TCEB ยึดเจ้าภาพจัด IT&CMAandCTW2019 ปลุกกระแส5ไมซ์ซิตี้นำร่องเลิกใช้พลาสติกปี'63 โหมกลยุทธ์ดูดตลาดประชุมอินเซนทีฟMIโตไม่ยั้ง
TCEB ยึดเจ้าภาพจัด IT&CMAandCTW2019
ปลุกกระแส5ไมซ์ซิตี้นำร่องเลิ กใช้พลาสติกปี'63
โหมกลยุทธ์ดูดตลาดประชุมอิ นเซนทีฟMIโตไม่ยั้ง
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #สวท97 #ITCMA2019 #TCEB
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริ มการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ (TCEB) เปิดเผยถึงทิศทางการขับเคลื่ อนอุตสาหกรรมไมซ์ในปี 2563 ว่า ทีเส็บพร้อมขับเคลื่อน 4Ms ในตลาดไมซ์โลก โดยได้เปิดตัวเวทีงานเทรดโชว์ ITCMA&CTW 2019 Asia-Pacific 2019 ตั้งเป้ารุกเจาะกลุ่มประชุมธุ รกิจเข้าไทยครบทุกเซกเม้นท์ในปี 2563 ดทำรายได้ 5.7 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังรุกทำความร่วมมือกั บไมซ์ซิตี้และผู้ประกอบการ 5 เมือง ออกมาตรการไมซ์เพื่อสิ่งแวดล้ อมเพื่อวร้างเมืองไมซ์ ในประเทศไทยอย่าวยั่งยืน ด้วยการผนึกกำลังกันลุยลดปริ มาณขยะลงให้ได้ 50%
เนื่องจากทีเส็บเป็นองค์กรให้ ความสำคัญกับการเสริมสร้างขี ดความสามารถในการ
แข่งขันและยกระดับไมซ์ให้เป็ นวาระแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้ างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้ เกิดการพัฒนาธุรกิจไมซ์อย่างยั่ งยืน
ในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน IT&CMA and CTW Asia-Pacific 2019 จัดมหกรรมเทรดโชว์ด้านไมซ์ ประจำปีที่สำคัญของภูมิภาคเอเชี ยแปซิฟิก โดยเฉพาะเป็นเวทีธุรกิจการจั ดประชุมและการเดินทางเพื่อเป็ นรางวัลระดับภูมิภาค ทีเส็บพร้อมนำเสนอกลยุทธ์ส่ งเสริมตลาดการประชุมและการเดิ นทางเพื่อเป็นรางวัลในปี 2563
โดยเดินหน้ากลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1.ส่งเสริมตลาดและการขายควบคู่ ไปกับการร่วมมือกับพันธมิ ตรทางด้านการตลาด นำผู้ประกอบการไมซ์ไทยเจรจาธุ รกิจในงานเทรดโชว์หลักด้านไมซ์ ทั่วโลก 2.สร้างพันธมิตรเพิ่มการมีส่ วนร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่ นโดยเฉพาะในเมืองที่มีศั กยภาพพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็ นกันมากขึ้น มีจัดกิจกรรม “An Afternoon with MI…” ร่วมกับพันธมิตรระดับผู้บริ หารไมซ์ เช่น โรงแรม สถานที่จัดงาน เพื่อร่วมหารือแนวทางพัฒนาสินค้ าบริการใหม่ รวมถึงกิจกรรมและสถานที่ใหม่ รองรับกลุ่มนักเดินทาง 3.ประชาสัมพันธ์การจัดงานในพื้ นที่ 4.จัดกิจกรรมทางการตลาดหรื อแคมเปญส่งเสริมการขายร่วมกัน และความร่วมมือในการดึงการจั ดงานใหม่เข้าสู่ไทย
ผอ.จิรุตถ์ ยืนยันว่า เล็งกลุ่มเป้าหมายตลาดส่งเสริ มตลาดประชุมและการเดินทางเพื่ อเป็นรางวัล หรือ ตลาด Meetings & Incentives (MI) จาก 1. ASEAN+6 (จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี,ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ 2.สหรัฐอเมริกา 3.ยุโรปจะเป็นตลาดรอง ขยายไปยังตลาดใหม่ในแถบยุ โรปตะวันออก
ส่วนการจัดกิจกรรมส่งเสริ มการตลาดและการขาย 4 Ms ทั้งในรูปแบบการเพิ่มการสนับสนุ นและการจัดแคมเปญร่วมกับพันธมิ ตรกระจายสู่แต่ละกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แคมเปญ
1.เจาะกลุ่มประชุมที่เดิ นทางไปยังเมืองที่มีศักยภาพในจั งหวัดต่างๆ (Meet Now)
2. กลุ่มการประชุมขนาดใหญ่ (Meet Mega)
3.กลุ่มประชุมตามธุรกิจภายใต้ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 (Meet Smart)
4.กลุ่มประชุมที่จัดงานหรือทำกิ จกรรมเพื่อการจัดงานอย่างยั่งยื น (Meet sustainable 2020)
โดยได้รับสิทธิพิเศษ อาทิ ช่องทางพิเศษ MICE Lane การแสดงทางวัฒนธรรม ของที่ระลึก และงบประมาณสนับสนุนตามเงื่ อนไขตั้งแต่คนละ 500 บาท/คน ขนาดงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป พัก 3 คืนขึ้นไป ไปจรนจนถึงมูลค่าสูงสุด งานขนาด 3,000 คน สนับสนุนงานสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท
ทีเส็บกำหนดเป้าหมายปี 2563 จะมีนักเดินทางไมซ์ต่ างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยโดยรวม 1,386,000 คน ทำรายได้ 105,600 ล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณการว่าจะเป็ นตลาดธุรกิจประชุมและการเดิ นทางเพื่อเป็นรางวัล 762,000 คน สร้างรายได้ 57,000 ล้านบาท
ผอ.จิรุตถ์ กล่าวต่อถึงเรื่อง ด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ของประเทศและความพร้อมของเมื องในการเป็นเจ้าภาพจั ดงานนานาชาติ ตลอดจนพัฒนาระบบนิเวศน์ของอุ ตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่อย่างเป็ นระบบ (MICE Ecosystem) ให้มีจิตอาสาร่วมพัฒนาเมืองสู่ การเป็นเมืองแห่งไมซ์ที่ยั่งยืน เมืองไมซ์หลักทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น ทีเส็บประกาศความร่วมมือพัฒนา 5 เมืองไมซ์ใน 4 มิติ คือ การพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ จัดอบรม ส่งเสริมข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สถานที่หรือผู้จัดงาน การสนับสนุนงาน ผลักดันการจัดงานอย่างยั่งยืน (Sustainable Events) และผลักดันสถานที่จัดงานให้ได้ มาตรฐานความยั่งยืน ตลอดจนการติดตามประเมินผล ส่งเสริมการวัดผลการแสดงความยั่ งยืนจากธุรกิจไมซ์ที่จับต้องได้
ขณะที่ปี 2562 แคมเปญแรกใน 5 เมืองไมซ์ซิตี้ คือ “Zero Plastic Events” กำหนดเป้าหมายจำนวนขวดพลาสติกที่ ใช้ในห้องประชุมในเมืองไมซ์ซิตี้ ซึ่งมีปริมาณสูงถึง 17,345,674 ขวด ภายใน 1 ปี จะให้ลดลง 50% เหลือ 8,672,837 ขวด
ทีเส็บวางกลยุทธ์ร่วมกับ 5 เมืองไมซ์ซิตี้ เร่งกระตุ้นการลดใช้ขวดน้ำ พลาสติกในการจัดประชุม สัมมนา และนิทรรศการในเมืองไมซ์ซิตี้ ผ่านการรณรงค์ 3 แนวทาง คือ
1.การใช้ขวดแก้ว ซึ่งเหมาะกับการประชุมระยะสั้น 1-2 วัน โดยแนวโน้มการบริโภคในปัจจุบั นคือ น้ำ 1 ขวดต่อผู้ร่วมประชุม 2 ท่าน
2.การใช้ขวดน้ำพกพา เหมาะกับการประชุมที่มี ระยะเวลามากกว่า 1 วัน สามารถแจกแทนของที่ระลึกและให้ นำมาใช้ในการประชุมทุกวัน
3.การใช้ตู้กดน้ำ เหมาะกับการประชุมทุกประเภท แนะนำการนำภาชนะมาใช้เองของผู้ เข้าประชุมหรือแก้วน้ำของสถานที่ โดยงดใช้แก้วพลาสติกหรือกระดาษ
“หากการดำเนินงานเป็นไปตามเป้ าหมาย จะสามารถลดการใช้ขวดพลาสติ กในปริมาณดังกล่าว โดยคำนวณเป็นปริมาณคาร์บอนได้ถึ ง 638 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (Tonco2) เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ จำนวน 70,226 ต้น และลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 30,000,000 บาท ทีเส็บมั่นใจว่าความร่วมมือนี้ จะเป็นอีกก้าวสำคัญของความร่ วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ ไทยไปสู่ความยั่งยืน และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรั บในฐานะจุดหมายปลายทางไมซ์ชั้ นนำแห่งเอเชีย” นายจิรุตถ์ กล่าวสรุป
ด้านการจัดงาน IT&CMA and CTW Asia-Pacific 2019 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจั ดงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 18 และยังได้รับสิทธิ์การจั ดงานไปจนถึงปี 2563 นั้น ปีนี้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2562 ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ประมาณการว่าปีนี้จะมีผู้ร่ วมงานทั้งสิ้น 3,000 คน จาก 61 ประเทศทั่วโลก โดยทีเส็บได้จัดสร้างคูหานิ ทรรศการประเทศไทย (Thailand Pavilion) เพื่อผู้ประกอบการไมซ์ไทย จำนวน 69 ราย ร่วมเจรจาธุรกิจกับผู้ซื้ อจากนานาชาติ โดยมีบริษัทธุรกิจด้ านการโรงแรมระดับชั้นนำทั้ งของประเทศไทยและระดับโลก รวมถึงธุรกิจบริการด้านการประชุ มและการเดินทางเพื่อเป็นรางวั ลเข้าร่วม ทั้งนี้พื้นที่รวมคูหานิ ทรรศการทั้งสิ้น 600 ตารางเมตร
จุดเด่นปีนี้มีพื้นที่นำเสนอนวั ตกรรมใหม่ด้านไมซ์ คือ แพลทฟอร์มศูนย์ข้อมูลอุ ตสาหกรรมไมซ์ - MICE Intelligence Centre เป็นศูนย์กลางความรู้ข่าวสารอุ ตสาหกรรมไมซ์ในรูปแบบไฟล์ดิจิตั ล (Digital File) และหนังสือดิจิตัล (e-Book) รวบรวมไว้ในลักษณะห้องสมุดอิเล็ กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้ าและเผยแพร่ข้อมูลไมซ์ให้กับพั นธมิตร และผู้ประกอบการไมซ์, แอพพลิเคชัน BIzCONNECT เป็นแอปพลิเคชั่นที่รวบรวมทุ กงานไมซ์ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์ สไตล์ ทุกประเภทในประเทศไทยให้เข้าถึ งกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ตั้งแต่ข้อมูลรายละเอียดและกิ จกรรมของแต่ละงานครบครัน การลงทะเบียนและซื้อตั๋วเข้ างานที่ง่าย ครบ จบ ในแอปพลิเคชั่นเดียว
รวมถึงในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เตรียมโครงการ Thai MICE Connect แพลทฟอร์มรวบรวมฐานข้อมูลสินค้ าบริการในทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้ องกับอุตสาหกรรมไมซ์ทั่ วประเทศที่ชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน ด้วยการพัฒนาให้เป็น E-Marketplace ของธุรกิจไมซ์ที่สมบูรณ์แบบที่ สุดครั้งแรกของไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น