ไทยเนื้อหอม"เรือสำราญ"แห่นำทัวร์คุณภาพมาเที่ยว
"Majestic Princess"พาเศรษฐีเทียบท่าแหลมฉบัง
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #AmazingThailand #thaifest
เมื่อวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2560 ประเทศไทยมีโอกาสได้ต้อนรับ "เรือMajestic Princess" ซึ่งเป็นเรือสำราญนานาชาตินำนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดหรู มีศักยภาพในการใช้จ่ายเงินสูง เข้ามายังท่าเทียบเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปัจจุบันศักยภาพของไทยอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวเรือสำราญ (Cruise) ได้รับความสนใจจากบริษัทผู้นำเรือสำราญนานาชาตินำนักท่องเที่ยวมาเทียบท่าบริเวณฝั่งอ่าวไทยและอันดามันปีละมากกว่า 10 สาย เช่น Princess Cruise, Royal Caribbean, Costa, Cunard, Star Cruise, P&O, Holland America Line Group
ตามนโยบายรัฐบาล "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งจัดทำแผนพัฒนาการลงทุนท่าเทียบเรือในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าให้เป็น Home Port ของภูมิภาคเอเชีย ลักษณะเดียวกันกับสิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ขณะนี้หน่วยงานเกี่ยวข้องได้เดินหน้าพัฒนาฌครงสร้างท่าเทียบเรือท่องเที่ยวหลัก ๆ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
1. ปรับปรุง 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพ แหลมฉบัง และภูเก็ต ควบคู่กับการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญอีก 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย ไปพร้อม ๆกับวางแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เชื่อมโยงท่าเรือกับแหล่งท่องเที่ยว (เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง)
2. ประชาสัมพันธ์ให้บริษัทสายเดินเรือสำราญถึงศักยภาพและความพร้อมของไทยขณะนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามมาตรฐานสากลพร้อมรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญจากทั่วโลก
3.เร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศตามพื้นที่เมืองหลักและเมืองรอง โดยไฮไลต์ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่ได้จัดยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว 8 คลัสเตอร์ และยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว
4.ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกของเรือโดยสารและนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
5. พัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรือสำราญ ได้แก่ อาชีพลูกเรือ ผู้ให้บริการบนเรือ ผู้ประกอบการและชุมชน
ตามสถิติภาพรวมของการท่องเที่ยวเรือสำราญ "สมาคมการเดินเรือสำราญนานาชาติ" หรือ Cruise Lines International Association : CLIA ระบุว่า ปี 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเรือสำราญกว่า 23 ล้านคน เพิ่มเฉลี่ย 4.4% ภายในเวลาต่สงกันเพียง 6 ปี เมื่อปี 2552 มีนักม่องเที่ยวเรือสำราญเพียงจาก 17.8 ล้าน ช่วงเลา 2-3 ปีที่ผ่านมาอัตราดารเติบโตเฉลี่ยปีละ 29%แนวโน้มในอนาคตจะขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เป็นแม่เหล็กดึงดูดรายได้ที่ดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเข้มแข็งในระยะยาวให้กับประเทศไทย
"Majestic Princess"พาเศรษฐีเทียบท่าแหลมฉบัง
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #AmazingThailand #thaifest
เมื่อวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2560 ประเทศไทยมีโอกาสได้ต้อนรับ "เรือMajestic Princess" ซึ่งเป็นเรือสำราญนานาชาตินำนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดหรู มีศักยภาพในการใช้จ่ายเงินสูง เข้ามายังท่าเทียบเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปัจจุบันศักยภาพของไทยอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวเรือสำราญ (Cruise) ได้รับความสนใจจากบริษัทผู้นำเรือสำราญนานาชาตินำนักท่องเที่ยวมาเทียบท่าบริเวณฝั่งอ่าวไทยและอันดามันปีละมากกว่า 10 สาย เช่น Princess Cruise, Royal Caribbean, Costa, Cunard, Star Cruise, P&O, Holland America Line Group
ตามนโยบายรัฐบาล "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งจัดทำแผนพัฒนาการลงทุนท่าเทียบเรือในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าให้เป็น Home Port ของภูมิภาคเอเชีย ลักษณะเดียวกันกับสิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ขณะนี้หน่วยงานเกี่ยวข้องได้เดินหน้าพัฒนาฌครงสร้างท่าเทียบเรือท่องเที่ยวหลัก ๆ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
1. ปรับปรุง 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพ แหลมฉบัง และภูเก็ต ควบคู่กับการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญอีก 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย ไปพร้อม ๆกับวางแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เชื่อมโยงท่าเรือกับแหล่งท่องเที่ยว (เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง)
2. ประชาสัมพันธ์ให้บริษัทสายเดินเรือสำราญถึงศักยภาพและความพร้อมของไทยขณะนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามมาตรฐานสากลพร้อมรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญจากทั่วโลก
3.เร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศตามพื้นที่เมืองหลักและเมืองรอง โดยไฮไลต์ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่ได้จัดยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว 8 คลัสเตอร์ และยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว
4.ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกของเรือโดยสารและนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
5. พัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรือสำราญ ได้แก่ อาชีพลูกเรือ ผู้ให้บริการบนเรือ ผู้ประกอบการและชุมชน
ตามสถิติภาพรวมของการท่องเที่ยวเรือสำราญ "สมาคมการเดินเรือสำราญนานาชาติ" หรือ Cruise Lines International Association : CLIA ระบุว่า ปี 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเรือสำราญกว่า 23 ล้านคน เพิ่มเฉลี่ย 4.4% ภายในเวลาต่สงกันเพียง 6 ปี เมื่อปี 2552 มีนักม่องเที่ยวเรือสำราญเพียงจาก 17.8 ล้าน ช่วงเลา 2-3 ปีที่ผ่านมาอัตราดารเติบโตเฉลี่ยปีละ 29%แนวโน้มในอนาคตจะขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เป็นแม่เหล็กดึงดูดรายได้ที่ดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเข้มแข็งในระยะยาวให้กับประเทศไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น