นกแอร์ : ถูกตลท.เพิกถอนการซื้อขายหุ้นNOK มีผล 9 ม.ค. 68
ด่วน! นกแอร์
โดน ตลท.เพิกถอนซื้อขายหุ้นNOK9ม.ค.68
แอร์ไลน์วัย21ปีขอสู้บริการต่อนอกตลาดหลักทรัพย์ปี’68
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TheJournalistclub #TAT #เที่ยวกับกู๋ #นกแอร์
“นกแอร์” เปิดศักราชใหม่ ตลท.แจ้งเพิกถอนการซื้อขายหุ้น
NOK
ออกจากตลาดมีผล 9 ม.ค.68 ส่วนธุรกิจยังเดินหน้าบริการบินปกติ หลังเผชิญวิกฤตมาตลอด
21
ปี นับจากวันเปิดปี’47-68 ภายใต้ซีอีโอ 2 เจน 3 คน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศดำเนินการ “เพิกถอนหุ้น” NOK ของบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จะมีผลวันที่ 9
มกราคม 2568 เป็นต้นไป
เมื่อช่วงเช้าวันพุธที่ 8 มกราคม2568 ตลท.ย้ำว่าการซื้อขายหุ้น NOK จะสิ้นสุดเนื่องจากการเพิกถอนบริษัท ซึ่งมีฐานะการเงินไม่ดี และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้
“นกแอร์”
อายุการดำเนินธุรกิจ 21 ปี ก่อตั้งเมื่อปี
2547 โดย “การบินไทย”
ร่วมกับพันธมิตรสถาบันการเงิน ธุรกิจเอกชนเข้าถือหุ้นตามสัดส่วนแตกต่างกัน แต่งตั้ง “พาที สารสิน” รับตำแหน่งซีอีโอคนแรกที่ใช้กลยุทธ์
CEO Marketing โชว์ลูกเล่นสร้างแบรนด์นกแอร์ติดตลาดอย่างรวดเร็ว
ระหว่างปี 2557 จนถึงปี
2560 นกแอร์ประสบปัญหาขาดทุนราว 1,854
ล้านบาท ทำให้ “พาที สารสิน” ตัดสินใจเมื่อเดือนกันยายน 2560 ขณะนี้ พาทียังประกาศเปิดสายการบินใหม่สไตล์สนุกสนาน
Really Cool Airlines
“นกแอร์จดทะเบียนในตลาด” รวม 12 ปี เริ่มเข้าตลาดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 -9 มกราคม 2568
@ความท้าทายของนกแอร์ 21 ปี ระหว่ง2547-2568
- ปี 2547
เปิดบริการในจังหวะที่ประเทศไทยเกิดสึนามิ
แผ่นดินไหวในทะเลครั้งใหญ่ของโลก
- ปี 2551
กลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองปิดสนามบินสุวรรณภูมิ
- ปี
2554
เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ
ไม่สามารถให้บริการได้ ต้องแบกภาระต้นทุนตลอดวิกฤตน้ำท่วม
- ปี
2558
ระบบไอทีนกแอร์ล่มครั้งใหญ่ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างจำนวนมาก
- ปี 2559 นักบินนกแอร์ประท้วงส่งผลกระทบกับผู้ใช้บริการและภาพลักษณ์องค์กร
- ทุกปียังมีตัวแปรหลักกระทบต้นทุนธุรกิจคือ แต่ละปีต้องรับมือกับ
“ราคาน้ำมันเครื่องบิน” ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ตลอด
@3 CEO
นกแอร์
จากยุคบุกเบิกสู่เจนต้องออกจากตลท.
คนที่ 1 พาที สารสิน ระหว่างปี 2547-2560 บริหารในสไตล์ CEO Marketing เน้นลูกเล่น สีสันการตลาด
การสร้างแบรนด์ให้เกิดภาพจำกับลูกค้า
คนที่ 2 ปิยะ ยอดมณี ข้ามห้วยจากการบินไทยมากับพาทีในฐานะรองซีอีโอ
จากนั้นเมื่อสิงหาคม 2561 ขึ้นนั่งเก้าอี้
“ซีอีโอ” แทน พาที สารสิน แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 11 เดือน จึงตัดสินใจโบกมือลาไป
คนที่ 3 วุฒิภูมิ
จุฬางกูร ปี 2562 รับไม้ต่อตำแหน่งซีอีโอ จนถึงปัจจุบัน 2568 โชว์พลังนักธุรกิจรุ่นใหม่ตระกูลดัง “จุฬางกูร”
ที่ร่ำรวยมาจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์แถวหน้าของเมืองไทยมีทรัพย์สินมูลค่าแสนล้านบาท
ตระกูล “จุฬางกูร” ทยอยซื้อหุ้นนกแอร์สะสมมานานจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อแต่งตั้ง
“วุฒิภูมิ” เข้ารับตำแหน่งซีอีโอ ไฟแรงประกาศทำแผนฟื้นฟูกิจการ
5 ปี ชูพันธกิจใหม่พลิกโฉม “นกแอร์” จากคอนเซ็ปต์ “โลว์คอสต์
แอร์ไลน์ส” สู่ “พรีเมี่ยม แอร์ไลน์” หรือ Full Service บริการผู้โดยสารเต็มรูปแบบทุกเส้นทางทั้งในและต่างประเทศ
ปลายปี 2562 “นกแอร์” เจอมหาวิกกฤตโลกจากสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 แพร่ระบาด
ทำให้ทั่วโลกประกาศปิดน่านฟ้าชั่วคราว การเดินทางของคนหยุดลงทุนที จนถึงปลายปี 2563
นกแอร์
แจ้งผลการดำเนินงาน สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ขาดทุนมโหฬาร 7,991.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี2562 ขาดทุน
2,051.39 ล้านบาท
2 มีนาคม 2564
หุ้น NOK ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP พักการซื้อขาย ราคาปิดครั้งสุดท้าย 1.04
บาท มีผู้ถือหุ้นรายย่อย 7,158 ราย
9 กันยายน
2564 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศให้นกแอร์เข้าสู่สถานะต้องปรับปรุงฐานะการเงินต่อเนื่อง
3 ระยะ โดยได้ขึ้นเครื่องหมาย NC :Non-Compliance กันยายน 2564 เมื่อครบกำหนดระยะที่ 3 เมื่อกันยายน 2566 นกแอร์ยังคงติด NC เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเงินได้
6 มกราคม 2568 นกแอร์ต้อนรับปีใหม่จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศว่าวันที่ 8 มกราคม
2568 หุ้น NOK จะซื้อขายเป็นวันสุดท้ายก่อนเพิกถอนอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้
“นกแอร์” ยืนยันถึงแม้จะถูกเพิกถอนการซื้อขายหุ้น NOK ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตั้งแต่ 9 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ทางสายการบินจะยังคงเดินหน้าให้ “บริการผู้โดยสาร”
ตามปกติ โดยฝ่ายบริหารจะพยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อแก้ปัญหาทางการเงินดูแลธุรกิจให้ดำรงอยู่ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น