ปลุกไทยตื่นตัว
‘รีไซเคิลพลาสติก’ใกล้ตัว
บูมใช้สัญลักษณ์7เบอร์ยกเครื่องสิ่งแวดล้อม
ขณะนี้พลาสติกวัสดุทดแทนจากธรรมชาติและส่วนมากผลิตจากโพลิเมอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติหลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน หากแต่เป็นผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในปี 2558 หลายองค์กรในประเทศไทยทุ่มทำโครงการรณรงค์ปลุกกระแสผู้บริโภครู้ถึงวิธี “รีไซเคิล” นำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยเทคนิคง่ายๆ ในการนำสัญลักษณ์มาใช้ให้ผู้บริโภคสังเกตุ ลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูปสามเหลี่ยมมีหมายเลขกำกับบนพลาสติกแต่ละประเภท 7 ชนิด
สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐอเมริกา
(The
Society of the Plastics Industry Inc.) รายงานว่าได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อนำมารีไซเคิลซึ่งมีการนำมาใช้ทั่วโลกอย่างแพร่หลาย ดังนั้นสัญลักษณ์ลูกศร 3
ตัว วนเป็นรูปสามเหลี่ยมจึงหมายถึงการนำมารีไซเคิลได้
ส่วนหมายเลขกำกับตรงกลางรูปสามเหลี่ยม คือ
การจัดประเภทหรือชนิดพลาสติกที่จะนำมารีไซเคิลได้มี 7 ประเภท
ดังนี้
“เบอร์ 1”
คือ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) หรือ เพ็ท (PET หรือ PETE)
พบสัญลักษณ์นี้ได้ในขวดบรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช
กลุ่มนี้สามารถรีไซเคิลให้เป็นเส้นใยทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์ในหมอน เป็นต้น
“เบอร์ 3” คือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือ พีวีซี (PVC) กลุ่มนี้ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม สามารถนำมา รีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปา กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เป็นต้น
“เบอร์ 4” คือ โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) หรือ แอลดีพีอี (LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหาร
และห่อสิ่งของ สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถังขยะ
กระเบื้องปูพื้น และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
“เบอร์ 5” คือ โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) หรือ พีพี (PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร ถัง ตะกร้า กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา เป็นต้น
สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในรถยนต์ และไม้กวาดพลาสติก เป็นต้น“เบอร์ 6” คือ โพลีสไตรีน (Polystyrene) หรือพีเอส (PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ หรือโฟมใส่อาหาร นำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ผลการศึกษาอัตราการรีไซเคิลวัสดุล่าสุด พบว่า
อัตราการนํากลับมาใช้ใหม่ซึ่งประกอบด้วยการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่นํามาใช้ประโยชน์และการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียมสูงเกินกว่าร้อยละ
99 ส่วนแก้วและกระดาษอยู่ในระดับร้อยละ 75 มีเพียงพลาสติกและกล่องเครื่องดื่มอยู่ในระดับร้อยละ 50
โดยในส่วนของกลุ่มพลาสติก
มีปริมาณการผลิตในประเทศ 5,196,033.54 ตันต่อปี การนำเข้า 535,191.14 ตันต่อปี
ปริมาณการส่งออก 990,896.60 ตันต่อปี
ปริมาณการบริโภคในประเทศ 5,651,738 ตันต่อปี
มีการนำกลับมาใช้ใหม่ปริมาณ 2,856,049 ตันต่อปี
จากผลศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าปริมาณการนำกลับมาใช้ใหม่
ยังต่ำกว่าการบริโภคในประเทศ
ดังนั้นความสำคัญของการรณรงค์ให้เกิดการตระหนักรู้กับประชาชน
จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหน่วยงานที่ทั้งภาครัฐและเอกชน
ต้องร่วมมือในการที่จะปฎิบัติในการคัดแยกบขยะพลาสติกตามประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการนำกลับมาใช้ใหม่
การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของไทยในปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพและความเหมาะสม
ส่วนใหญ่เป็นแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่ปลายทาง อาทิ
การจัดหาเทคโนโลยีระดับสูงที่เป็นที่นิยมในต่างประเทศเข้ามาใช้
หรือการใช้มาตรการทางกฎหมายตามแบบในประเทศยุโรป รวมถึงภาคเอกชนกลุ่มหนึ่งได้ร่วมกันดําเนินการจัดตั้งองค์กรที่ทําหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลอย่างยั่งยืน
โดยการส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ คัดแยกวัสดุรีไซเคิลตั้งแต่ต้นทาง
ผ่านกิจกรรมและเครื่องมือต่างๆ ซึ่งหลายภาคส่วนต่างก็ให้การยอมรับในแนวทางดังกล่าว
อย่างไรก็ตามมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทยยังขาดการบูรณาการรูปแบบต่างๆ
ที่มีประสิทธิภาพให้เกิดเป็นแบบมาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยที่สัมฤทธิ์ผลได้ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงควรร่วมมือกันรณรงค์ใช้ทั้ง 7 สัญลักษณ์รีไซเคิลอย่างถูกวิธี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น