สงกรานต์ 7วัน "เงินสะพัดแสนล้าน"
4โพลล์ชี้ปี'58ธุรกิจ“อาหาร-เครื่องดื่ม-เหล้า”รวยอื้อ
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน : blogger :gurutourza.blogspot.com
(เจ้าของรายการ“รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ทาง FM 97.0 MHz.สวท.ออกอากาศทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์
เวลา 11.00-12.00 น.)
ผลสำรวจความเห็นหรือ “โพลล์” ตลอดเทศกาลใหญ่“ช่วง
7 วันสงกรานต์ทำเงิน”แรงหนุนเศรษฐกิจปี
2558 รื่นไหกว่าแสนล้าน “ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม และแอลกอฮอล์”
ครองแชมป์กวาดรายได้ไปเกินกว่าครึ่งของตลาดจากมูลค่ารวม 1.19 แสนล้านบาท
จากการประมวลผลสำรวจของ 4 ค่ายใหญ่ ได้แก่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย-อีคอนโพล (ECON POLL) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น-กรุงเทพโพลล์-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย”
ทั้ง 4 ค่ายได้พยากรณ์ความคึกคักช่วงข้ามสัปดาห์ “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2558” การเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวเมืองไทย และ
คนไทยไปต่างประเทศ จะสร้างเม็ดเงินไหลเวียนเฉพาะใน “กรุงเทพฯ” จังหวัดเดียวสูงถึง 28,000
ล้านบาท มากกว่า 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนรวมกันทำได้เพียง
9,100
ล้านบาทเท่านั้น
ส่วน “ภาพรวมเม็ดเงินทั้งประเทศ”
เปรียบเทียบจากผลสำรวจของ 2 โพลล์ คือ “อีคอนโพลล์”
เก็บสถิติได้ประมาณ 97,600 ล้านบาท ขณะที่ “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย”
ระบุรายได้หมุนเวียนจะมากถึง 119,000 ล้านบาท ตัวเลขการพยากรณ์แตกต่างห่างกันประมาณ
21,400 ล้านบาท
สำหรับผลลัพธ์ของทั้ง 2 โพลล์ที่สรุปสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันคือ “พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค”
พร้อมควักกระเป๋าจ่ายตลอดเทศกาลสงกรานต์ 2558 ให้กับ “กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม”
เป็นแชมป์โกยเงินรวมกันไปได้เกินกว่า 60 % โดยเฉพาะ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
ชิงส่วนแบ่งรายได้ติดอันดับหนึ่ง เฉลี่ยคนละ 1,746 บาท จากค่าเฉลี่ยรวมของแต่ละคนที่จะใช้จ่าย
4,840 บาท
การประเมิน “อุณหภูมิเศรษฐกิจ” จากเม็ดเงินที่ผู้คนจะใช้ในช่วงฮ็อต
ๆ การเดินทางท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ กลับบ้านเกิด ตลอดวันหยุด “สงกรานต์ 7 วันสงกรานต์ทำเงิน”
ปี 2558 ดูจะสดใสคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา
เนื่องจากปีนี้บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบไม่มีวุ่นวายทางการเมืองเหมือนปีก่อน ๆ รัฐบาล “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา”
นายกรัฐมนตรี อาศัยจังหวะนี้มอบนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนโหมทำประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเทศกาล
“เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ซึ่งต้องยอมรับว่าตอนนี้เสาหลักเศรษฐกิจที่พอเห็นแสงสว่างพึ่งพาได้เหลืออยู่เพียงเสาเดียวคือ
“ท่องเที่ยว” เป็นอุตสาหกรรมเดียวที่รัฐไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก อาศัยความร่วมมือกันสร้างบรรยากาศดี
ๆ ปลุกกระแสให้ผู้คนลุกขึ้นมาเดินทาง เม็ดเงินก็ไหลออกมาหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นได้
จากคนไทยเที่ยวกันเองในประเทศ หรือคนต่างประเทศเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยก็ตาม
สิ่งที่น่าสนใจเมื่อ “4 ค่ายใหญ่” นำโพลล์ออกมาประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องตลอด
2 สัปดาห์เดือนเมษายนนี้ แต่ละโพลล์มีความน่าสนใจต่างกัน
ส่วนผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจที่ได้รับเค้กรายได้ก้อนใหญ่น่าจะไปอยู่ในกลุ่ม
“ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม” เป็นหลัก
โดยเฉพาะกลุ่มแอลกอฮอล์ปรากฏผลจากโพลล์ว่าคนพร้อมจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง
16 % คือพร้อมควักกระเป๋าจ่ายค่าสุราเฉลี่ยคนละ 1,746
บาท
ตามสรุปผลสำรวจตลอดสงกรานต์ของ 4 ค่าย ที่น่าสนใจดังนี้ คือ
ค่ายแรก “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย”
ทยอยทำบทวิเคราะห์ออกมาก่อนเป็นค่ายแรก ตอนต้นเดือนเมษายน 2558 เน้นเจาะลงลึกเฉพาะ 2 พื้นที่ ได้แก่
พื้นที่แรก “กรุงเทพฯ”
ปี 2558 เงินสงกรานต์จะสะพัดทั่วกรุงประมาณ 22,800 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น
3.6% ปีนี้คนกรุงเทพฯให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์เป็นอันดับที่
1 รวมทั้งการจับจ่ายใช้สอยกลับมาขยายตัวอย่างโดดเด่นอีกครั้ง
หลังจากปี 2557 ซบเซาจากผลกระทบของการชุมนุมทางการเมือง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า “ธุรกิจในกรุงเทพฯ”
ที่จะดูดเงินออกจากกระเป๋าคนกรุงมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ “กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม” คนจะใช้เงินเลี้ยงสังสรรค์กันมาก 11,500 ล้านบาท ตามมาด้วย ช็อปปิ้ง 4,600 ล้านบาท ค่าที่พัก/เดินทาง 3,100 ล้านบาท ทำบุญไหว้พระ 3,100 ล้านบาท และกิจกรรมอื่นๆ
ที่รวมถึงซื้ออุปกรณ์เล่นน้ำ 500
ล้านบาท
พร้อมทั้งระบุว่าราคาน้ำมันในประเทศปีนี้ลดลงจากปี
2557 ประมาณ 30% เป็นตัวช่วยให้คนกรุงเทพฯ ประหยัดค่าเดินทางช่วงสงกรานต์ปีนี้ลงได้มากถึงประมาณ
10-15%
ส่วนผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2558 ยังพบว่า 54% ยังนิยมพักผ่อนหรือทำกิจกรรมอยู่ในกรุงเทพฯ
ส่วนอีก 27% เดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด.
พื้นที่ที่
2 ใน “8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2558...สร้างเม็ดเงินสะพัดมูลค่า 9,100 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12.5 % เพราะนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปยัง
8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนกันอย่างคึกคัก
โดยมีจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เป็นปลายทางท่องเที่ยวอันดับต้นๆ และทั้ง 8 จังหวัดจะกลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวขวัญใจ
“ชาวจีน” พากันหลั่งไหลเข้าไปไม่ต่ำกว่า 65,000 คน ใช้เงินไม่ต่ำกว่า
1,000 ล้านบาท
ค่ายที่ 2 อีคอนโพล (ECON POLL)ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เผยผลสำรวจเรื่อง
"เศรษฐกิจช่วงหยุดยาววันสงกรานต์ 2558” จะคึกคักกว่าปีที่แล้ว 15.8% ประชาชนจะใช้จ่ายเงินช่วงสงกรานต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
97,600 ล้านบาท เป็นค่าเฉลี่ยจากกลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอยู่ที่
4,840 บาท ซึ่งนำมาใช้ประมาณการจากจำนวน
20,167,519 ครัวเรือนทั่วประเทศ
ผลสำรวจของอีคอนโพลล์
ระบุว่าจังหวัดที่พบว่าโดนใจคนอยากไปเที่ยวและใช้เงินมากที่สุด 5
อันดับ คือ จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 13.8
เชียงใหม่ ร้อยละ 12.2
กระบี่ ร้อยละ 7.5 ภูเก็ต ร้อยละ 7.1 และ กทม. ร้อยละ 5.6
(ผลสำรวจโดยรวมพบว่า
ร้อยละ 82.9
จะเล่นน้ำสงกรานต์ภายในจังหวัดที่อาศัย
ร้อยละ 17.1
จะเดินทางกลับบ้านเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด ร้อยละ 13.4
จะเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด ร้อยละ
3.2 ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ)
ส่วนประเทศที่คนไทยจะไปเที่ยวมากที่สุดตามลำดับ
คือ สปป.ลาว ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย
เมื่อคำนวณออกมาเป็น
“ดัชนีความเชื่อมั่น” จะเท่ากับ 115.8 นั่น คือ เศรษฐกิจช่วงสงกรานต์ปีนี้จะสคึกคักกว่าปีที่แล้วร้อยละ
15.8 เนื่องจากในปีดังกล่าวเกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในประเทศ
สำหรับการใช้เงินเที่ยวสงกรานต์
ทางอีคอนโพลล์พบว่าคนจะใช้ไปกับ ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ซื้อของฝาก ซื้ออาหารและเครื่องดื่มแอลแกฮอล์
อุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยรวมแล้วประมาณคนละ
4,840 บาท
โดยผู้ตอบโพลล์สแสดงความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจช่วงสงกรานต์เปรียบเทียบปีนี้กับปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 40.2
เห็นว่าจะดีขึ้นกว่าปีก่อน ร้อยละ 35.4 เห็นว่าจะพอ ๆ กันหรือไม่แตกต่าง ร้อยละ 24.4
เห็นว่าจะแย่ลง
สำรวจความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป
ในอาชีพที่หลากหลายกว่า 10 สาขา ถึงเรื่องหลัก ๆ ได้แก่
เรื่องที่ 1 การวางแผนหรือเตรียมตัวจะเดินทางในวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์
ส่วนใหญ่ร้อยละ
57.2 ไม่มีการวางแผน ขณะที่ร้อยละ 42.8 มีการวางแผน
ในจำนวนนี้ ร้อยละ 29.6 จะกลับไปเที่ยวจังหวัดบ้านเกิด /ไปเยี่ยมญาติ
ส่วนร้อยละ 12.8 จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ที่เหลือร้อยละ 0.4 จะไปต่างประเทศ
เรื่องที่ 2 คำตอบเรื่องภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมีผลต่อการเตรียมงบประมาณสำหรับใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างไร
ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ร้อยละ 52.4 ระบุว่าเตรียมไว้ใช้จ่ายพอๆ
กับปีที่ผ่านมา ส่วนร้อยละ 32.0 จะใช้จ่ายน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 15.6 เตรียมไว้ใช้จ่ายมากกว่าปีที่ผ่านมา
ค่ายที่
4 สงกรานต์ปีนี้ ไม่คึกคัก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ออกมาปิดท้ายด้วยผลพยากรณ์เศรษฐกิจช่วงสงกรานต์เงินจะสะพัด
119,000 แสนล้าน ต่ำสุดในรอบ 5 ปี
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า
ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2558 คาดว่าจะไม่คึกคักเท่าที่ควร เนื่องจาก ประชาชน ยังกังวล
เรื่องเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือน
รวมถึงค่าครองชีพสูงที่สูงขึ้น
ทำให้ประชาชนจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น
สรุปตามโพลล์แล้วปีนี้จะมีเงินสะพัดในช่วงสงกรานต์อยู่ที่ราว
119,000 แสนล้านบาท หรือขยายตัวประมาณ 2%
ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จากปกติจะอยู่ที่ราวร้อยละ 4 เมื่อปี 2556 เติบโตสูงสุดถึงร้อยละ 10.4
ขณะที่ ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ปี 2558 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ
64
วางแผนเดินทางท่องเที่ยวลดลงเมื่อเทียบกับปี 57 ที่ร้อยละ 69.5
สำหรับปี 2558 มีกลุ่มประชาชนวางแผนเดินทางท่องเที่ยว”ช่วงสงกรานต์
ตอบว่าเดินทางท่องเที่ยวในประเทศร้อยละ 93.8 คงมีเพียงร้อยละ 6.2 จะเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ
(ที่มีการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศเพียงร้อยละ 5.9 )
โดยพร้อมใช้จ่ายเงินเฉลี่ยคนละ 54,226 บาท ซึ่งสูงกว่าปี 2557
ดร.ธนวัฒน์
ยังได้แสดงความเห็นจากโพลล์ที่ปรากฏว่า มีสิ่งที่น่ากังวลคือปีนี้ประชาชนจะเน้นกิจกรรมสังสรรค์ทำให้สัดส่วนการดื่มสุราเพิ่มมากขึ้น
เห็นได้จากพร้อมจับจ่ายเงินซื้อเครื่องดื่มสุราคนละ 1,746 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.5 สูงจากปีที่ผ่านมาใช้เพียงร้อยละ
15.3
สำหรับผลสำรวจหรือโพลล์ “อุณหภูมิเศรษฐกิจช่วงสงกรานต์” ของทั้ง 4 ค่าย สอบถามความเห็นภาคประชาชนจาก
“กลุ่มตัวอย่าง” ที่เลือกช่วงอายุใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันตรง
“อาชีพและรายได้” แต่ละโพลล์จะมีกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้แตกต่างกันไป
ทั้งนี้เทศกาล "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์”
ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 ตลอด 7 วัน ทั้ง 4
โพลล์ ได้สะท้อนแง่มุมทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของประเทศไทย
ถึงจะมีความวิตกกังวลกับภาวะฝืดเคืองอยู่บ้าง
แต่โดยรวมแล้วทั้งคนไทยและชาวต่างชาติก็ยังสนุกสนานกับการใช้เงินดื่มกินช่วงเทศกาลสำคัญ
ๆ ของไทย
หน้าที่ของเราคนไทยจึงควรจะต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่รักษา
“มาตรฐานการท่องเที่ยว” อย่างมีคุณภาพไว้
เพื่อความสุขของคนไทยและนานาประเทศที่เลือกนำเงินมาใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น