“อรรคพล”นำทีมรัฐ-เอกชนลุยตั้ง“กรอ.ไมซ์”
ชงแผนปฏิรูปจัดระเบียบTCEBใหม่9ภารกิจ29 มิ.ย.นี้เสนอบอร์ด"ดร.วีระศักดิ์"ลงมติด่วน
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน :rakdeethai@gmail.com
(ติดตามฟังทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz.ทุกเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.)
อรรคพล สรสุชาติ |
หนุนภาครัฐผนึกเอกชนตั้ง “กรอ.ไมซ์” ชุดแรกของประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อนโร้ดแมฟพร้อมผุดคัมภีร์ธุรกิจประชุมและแสดงสินค้าครบวงจร นำไทยผงาดเป็นผู้นำAECและเอเชีย นำเข้ารายได้ปีละกว่า 2 แสนล้านบาท พร้อมเสนอปฏิรูปจัดระเบียบ TCEB ใหม่ 9 ภารกิจ
นายอรรคพล สรสุชาติ
ประธานอนุกรรมการประสานงานภาครัฐเพื่อการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและบริการอุตสาหกรรมไมซ์
เปิดเผยว่า ได้จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ : MICE : NEW CHAPTER : บริบทใหม่อุตสาหกรรมไมซ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559
ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท โดยมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ
ผู้นำองค์กรเอกชนในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องและสื่อมวลชน
ให้การตอบรับเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นพร้อมกับเห็นชอบสนับสนุนให้นำข้อสรุปจากเวทีสัมมนาครั้งนี้นำเสนอสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย
(สปท.)และรัฐบาล อนุมัติให้ประเทศไทยจัดตั้ง “คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนไมซ์” หรือ “กรอ.ไมซ์” ขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์แบบครบวงจรต่อเนื่องในระยะยาว
เร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันยกระดับประเทศไทยผงาดขึ้นเป็นผู้นำไมซ์อาเซียนและเอเชียอย่างแท้จริง
โดยจะได้นำการเสนอจัดตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนไมซ์
ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นครั้งแรก
บรรจุเป็นวาระเพื่อพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) หรือ สสปน.ที่มี ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธาน ในวันที่ 29 มิถุนายน 2559
นายอรรคพลกล่าวว่า
เพราะไมซ์เป็นอุตสาหกรรมหลักซึ่งสามารถทำรายได้เข้าประเทศปี 2558 มีมูลค่ารวมเกือบ 2 แสนล้านบาท แนวโน้มปี 2559 ตั้งเป้าสร้างรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย
8 % จากตลาดการจัดสัมมนา การได้รับรางวัลเดินทาง
การประชุมนานาชาติและการจัดแสดงสินค้า (Meeting-Incentive-Convention-Exhibition
:MICE)
ของกลุ่มลูกค้าในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกที่นำงานเข้ามาจัดในเมืองไทย
อรรคพล สรสุชาติ จัดเวทีเวิร์คช็อปภาครัฐและเอกชน ระดมสมองตั้ง "กรอ.ไมซ์"และเสนอปฏิรูปTCEBภารกิจ |
ผลจากเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้
ได้ข้อสรุปร่วมกันของภาครัฐและเอกชนพร้อมจะจับมือกันจัดแผนแม่บทอุตสาหกรรมไมซ์ให้เกิดรูปธรรมด้วยการขจัดปัญหาและอุปสรรคต่าง
ๆ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยให้หมดไป เบื้องต้นได้วางกรอบเวลาเร่งลงมือทำ 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
1.เสนอแผนแม่บทบริบทใหม่อุตสาหกรรมไมซ์ต่อสภาปฎิรูปการขับเคลื่อนประเทศไทย
(สปท.) ภายใน 3 เดือนนี้ หรือไม่เกินเดือนสิงหาคม 2559
นี้
2.ลงมือทำจัดทำคู่มือหรือคัมภีร์อุตสาหกรรมไมซ์
(manual)
ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนี้หรือไม่เกินสิ้นปี 2559
3.จัดตั้ง กรอ.ไมซ์
ผนึกความร่วมมือกันในทุกรูปแบบเพื่อเดินหน้าไปสู่บริบทใหม่อุตสาหกรรมไมซ์เต็มรูปแบบคู่ขนานกันไป
ทั้งนี้ในเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการของอนุกรรมการประสานงานภาครัฐเพื่อการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและบริการอุตสาหกรรมไมซ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559 ประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ หน่วยงานสำคัญ ๆ ได้แก่ ศุลกากร
ผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ท่าเรือแหลมฉบัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำหรับตัวแทนภาคเอกชน ได้แก่
สมาคมจัดนิทรรศการแสดงสินค้า (TEA)
สมาคมส่งเสริมจัดประชุมนานาชาติ(ไทย) สมาคมผู้ประกอบการค้าราชประสงค์
และสมาคมที่เกี่ยวข้องทางด้านการประชุม คอนเว็นชั่น แสดงสินค้า อื่น ๆ
แผนปฏิรูปจัดระเบียบ TCEB
ใหม่ 9 ภารกิจ
สำหรับเวิร์คช็อป “ MICE : NEW CHAPTER : บริบทใหม่อุตสาหกรรมไมซ์” เพื่อร่วมมือกันหาทางออกของปัญหาและลดอุปสรรคในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศให้หมดไป
ทำให้เกิดโลจิสติกส์ไมซ์ที่เป็นรูปธรรม เบื้องต้นได้เสนอหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสะท้อนความคิดเห็นร่วมกันผลักดันให้
“สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
หรือ สสปน. หรือ TCEB ปรับบทบาทใหม่ให้สอดคล้องกับอนาคต 9 เรื่องหลัก ดังนี้
1.การกำหนดพื้นที่เฉพาะ
: Special Zone พื้นที่จำเพาะของการจัดงาน
ทั้งเรื่องคนและสิ่งของ ในภาคอุตสาหกรรมไมซ์ จะต้องกำหนดกติกา เกณฑ์
ขั้นตอนการปฎิบัติ ให้ชัดเจน โดยมีหน่วยงานเกี่ยวข้องโดยตรงคือ สสปน.ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีฐานะเป็นองค์กรผู้ดูแลการอำนวยความสะดวกในอุตสาหกรรมไมซ์ ทำหน้าที่ประสานกับเอกชนเพื่อให้เกิดขึ้นได้
2.สสปน.มีอำนาจในการรับรอง
(Endorsement) งานประชุมและจัดแสดงสินค้าเพื่อพิจารณาขอรับสิทธิพิเศษต่าง
ๆ
3.สสปน.การจัดทำคู่มือ (manaul)
เกี่ยวกับการนำเข้าสิ่งของมาใช้ในการประชุมและแสดงสินค้า เช่น กฎ
ระเบียบ และ ขั้นตอนการนำเข้า การขอใบอนุญาต ระยะเวลายื่นเอกชน โดยมีเป้าหมายทำให้เป็น
คัมภีร์ของภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน หากภาครัฐยอมรับและสามารถทำเรื่องนี้สำเร็จได้
ก็จะนำประเทศก้าวไปสู่การมีคู่มือปฏิบัติในระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันที่แข็งแกร่งในเวทีการค้าโลก
4.กำหนดวัตถุประสงค์ของการนำเข้าของสิ่งของให้มีความชัดเจนว่าจะนำเข้ามาเพื่อใช้ในงานประชุมและงานแสดงสินค้า หรือเพื่อจำหน่าย
ลดขั้นตอน และ ระยะเวลา
5.สสปน.จัดระดับความน่าเชื่อถือของกลุ่มผู้ประกอบการด้านไมซ์
โดยแบ่งเระดับเป็น Premuim , Gold, Silver Class เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา
ตรวจสอบ ในเรื่องการนำเข้าสิ่งให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
6.สสปน.พัฒนาความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไมซ์ ให้บุคลากรภาครัฐ และการจัดหลักสูตร
เพื่อฝึกอบรมด้านไมซ์โลจิสติกส์แก่บุคลากรภาคเอกชน อันหมายถึงการทำ work flow ให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน
แล้วนำไปสู่การใช้คู่มือเดียวกัน
ทุกฝ่ายปฎิบัติงานร่วมกันตามขั้นตอนไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อทำให้ไมซ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเกิดได้จริง
7.จัดระบบการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ขั้นตอน และ
การขอใบอนุญาต สำหรับการนำเข้าสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์
โดยเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศระหว่างหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยจะต้องพิจารณาให้ต้องมีข้อมูลรวมศูนย์เป็น
One Stop Service ทั้งเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และข้อมูลการดำเนินงาน ในระยะเวลาซึ่งสามารถระบุกรอบการทำงานของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับแต่ละการจัดงานได้ชัดเจน
โดยสร้างหน่วย MICE Intelligent ขึ้นมาดูแลรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ
8.การจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง
สสปน.และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น
สำนักงาน กสทช. เพื่อปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนและแนวทางปฎิบัติ เพื่ออำนวยความสะดวกและการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม
และอุปกรณ์ เพื่อใช้แสดงสาธิตในงานแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ
9.สสปน.ควรเป็นผู้ประสานงานในการจัดกิจกรรมหรือการประชุมนั้น
ๆ และแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบอย่างเป็นทางการล่วงหน้าอย่างน้อย
1 เดือน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับประเภทวีซ่าของผู้เดินทางจะต้องแยกให้ชัดเจนว่าเป็น
Tourist, Exhibitor หรืออื่น ๆ
ทั้งนี้นายอรรคพล พร้อมอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าว
ได้ตกลงกับผู้นำภาคเอกชนในสมาคมเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ
โดยจะเปิดรับฟังข้อเสนอของทุกฝ่ายเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามสถานการณ์ความก้าวหน้าทุก 2-3 เดือน
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น