“รมว.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์”ถก12ประเด็นฮ็อต
ทำแน่!คูปองทัวร์เมืองรอง-ภาษีขยะพลาสติก
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน : blogger/Columnist #gurutourza
www.facebook.com/penroongyaisamsaen
“วีระศักดิ โควสุรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล จัดเวที “Meet The Press : พูดคุยเก๋ไก๋สไตล์รัฐมนตรี” ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ในทุกคำถามมีคำตอบ รวม ๆ 12 ประเด็น เกี่ยวกับ การขับเคลื่อนท่องเที่ยวและกีฬา ทางด้านนโยบาย ส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ที่จะเกิดในยุคนี้ 3 เรื่องใหญ่ คือ
1.เสนอเมืองท่องเที่ยวผลิตคูปองเมืองรองหารายได้ไปพัฒนาชุมชน 2.เพิ่มกฎหมายจัดเก็บภาษีวัสดุภัณฑ์พลาสติก 3.ปฏิวัติองคาพยพของคนเพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงาน วิธีคิด ไปสู่เทรนด์โลกยุคใหม่
“รมว.วีระศักดิ์” ตอบคำถาม ตลอด 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยเกริ่นนำว่าวันนี้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยทำงานครบ 60 วัน ได้มอบนโยบายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปแล้วจะรอภายในอีก 1 เดือนข้างหน้า จะเสนอเข้ามาเพิ่มมากกว่า 55 เมืองท่องเที่ยวจะปรากฎเป็นรูปธรรม โดยจะต้องแบ่งดิวิชั่นเมืองตามศักยภาพ แล้วการจะใช้มาตรฐานการใช้มาตรการกระตุ้นแบบเดียวกันไม่ได้ เพราะบางเมืองไปยากไปไกลช่องทางเข้าถึงหรือเกณฑ์ตามสูตร สะอาด สะดวก ปลอดภัย มีเอกลักษณ์ ยั่งยืน ยังต้องใช้เครื่องมืออีกหลาย จึงน่าจะให้แต้มต่อเพิ่มแก่เมืองเหล่านี้ แล้วขอให้รอหน่วยงานเกี่ยวข้องเสนออย่างชัด ๆ อีกครั้ง
ประเด็นที่ 1 ขณะนี้ได้สร้างเครื่องมือสำคัญขึ้นมาแล้วโดยใช้ LINE @tourism1 เป็นศูนย์แจ้งซ่อม @tourism2 เป็นศูนย์แจ้งสร้าง เพื่อให้คนไทยซึ่งใช้ไลน์สื่อสารกันมากที่สุดเมื่อเข้าไปเที่ยวสถานที่ใดแล้วเห็นเรื่องราวที่ต้องแก้ไขปรับปรุง เช่น ห้องน้ำไม่สะอาด ขาดทางลาด หรือถนนชำรุด และอื่น ๆ ก็แจ้งเข้ามายังศูนย์ดังกล่าว
จากนั้นจะได้แยกบทบาทระหว่าง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) รวบรวมภาพสวย ๆเพื่อตอบโจทก์การทำตลาด ส่วนกระทรวงรวบรวมภาพที่ต้องแก้ไขเพื่อเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวแล้วติดรหัสกำกับด้วยเลข 13 หลัก เป็นการเริ่มต้นระบบเพื่อทำให้มีกระดานทำงานบอกไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากทุกแห่งกระทรวงและ ททท.ไม่ได้มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของเลยสักแห่ง ไม่ว่าจะเป็นแหล่ง โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ทั้งที่ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเข้ามา 35 ล้านคน เป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรไทย มากกว่า 100 ภาษา ซึ่งแทบจะไม่มีประเทศใดรับได้ขนาดนี้
ด้วยความที่ประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นคนใจบุญจึงขอชวนบริษัทระดับโลกชวนพนักงานเข้ามาทำโครงการซีเอสอาร์ หรือบริษัทขนาดเล็กเพื่อชวนกันเข้ามาซ่อมสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามเลขที่กำกับไว้ แล้วจะอัพเดทให้หน่วยงานหรือกลุ่มคนออกมาช่วยกัน สร้างวัฒนธรรมใหม่ทางการท่องเที่ยวเป็นเทรนด์โลกใหม่เรียกว่า Volunteer Tourism ซึ่งกลับไปโดยมีเรื่องเล่าของการได้ช่วยโลก โดยภาพใหญ่คือเป็นการนำไปสู่กติกาขีดความสามารถทางการรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวกับพื้นที่อย่างเหมาะสม (Carrying Capicity)
ตลอด 60 วันเป็นช่วงการออกแบบเครื่องมือให้เหมาะเทรนด์ของโลกยุคใหม่ต้องหันมาท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนโดยทำให้คนมีส่วนร่วมรักษาวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง ด้วยวิธีแบ่งอำนาจการตัดสินใจให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วยจะเกิดประโยชน์มากกว่า และทุกฝ่ายสามารถนำตัวเลขกำกับพื้นที่จาก Big Data ไปใช้ด้วยกัน มีโอกาสคิด ตัดสินใจ ร่วมกับคนจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ประเด็นที่ 2 “แนวคิดเสนอจัดทำคูปองท่องเที่ยวเมืองรอง” ต่อเนื่องจากมาตรการลดหย่อนภาษีซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง แต่คูปองแนวใหม่ที่เสนอเพิ่มให้เมืองรองทำขึ้นไม่ควรจะนำไปหว่านเหมือนกันหมด แต่ต้องออกแบบตามลักษณะของกิจกรรมเพื่อให้แต่ละจังหวัดนำไปวางแผนเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ โดยจังหวัดกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด ออกแบบผลิตประกาศวิธีการนำคูปองไปใช้เป็นส่วนลดราคามีทั้งหมดกี่รายการ พอครบวันก็ให้นำไปขึ้นเงินได้ อายุคูปองควรจะสั้น ๆ เพื่อป้องกันการปลอม จุดประสงค์ต้องตอบโจทก์ตามเป้าหมายให้ไปใช้กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง ประการสำคัญต้องขอเวลาเจ้าหน้าที่ไปศึกษารูปแบบเพราะต้องนำไปสร้างประโยชน์มิใช่สร้างปัญหา
ขณะนี้ต้องการใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริงยั่งยืน แต่ต้องไม่ใช่เครื่องมือสร้างความร่ำรวยให้อาเสี่ย เพราะรัฐต้องการเพิ่มรายได้ลดความเหลื่อมล้ำให้ชาวบ้าน รวมถึงการเลือกลงทุนการท่องเที่ยวก็ ต้องถ่วงน้ำหนักระหว่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีจุดขายไม่เท่ากัน หรือการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายฝั่งทะเลตะวันออก (EEC) บางโครงการใช้เงินไม่มากแต่ก็สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ หรือแม้แต่การออกแบบท่าอากาศยานอู่ตะเภาต่อไปควรทำถึงขึ้น สามารถปั่นจักรยานออกไปอร่อยทุกไร่ชิมไปทุกสวนได้ โดยมีถนนลาดยางเชื่อมเข้าสวน ซึ่งจะเกิดการลงทุนอื่น ๆ ตามมา เช่น ร้านขายน้ำ ขายกาแฟ กิจกรรมนั่งสมาธิ กลายเป็น Creative Tourism เป็นอีกวิธีเพิ่มรายได้แก่นักลงทุนเงินน้อยแต่มีโอกาสทำได้
ประเด็นที่ 3 การผ่าหรือแยกร่างโครงสร้างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในเชิงนโยบายแยกไม่ยากเพราะมีบุคลากรด้านกีฬาจำนวนมาก แต่ท่องเที่ยวจะมีใครเข้ามาเป็นข้าราชการกระทรวง วันนี้หากทำได้เร็วสุดคือให้ ททท.ซึ่งเป็นผู้พัฒนาตลาดรับภารกิจงานบางส่วนกลับไปทำเองบ้าง ขณะนี้มีหลายประเทศไม่มีกระทรวงการท่องเที่ยว เช่น ญี่ปุ่น ตั้งต้นด้วยกระทรวงคมนาคมเน้นระบบโครงสร้างการเดินทางก่อน แม้แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนก็มีแค่ CNTA องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่มีกระทรวงแต่อย่างใด สาระสำคัญตอนนี้ต้องเปิดโผให้เห็นภายในโถใหญ่ว่าไทยไม่ได้มีข้าราชการด้านท่องเที่ยวอยู่ในกระทรวง แล้วการศึกษาเองถึงจะมีหลักสูตรแต่ก็ยังต้องมาฝึกประสบการณ์ แล้วประเทศจะรอถึงขนาดนั้นได้หรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่เป็นเครื่องมือเฉพาะทางคือต้องหันมาพัฒนาในรูปแบบ “คลัสเตอร์เมืองท่องเที่ยว” ไปพลาง ๆ ก่อน
ประเด็นที่ 4 การวางแผนนำเข้านักท่องเที่ยวต่างประเทศ ผมเพิ่งจะไปเป็นประธานการประชุม ASEAN TOURISM FORUM 2018 บวก จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เห็นพ้องกันว่าอาเซียนเที่ยวกันเองเติบโตเกิน 9 % ปี 2561 ทั้งรายได้และจำนวนจะเติบโตเพิ่มอีกเกิน 9.5 % ส่วนไทยโตเกิน 10 % สูงกว่าค่าเฉลี่ยอาเซียน ประการสำคัญหากจะเพิ่มจำนวนและรายได้ก็ต้องทำให้เสียงบ่นของนักท่องเที่ยวลดลงแล้วเพิ่มรอยยิ้มบาง ๆ เข้าไป ย้ำเรื่องความปลอดภัยกับความสะอาดเป็นหลัก จุดเปลี่ยนการเดินทางทุกวันนี้ต่างจากอดีตที่กลับข้างจากปัจจุบันมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายแล้ว กระบวนการทำให้เกิดความรู้สึกว่าการท่องเที่ยวมีระบบบริการดีขึ้นนั้น ทั้ง ๆ ที่กระทรวงมีเจ้าหน้าที่กรมการท่องเที่ยวเพียง 130 คน ต้องดูแลแหล่งท่องเที่ยวอยู่ทั่วประเทศ แถมยังต้องดูทำเลการถ่ายทำภาพยนตร์นานาชาติเข้ามาด้วยอีกภารกิจ แทนที่จะอยู่กับกระทรวงวัฒนธรรมและพร้อมที่จะส่งกลับไป
ประเด็นที่ 5 แนวทางการวางสัดส่วนจีดีพีของรายได้การท่องเที่ยว อะไรสำคัญกว่ากัน ระหว่างสนับสนุนเถ้าแก่หรือสร้างเอสเอ็มอีชุมชน ตอบโจทก์ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมซึ่งการท่องเที่ยวจะดีขึ้นตัวชี้วัดจากร้อยยิ้มความสุขของคนในท้องถิ่น หากขาดการจัดการมีปัญหาตามมามากมายก็ไม่ถือว่าดีขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้ย่อมสำคัญมากกว่าให้เถ้าแก่เข้าไปลงทุน
ประเด็นที่ 6 การสร้างการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล หรือ Tourism for All ของโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในทุกจุดต้องรองรับทั้งเด็ก เยาวชน คนสูงวัย คนพิการ
ประเด็นที่ 7 นักท่องเที่ยวจึนเดินทางเข้ามาไทยเพิ่มขึ้นทุกปี จะรับมือด้วยการนำนโยบายของรัฐเข้าไปจัดการให้มากขึ้นเพื่อปรับความสัมพันธ์ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ส่วนไทยจะต้องระวังสิ่งที่จะตามมาด้วยเหมือนกัน เพราะนักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ทั้งเชิงลบและบวก แต่จะต้องเตรียมจัดการด้วยการทำข้อศึกษาปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นระบบ กรณีทัวร์จีนศูนย์เหรียญ หรือถูกหลอกและเอาเปรียบ เนื่องจากยังต้องพึ่งพาภาษากลางที่สื่อสารเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะนักเดินทางอิสระ F.I.T.ตลาดจีนเติบโตรวดเร็วมาก ประเทศไทยจึงต้องทำป้ายบอกทางและเครื่องมือสื่อสารให้ชาวจีนใช้งานไปด้วยกันได้ เป็นภาวะใหญ่ของโลก
แนวโน้มตรุษจีนปีนี้นักท่องเที่ยวจีนจะมาเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 10 % โดยจีนพบว่าไทยจัดฉลองได้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ที่ใดในโลก จึงมอบหมายให้ ททท.กระจายการท่องเที่ยวตรุษจีนสู่เมืองรอง และกำชับให้ท้องถิ่นต้อนรับด้วย “ยิ้มแย้ม ยืดหยุ่น” ซึ่งอยู่ในสายเลือดคนไทยเป็นเสน่ห์ยิ่งใหญ่คิดมูลค่าไม่ได้มีอยู่คู่ ททท.มากว่า 57 ปี
ส่วนกรณีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากทัวร์จีนและปัญหาการจราจรติดขัดเมืองพัทยา ได้รับการยืนยันประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 การพัฒนาพื้นที่เชื่อม EEC ด้วยการลงทุนสร้างระบบรถไฟฟ้าขึ้นในเมืองพัทยา จากนั้นต้องขยายท่องเที่ยวสู่เมืองรอง และจัดระบบการขนส่งคมนาคมให้ชัดเจนมากขึ้น คือ สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ส่วนจะแก้ไขทัวร์จีนศูนย์เหรียญต้องลงมือศึกษาเพราะทุกแห่งเผชิญกับปัญหานี้แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการจับกุมอย่างเดียวคงไม่จบแต่ต้องสร้างข้อมูลเครือข่ายให้ไปอยู่ในมือถือคนจีน
ประเด็นที่ 8 นักท่องเที่ยวจองซื้อท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์กำลังเผชิญปัญหามากขึ้น นั้น ตามกลไกใหม่ Sharing Economy นำทรัพยากรส่วนตัวมาแบ่งปันให้คนอื่นมารองรับท่องเที่ยว แต่การลงทุนตอนนี้กลายเป็นการลงทุนสร้างแล้วนำมาขายนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประเด็นที่ 9 “การเก็บขยะตามแหล่งท่องเที่ยว” ที่เดินทางลงพื้นที่ไปเก็บเอง ก็เพื่อตอกย้ำให้ผู้นำองค์กรท้องถิ่นลุกขึ้นมาร่วมกันปลุกจิตสำนึก และวางวิธีบริหารจัดการเพื่อนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงทำให้ทุกฝ่ายที่จัดงานกิจกรรม อีเวนต์ งานประเพณีของชาติ ต้องให้ทุกงานมีวิธีจัดเก็บและช่วยกันสร้างวัฒนธรรมการเก็บขยะ แล้วนำโมเดลไปใช้กับงานวัดหรืองานระดับชาติได้
ส่วนขยะทะเลเห็นพ้องกันต้องบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติในการทำ “ภาษีวัสดุภัณฑ์พลาสติก” เพราะอายุการใช้พลาสติกของภาชนะต่าง ๆ นั้นสั้นเหลือเกินแต่อยู่กับโลกนานนับร้อยปี ต้นทุนการผลิตต่ำแต่ต้นทุนการกำจัดนั้นสูงมาก (ระหว่างอธิบาย รมว.วีระศักดิ์ ได้เปิดตัวอย่างของเสื้อกล้ามที่ใส่ข้างในมีส่วนผสมของการนำพลาสรีไซเคิลมาผลิต เขียนว่าบนด้านหน้าเสื้อว่า because there is no plannet B นำมาผสมกับฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ ราคาแพงกว่าเสื้อปกติ และยังมีกระเป๋าเป้อีกใบที่นำแหอวนชาวประมงมาผลิต อายุการใช้งานยาวนานมาก มีทั้งเป้ กระเป๋ ราคาใบละกว่า 3,000 บาท คนซื้อเพราะมีคุณค่าที่ได้ช่วยรักษามหาสมุทร ซึ่งเป็นลมหายใจใหญ่สุดของคนไทยและชาวโลก)
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นับเป็นวันแรกของประเทศไทยที่ประกาศใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ชายหาด เพราะเคยไปทดลองเก็บก้นบุหรี่เพียง 1 วัน ชายหาดภูเก็ตสามารถเก็บได้ถึงวันละ 5 กิโลกรัม และถ้า 365 วัน จะเป็นเท่าไร ซึ่งเป็นความยิ่งใหญ่ในการสร้างวัฒนธรรมให้คนเข้ามารับไม้ต่อเดินหน้าอย่างยั่งยืนได้ แล้วใครก็ตามที่จะมาเป็นรัฐมนตรีหรือรัฐบาลกี่วันก็ตาม จะทำให้ชุมชนมีความสุข ท่องเที่ยวยั่งยืน ทำให้คนมีรายได้ต่อไปอย่างมั่นคง ประเทศไทยมีทุกอย่างที่ท่องเที่ยวโลกชื่นชอบเป็น Local Friendly ควรรักษาไว้ให้ยั่งยืน
ประเด็นที่ 9 การทำให้เกิดอีเวนต์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวนานาชาติ อีเวนต์ตัว อย่างคือการเป็นเจ้าภาพจัด Moto GP 2018 เป็นครั้งแรกจัดในเมืองรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือน 5-7 ตุลาคม 2561 ที่จะมีผู้คนนับแสนคน จะต้องจัดการอาหาร ที่พัก รถบัสภายในจังหวัด และการคมนาคมเชื่อมโยง นั้นปีแรกท้าทายมาก แล้วไทยได้จัดต่อเนื่องถึง 3 ปี ดังนั้นปีแรกจึงต้องขอบารมีรองนายกรัฐมนตรีเข้ามาด้วย นอกจากนี้ยังมีอีเวนต์ Sport ACCORD เบอร์ 1 ของสหพันธ์กีฬาทุกประเทศและฟีฟ่า จะมาประชุมช่วงสงกรานต์ 3,000 คน มีกิจกรรมกีฬาและไปรวมตัวกันตรงราชประสงค์
“วีระศักดิ์” เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนแผนนโยบายทางด้านการขับเคลื่อนกีฬาทุกระดับทั้งในประเทศและทั่วโลก ดังนี้
ประเด็นที่ 10 พัฒนาการของประเทศไทยในการนำกีฬาไทยสู่โลก สำหรับกีฬาในเมืองไทยมีประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดพัฒนาการอย่างชัดเจน กระทั่งทุกวันนี้ทำให้คนดูมีมากกว่าคนเล่นทั้ง ฟุตบอล พรีเมียร์ ลีก และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ จึงสามารถเก็บภาษีได้มีเงินเต็มถังเท่ากับน้ำเต็มท่อสามารถนำไปใช้จัดการแข่งขันแมทช์ระดับนานาชาติ แต่วันนี้สิ่งที่ต้องทำคือการบริหารอย่างมีธรรมาภิบาล ส่วนกฎหมายกีฬาในอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แก้กฎหมายให้นายกรัฐมตรีเป็นประธานและเป็นประธานบอร์ดด้วย เช่นเดียวกับ พรบ.การกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ สนช.แก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนั้นวันนี้จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทำอะไร ซึ่งดีต่อวงการกีฬา แต่ก็เกิดคำถามต่อไปว่าบทบาทของรัฐมนตรีเพียงแค่สนับสนุน หน้าที่ต้องทำให้มีธรรมาภิบาลการใช้งบประมาณนั่นเอง
ประเด็นที่ 11 การถ่ายทอดสดจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งมีกฎ Must Carry Must have จึงทำให้เกิดการสะดุดอยู่บ้างเรื่องถ่ายทอดสดเพื่อให้แฟนบอลชม ซึ่งจะต้องไปแก้ไขที่ต้นเหตุ แม้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะไม่เกี่ยวข้องหรือมีอำนาจในเรื่องดังกล่าว แต่พร้อมอาสาช่วยแก้ปัญหาโดยไม่ใช้เงินงบประมาณของประเทศ ขณะนี้มีกลุ่มเอกชนยินดีจะลงขันกันเพื่อไปเจรจากับฟีฟ่าและอดทนรอผลสรุปก่อนเพื่อป้องกันการ offside อีกทั้งจะได้ไม่ส่งผลต่อไปถึงเรื่องราคาถ่ายทอดการแข่งขันที่เอกชนกำลังเจรจากันอยู่นั่นเอง
ประเด็นที่ 12 มองอนาคตการพัฒนากีฬานำเยาวชนก้าวสู่ระดับโลก จะมองไปอีก 8 ปีข้างหน้า อย่างแรกต้องเร่งปลดล็อกการสร้างนักกีฬา เริ่มต้นจากวัยของเด็กจะต้องไม่รับภาระหนักการศึกษากับกีฬามากเกินไป สัปดาห์หน้าจะไปยืนบนเวทีกับ 191 เพื่อทำให้เด็กสมหวังทางการศึกษาและกีฬา
แล้วพบกันใหม่ในเวที Meet the Press ครั้งที่ 2 ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2561
ทำแน่!คูปองทัวร์เมืองรอง-ภาษีขยะพลาสติก
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน : blogger/Columnist #gurutourza
www.facebook.com/penroongyaisamsaen
“วีระศักดิ โควสุรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล จัดเวที “Meet The Press : พูดคุยเก๋ไก๋สไตล์รัฐมนตรี” ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ในทุกคำถามมีคำตอบ รวม ๆ 12 ประเด็น เกี่ยวกับ การขับเคลื่อนท่องเที่ยวและกีฬา ทางด้านนโยบาย ส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ที่จะเกิดในยุคนี้ 3 เรื่องใหญ่ คือ
1.เสนอเมืองท่องเที่ยวผลิตคูปองเมืองรองหารายได้ไปพัฒนาชุมชน 2.เพิ่มกฎหมายจัดเก็บภาษีวัสดุภัณฑ์พลาสติก 3.ปฏิวัติองคาพยพของคนเพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงาน วิธีคิด ไปสู่เทรนด์โลกยุคใหม่
“รมว.วีระศักดิ์” ตอบคำถาม ตลอด 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยเกริ่นนำว่าวันนี้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยทำงานครบ 60 วัน ได้มอบนโยบายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปแล้วจะรอภายในอีก 1 เดือนข้างหน้า จะเสนอเข้ามาเพิ่มมากกว่า 55 เมืองท่องเที่ยวจะปรากฎเป็นรูปธรรม โดยจะต้องแบ่งดิวิชั่นเมืองตามศักยภาพ แล้วการจะใช้มาตรฐานการใช้มาตรการกระตุ้นแบบเดียวกันไม่ได้ เพราะบางเมืองไปยากไปไกลช่องทางเข้าถึงหรือเกณฑ์ตามสูตร สะอาด สะดวก ปลอดภัย มีเอกลักษณ์ ยั่งยืน ยังต้องใช้เครื่องมืออีกหลาย จึงน่าจะให้แต้มต่อเพิ่มแก่เมืองเหล่านี้ แล้วขอให้รอหน่วยงานเกี่ยวข้องเสนออย่างชัด ๆ อีกครั้ง
ประเด็นที่ 1 ขณะนี้ได้สร้างเครื่องมือสำคัญขึ้นมาแล้วโดยใช้ LINE @tourism1 เป็นศูนย์แจ้งซ่อม @tourism2 เป็นศูนย์แจ้งสร้าง เพื่อให้คนไทยซึ่งใช้ไลน์สื่อสารกันมากที่สุดเมื่อเข้าไปเที่ยวสถานที่ใดแล้วเห็นเรื่องราวที่ต้องแก้ไขปรับปรุง เช่น ห้องน้ำไม่สะอาด ขาดทางลาด หรือถนนชำรุด และอื่น ๆ ก็แจ้งเข้ามายังศูนย์ดังกล่าว
จากนั้นจะได้แยกบทบาทระหว่าง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) รวบรวมภาพสวย ๆเพื่อตอบโจทก์การทำตลาด ส่วนกระทรวงรวบรวมภาพที่ต้องแก้ไขเพื่อเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวแล้วติดรหัสกำกับด้วยเลข 13 หลัก เป็นการเริ่มต้นระบบเพื่อทำให้มีกระดานทำงานบอกไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากทุกแห่งกระทรวงและ ททท.ไม่ได้มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของเลยสักแห่ง ไม่ว่าจะเป็นแหล่ง โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ทั้งที่ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเข้ามา 35 ล้านคน เป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรไทย มากกว่า 100 ภาษา ซึ่งแทบจะไม่มีประเทศใดรับได้ขนาดนี้
ด้วยความที่ประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นคนใจบุญจึงขอชวนบริษัทระดับโลกชวนพนักงานเข้ามาทำโครงการซีเอสอาร์ หรือบริษัทขนาดเล็กเพื่อชวนกันเข้ามาซ่อมสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามเลขที่กำกับไว้ แล้วจะอัพเดทให้หน่วยงานหรือกลุ่มคนออกมาช่วยกัน สร้างวัฒนธรรมใหม่ทางการท่องเที่ยวเป็นเทรนด์โลกใหม่เรียกว่า Volunteer Tourism ซึ่งกลับไปโดยมีเรื่องเล่าของการได้ช่วยโลก โดยภาพใหญ่คือเป็นการนำไปสู่กติกาขีดความสามารถทางการรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวกับพื้นที่อย่างเหมาะสม (Carrying Capicity)
ตลอด 60 วันเป็นช่วงการออกแบบเครื่องมือให้เหมาะเทรนด์ของโลกยุคใหม่ต้องหันมาท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนโดยทำให้คนมีส่วนร่วมรักษาวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง ด้วยวิธีแบ่งอำนาจการตัดสินใจให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วยจะเกิดประโยชน์มากกว่า และทุกฝ่ายสามารถนำตัวเลขกำกับพื้นที่จาก Big Data ไปใช้ด้วยกัน มีโอกาสคิด ตัดสินใจ ร่วมกับคนจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ประเด็นที่ 2 “แนวคิดเสนอจัดทำคูปองท่องเที่ยวเมืองรอง” ต่อเนื่องจากมาตรการลดหย่อนภาษีซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง แต่คูปองแนวใหม่ที่เสนอเพิ่มให้เมืองรองทำขึ้นไม่ควรจะนำไปหว่านเหมือนกันหมด แต่ต้องออกแบบตามลักษณะของกิจกรรมเพื่อให้แต่ละจังหวัดนำไปวางแผนเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ โดยจังหวัดกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด ออกแบบผลิตประกาศวิธีการนำคูปองไปใช้เป็นส่วนลดราคามีทั้งหมดกี่รายการ พอครบวันก็ให้นำไปขึ้นเงินได้ อายุคูปองควรจะสั้น ๆ เพื่อป้องกันการปลอม จุดประสงค์ต้องตอบโจทก์ตามเป้าหมายให้ไปใช้กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง ประการสำคัญต้องขอเวลาเจ้าหน้าที่ไปศึกษารูปแบบเพราะต้องนำไปสร้างประโยชน์มิใช่สร้างปัญหา
ขณะนี้ต้องการใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริงยั่งยืน แต่ต้องไม่ใช่เครื่องมือสร้างความร่ำรวยให้อาเสี่ย เพราะรัฐต้องการเพิ่มรายได้ลดความเหลื่อมล้ำให้ชาวบ้าน รวมถึงการเลือกลงทุนการท่องเที่ยวก็ ต้องถ่วงน้ำหนักระหว่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีจุดขายไม่เท่ากัน หรือการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายฝั่งทะเลตะวันออก (EEC) บางโครงการใช้เงินไม่มากแต่ก็สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ หรือแม้แต่การออกแบบท่าอากาศยานอู่ตะเภาต่อไปควรทำถึงขึ้น สามารถปั่นจักรยานออกไปอร่อยทุกไร่ชิมไปทุกสวนได้ โดยมีถนนลาดยางเชื่อมเข้าสวน ซึ่งจะเกิดการลงทุนอื่น ๆ ตามมา เช่น ร้านขายน้ำ ขายกาแฟ กิจกรรมนั่งสมาธิ กลายเป็น Creative Tourism เป็นอีกวิธีเพิ่มรายได้แก่นักลงทุนเงินน้อยแต่มีโอกาสทำได้
ประเด็นที่ 3 การผ่าหรือแยกร่างโครงสร้างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในเชิงนโยบายแยกไม่ยากเพราะมีบุคลากรด้านกีฬาจำนวนมาก แต่ท่องเที่ยวจะมีใครเข้ามาเป็นข้าราชการกระทรวง วันนี้หากทำได้เร็วสุดคือให้ ททท.ซึ่งเป็นผู้พัฒนาตลาดรับภารกิจงานบางส่วนกลับไปทำเองบ้าง ขณะนี้มีหลายประเทศไม่มีกระทรวงการท่องเที่ยว เช่น ญี่ปุ่น ตั้งต้นด้วยกระทรวงคมนาคมเน้นระบบโครงสร้างการเดินทางก่อน แม้แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนก็มีแค่ CNTA องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่มีกระทรวงแต่อย่างใด สาระสำคัญตอนนี้ต้องเปิดโผให้เห็นภายในโถใหญ่ว่าไทยไม่ได้มีข้าราชการด้านท่องเที่ยวอยู่ในกระทรวง แล้วการศึกษาเองถึงจะมีหลักสูตรแต่ก็ยังต้องมาฝึกประสบการณ์ แล้วประเทศจะรอถึงขนาดนั้นได้หรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่เป็นเครื่องมือเฉพาะทางคือต้องหันมาพัฒนาในรูปแบบ “คลัสเตอร์เมืองท่องเที่ยว” ไปพลาง ๆ ก่อน
ประเด็นที่ 4 การวางแผนนำเข้านักท่องเที่ยวต่างประเทศ ผมเพิ่งจะไปเป็นประธานการประชุม ASEAN TOURISM FORUM 2018 บวก จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เห็นพ้องกันว่าอาเซียนเที่ยวกันเองเติบโตเกิน 9 % ปี 2561 ทั้งรายได้และจำนวนจะเติบโตเพิ่มอีกเกิน 9.5 % ส่วนไทยโตเกิน 10 % สูงกว่าค่าเฉลี่ยอาเซียน ประการสำคัญหากจะเพิ่มจำนวนและรายได้ก็ต้องทำให้เสียงบ่นของนักท่องเที่ยวลดลงแล้วเพิ่มรอยยิ้มบาง ๆ เข้าไป ย้ำเรื่องความปลอดภัยกับความสะอาดเป็นหลัก จุดเปลี่ยนการเดินทางทุกวันนี้ต่างจากอดีตที่กลับข้างจากปัจจุบันมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายแล้ว กระบวนการทำให้เกิดความรู้สึกว่าการท่องเที่ยวมีระบบบริการดีขึ้นนั้น ทั้ง ๆ ที่กระทรวงมีเจ้าหน้าที่กรมการท่องเที่ยวเพียง 130 คน ต้องดูแลแหล่งท่องเที่ยวอยู่ทั่วประเทศ แถมยังต้องดูทำเลการถ่ายทำภาพยนตร์นานาชาติเข้ามาด้วยอีกภารกิจ แทนที่จะอยู่กับกระทรวงวัฒนธรรมและพร้อมที่จะส่งกลับไป
ประเด็นที่ 5 แนวทางการวางสัดส่วนจีดีพีของรายได้การท่องเที่ยว อะไรสำคัญกว่ากัน ระหว่างสนับสนุนเถ้าแก่หรือสร้างเอสเอ็มอีชุมชน ตอบโจทก์ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมซึ่งการท่องเที่ยวจะดีขึ้นตัวชี้วัดจากร้อยยิ้มความสุขของคนในท้องถิ่น หากขาดการจัดการมีปัญหาตามมามากมายก็ไม่ถือว่าดีขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้ย่อมสำคัญมากกว่าให้เถ้าแก่เข้าไปลงทุน
ประเด็นที่ 6 การสร้างการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล หรือ Tourism for All ของโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในทุกจุดต้องรองรับทั้งเด็ก เยาวชน คนสูงวัย คนพิการ
ประเด็นที่ 7 นักท่องเที่ยวจึนเดินทางเข้ามาไทยเพิ่มขึ้นทุกปี จะรับมือด้วยการนำนโยบายของรัฐเข้าไปจัดการให้มากขึ้นเพื่อปรับความสัมพันธ์ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ส่วนไทยจะต้องระวังสิ่งที่จะตามมาด้วยเหมือนกัน เพราะนักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ทั้งเชิงลบและบวก แต่จะต้องเตรียมจัดการด้วยการทำข้อศึกษาปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นระบบ กรณีทัวร์จีนศูนย์เหรียญ หรือถูกหลอกและเอาเปรียบ เนื่องจากยังต้องพึ่งพาภาษากลางที่สื่อสารเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะนักเดินทางอิสระ F.I.T.ตลาดจีนเติบโตรวดเร็วมาก ประเทศไทยจึงต้องทำป้ายบอกทางและเครื่องมือสื่อสารให้ชาวจีนใช้งานไปด้วยกันได้ เป็นภาวะใหญ่ของโลก
แนวโน้มตรุษจีนปีนี้นักท่องเที่ยวจีนจะมาเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 10 % โดยจีนพบว่าไทยจัดฉลองได้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ที่ใดในโลก จึงมอบหมายให้ ททท.กระจายการท่องเที่ยวตรุษจีนสู่เมืองรอง และกำชับให้ท้องถิ่นต้อนรับด้วย “ยิ้มแย้ม ยืดหยุ่น” ซึ่งอยู่ในสายเลือดคนไทยเป็นเสน่ห์ยิ่งใหญ่คิดมูลค่าไม่ได้มีอยู่คู่ ททท.มากว่า 57 ปี
ส่วนกรณีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากทัวร์จีนและปัญหาการจราจรติดขัดเมืองพัทยา ได้รับการยืนยันประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 การพัฒนาพื้นที่เชื่อม EEC ด้วยการลงทุนสร้างระบบรถไฟฟ้าขึ้นในเมืองพัทยา จากนั้นต้องขยายท่องเที่ยวสู่เมืองรอง และจัดระบบการขนส่งคมนาคมให้ชัดเจนมากขึ้น คือ สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ส่วนจะแก้ไขทัวร์จีนศูนย์เหรียญต้องลงมือศึกษาเพราะทุกแห่งเผชิญกับปัญหานี้แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการจับกุมอย่างเดียวคงไม่จบแต่ต้องสร้างข้อมูลเครือข่ายให้ไปอยู่ในมือถือคนจีน
ประเด็นที่ 8 นักท่องเที่ยวจองซื้อท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์กำลังเผชิญปัญหามากขึ้น นั้น ตามกลไกใหม่ Sharing Economy นำทรัพยากรส่วนตัวมาแบ่งปันให้คนอื่นมารองรับท่องเที่ยว แต่การลงทุนตอนนี้กลายเป็นการลงทุนสร้างแล้วนำมาขายนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประเด็นที่ 9 “การเก็บขยะตามแหล่งท่องเที่ยว” ที่เดินทางลงพื้นที่ไปเก็บเอง ก็เพื่อตอกย้ำให้ผู้นำองค์กรท้องถิ่นลุกขึ้นมาร่วมกันปลุกจิตสำนึก และวางวิธีบริหารจัดการเพื่อนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงทำให้ทุกฝ่ายที่จัดงานกิจกรรม อีเวนต์ งานประเพณีของชาติ ต้องให้ทุกงานมีวิธีจัดเก็บและช่วยกันสร้างวัฒนธรรมการเก็บขยะ แล้วนำโมเดลไปใช้กับงานวัดหรืองานระดับชาติได้
ส่วนขยะทะเลเห็นพ้องกันต้องบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติในการทำ “ภาษีวัสดุภัณฑ์พลาสติก” เพราะอายุการใช้พลาสติกของภาชนะต่าง ๆ นั้นสั้นเหลือเกินแต่อยู่กับโลกนานนับร้อยปี ต้นทุนการผลิตต่ำแต่ต้นทุนการกำจัดนั้นสูงมาก (ระหว่างอธิบาย รมว.วีระศักดิ์ ได้เปิดตัวอย่างของเสื้อกล้ามที่ใส่ข้างในมีส่วนผสมของการนำพลาสรีไซเคิลมาผลิต เขียนว่าบนด้านหน้าเสื้อว่า because there is no plannet B นำมาผสมกับฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ ราคาแพงกว่าเสื้อปกติ และยังมีกระเป๋าเป้อีกใบที่นำแหอวนชาวประมงมาผลิต อายุการใช้งานยาวนานมาก มีทั้งเป้ กระเป๋ ราคาใบละกว่า 3,000 บาท คนซื้อเพราะมีคุณค่าที่ได้ช่วยรักษามหาสมุทร ซึ่งเป็นลมหายใจใหญ่สุดของคนไทยและชาวโลก)
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นับเป็นวันแรกของประเทศไทยที่ประกาศใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ชายหาด เพราะเคยไปทดลองเก็บก้นบุหรี่เพียง 1 วัน ชายหาดภูเก็ตสามารถเก็บได้ถึงวันละ 5 กิโลกรัม และถ้า 365 วัน จะเป็นเท่าไร ซึ่งเป็นความยิ่งใหญ่ในการสร้างวัฒนธรรมให้คนเข้ามารับไม้ต่อเดินหน้าอย่างยั่งยืนได้ แล้วใครก็ตามที่จะมาเป็นรัฐมนตรีหรือรัฐบาลกี่วันก็ตาม จะทำให้ชุมชนมีความสุข ท่องเที่ยวยั่งยืน ทำให้คนมีรายได้ต่อไปอย่างมั่นคง ประเทศไทยมีทุกอย่างที่ท่องเที่ยวโลกชื่นชอบเป็น Local Friendly ควรรักษาไว้ให้ยั่งยืน
ประเด็นที่ 9 การทำให้เกิดอีเวนต์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวนานาชาติ อีเวนต์ตัว อย่างคือการเป็นเจ้าภาพจัด Moto GP 2018 เป็นครั้งแรกจัดในเมืองรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือน 5-7 ตุลาคม 2561 ที่จะมีผู้คนนับแสนคน จะต้องจัดการอาหาร ที่พัก รถบัสภายในจังหวัด และการคมนาคมเชื่อมโยง นั้นปีแรกท้าทายมาก แล้วไทยได้จัดต่อเนื่องถึง 3 ปี ดังนั้นปีแรกจึงต้องขอบารมีรองนายกรัฐมนตรีเข้ามาด้วย นอกจากนี้ยังมีอีเวนต์ Sport ACCORD เบอร์ 1 ของสหพันธ์กีฬาทุกประเทศและฟีฟ่า จะมาประชุมช่วงสงกรานต์ 3,000 คน มีกิจกรรมกีฬาและไปรวมตัวกันตรงราชประสงค์
“วีระศักดิ์” เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนแผนนโยบายทางด้านการขับเคลื่อนกีฬาทุกระดับทั้งในประเทศและทั่วโลก ดังนี้
ประเด็นที่ 10 พัฒนาการของประเทศไทยในการนำกีฬาไทยสู่โลก สำหรับกีฬาในเมืองไทยมีประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดพัฒนาการอย่างชัดเจน กระทั่งทุกวันนี้ทำให้คนดูมีมากกว่าคนเล่นทั้ง ฟุตบอล พรีเมียร์ ลีก และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ จึงสามารถเก็บภาษีได้มีเงินเต็มถังเท่ากับน้ำเต็มท่อสามารถนำไปใช้จัดการแข่งขันแมทช์ระดับนานาชาติ แต่วันนี้สิ่งที่ต้องทำคือการบริหารอย่างมีธรรมาภิบาล ส่วนกฎหมายกีฬาในอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แก้กฎหมายให้นายกรัฐมตรีเป็นประธานและเป็นประธานบอร์ดด้วย เช่นเดียวกับ พรบ.การกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ สนช.แก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนั้นวันนี้จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทำอะไร ซึ่งดีต่อวงการกีฬา แต่ก็เกิดคำถามต่อไปว่าบทบาทของรัฐมนตรีเพียงแค่สนับสนุน หน้าที่ต้องทำให้มีธรรมาภิบาลการใช้งบประมาณนั่นเอง
ประเด็นที่ 11 การถ่ายทอดสดจัดแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งมีกฎ Must Carry Must have จึงทำให้เกิดการสะดุดอยู่บ้างเรื่องถ่ายทอดสดเพื่อให้แฟนบอลชม ซึ่งจะต้องไปแก้ไขที่ต้นเหตุ แม้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะไม่เกี่ยวข้องหรือมีอำนาจในเรื่องดังกล่าว แต่พร้อมอาสาช่วยแก้ปัญหาโดยไม่ใช้เงินงบประมาณของประเทศ ขณะนี้มีกลุ่มเอกชนยินดีจะลงขันกันเพื่อไปเจรจากับฟีฟ่าและอดทนรอผลสรุปก่อนเพื่อป้องกันการ offside อีกทั้งจะได้ไม่ส่งผลต่อไปถึงเรื่องราคาถ่ายทอดการแข่งขันที่เอกชนกำลังเจรจากันอยู่นั่นเอง
ประเด็นที่ 12 มองอนาคตการพัฒนากีฬานำเยาวชนก้าวสู่ระดับโลก จะมองไปอีก 8 ปีข้างหน้า อย่างแรกต้องเร่งปลดล็อกการสร้างนักกีฬา เริ่มต้นจากวัยของเด็กจะต้องไม่รับภาระหนักการศึกษากับกีฬามากเกินไป สัปดาห์หน้าจะไปยืนบนเวทีกับ 191 เพื่อทำให้เด็กสมหวังทางการศึกษาและกีฬา
แล้วพบกันใหม่ในเวที Meet the Press ครั้งที่ 2 ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น