อุตสาหกรรมการบินกุมชะตาเศรษฐกิจโลก
เรื่องโดย : เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน :บล็อกเกอร์ :gurutourza.blogspot.com
Air Transport Action Group (ATAG).ได้เปิดรายงานฉบับใหม่ล่าสุดในหัวข้อ new report, Aviation:
Benefits Beyond Borders ว่าอุตสาหกรรมการบิน
สามารถสร้างวิวัฒนาการสมัยใหม่ไร้พรมแดนโดยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้นอีกถึงปีละ
1 ล้านงาน สร้างผลประโยชน์ทางอ้อมในการเป็นกลไกสนับสนุนป้องกันความมั่นคงแข็งแรงให้กับรัฐบาลแต่ละประเทศ
อันเป็นผลพวงมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมการบินได้เติมเต็มศักยภาพของผู้ประกอบการค้า
สร้างพลังส่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง
ตามที่ ฝ่ายปฏิบัติการขนส่งทางอากาศ (Air Transport Action Group (ATAG).ระบุว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกสร้างงานได้มากถึง
62.7 ล้านงาน สร้างรายได้เข้าสู่ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงถึง 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ไม่เฉพาะการขยายในระบบโครงสร้างเศรษฐกิจการขนส่งเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์
ยังรวมถึงผู้เล่นหลักในชุมชนและสังคมการค้าทั่วโลกต่างก็ได้รับอานิสงจากอุตสาหกรรมการบินด้วยเช่นกัน
ซึ่งมาจากการเดินทางเพื่อการสร้างโอกาสด้านการศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ข้ามภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะการขนส่งทางอากาศในเอเชียสนับสนุนการจ้างงานได้มากถึง
28.8 ล้านงาน สร้างมูลค่ารายได้ในระบบจีดีพีของภูมิภาคได้ 6.26
แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ATAG ได้พยากรณ์อนาคตของอุตสาหกรรมการบินในอีก 20 ปีข้างหน้า จะสนับสนุนการจ้างงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นได้ถึง 99 ล้านงาน สร้างเงินเข้าสู่จีดีพีสูงถึง 5.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ในขณะที่ “ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก”
จะมีส่วนแบ่งการตลาดด้านปริมาณจราจรทางอากาศสูงที่สุดของโลกครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง
33 % และการบินในภูมิภาคนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาลเฉลี่ย 5.1 %
ด้วยเสรีภาพเหนือน่านฟ้าของการตลาดขนส่งทางอากาศใน “ภูมิภาคอาเซียน”
ที่ตกลงรวมตัวกันเปิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่ปี 2558
นับเป็นการเพิ่มศักยภาพการเติบโตที่ยิ่งใหญ่จากการสนับสนุนของรัฐบาลทุกประเทศร่วมมือกันป้องกันและลดปัจจัยเชิงลบที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
นายไมเคิล กิล ผู้อำนวยการบริหาร ATAG กล่าวว่า
ประเด็นสำคัญในปี 2573 (คศ2030)
สหประชาชาติได้ไฮไลต์เรื่องสำคัญเพื่อกระตุ้นสมาชิกภาคีนานาชาติต้องก้าวเข้าสู่เป้าหมายหลักทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“เราได้พบว่าอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศเป็นเส้นทางที่จะนำนานาประเทศก้าวเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ตามที่สหประชาชาติกำหนดถึง
14 เรื่อง ใน 17 เรื่อง จากการสร้างงาน และการเศรษฐกิจเติบโตด้วยคุณภาพการศึกษาและลดช่องว่างของความแตกต่างอันไม่สมดุลลงได้”
ปัจจัยหลักที่อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศจะมีโอกาสสร้างความยั่งยืนในการการวางแผนให้ทั่วโลกทะยานไปข้างหน้าด้วยกัน
ต้องอาศัยความต้องการสำคัญจากการสนับสนุนของภาครัฐบาล ผนวกกับทั่วโลกเห็นพ้องไปด้วยกัน
ซึ่งกุญแจกดอกสำคัญของแผนพัฒนาที่นำพาองค์การการบินระหว่างประเทศก้าวเข้าสู่เป้าหมายความสำเร็จได้
ด้วยการเดินหน้าใช้กติกาเดียวกันที่จะช่วยกันช่วยและสนับสนุนการพัฒนาโลกทั้งใบให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน
ทางด้าน Hai Eng Chiang ผู้อำนวยการ สำนักงานองค์การบริการนำร่องอากาศยานภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิก (Pacific Affairs for the
Civil Air Navigation Services Organisation :CANSO) ย้ำว่า
การจราจรทางอากาศของโลกจะขับเคลื่อนตลาดขนาดใหญ่ที่สุดเติบโตอย่างรวดเร็วได้ต้องการเรื่อง
ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและผลกระทบทางต้นทุนการบริหารจัดการปริมาณจราจรที่รับมือได้ควบคู่ไปกับการขยายตัวของความต้องการของตลาด
เหมือนกับการขยายระบบบริหารจัดการบริการการจราจรทางอากาศ
ทั้งนี้ CANSO
เป็นสมาชิกที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านและภาคีพันธมิตรในอุตสาหกรรมการบินในพื้นที่พื้นที่อันตรายบางช่วงขณะ
เช่นเดียวกันกับการบริหารความรื่นไหลปริมาณการจราจรให้ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
เปรียบเสมือนการใช้ ADS-B ของระบบกล้องวงจรให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
ซึ่งมหาอำนาจทางการบินในภาคพื้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้เล่นสำคัญ ที่จะต้องมีการประสานงานและสร้างเครือข่ายรองรับความสมดุลของนานาชาติ
เพื่อร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการบินโลกได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยวิสัยทัศน์ปกติทางด้านการเชื่อมตะเข็บรอยต่อเหนือน่านฟ้าที่ต้องใช้ร่วมกันสร้างความปลอดภัย
มั่นคง ยั่งยืน ตลอดไป
เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน :บล็อกเกอร์ :gurutourza.blogspot.com |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น