ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทอท.ต้อนรับผู้นำคนใหม่ "ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ"



ทอท.เปิดบ้านต้อนรับผู้นำคนใหม่ปี 2558

“ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ”โชว์จุดเปลี่ยนการบิน

เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน
(อีเมล์:rakdeethai@gmial.com, blogger :gurutourza.blogspot.com)


ผู้นำใหม่-ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ
 
      จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ที่กำลังได้รับความสนใจจากทุกฝ่ายเมื่อ “ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ” เข้ามารับตำแหน่ง “กรรมการผู้อำนวยการใหญ่” ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2558 เป็นต้นไป โดยได้สร้างประวัติศาสตร์การเป็นผู้นำ ทอท.อายุน้อยที่สุดในวัยเพียง 40 ปีต้น ๆ เท่านั้น

ทางรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ทางสถานี FM 97.0 MHz มีโอกาสสัมภาษณ์เป็นรายการรแรก ๆ ถึง”วิสัยทัศน์” ของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่ ทอท.ที่อายุน้อยที่สุดมานำเสนอในประเด็นที่น่าสนใจ

ดร.นิตินัย อธิบายว่า สถานภาพและบทบาทของ ทอท.ว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงต้องรักษาสมดุลทั้งทางด้านการให้บริการสังคมและเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถทำพร้อมกันได้ โดยศักยภาพของสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติประตูเศรษฐกิจบานใหญ่ของประเทศ ในขณะนี้มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45 ล้านคน หลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประเทศไทยจะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นอีกมาก ดังนั้นต้องเตรียมวางแผนการขยายแผนพัฒนาการก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกในเฟสที่สอง ว่าจะทำอย่างไรทั้งเรื่องการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้รองรับกับวัตถุประสงค์ในเชิงสังคม เพราะจะมุ่งเพียงด้านเดียวเฉพาะพัฒนาเพื่อให้ผู้โดยสารใช้เพียงอย่างเดียวคงจะเป็นไปไม่ได้

            ตามหลักการประเมินตัวเลขขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิตามสถิติที่ระบุว่ารับผู้โดยสารเต็มที่ตอนนี้ปีละ 45 ล้านคน นั้น คำนวณตามหลักการจากช่วงชั่วโมงที่มีผู้โดยสารใช้บริการเดินทางหนาแน่น (peak hour) ก่อนและหลังในแต่ละวัน 3 ชั่วโมง ซึ่งสุวรรณภูมรองรับได้ชั่วโมงละ  11,000 คน เมื่อนำมาคำนวณโดยคูณด้วย 3 ชั่วโมง ส่วนที่เหลืออีก 21 ชั่วโมงนั้นจะคิดค่าเฉลี่ยมีผู้โดยสารใช้บริการเพียง 40 %

โชว์วิสัยทัศน์ใช้พื้นที่สุวรรณภูมิเฟส2ปั๊มเงินแนวใหม่

แจกอินเซ็นทีพ-เกลี่ยเที่ยวบิน-เพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์
 

ดังนั้นหลักปฏิบัติสำหรับการวางแผนลงทุนขยายสุวรรณภูมิเฟสสอง จึงต้องมุ่งเน้นเรื่อง “บริการ” เป็นหลัก เรื่องการจัดการปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารหนาแน่นในช่วง 3 ชั่วโมงของแต่ละวัน ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนมีจำนวนผู้โดยสารไม่หนาแน่นมากนัก ปริมาณจราจรทางอากาศและผู้โดยสารจะมีความคับคั่งตอนช่วงเช้า 11.00 น. จากปริมาณเที่ยวบินขึ้น-ลงกว่า 50 เที่ยว/ชั่วโมง มากกว่าช่วงเวลาปกติถึง 3 เท่า โดยช่วงปกติจะมีเที่ยวบินขึ้นลงประมาณ 20 เที่ยว/ชั่วโมง

แนวทางการบริหารจัดการจะใช้กลยุทธ์การเกลี่ยจำนวนเที่ยวบินไปอยู่กลางคืนเพิ่มมากขึ้นด้วยกลยุทธ์ “การเพิ่มแรงจูงใจ” หรือ Incentive ควบคู่กันไปในเบื้องต้น

กลยุทธ์นี้เป็นการ “เพิ่มรายได้” โดยดูแลมาตรฐาน “บริการ” ไว้โดยไม่ได้ลดคุณภาพลงแต่อย่างใด ในสถานการณ์ที่ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณตอนนี้เต็มแล้ว

ดร.นิตินัยอธิบายถึงแผนงานการบริหารสนามบินที่อยู่ในความดูแลของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ เชียงราย โดยเฉพาะในปี 2558 ที่กำลังขยายพื้นที่แล้วเรื่องรายได้ที่จะมาจาก 3 สนามบินหลัก สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต

ในยุคที่ผมเข้ามารับตำแหน่งจะขอแบ่งรายได้ของ ทอท.จากการประกอบธุรกิจสนามบินนานาชาติเป็น 3 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 รายได้ส่วนแรกมาจากการบิน (Aero) ประกอบด้วย ค่าลงจอด (landing) ค่าจอด (parking) และ ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสนามบิน (Passenger Service Charge: PSC) ทอท.มีส่วนแบ่งรายได้อยู่ประมาณ 60 %

ส่วนที่ 2 รายได้เชิงพาณิชย์ (Non Aero) แบ่งเป็นเชิงพาณิชย์ที่ผูกมากับการบิน จากผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สนามบิน ทอท.มีส่วนแบ่งรายได้อยู่ประมาณ 40 %

ส่วนที่ 3 พาณิชย์อย่างเดียวโดยตรง เนื่องจากบางสนามบินมีสนามกอล์ฟ หรือมีแนวคิดที่จะทำเป็น Airport City เป็นเมืองแห่งการช็อปปิ้งรอบ  ๆ สนามบิน ปัจจุบัน ทอท.ยังไม่มีรายได้จากส่วนนี้ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้จะต้องทำเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเรื่องรายได้ หากเกิดกรณีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตกต่ำจากปัญหาโรคระบาดที่ต้องจำกัดหรือควบคุมการเดินทาง หรือ เกิดปัญหาการเมืองภายในประเทศ ไม่ว่าจะมีปัจจัยภายในประเทศหรือต่างประเทศเกิดขึ้นรายได้ของสนามบินในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 จะลดฮวบลงอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นการพัฒนารายได้จากสนามบินทั้งในระยะกลางและระยะไกล ทอท.จึงต้องวางแผนหารายได้เชิงพาณิชย์ หรือ Non Aero ทั้งที่ผูกมากับการบินและเชิงพาณิชย์โดยตรง เพื่อนำมาเป็นรายได้ค้ำยันให้องค์กรเกิดเสถียรภาพมากที่สุด

ในทางกลับกันรายได้ที่จากาการบินหรือ Aero นั้นเป็นแกนหลักสำคัญ (Cor-Business) ของ ทอท.ที่จะทิ้งไม่ได้โดยเด็ดขาด ดังนั้นจึงต้องกลับมาดูรายละเอียดเรื่องการบริหารจัดการเที่ยวบินขึ้นลง ในช่วงที่เช้าหนาแน่น แต่จะทำอย่างไรให้สายการบินใช้สนามบิน ทอท.มากขึ้น

“สมัยผมเคยเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาธุรกิจ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้บริหารสายการบินซึ่งต้องการจะมาลงจอดประจำช่วงเวลา 14.00-15.00 น. จากนั้นต้องจอดเครื่องไว้นานกว่า 10 ชั่วโมงกว่าจะได้บินกลับ ทางสายการบินจึงเสนอขอเปลี่ยนเวลาไปบินช่วงที่มีเที่ยวบินขึ้น-ลง ไม่หนาแน่น แต่มีเงื่อนไขขอให้ ทอท.ลดค่าจอดเครื่องได้หรือไม่”

“ตอนนี้ผมเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่แล้ว ก็จะเข้าไปทำเรื่องการกระจายความถี่เที่ยวบินเพื่อเพิ่มปริมาณการจราจรจากสายการบินให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องดูข้อจำกัดว่าต้องแก้ไขหรือปลดล็อกอะไรได้บ้าง โดยสายการบินกลุ่มเป้าหมายมีทั้งที่ต้องการเปลี่ยนตารางเวลาบินเข้า-ออก เป็นช่วงหลังตีหนึ่งหรือตีสองก็มีอีกเป็นจำนวนมาก”

ดร.นิตินัยยืนยันว่ากลยุทธ์ดังกล่าวนี้จะช่วยเพิ่มรายได้จากการบินเข้า ทอท.เติบโตมากขึ้น
 
ทอท.งัดกลยุทธ์ใหม่ลงทุนทำตลาดโหมโฆษณา

          ช่วยธุรกิจในทุกสนามบินขายของเพิ่มส่วนแบ่ง

         สำหรับรายได้เชิงพาณิชย์ ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจร้านค้าในสนามบินแต่ละแห่งมีความพร้อมเรื่องเงินทุนทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ก็ไม่เดือดร้อน แต่ผมจะต้องดูแลผู้ประกอบการรายเล็กที่อยู่ในสนามบินภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะมีรายได้ตามยถากรรม นักท่องเที่ยวไม่มาก็รายได้น้อยหรือขาดทุน

            สิ่งที่ต้องทำคือ ทอท.ต้องเข้าไปช่วยทำการตลาด ทำโฆษณาให้กับผู้ประกอบการรายเล็กตามสนามบินต่าง ๆ เพราะผลที่จะตามมาหากผู้ประกอบการร้านค้ามีรายได้เพิ่ม ทอท.จะก็จะได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มตามขึ้นไปด้วย

            จึงเป็นอีกกลยุทธ์ที่จะสร้างความเข้มแข็งทางรายได้จากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสนามบินทั้ง 6 แห่ง

จับเข่าคุยธนารักษ์หนุนดอนเมืองแนวใหม่

หลังอยู่กับเงื่อนไขการค้าแบบเก่ามา100ปี

ส่วนพื้นที่ภายในสนามบินนานาชาติดอนเมือง ที่อยู่ระหว่างเสนอใช้พื้นที่คลังสินค้า (Cargo) ก่อนหน้านี้เมื่อช่วง5-6 ปีก่อนหลายฝ่ายพยายามผลักดันให้ปรับอาคารผู้โดยสารเป็น ฟรีโซน ศูนย์การแสดงสินค้าและศูนย์ซ่อมอากาศยานของประเทศ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลขณะนั้นประกาศให้ปิดใช้สนามบินดอนเมือง แต่วันนี้เหตุการณ์เปลี่ยนไปแล้วเมื่อรัฐบาลอีกยุคให้นำดอนเมืองกลับมาใช้เป็นสนามบินบริการเที่ยวบินของสายการบินต้นทุนต่ำ (low cost) จนกระทั่งขีดความสามารถในการรองรับขณะนี้มีผู้โดยสารใช้บริการเกือบเต็มศักยภาพแล้วปีละ 20 ล้านคน

            สิ่งที่ผมจะทบทวนการใช้พื้นที่ที่ยังว่างอยู่ในสนามบินดอนเมือง เรื่องแรก ทบทวนการใช้ประโยชน์เพื่อทำให้เกิดมูลค่ากับประเทศ เพราะที่ดินดอนเมืองเป็นที่ราชพัสดุเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา ในทางกฎหมายการเวนคืนได้ระบุไว้ชัดเจนว่าจะนำมาทำสนามบินและกิจการเกี่ยวเนื่องกับสนามบิน ประเด็นนี้สำคัญมากต้องขีดเส้นการพัฒนาให้ชัดด้วยว่ากิจการที่เกี่ยวเนื่องกับสนามบินนั้นมีอะไรบ้าง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อจำกัดของสนามบิน

            จากนั้นผมจะไปเจรจากับกรมธนารักษ์เพื่อตกลงการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์ให้ตรงกันก่อนจะลงมือทำ เช่น โรงแรมซึ่งอยู่ตรงข้ามกับสนามบินจะเข้าข่ายธุรกิจหรือเงื่อนไขใดต้องทำให้โปร่งใสชัดเจนทั้งหมด

ลุยดีไซน์พื้นที่ค้าขายเชิงรุกสุวรรณภูมิเฟส2

เทียบชั้น “อินชอน” เกาหลีใต้ใช้พื้นที่คุ้มค่า

            ดร.นิตินัยกล่าวถึง แนวทางการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เฟส 2 ที่ได้รับอนุมัติให้เริ่มเดินหน้าได้ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไปนั้น ประเด็นการออกแบบพื้นที่จำหน่าย ซึ่งมีทั้งร้านค้าพาณิชย์ ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม ร้านค้าปลอดอากรต่าง ๆ ในอนาคต ทอท.มุ่งเน้นเปิดบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กอาจจะทำไม่ได้เต็มที่ แตกต่างจากผู้ประกอบการรายใหญ่มีความพร้อมให้บริการเต็มที่ จึงต้องพิจารณาว่า ทอท.ควรจะจัดสรรสัมปทานให้รายใดบนพื้นฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ด้วยตามหลักธรรมมาภิบาล  

โดยจะให้น้ำหนักความสำคัญมากกับเรื่องการออกแบบอาคารผู้โดยสารในสนามบินที่กำลังอยู่ระหว่างขยายลงทุน ทั้งที่สุวรรณภูมิและภูเก็ต การออกแบบมีความสำคัญมากตั้งแต่แรก จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดระหว่างการออกแบบใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ระหว่างสนามบิน 2 แห่ง

แห่งแรก สุวรรณภูมิ ของประเทศไทย มีพื้นที่รวม 560,000 ตารางเมตร แต่มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ 36,000 ตารางเมตร ใช้ประโยชน์เพื่อการค้าจริง ๆ เพียง 20,000 กว่าตารางเมตร

แห่งที่ 2 สนามบินนานาชาติอินชอน เกาหลีใต้มีพื้นที่ 496,000 ตารางเมตร เล็กกว่าสุวรรณภูมิ แต่อินชอนมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ถึง 166,000 ตารางเมตร มากกว่าไทยถึง 5 เท่า

นั่นคืออินชอนออกแบบสนามบินโดยทำเป็นสนามบิน Open Gate ส่วนสุวรรณภูมิออกแบบสนามบินทำเป็น Close Gate คือใช้พื้นที่เพื่อผู้โดยสารผ่านจุดตรวจตามมาตรฐานการเข้า-ออก โดยมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ไม่มาก ส่วนที่เหลือก็ทำเป็นเดินตรงไปขึ้นเครื่องบินอย่างเดียว จนผู้โดยสารรู้สึกเบื่อเพราะไม่มีอะไรระหว่างทางเดินไปยังห้องพักโดยสารก่อนขึ้นเครื่อง

ในขณะที่สนามบินอินชอน ออกแบบให้นำจุดตรวจผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่องบินไปไว้ตรงประตูก่อนทางขึ้นเครื่องบิน จึงสามารถนำพื้นที่มาทำเป็นร้านค้าให้ผู้โดยสารได้เดินอย่างเพลิดเพลินเจริญตาไปด้วย เป็นการออกแบบอาคารผู้โดยสารของอินชอนที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้จากร้านค้าเชิงพาณิชย์ได้มากมายกว่า 50 % แตกต่างจาก ทอท.มีรายได้เชิงพาณิชย์ไม่ถึง 40 %

ดังนั้นสิ่งที่ผมจะต้องหารือกับคณะกรรมการ ทอท.และฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เกี่ยวกับการเสนอแผนขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 และ สนามบินอื่น  ๆ นั้นจะต้องเห็นตรงกันถึงการออกแบบขยายอาคารผู้โดยสารและการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความรอบคอบที่จะไม่ต้องกระทบกับมาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตของผู้ใช้บริการทุกภาคส่วนทั้งเรื่อง Safety และ Security ของสนามบินที่จะต้องปฏิบัติตามหลักสากลควบคู่กันไปด้วย ไม่ใช่จะเอาแต่ขายของเพียงอย่างเดียว

ส่วนการจัดพื้นที่ภายในสนามบินของไทยในอดีตที่ผ่านมา การจัดสรรพื้นที่ให้กับผู้ประกอบการอาจจะไม่เหมาะสมบ้าง ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำจากนี้ไปคือประเมินผลก่อนว่าภายใต้พื้นที่ใช้สอยที่มีข้อจำกัดนั้น ทอท.ควรจะดูด้วยว่าธุรกิจประเภทไหนมีผลตอบแทนสูง คุ้มค่า มีมูลค่าสูง และ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมาตรการความปลอดภัย ควรจะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีผู้โดยสารอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนกิจการประเภทที่ให้ผลตอบแทนต่ำมีมูลค่าไม่มากนักควรจะอยู่ในที่สงบแล้วใช้วิธีทำป้ายโฆษณา บอกทางแก่ผู้ที่ต้องการใช้บริการก็ได้

เป้าหมายซึ่งเป็นความท้าทายที่จะทำให้ ทอท.เป็นแกนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเติบโต ต้องพึ่งพาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาการบินด้วย หัวใจสำคัญคือวางกลยุทธ์เพิ่มรายได้ทั้งจากการบินและเชิงพาณิชย์ให้ได้เต็มศักยภาพ

“กรณีรายได้เชิงพาณิชย์ ช่วงชั่วโมงหนาแน่นมีเที่ยวบินใช้บริการมากถึง 50 เที่ยว/ชั่วโมง หากเกลี่ยจำนวนเที่ยวบินขึ้น-ลงในสุวรรณภูมิให้มีประสิทธิภาพแล้ว จะสามารถเพิ่มการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้นได้อีกถึงปีละ 75,000 เที่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เกี่ยวเนื่องด้วยนั่นคือ ค่าบริการนำเครื่องขึ้น-ลง ค่า PSC และ ค่าลานจอด ยังไม่รวมรายได้จากการจำหน่ายสินค้า อาหาร ช็อปปิ้ง ภายในสนามบิน และ การท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ ที่ ทอท.สามารถช่วยเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตควบคู่กับการขยายสนามบินนานาชาติได้”

ทั้งหมดเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำ “ทอท.” คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่จะเปลี่ยนแปลงประตูเข้า-ออก ของประเทศให้มีทั้งคุณค่าและมูลค่ากับเศรษฐกิจ รวมถึงการทำให้ไทยเป็นประเทศศูนย์กลางการบินภูมิภาคเอเชียอย่างเข้มแข็งเพื่ออนาคตความเป็นอยู่ที่มั่นคงของคนไทย

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท.คุนหมิงดึงจีน3มณฑลเที่ยวไทยทางบก4ด่านเงินสะพัด

ททท.ปั๊มทัวร์จีนคุนหมิงแบบโอเวอร์แลนด์เงินสะพัดไทย 4 ด่าน ส.ค. 66- ปี ’67 กระหน่ำขาย “ New Ways to Amazing to Thailand” ล็อกเป้าจีน 4 ตลาดใช้จ่ายแสนบาท/ทริป-ดันอีสานอู้ฟู่ 20 จังหวัด ช้อป!!ของขวัญวันแม่ที่คิงเพาเวอร์ลด20%- Firster9 หมื่นไอเท็ม ฉลองวันแม่!พูลแมนคิงเพาเวอร์จัดบุฟเฟต์พรีเมี่ยมกลางวัน/ค่ำ กินฟินที่คิงเพาเวอร์มหานคร-รร.เดอะสแตนดาร์ดตลอดส.ค. 66 ททท.จัดแข่งผัดกะเพราโลก“ World Kaphrao 2023”ชิงเงินล้าน กลุ่มบริษัทบางจากโชว์ครึ่งปีแรก66กวาดรายได้1.48 แสนล้าน TCEB บุกจีนจัด Thailand MICE in China 2023 โกยไมซ์ 990 ล้าน เที่ยววันแม่ใกล้กรุงได้ที่อุทยานเบญจสิริ/ดรีมเวิลด์/สวนนงนุช เคล็ดลับ!!การรักษาแผลให้หายไวด้วยขั้นตอนง่ายๆทำได้เอง บินไทยฟื้นเร็ว!!ครึ่งแรกปี’66กำไร329%พกเงินสด5.1หมื่นล้าน เปิดขายแล้ว!!บัตรชม“โขน”สุดยิ่งใหญ่แห่งดูได้ 5 พ.ย.- 5 ธ.ค. 66   วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ

TCEB นำงานวิจัยMICE for Sightแนะธุรกิจปรับตัวรับไมซ์10ปีหน้า

  นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) "TCEB" “ TCEB ”เปิดคัมภีร์ MICE for Sight ปลุกไมซ์จัดทัพใหม่ 10 ปีหน้า รับมือ Gen Z ผงาดผู้ทรงอิทธิพลไมซ์โลกเขย่าตลาดครั้งใหญ่ ปี 67 เร่งโกย 1.4 แสนล้านโหมซอฟท์เพาเวอร์/ไมซ์ซิตี้/ไมซ์ชุมชน รีบช้อป!!คิงเพาเวอร์เป็นไปได้5รายการรางวัลสูงสุดกว่า 4 ล้าน ด่วน 4 วันสุดท้าย!คิงเพาเวอร์อัดโปร SurpriseOnlineSale ลด 50% คิงเพาเวอร์ช้อปวนไปแจกทันที 3 ฟรี คูปอง/ตั๋ว/รถยนต์ LEXUS ท่องเที่ยวรุกเจรจาธุรกิจ TEJ 2023ฉลุย300นัดโกยญี่ปุ่น9ตลาด บางจาก-กรุงไทยเปิดแอปเป๋าตังจองซื้อหุ้นกู้ดิทัลดีเดย์ 30 ต.ค. เที่ยวประจวบนอนแคมป์ทะเลหมอกบ้านป่าหมาก-วิ่งปราณบุรี บินไทยโชว์ยูนิฟอร์มใหม่ลูกเรือแฟชั่นผ้าลดโลกร้อนเริ่ม1ม.ค.67 คาเธ่ย์ กรุ๊ปทุ่มลงทุนฝูงบินใหม่ A 320 neo เพิ่ม32ลำบินจีน/เอเชีย   วันเสาร์ที่  28 ตุลาคม 2566 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97

ททท.ภาคเหนือ7เดือนปี66โกยแล้ว1.08แสนล้าน

นางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ททท.ภาคเหนืออู้ฟู่ 7 เดือนแรกโกยได้แล้ว 1 แสนล้าน ต.ค.-ธ.ค. 66 ลุยขายเที่ยวไฮซีซัน 4 เทรนด์ใหม่มาแรง นำ The Link จับคู่ทัวร์ข้ามภาคสำเร็จ 3 เส้นทางสุดฮ็อต คิง เพาเวอร์แจกมันส์แจกฟินที่รางน้ำเสาร์16ก.ย.นี้ ช้อป KingPowerOnline รับแบบไม่ยั้ง2สุดคุ้มถึง24ก.ย. ช้อป DUTY FREE SALE นำบิวตี้แบรนด์โลกมาเต็ม ททท.ใช้ฟรีวีซ่าปั๊ม1.4แสนล้านชาเตอร์จีนเฮเข้าไทย บางจากโชว์อุตฯไทย-ไต้หวันชูนวัตกรรมธุรกิจสีเขียว TCEB ผนึก EECAutoPark หนุนไมซ์เอ็กซิบิชั่นอินเตอร์ เที่ยว Unseen “พิพิธภัณฑ์ป่าสัก-วัดขุนอิน-วัดปัญญา” 4วิธี“ปิดล้างเลี่ยงหยุด”ป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกพันธุ์ “สุดาวรรณ”รมว.ใหม่ท่องเที่ยวดึงต่างชาติ40ล้านคน กพท.-สมาคมแอร์ไลน์สไทยแบไต๋ตั๋วบินราคาแพง วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyai