บพท.ดันเชียงใหม่-ลำปางปี66สู่เมืองเรียนรู้โลกของยูเนสโก้ ผนึก2พลังใหญ่“ความรู้-พลเมือง”ดีไซน์พื้นที่ชีวิตกินอยู่ดีมีสุข
บพท.ดันเชียงใหม่-ลำปางปี66สู่เมืองเรียนรู้โลกของยูเนสโก้
ผนึก2พลังใหญ่“ความรู้-พลเมือง”ดีไซน์พื้นที่ชีวิตกินอยู่ดีมีสุข
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TheJournalistclub # VijitChaoPhraya #TAT
อ่านใน website
TheJournalistclub
จากลิงค์นี้
บพท.หนุน
2 มหาลัย “เชียงใหม่และสวนดุสิต
ดัน 3 จังหวัด “พะเยา-เชียงใหม่-ลำปาง” ปี’66 ขึ้นชั้นเมืองแห่งการเรียนระดับโลก ขึ้นทะเบียนอยู่ในเครือข่ายยูเนสโก้
โดยมุ่งชูงานวิจัยท้องถิ่นศึกษาเป็นรากฐานสร้างเมือง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตคนพื้นถิ่น
สร้างงาน สร้างรายได้จริง
ดร.ปุ่น
เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่
(บพท.) เปิดเผยว่า บพท.เดินหน้านำองค์ความรู้งานวิจัยท้องถิ่นศึกษา
ที่ได้เข้าไปสนับสนุนให้เป็นเส้นทางความสำเร็จของเมืองแห่งการเรียนรู้
บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม ขณะนี้สนับสนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาสวนดุสิต เดินหน้าผลักดันเชียงใหม่และลำปางเพิ่มอีก
2 จังหวัด โดย บพท.เน้นให้ความสำคัญกับเรื่องของ”ท้องถิ่นศึกษา”
ด้วยการค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่น คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น
แล้วเปลี่ยนคุณค่าไปสู่มูลค่า เป็นรายได้หมุนเวียนในพื้นที่ การสร้างงาน
สร้างอาชีพ ในลักษณะห่วงโซ่คุณค่าทางสังคม (Social Value Model)
คุณสมบัติหลักการยกระดับเป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้”
จะต้องมีรากฐานสำคัญสามารถพัฒนายกระดับขึ้นสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ
สมาร์ทซิตี้ ได้ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญที่สุดนั่นคือพลเมืองหลากหลายภาคส่วนจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความสุขทั่วหน้าด้วย
ส่วนปัจจัยสู่ความสำเร็จในการ “พัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้”
ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ต้องพัฒนากลไกกระบวนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ครอบคลุมทุกมิติ
ทั้งด้านวัยวุฒิ คุณวุฒิ และทุนวุฒิ
แล้วยกระดับขึ้นเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางความรู้ ครอบคลุมตั้งแต่ระดับพื้นที่
ถึงระดับประเทศ
“โศวิรินทร์ ชวนประพันธ์” รักษาการหัวหน้าทีมการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ (องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)) กล่าวว่าเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบของยูเนสโก องค์ประกอบหลักจะให้ความสำคัญมากกับประเด็นด้านการศึกษา เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
“ดร.ผณินทรา
ธีรานนท์” หัวหน้าแผนงานโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้พะเยา มหาวิทยาลัยพะเยา
กำลังหลักในการผลักดันให้จังหวัดพะเยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานยูเนสโก
ประจำปี 2565 เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ได้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก
บพท. ให้เป็นแกนกลางเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพะเยาเข้ามาขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
โดยมีกลไกเริ่มจากการทำความเข้าใจกับเมืองพะเยา
ออกแบบพื้นที่และหลักสูตรการเรียนรู้ร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยพะเยาให้การรับรองหลักสูตร
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สร้างอาชีพ สร้างรายได้ หรือต่อยอดการศึกษา
โดยมีเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ จากรายได้และความสุข รวมทั้งคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม
ส่วนปัจจัยความสำเร็จให้พะเยาเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ได้การรับรับรองจากยูเนสโก
น่าจะพิจารณาจาก 1.รายได้พลเมืองพะเยาโดยเฉลี่ยดีขึ้นระหว่าง
5-35 % 2.คุณภาพชีวิตคนในจังหวัดดีขึ้น 3.คนส่วนใหญ่มีความสุขเพิ่มขึ้น
จากการประเมินของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลเวชชารักษ์ จังหวัดลำปาง 4.ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงเกือบ 10 %
“ดร.ขวัญนภา
สุขคร” ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในฐานะหัวหน้าแผนงานโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ลำปาง
ภายใต้การสนับสนุนของ บพท .กล่าวว่า จะพยายามผลักดันให้ลำปางได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามมาตรฐานยูเนสโก
ประจำปี 2566 จากการขับเคลื่อนงานศึกษาวิจัยด้านท้องถิ่นศึกษาครอบคลุม 5 มิติ คือ
“ภูมิหลัง-ภูมิเมือง-ภูมิธรรม-ภูมิวงศ์-ภูมิปัญญา” เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่
จัดทำเป็นฐานข้อมูลกลางและเป็นรากฐานการออกแบบพื้นที่เรียนรู้ ออกแบบกิจกรรม การออกแบบชุดหลักสูตรเพื่อการสร้างอาชีพ
สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่
บนหลักการการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่
เพราะจากการศึกษาวิจัยท้องถิ่นศึกษา
ทำให้รู้ว่าลำปางเป็นเมืองหลวงของครั่ง มียอดส่งออกไปยังต่างประเทศมากที่สุด
มีโรงงานแปรรูปครั่งกระจุกตัวอยู่มากที่สุดของประะเทศ และผลผลิตจากครั่งก็นำไปต่อยอดทำอาหาร
ทำสีผสมอาหาร นิยมนำไปทำสีย้อมผ้ากิโมโนในญี่ปุ่นด้วย
“ดร.สุดารัตน์
อุทธารัตน์” หัวหน้าโครงการ การพัฒนาเมืองเชียงใหม่นครแห่งการเรียนรู้
เพื่อการพัฒนาเมืองพลวัตที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก
บพท. พัฒนาเมืองเชียงใหม่ ให้เป็นนครแห่งการเรียนรู้
ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จะใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยท้องถิ่นศึกษา
หรือ”ปูมเมืองเชียงใหม่”เป็นปัจจัยสำคัญพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
ผ่านการออกแบบพื้นที่เรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
และการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนในเมืองเชียงใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
คุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่ให้ดีขึ้นต่อไป
จึงคาดหวังผลการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ด้วยประเด็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงทำให้เป็นเมืองน่าอยู่มากขึ้น ทว่าคนเชียงใหม่ต้องชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
แล้วปี 2566 ยังจะได้ขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้หรือ
Unesco Global Network of Learning Cities-GNLC ได้ด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น