นกรีนทั้งหมด
เรื่องที่
3 เข้าไปมีส่วนร่วมลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งในส่วนของความเป็นกลางทางคาร์บอน (Neutral Carbon) เข้าสู่การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ หรือ
Net Zero Emission ภายในปี 2608
เพื่อให้เศรษฐกิจประเทศไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
หรือกล่าวง่าย ๆ
คือกลยุทธ์สร้างความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนด้วยการลงทุนสีเขียวเป็น 3 พลัง ซอฟท์ พาวเวอร์ กนอ. คือ 1.การลงทุนอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.ใช้พลังงานสะอาด 3.หมุนเวียนทรัพยากร
โดยกำลังพิจารณาจะประกาศให้ปี
2568 เป็นปีแห่งการลงทุนอย่างยั่งยืน
ของ กนอ.เพื่อเป็นพลังหลักของนักลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมต่อไป
สำหรับ
กนอ.ก่อตั้งมานานกว่า 50 ปี
อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการมาตลอด
นับจากนี้เป็นต้นไปแม้จะเป็นองค์กรส่วนหนึ่งของรถที่เคยขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง
ตั้งแต่ปี 2567 จะปรับบทบาททำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น
หันมาขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า ทำงานเป็นทีม สร้างการเปลี่ยนแปลง
โดยจะขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจเติบโตตามนโยบายรัฐบาลต่อไป
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่
1 กดรัวๆ!!ช้อปคิงเพาเวอร์ออนไลน์“7 DAYS SUPER DEAL”
คิง
เพาเวอร์ จัดใหญ่อีกแล้ว “7 DAYS SUPER DEAL” อยู่ไหนหรือระหว่างเดินทางท่องเที่ยวอยู่ต่างประเทศก็ช้อปได้
วันนี้ – 29 กุมภาพันธ์
2567 สัปดาห์นี้ได้รวมตัวท็อปสินค้าขายดีมาให้คุณช้อปมีครบทุกสไตล์
แบบไม่ตกเทรนด์ ช้อปของแท้ Duty Free จบที่ “KingPower Online” เท่านั้น เลือกก่อน เริ่ดก่อน
อย่างแน่นอน
พร้อมดีลพิเศษจากแบรนด์มากมาย
ช้อปส่งท้ายเดือนให้สะบัดไปเลย ห้ามพลาด! กดช้อปเลย พร้อมรอรับของที่สนามบิน
ได้ทั้งขาเข้าและขาออกนอกประเทศ
1.ลดสูงสุด 15%
เมื่อช้อปครบ 5,000 บาท แถมยังลดเพิ่ม 5%
เมื่อช้อปครบ 8,000 บาท รหัสส่วนลด
SDFEB20
2.Special Offer ตรุษจีนนี้!!!Free!
SMS ANG BAO มูลค่า 800 บาท ทุกออเดอร์ ไว้ช้อปออนไลน์ในครั้งถัดไป
และ Free!
แจก Wallpaper ทุกสัปดาห์ เสริมโชคลาภ
รับปีมังกร เพื่อชาวมูตลอดทั้งเดือน
ทั้งด้าน WEALTH / LOVE / LUCK / HEALTH
สินค้า Duty Free สุดฮอต
มีไฟลต์บินแล้วรีบเลย! รับสินค้าที่สนามบิน ช้อปได้ทั้งขาเข้า-ขาออก ได้ตลอดทุกทริปช้อปสะดวก
แค่คลิก คิง เพาเวอร์ ออนไลน์
ข่าวที่ 2 คิงเพาเวอร์รางน้ำชวนช้อปใหม่2 แบรนด์WACAY-จีวองซี่”
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์
ต้อนรับความสุขต่อเนื่องปีมังกร 2567 โดยเฉพาะที่
“คิง เพาเวอร์ รางน้ำ” คัดผลิตภัณฑ์ใหม่
ปังสุด ๆ เพื่อให้นักช้อปทุกกลุ่มวัยได้ช้อปสบาย ๆ นำเสนอ 2 ผลิตภัณฑ์โฉมใหม่
ผลิตภัณฑ์ใหม่แรก
WACAY เปิดแล้ววันนี้ ร้านใหม่แบรนด์ดัง #ไม่มีไฟลต์บินก็ช้อปได้ โดดเด่นด้วยดีไซน์ป้ายหนัง
และลายโมโนแกรมแมตช์ลุคได้ง่ายๆ มีสไตล์ในทุกวัน ช้อป WACAY
ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป มีนัดพบกันที่บริเวณโซน
WOMEN’S FASHION ชั้น 3 คิง เพาเวอร์ รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 นำเอกสิทธ์พิเศษเฉพาะมาไว้ที่
“เคาน์เตอร์ จีวองชี่” คิง
เพาเวอร์ รางน้ำ แห่งเดียว หรือ Givenchy
counter at King Power Rangnam นำพากลิ่นหอมอันโดดเด่นที่ได้รับการรังสรรเป็นพิเศษ ช่วยเผยเอกลัษณ์เฉพาะตัวตนของคุณ เมื่อได้พบกับ
“La Collection Particulière : ลา คอลเลคชั่น พาร์ทิคิวเลียร์” เพียบพร้อมด้วยกลิ่นโดดเด่นที่จะมอบอารมณ์และความรู้สึกแสนพิเศษผสมผสานความหอมจากการคัดสรรวัตถุดิบอย่างเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี
ข่าวที่
3 คิงเพาเวอร์มหานครชวนร่วมประมูลของเล่นโลก Sofubi
คิง
เพาเวอร์ มหานคร ชวนนักสะสมไม่ควรพลาดกับงานประมูลผลงานจากศิลปินระดับโลกที่มีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น การจัดแสดงของเล่น Sofubi ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวรูปปั้นลิมิเต็ดสุดพิเศษ
และผลงานหายากที่คัดสรรมาอย่างดีที่คุณจะไม่พบที่อื่น โดยร่วมกับพันธมิตร MEDICOM TOY และภัณฑารักษ์ร่วมและผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
ในประเทศไทย : บริษัท อาร์ต เวิร์กส์ เวิลด์ไวด์ จำกัด AWWW
นักสะสมตัวยงแฟนคลับ Sofubi ร่วมประมูลได้เลยที่เว็บไซต์ https://bit.ly/AkashicRecords_Auction พร้อมกับเปิดให้ได้ชมการประมูลงานAKASHIC
RECORDS in Bangkok King Power Mahanakhon ได้ตั้งแต่วันนี้ - 29
กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
จะนำไปบริจาคให้แก่องค์กรยูนิเซฟ ร่วมกันสร้างประโยชน์สู่สังคมไปด้วยกัน
ข่าวที่ 4 สุดาวรรณนำททท.รับ2โจทย์ใหญ่อินเดียขยายวีซ่า/การบิน
นางสาวสุดาวรรณ
หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
เปิดเผยว่า ระหว่างนำผู้ประกอบการท่องเที่ยวของไทยเข้าร่วมงานขายการท่องเที่ยว SATTE : South Asia Travel and
Tourism Exchange 2024 ระหว่าง 22-24 กุมภาพันธ์ 2567 ที่กรุงนิวเดลี
ซึ่งเป็นงานส่งเสริมการขายรายใหญ่สุดของอินเดีย ล่าสุดได้รับข้อเสนอที่จะนำมาหารือกับรัฐบาลไทยกรณีเอกชนอินเดียขอให้พิจารณาขยายเวลายกเว้นวีซ่าต่อไปอีก
2 ปี จากปัจจุบันมาตรการฟรีวีซ่าที่ไทยให้กับนักท่องเที่ยวอินเดียจะสิ้นสุดลงในวันที่
10 พฤษภาคม 2567
โดยได้พบหารือกับผู้บริหารบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ของอินเดีย
4 ราย ได้แก่ TravelBullz, Yatra.com, MakeMyTrip.com และ
EaseMyTrip.com มีเสนอแนะไทยด้านการท่องเที่ยว
4 เรื่อง
ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 ขอให้ไทยและอินเดียร่วมมือกันปลดล็อคข้อจำกัดทางบินจะได้เพิ่มจำนวนอินเดียมาเที่ยวเมืองไทยได้มากขึ้น
เรื่องที่ 2 ขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่ระดับโลก
เช่น การแข่งขันกีฬา คอนเสิร์ต
และงานนานาชาติอื่น ๆ เรื่องที่ 3 ขอให้ไทยพัฒนาและปรับโฉมสินค้าบริการท่องเที่ยวเพิ่มความสดใหม่ทันสมัยเป็นแม่เหล็กดึงความสนใจอินเดียที่มีกำลังใช้จ่ายเงินสูงเพิ่มอีก
2 กลุ่ม
คือเศรษฐีรุ่นใหม่หรือ Millennials และนักท่องเที่ยวชื่นชอบความหรูหราหรือLuxury
เรื่องที่ 4 แนะนำให้ไทยสื่อสารการตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์มุ่งเจาะไปตรงเข้าถึงตลาดอินเดียโดยเฉพาะเพิ่มมากขึ้น
รมว.สุดาวรรณ
กล่าวว่า ขณะนี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
มอบนโยบายเพิ่มเติมให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปรับเป้าหมายตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศขยับเป็น
40 ล้านคน
จากปกติ 35 ล้านคน
พร้อมกับปรับรายได้รวมปีนี้ใหม่เป็น 3.5 ล้านล้านบาท จากปกติ 3 ล้านล้านบาท
รวมทั้งตลาดอินเดียซึ่งมีประชากรมากสุด 1,437 ล้านคน คาดปี 2567 เศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวเติบโตเพิ่มขึ้น
7 % ปี 2570 จะสูงอันดับ
3 ของโลก จึงสั่งการ ททท.เพิ่มตลาดอินเดียปี 2567 ให้ได้ 2 ล้านคน จากปกติตั้งไว้ 1.746
ล้านคน สร้างรายได้ 80,870 ล้านบาท
พร้อมกับเร่งให้ ททท. ทำประชาสัมพันธ์มาตรการของรัฐบาลไทยปี
2567 กระตุ้นอินเดียเที่ยวเมืองไทยด้วย
3 โครงการ
ได้แก่ โครงการแรก เที่ยวงานเทศกาลหรือเฟสติวัลที่กำลังยกชั้นเป็นงานระดับโลก เช่น
เดือนเมษายน 2567 จัดมหกรรมท่องเที่ยว “Maha Songkran World Water Festival
2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567” ตั้งเป้าผลักดันให้ไทยติด 1 ใน 10
ประเทศสุดยอดเฟสติวัลโลก เชิญชวนอินเดียมาเที่ยวสงกรานต์ไทยด้วย โครงการที่ 2 ปลุกตลาดถ่ายทำภาพยนตร์อินเดียเลือกใช้สถานที่ในไทย
โครงการที่ 3 ร่วมโปรโมทและส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองของไทย
ร่วมเป็นหนึ่งในตลาดขนาดใหญ่ที่จะมาเที่ยวเมืองไทยได้ตลอดทั้งปี
365 วัน
ข่าวที่
5 กลุ่มบางจากทุบสถิตินำธุรกิจปี’66โกยEBITDA 4.1หมื่นล้าน
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก
และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
กลุ่มบริษัทบางจากสร้างสถิติใหม่ปี 2566 โดยทำผลการดำเนินงานสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา
4 ทศวรรษ
ทุกกลุ่มธุรกิจเติบโตและมีพัฒนาการสำคัญหลายด้านส่งผลให้บางจากฯ
และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายและการให้บริการ 385,853
ล้านบาท เพิ่มขึ้น18 % จากปี 2565
มี EBITDA 41,680 ล้านบาท ทำกำไรส่วนของบริษัทใหญ่
13,233 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 9.27 บาท
บางจากกำลังก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 ตั้งแต่ปี 2567 จึงพร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจการลงทุนขนาดใหญ่ต่อจากปี 2566 มุ่งสร้างและต่อยอด ประสานพลังกันระหว่าง
กลุ่มโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน กลุ่มธุรกิจการตลาด และกลุ่มธุรกิจบางจากศรีราชาได้ปรับกลยุทธ์บริหารงานใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
เทคโนโลยี และสินทรัพย์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้าง Platforms for
Growth เติบโตอย่างแข็งแกร่งผ่านการบริหารโรงกลั่นน้ำมัน
2 แห่ง การขนส่งและการค้าน้ำมัน ธุรกิจการตลาด
ตลอดจนธุรกิจสนับสนุน โดยวิธีทำงานแบบบริการร่วมในระบบหลังบ้านเพื่อลดต้นทุนทำให้ภาพรวมประหยัดลง
มีเป้าหมายทำ EBITDA Synergy ให้ได้ปีละกว่า
3,000 ล้านบาท
ส่วนกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ บางจากมีแผนขยายต่อเนื่อง
โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจต้นน้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยจะทำให้เติบโตเพิ่มจากแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพอื่น
ๆ ต่อไป พร้อมกับมุ่งมั่นร่วมบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ สร้างโลกยั่งยืน ยกระดับเป็นโรงกลั่นแรกและโรงกลั่นเดียวในไทยที่ผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน
(Sustainable Aviation Fuel: SAF) เริ่มไตรมาส 1 ปี 2568
ด้วยกำลัง
การผลิต 1,000,000 ลิตรต่อวัน
สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทบางจาก ฯ ปี 2566
ที่เพิ่งประกาศเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ทั้ง 6 กลุ่มมีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน มีกำลังการผลิตเฉลี่ย 120,100 บาร์เรลวัน หรือคิดเป็น
100 % ของกำลังการผลิต แม้จะปิดหน่วยการผลิตบางส่วนปรับปรุงตามมาตรฐานยูโร
5 ทำ EBITDA รวมได้ 14,794 ล้านบาท ลดลง 17 % เทียบกับปี 2565
ปัจจัยหลักจากค่าการกลั่นพื้นฐานปรับลดลงเหลือ 9.50 จากปี 2565
อยู่ที่ 14.33 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เพราะค่าCrack
Spread ของทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงด้วยอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกลด จึงเกิด
Inventory Loss แต่ธุรกิจค้าน้ำมันโดยบริษัท BCPT เติบโตมีนัยสำคัญเพราะการจัดหาน้ำมันดิบให้โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง กับการขยายตลาดน้ำมันดิบแบบ Overseas Trading มีธุรกรรมซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
59 %
กลุ่มที่ 2 ธุรกิจการตลาด มี EBITDA รวม 3,157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9
% จากปีก่อน ด้วยการจำหน่ายน้ำมันรวมทุกช่องทางสูงเป็นประวัติการณ์
6,490 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 9 % เพราะตลาดน้ำมันอากาศยานฟื้นตัวรวมถึงได้ขยายช่องทางจำหน่ายกับคู่ค้ารายใหม่ต่อเนื่อง
สิ้นปี 2566 มีสถานีบริการรวม 2,219 แห่ง
เป็นบางจาก 1,389 แห่ง และสถานีบริการหลังเข้าซื้อหุ้นของเอสโซ่
BSRC เพิ่มขึ้นอีก 830 แห่ง ส่วนธุรกิจ
Non-Oil ร้านกาแฟอินทนิลมีสาขา 1,020
สาขา และจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV อีกกว่า 265 จุด
กลุ่มที่
3 ธุรกิจบางจาก ศรีราชา ดำเนินงานภายใต้ BSRC
มี EBITDA ระยะ 4 เดือนปี 2566 รวม 997 ล้านบาท จากโรงกลั่นน้ำมันบางจาก
ศรีราชามีกำลังการผลิตเฉลี่ย 101,900 บาร์เรล/วัน แม้จะปิดซ่อมบำรุง 40 วัน (กันยายน-ตุลาคม 2566) ภายหลังซ่อมบำรุงมีกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสร้างสถิติสูงสุดตั้งแต่ธันวาคมที่ผ่านมา
143,800 บาร์เรล/วัน โดยมีปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันรวม
2,145 ล้านลิตร
ทางกลุ่มบริษัทบางจากมีกำลังการผลิตติดตั้งของโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ยอดรวมสูงสุดในประเทศ 294,000 บาร์เรล/วัน
เพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา จะช่วยเสริมธุรกิจการตลาดบางจากฯ ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันบางจาก
พระโขนง กลั่นได้ไม่เพียงพอกับความต้องการตลาด
กลุ่มที่ 4 ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด ดำเนินงานโดย บริษัท
บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ปี 2566
มี EBITDA รวม 4,219 ล้านบาท ลดลง 34 % จากปี 2565 ตลอดปีที่ผ่านมาได้ขยายการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ
และในคลังน้ำมัน ท่าเทียบเรือ ท่อขนส่งน้ำมันจังหวัดเพชรบุรี
เพื่อสร้างรายได้จากทรัพย์สินต่อเนื่อง ช่วยบรรเทาผลกระทบการสิ้นสุด Adder โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ
กลุ่มที่ 5 ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ดำเนินงานโดยบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) มี EBITDA
รวม 667 ล้านบาทในปี 2566 เพิ่มขึ้น 8 % จากปี 2565 ได้ประโยชน์จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลและเอทานอลเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อของ
BSRC กับธุรกิจผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น หลังคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
(กบง.) ประกาศปรับส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากบี 5 เป็นบี 7
กลุ่มที่ 6 ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและธุรกิจใหม่ มี EBITDA
รวม 19,671 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12 % จากปี 2565
จากปริมาณจำหน่ายของ OKEA ที่เพิ่มขึ้น 74 % และปริมาณจำหน่ายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้น
ซึ่งรับรู้ผลดำเนินงานเต็มปี 2566 รับโอนกิจการมาจาก Wintershall
Dea ส่วน OKEA ประสบความสำเร็จการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม Hasselmus เสร็จสมบูรณ์ก่อนกำหนด
เมื่อ 29 ธันวาคม 2566
ได้รับโอนสิทธิ์แหล่งปิโตรเลียม Statfjord 28 % จึงมีกำลังการผลิตปี 2567
ประมาณ 35,000-40,0000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน (ปี 2566 ผลิตเฉลี่ย 24,590 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน) เพิ่มขึ้น
47 % แต่ Statfjord มีปริมาณการผลิตและปิโตรเลียมสำรองน้อยกว่าคาดการณ์ไว้
ส่งผลให้เกิดการตั้งด้อยค่าจากการลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นหลังหักภาษี 619
ล้านโครนนอร์เวย์ (เทียบเท่า 2,040 ล้านบาท)
ช่วงที่ 2 เที่ยวไทยไปแล้วได้ประสบการณ์ดี ๆ ปักหมุดที่ “จันทบุรี” มาฆบูชานี้ ร่วม
“บูชานพเคราะห์” เสริมบุญ แล้วไปเดินชุมชนขนมแปลกคลองบัว และตลาดบางสระแก้ว
แหลมสิงห์ ด้วยกัน จากนั้นก็ฟัง “8วิธีรับมือตื่นเช้ามาเกิดอาการเจ็บคอ”
และข่าวฮ็อต ข่าวแรก “นายกฯ เศรษฐา” เปิดทำเนียบโชว์วิสัยทัศน์นำไทยผงาด 8
HUB เอเชีย ข่าวที่สอง “การบินไทยอู้ฟู่ปี66”
กำไรแล้ว 2.8 หมื่นล้าน
ท่องเที่ยว
–สุขทันทีที่เที่ยวจันทบุรีบูชาดาว-ชุมชนขนมแปลก
สุขทันทีที่ได้เที่ยว “จันทบุรี” รับมาฆบูชา 2567
เดินทางไปเพิ่มประสบการณ์ที่ดี ๆ
เสน่ห์เมืองรองทะเลตะวันออก กำลังยกระดับเป็นเมืองหลัก
ดึงดูดคนเข้าไปท่องเที่ยวได้ปีละ 4 ล้านคน ชวนไปเช็คอินเที่ยว 3 พิกัด
พิกัดที่ 1 บูชาดาวนพเคราะห์
ตามประเพณีพระพุทธศาสนามหายานฝ่ายอนัมนิกาย จัดร่วมกันระหว่างคนไทยเชื้อสายจีน
เวียดนาม และคนไทยในจันทบุรี ถือปฏิบัติทำตามประเพณีสืบต่อเป็นปีที่ 190 งานจัดตั้งแต่วันนี้-28 กุมภาพันธ์ 2567 เสริมสิริมงคล
ดวงชะตา แก้ปีชง ตามความเชื่อ ของผู้คนในชุมชนที่มีมายาวนาน
ปีนี้อัญเชิญขบวนแห่ดาวนพเคราะห์ทั้ง 9
และไฟพระฤกษ์ที่ได้รับประทานจากสมเด็จพระสังฆราช
ออกประทานพรรอบตลาดเมืองจันทบุรีแบบประเพณีโบราณ เพื่อความเป็นสิริมงคล ภายในงานจัดให้มีพิธีทำบุญ
กราบสักการะพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ และดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ร่วมจุดเทียนอายุวัฒนะ
ทำบุญพะเก่ง เวียนเทียนรอบอุโบสถที่ ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และประกอบพิธีแก้ปีชง
ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล
ไฮไลต์ร่วมพิธีบูชาดาวนพเคราะห์วัดเขตร์นาบุญญารามปีนี้
8 จุดต้องจำ ทำตามแล้วเฮง ร่ำรวย เป็นเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐี ขานรับ "มะโรงเรืองรอง เงินทองมากมี บารมีพร้อมพรั่ง มั่งคั่งความสุข" แล้วภายในงานบูชาดาวนพเคราะห์ต้องห้ามพลาด
3 พิธีสำคัญ
พิธีแรก จุดเทียน อายุวัฒนะ บูชาดาวนพเคราะห์เสวยอายุประจำตัวปี พ.ศ. 2567 ไหว้ขอพร เสริมสิริมงคล เพิ่มความเฮง
พิธีที่ 2 ทำพะเก่ง ถวายพุทธฎีกาฝากดวงชะตาแด่พระพุทธเจ้า องค์พระโพธิสัตว์ และดาวนพเคราะห์ทั้งเก้าพระองค์
พิธีที่ 3 ไหว้ไท้ส่วยเอี๊ย แก้ปีชง ซึ่งปีนี้ ปีจอ ชงตรง 100% และปีที่ชงร่วมได้แก่ ปีมะโรง ฉลู มะแม
พิกัดที่ 2 เดินเล่น กินหนม ชมบ้านเก่า
ท่องเที่ยวในแบบที่คุณมีส่วนร่วม D-HOPE
"ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัวจันทบุรี
เสาร์นี้ 24 -วันอาทิตย์ที่
25
กุมภาพันธ์ ตั้งแต่ 09.00 น.-17.00 น. จัดเต็ม ขบวนขนมแปลกลมเดินเพลิน ๆ
ราคาเริ่มที่ 5 - 10 บาท หนึ่งในสถานที่มาจันท์แล้วต้องแวะไปเยือน "เดินเล่น กินหนม ชมบ้านเก่า" พิกัดชุมชนhttps://goo.gl/maps/JuLVcBA5zVJUNC8s5
พิกัดที่ 3 เที่ยวงานเสน่ห์ไม่จางที่บางสระเก้า
และการเปิดหมู่บ้านการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ D-HOPE
ประจำปี 2567 เดินชมตลาดสี่มุมเมรุ วัดบางสระเก้า
ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม - วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 ตั้งแต่ 09.00 น. - 22.00 น.
เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมภายในงาน พบกับ 10 แชมป์ผู้ประกอบการชุมชน
เลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน แล้วเดินสัมผัสวิถีตลาดชื่อแปลกที่มีของดีอยู่มากมาย
สุขภาพ
–8 วิธีรับมือกับปัญหาตื่นเช้ามาแล้วมีอาการเจ็บคอ
โดยมีแนะนำผู้ที่มีปัญหาตื่นมาเจ็บคออาจลองนำวิธีดังต่อไปนี้ไปใช้
1.อมน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ
2.พยายามหลีกเลี่ยงการหายใจทางปาก
3.ดื่มน้ำให้เพียงพอ
หรือประมาณ 6–8 แก้ว/วัน
4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้สารก่อภูมิแพ้
5.ใช้เครื่องทำความชื้นขณะนอนหลับ
6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร้อนจัดและอาหารที่มีรสเผ็ด
7.หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นกรด
อาหารที่มีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่
และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
8.กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
วิธีดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้นใช้ดูแลตัวเอง
หากอาการไม่ดีขึ้น 1–2 สัปดาห์
ผู้ที่มีปัญหาตื่นมาเจ็บคอควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น กลืนลำบาก หายใจลำบาก คลำพบก้อนในคอ
เจ็บตามข้อ มีไข้ ปากแห้ง แสบลิ้น และพบคราบสีขาวบนลิ้น
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก
–นายกเศรษฐาโชว์วิสัยทัศน์นำไทยสู่8HUBเอเชียรุกท่องเที่ยว
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
ประกาศวิสัยทัศน์ IGNITE Thailand Vision ที่ทําเนียบรัฐบาล โดยจะนำพาประเทศไทยกลายเป็น
“ศูนย์กลาง” เมืองอุตสาหกรรมระดับโลก ทั้งหมด 8 HUB เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน
เน้นการท่องเที่ยว รักษาพยาบาลและสุขภาพ อาหาร การบิน ผลิตยานยนต์แห่งอนาคต
เทคโนโลยี และการเงิน
รัฐบาลจะทำให้ประเทศไทยเป็นที่ 1
ของภูมิภาค ด้วยข้อได้เปรียบของไทย ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว
ภูมิอากาศที่อบอุ่นตลอดปี โครงสร้างพร้อมต่อยอด และศักยภาพของคนไทย โดยจะเร่งทำ 8
วิสัยทัศน์ ได้แก่
วิสัยทัศน์ที่ 1 ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism
Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 2
ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture
& Food Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 4 ศูนย์กลางการบิน (Aviation
Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 5 ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic
Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 6 ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต
(Future Mobility Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 7 ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital
Economy Hub)
วิสัยทัศน์ที่ 8 ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial
Hub)
นายกฯ เศรษฐา ยืนยันนโยบายนำไทยเป็น “ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว
: Tourism Hub” เพราะสามารถสร้างรายได้ให้คนไทยกว่า 1 ใน 3
ของจํานวนประชากร ด้วยมูลค่าเศรษฐกิจปีละกว่า 2.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 70%
ของงบประมาณรายจ่ายประจําปี โดยจะใช้ Soft Power สร้างจุดขายเสน่ห์เมืองไทย
ให้โดนใจประชาคมโลก ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม งานเทศกาล คอนเสิร์ต งานภาพยนตร์
งานศิลปะ อาหาร วัฒนธรรม รวมทั้งกีฬา ศิลปะป้องกันตัวอย่างมวยไทยซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคนไทย
ผนวกกับผลักดันบางจังหวัดเป็นมรดกโลกอย่าง เช่น จังหวัดน่าน พร้อมกับอํานวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก
ผ่านมาตรการเปิดฟรีวีซ่า ให้ไปแล้วคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน อินเดีย
ไต้หวัน
ต่อเนื่องถึงนำไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางในภูมิภาค
และในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง CLMV และหลังจากนี้
การท่องเที่ยวในประเทศไทย (ททท.) จะต้องรับไม้ต่อส่งเสริมต่อยอดทุกรูปแบบ
ทุกจังหวัด ทั้งเมืองหลักและเมืองรอง พร้อมทั้งแก้ไขกฎ ระเบียบ
ที่เป็นอุปสรรคการท่องเที่ยว เพื่อขยายระยะเวลาพำนักและกระตุ้นค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้าประเทศให้ได้ตามเป้าหมาย
ข่าวที่สอง
-การบินไทยคืนชีพรับท่องเที่ยวปี66ทำกำไร 2.8หมื่นล้าน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานสำหรับปี
2566 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2566 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี บริษัทฯ และบริษัทย่อย
มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 45,170 ล้านบาท
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.4% เพราะการบินและท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง
ผู้โดยสารต้องการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
โดยมีต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) 15,611 ล้านบาท
ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 28,123 ล้านบาท
หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 12.87 บาท ต่างจากปี 2565 ขาดทุนต่อหุ้น 0.12 บาท
สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินงานปี 2566 สิ้นสุด 31
ธันวาคม 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย
มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 161,067 ล้านบาท
เป็นรายได้จากกิจกรรมขนส่งผู้โดยสารเติบโตเพิ่มขึ้น 79.3% มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวปี
2566 เพิ่มขึ้น 53.3% จากปี 2565
คิดเป็นสัดส่วน 87% ของปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด-19
ปี 2566
มีค่าใช้จ่ายไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 120,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3% จากปี 2565 จากค่าใช้จ่ายผันแปรในส่วนค่าน้ำมันที่มีสัดส่วน 39.5% ของค่าใช้จ่ายรวมที่สูงขึ้นจากปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น
และต้นทุนการบริการในกิจกรรมขนส่งจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
(EBIT)
เป็นเงิน 40,211 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 32,414
ล้านบาท และมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน
42,875 ล้านบาท ดีกว่าประมาณการตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุให้บริษัทฯ ต้องมี EBITDA
จากการดำเนินงานในส่วนของการบินไทยหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบินไม่น้อยกว่า
20,000 ล้านบาท ในรอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่จะรายงานถึงผลสำเร็จการฟื้นฟูกิจการ
ปี 2566
มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของบริษัทฯ
และบริษัทย่อยสุทธิเป็นรายได้ 2,201 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้
กำไรจากการขายสินทรัพย์ โดยมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 1,066 ล้านบาท
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เปรียบเทียบกับวันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวม 238,991
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6% มีหนี้สินรวม 282,133
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
และบริษัทย่อย ติดลบ 43,142 ล้านบาท ลบลดลง 27,882 ล้านบาท จากผลประกอบการเป็นบวก บริษัทฯ มีเงินสด รวมตั๋วเงินฝาก
เงินฝากประจำ และหุ้นกู้ ที่มีระยะเวลาครบกำหนดชำระมากกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน รวม 67,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32,590 ล้านบาท
ปี 2566
บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีผลการดำเนินงาน ส่วนที่ 1 ปริมาณการผลิต (ASK) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 40.9%
ขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 65.4%
ส่วนที่ 2 อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 79.7%
สูงกว่าปี 2565 ทำไว้เฉลี่ย 67.9% บริการขนส่งผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 13.76 ล้านคน
เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 52.7%
ส่วนที่ 3 ปริมาณการผลิตและขนส่งสินค้า (ADTK)
สูงกว่าปีก่อน 40.9 % ปริมาณการขนส่งสินค้า
(RFTK) สูงกว่าปีก่อน 15.4% มีอัตราขนส่งสินค้า
(Freight Load Factor) เฉลี่ย 51.7%
ปัจจุบันการบินไทย และบริษัทย่อย มีเครื่องใช้บินรวมทั้งสิ้น 70 ลำ แบ่งเป็น แบบลำตัวกว้าง
50 ลำ ลำตัวแคบ 20 ลำ และ 20 ลำ ในตารางการบินฤดูร้อนปี 2567 ให้บริการเที่ยวบินสู่เครือข่ายทั่วโลก
61 เส้นทาง ทั้งยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย โดยได้เพิ่ม 1.เส้นทางสำคัญ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ซิดนีย์ 2.จุดบินใหม่ 4 เส้นทาง ได้แก่ ออสโล มิลาน
เพิร์ท และ โคจิ รองรับการเดินทางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเร่งขยายขนาดฝูงบินให้เพียงพอต่อแผนเปิดเส้นทางบิน
จำนวนเที่ยวบิน และความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการ “หารายได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ”
สร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคต
ติดตามฟังรายการได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
เวลา 11.00-12.00 น.ทาง สวท.FM 97.0 MHz.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น