บพท.ร่วม4องค์กร“พอช.-สสว.-อพท.”ลุยกำจัดความจนปี’66 หวังผล4เรื่อง“เป้าหมาย/ปั้นธุรกิจชุมชน/ใช้ไฮเทค/สร้างงาน
4องค์กร“บพท.-พอช.-สสว.-อพท.”ลุยกำจัดความจนปี’66
หวังผล4เรื่อง“เป้าหมาย/ปั้นธุรกิจชุมชน/ใช้ไฮเทค/สร้างงาน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TheJournalistclub #บทพ
อ่านใน website The Journalistclub จากลิงค์นี้...
4องค์กรรัฐ “บพท.-พอช.-สสว.-อพท.” รวมพลังต่อยอด ขยายผลงานวิจัยลุยแผนลุยปฏิบัติการขจัดความยากจน เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานราก ตั้งคณะกรรมการชี้เป้าสร้างผลสำเร็จ 4 เรื่อง “จัดกลุ่มคนจน/ปั้นธุรกิจชุมชน-เลือกใช้นวัตกรรมไฮเทค-สร้างงาน/อาชีพ
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า ปี 2566 บพท.ได้เดินหน้าแผนพัฒนาการสานพลังภาคีเครือข่ายต่อยอดขยายผลงานวิจัยระดับพื้นที่ไปสู่รูปธรรมของการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและขจัดความยากจนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการตอบสนองความร่วมมืออย่างดียิ่งจากการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันของทั้ง 4 องค์กร ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ร่วมกันทำตามเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก และแก้ปัญหาความยากจน
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดีมากเมื่อทั้ง 4 องค์กร คือ บพท.-อพท.-พอช.-สสว.เชื่อมโยงการทำงานเข้ากันเพื่อขจัดความยากจนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก
ซึ่งแต่ละองค์กรนำจุดแข็งเข้ามาใช้ นำโดย “บพท.”ใช้การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ ส่วน “อพท.”ใช้การท่องเที่ยว “พอช.”ใช้การพัฒนาองค์กรชุมชน และ “สสว.”ใช้เงินทุน ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ ตลอดจนการสร้างโอกาสทางการตลาด ทำให้สามารถขจัดความยากจนออกไปได้
ดร.กิตติ ให้รายละเอียดเพิ่มว่า บพท.-อพท.-พอช.-สสว.ได้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกันครอบคลุมทั้ง 4 เรื่อง ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 หารือเป้าหมายร่วมการทำงาน 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่ 1 คนจนและครัวเรือนยากจนในพื้นที่ ตามระบบข้อมูล TPMAP ทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคน (ตามดัชนีใหม่เรื่องเกณฑ์รายได้และชีวิตความเป็นอยู่) รวมถึงระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน PPPCONNEXT จากงานวิจัยของ อว. ใน 20 จังหวัดยากจนกว่า 9 แสนคน
กลุ่มที่
2 การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผ่าน ผู้ประกอบชุมชน (Local
Business) รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน OTOP และ Local
SME ที่มีลักษณะร่วม ได้แก่
เป็นธุรกิจชุมชนที่มีการจ้างงานในพื้นที่ มีการใช้
Local resources และมีโครงสร้างกระจายรายได้
รวมตัวเลขผู้ประกอบการชุมชนทั้งประเทศกว่า 2 ล้านราย
เรื่องที่
2 สร้างและประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จากฐานข้อมูลกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.).
เพื่อเสริมพลังแกนนำชาวบ้านตามที่ พอช. ได้พัฒนาชุมชนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจอาชีพ
เรื่องที่ 3 สร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชนพื้นที่ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการในชุมชน ขยายผลการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน (CBT) จาก อพท. เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และสร้างให้คนรุ่นใหม่มีจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นและพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้เข้มแข็ง
เรื่องที่ 4 สร้างผู้ประกอบการชุมชน/ธุรกิจชุมชน ให้มีศักยภาพประกอบการ และสร้างห่วงโซ่คุณค่าดึงคนจนให้พัฒนาเป็นแรงงานที่มีรายได้สม่ำเสมอ ขยายผลจากงานวิจัยของ อว. รวมถึงขับเคลื่อนและสนับสนุนเชิงนโยบายของ สสว.
ขณะนี้ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันให้ “จัดตั้งคณะกรรมการร่วม” วางกลไกขับเคลื่อนการบูรณาการการทำงานร่วมกัน กำหนดประชุมปรึกษากันอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ด้วยวิธีกำหนดพื้นที่ทำงานเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1.พื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของครัวเรือนยากจน 2.พื้นที่ที่มีมหาวิทยาลัยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงกับภาคีทุกภาคส่วน และ 3.พื้นที่ที่มีระบบข้อมูลเป็นที่ยอมรับได้ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายเชื่อมโยงความร่วมมือพัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่ต้นแบบระดับจังหวัด
ดร.กิตติ กล่าวว่า บพท.มั่นใจภายใต้แนวทางและกลไกกระบวนการทำงานร่วมกันของทั้ง
4 องค์กรดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์เรื่องแนวทางส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ
นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่จะยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนยากจนได้ต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น