AOT ครบ46ปีเร่งบริการเลิศระดับโลกดันไทยฮับบิน
8เดือนแรกปี’68รับ88ล้านคน-ปี’69หวังถึง130ล้านคน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TAT #เที่ยวกับกู๋ #AOT
AOT ลั่นครบ 46 ปี เร่งนำ “สนามบินไทยสู่ความเป็นเลิศระดับโลก” ลุยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเสริมแกร่ง
“ท่องเที่ยว-ขนส่งทางอากาศ” สู่ฮับการบินภูมิภาค 8 เดือนแรกปี68
บริการผู้โดยสารแล้ว 88 ล้านคน โต 9.2
% ปี’69 ทำยอด 130 ล้านคน
ย้ำแผนลงทุนใหม่ 5 สนามบิน ลุยปั๊มรายได้เพิ่มทุกช่องทาง
นางสาวปวีณา
จริยธิติพงศ์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
“AOT/ทอท.” เปิดเผยว่า วันที่ 1 กรกฎาคม
2568 ได้ฉลองครบรอบ 46 ปี ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะยกระดับ
“ท่าอากาศยานให้เป็นเลิศระดับโลก” มุ่งมั่นมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้โดยสาร เร่งพัฒนาท่าอากาศยานที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานทั้ง
6 แห่ง ทำโครงสร้างพื้นฐานขนส่งทางอากาศของไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
โดยเน้นบทบาทสำคัญควบคู่กันไปครอบคลุมทั้ง 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางอากาศและระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
ยกระดับท่าอากาศยานทันสมัยและมีประสิทธิภาพให้เป็นประตูต้อนรับคนทั่วโลก มุ่งมั่นทำให้เป็น
“ศูนย์กลางการบินของภูมิภาค”
ส่วนที่ 2 สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญเศรษฐกิจไทย
ส่วนที่ 3 ส่งเสริมธุรกิจทั้งด้านการบินและไม่ใช่การบิน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ
ขณะนี้
AOT บริหารท่าอากาศยานหลักในไทย 6 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ (BKK) ดอนเมือง (DMK)
เชียงใหม่ (CNX) แม่ฟ้าหลวง เชียงราย (CEI)
ภูเก็ต (HKT) และหาดใหญ่ (HDY) ตามปีงบประมาณช่วง 8 เดือนแรก 2568 (ตุลาคม 2567 – พฤษภาคม 2568) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน
“บริการผู้โดยสาร” รวม 88.53 ล้านคน เพิ่มขึ้น 9.2% แบ่งเป็น
ระหว่างประเทศ 54.24 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10.8% ผู้โดยสารในประเทศ 34.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.9%
“บริการเที่ยวบิน” รวม 544,590 เที่ยวบิน เติบโตขึ้น 10.9% แบ่งเป็น เที่ยวบินระหว่างประเทศ308,777 เที่ยว เพิ่มขึ้น
12.5% เที่ยวบินภายในประเทศ 235,813 เที่ยวบิน
เพิ่มขึ้น 8.9%
“คาดการณ์ปีงบประมาณ 2569” (ตุลาคม 2568 –
กันยายน 2569) จะบริการ 1.“ผู้โดยสาร” จำนวนรวมเกิน 130 ล้านคน 2.เที่ยวบินรวมกว่า 859,000 เที่ยว 3.ปริมาณสินค้าและไปรษณีย์ประมาณ 1.64 ล้านตัน
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง
“การเติบโตต่อเนื่อง” ในอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งทางอากาศ AOT ในฐานะผู้ประกอบการสนามบินชั้นนำมุ่งมั่นจะปรับปรุงคุณภาพบริการและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับประสบการณ์การเดินทางให้ราบรื่น
รวดเร็ว น่าประทับใจ ตอบสนองความต้องการผู้โดยสารในอนาคต ด้วยการเน้นแนวคิด
“การต้อนรับระดับโลก” ให้ความสำคัญกับบริการที่เป็นเลิศ ความเอาใจใส่
และการต้อนรับแบบไทยแท้
พร้อมทั้ง
“รับประกันความปลอดภัยสูงสุด” ให้ผู้โดยสารตลอดการเดินทาง AOT ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “เวลาการประมวลผลเฉลี่ย” ในสนามบินทั้ง
6 แห่ง ตอกย้ำถึงประสิทธิภาพอันแข็งแกร่ง เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
เช่น “สนามบินสุวรรณภูมิ” ระหว่างประเทศเฉลี่ย 21 นาที
เวลาออกเดินทางระหว่างประเทศ 27 นาที “ภายในประเทศ” 14 นาที เวลาออกเดินทางภายในประเทศ
15 นาที “สนามบินดอนเมือง” เวลามาถึงระหว่างประเทศเฉลี่ย
21 นาที เวลาออกเดินทางระหว่างประเทศ 22 นาที เวลามาถึงภายในประเทศ8 นาที
และเวลาออกเดินทางภายในประเทศ 10 นาที
รวมทั้ง
AOT ยังให้ความสำคัญมากกับ “คุณภาพบริการของสนามบิน” (ASQ)
ทั้ง 6 แห่ง มีโครงการสำคัญหลัก ๆ ดังนี้
1.ปรับปรุงพื้นที่สนามบินแบบเปิดโล่ง สว่าง สะอาด ผ่อนคลาย ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ผู้โดยสาร
เช่น ปรับปรุงผังเมืองในอาคารผู้โดยสารใหม่
2.พื้นที่นันทนาการ โซนเด็กเล่น พื้นที่รอรับผู้โดยสารสะดวกสบาย
สถานีชาร์จไฟฟ้าเพิ่มเติม
3.การจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทยและนานาชาติ
โดยเฉพาะ
“สุวรรณภูมิ” ซึ่งเป็นสนามบินที่มีปริมาณผู้โดยสารสูงสุดมีแผนจะผลักดันเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค
เพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจให้ผู้โดยสารอย่างมีนัยสำคัญผ่านโครงการ “Suvarnabhumi Airport Experience Enhancement” ปัจจุบัน
กำลังพัฒนาอาคารเทียบเครื่องบิน C โดยปรับปรุงใหม่เพื่อรวมสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่รองรับทุกกลุ่มอายุ
เช่น โซนเด็กและเกมบริการกลุ่มครอบครัว โซนพักผ่อน พื้นที่ทำงานร่วมกัน ปี 2569
จะเปิดพื้นที่ “ดิจิทัล พาร์ค” รองรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ และภายในปี
2571 จะห้องน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ภายในสุวรรณภูมิทั้งหมด
“การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน” ตั้งเป้าขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง รองรับผู้โดยสารเติบโตต่อเนื่อง ดังนี้
• ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BKK) จะเร่งก่อสร้างโครงการ
“ขยายด้านตะวันออก” ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในปี 2573 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเป็นปีละ
80 ล้านคน จากปัจจุบัน 65 ล้านคน
ขณะนี้ “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” อยู่ระหว่างศึกษาแผนแม่บทคาดจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 แล้วจะเริ่มพัฒนาอาคารผู้โดยสารด้านใต้ และรันเวย์ที่ 4
• ท่าอากาศยานดอนเมือง (DMK) จะเริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่
3 ปี 2569 เพื่อเปิดใช้อาคารผู้โดยสารหลังที่
3 ปี 2573 รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ
จากนั้นปี 2575 มีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1
รองรับผู้โดยสารในประเทศ
• ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (CNX) จะปรับปรุงใหม่ให้แล้วเสร็จปี
2576 มีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ ปีละ 20 ล้านคน
• ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต (HKT) จะก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
คาดจะแล้วเสร็จภายในปี 2573 รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 18
ล้านคน
• ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีแผนเพิ่มศักยภาพรองรับผู้โดยสารให้แล้วเสร็จภายในปี
2576 เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับผู้โดยสารให้ได้ปีละ 6 ล้านคน จากปัจจุบัน 3 ล้านคน
นางสาวปวีณา
ย้ำว่า AOT ยังคงเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการผู้โดยสาร
เพื่อสนับสนุนเป้าหมายนำไทยเป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคและเพิ่มรายได้จากการบิน
โดยแสวงหารายได้หลากหลายช่องทาง เพิ่มความมั่นคงทางการเงินและความยั่งยืนในระยะยาว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AOT ตั้งเป้าจะเพิ่มรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบิน
(Non Aero) โดยใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสนามบิน 6 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เมื่อ 29 เมษายน 2568
ได้จัดงาน “AOT Property Showcase” นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจอย่างมาก
ด้วยการเสนอทั้งหมด 28 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ธุรกิจหลากหลาย
เช่น โรงแรม ศูนย์ MRO (Maintenance, Repair, and Overhaul) อาคารผู้โดยสารเครื่องบินส่วนตัว
ศูนย์ฝึกอบรมโลจิสติกส์ฮับ ศูนย์ซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า โชว์รูมรถยนต์
สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และโครงการ Attractions in Terminal ปัจจุบัน
ทอท.
กำลังรับข้อเสนอโครงการเพื่อประเมินและปรับแนวทางให้สอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ระยะยาว
นางสาวปวีณายืนยัน
AOT มุ่งมั่นพัฒนาทุกส่วนอย่างต่อเนื่องส่งเสริมการเดินทางระดับโลกผ่านความเป็นเลิศด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การบริการ นวัตกรรม ทำให้การเดินทางทางอากาศในเมืองไทยสะดวกสบาย ปลอดภัย ทันสมัย
เป็นมิตรต่อผู้โดยสาร และผลักดัน AOT เป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน
โดยใช้บทบาทผู้นำระบบขนส่งทางอากาศของชาติ สนับสนุนเศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น