เส้นทางแสนล้าน“คิง เพาเวอร์”ปีที่ 29
ปลุกพลังชุมชน-เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง
ประเทศไทยในจังหวะขาขึ้นเรื่องอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำเงินเข้าระบบเศรษฐกิจได้เป็นกอบกำ แล้วรัฐบาล “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ก็พุ่งเป้าส่งเสริมนโยบาย “กระจายรายได้สู่ชุมชน” รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนร่วมมือกัน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้ผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นอัตลักษณ์ไทยมีช่องทางการจำหน่ายเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวจากนานาชาติที่หลั่งไหลเข้าเมืองไทยปี 2561 มีแนวโน้มจะมากถึง 38 ล้านคน และคนไทยเที่ยวในประเทศอีกกว่า 160 ล้านคนครั้ง มีเงินจากการท่องเที่ยวเป็นรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 3 ล้านล้านบาท
กลุ่มบริษัท “คิง เพาเวอร์” ในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจร้านค้าปลอดอากร” (duty free) ก้าวเข้าสู่ปีที่ 29 ด้วยคอนเซ็ปต์ “ร้านค้าปลีกเพื่อการท่องเที่ยวที่ตอบสนองการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด-Explore Endlessly Jouney” ผสมผสานการลงทุนอย่างลงตัวทั้งแหล่งช้อปปิ้ง โรงแรม ร้านอาหาร การเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับผู้มาเยือนอย่างเป็นมิตร (hospitality) สร้างยอดขายรวมเข้าประเทศมูลค่ารวมปีละ 900,000-100,000 ล้านบาท
“อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยว่า ทำโครงการ “King Power Thai Power : พลังคนไทย” พุ่งเป้าสร้าง “COMMUNITY POWER-พลังชุมชนไทย” มุ่งมั่นยกระดับผู้ผลิตคัดสรรแบรนด์ไทยอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาวางจำหน่ายในร้านสาขาคิง เพาเวอร์ แต่ละปีขายได้ราว 20,000-25,000 ล้านบาท คิดเป็น 20-25 % ของทั้งหมด สามารถแบ่งปันรายได้สู่ฐานรากในปัจจุบันมีคู่ค้าผู้ผลิตสินค้าไทยจากชุมชนทั่วประเทศกว่า 154 กลุ่ม หลัก ๆ 4 หมวด คือ 1.ผ้าและเครื่องแต่งกาย 2.ของใช้ของที่ระลึก 3.สมุนไพรไทย 4.อาหารและเครื่องดื่ม วางขายในดิวตี้ฟรีของบริษัทมากกว่า 1,100 รายการ อีกทั้ง คิง เพาเวอร์ ได้สั่งซื้อสินค้าไทยชุมชนต่อเนื่องมา 28 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2532ถึงตอนนี้รวมกว่า 50,000 ล้านบาท ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจีนนิยมซื้อสินค้าชุมชนในร้านดิวตี้ฟรี คิง เพาเวอร์ สูงเป็นอันดับต้น ๆ 7 รายการ ได้แก่ น้ำผึ้ง เม็ดมะม่วงหิมมะพานต์ อาหารทะเลอบแห้งรสต้มยำโป๊ะแตก หมอนรองคอ ยาหม่องเขียว แก้วเป่ารูปช้าง แจกัน
ทุกวันนี้สินค้าไทยจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทำให้ผู้ผลิตในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยังได้เผยแพร่วัฒนธรรมความเป็นไทยที่โดดเด่นแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ด้วย
ขณะที่เสียงสะท้อนจาก “เจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน” ที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดช่องทางให้นำสินค้ามาวางจำหน่ายนับทศวรรษจนกลายเป็นสินค้าดาวรุ่งเชื่อมท้องถิ่นสู่ทั่วโลก สร้างทั้งโอกาส งาน อาชีพ ครอบครัว ลดความเหลื่อมล้ำ ค่อย ๆ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เศรษฐกิจในท้องถิ่นเติบโตอย่างเข้มแข็งตามตัวอย่าง 4 หมวด ล้วนมีเรื่องราวที่น่าสนใจ
หมวดแรก “ทองม้วน : King Pow Roll” ขนมไทยดั้งเดิมวางจำหน่ายในร้านค้า คิง เพาเวอร์ มากว่า 18 ปี ทุกวันนี้มียอดขายเดือนละกว่า 20 ล้านบาท สามารถพลิกชีวิตวิศวกรไทยเจ้าของผลิตภัณฑ์ดีกรีนักเรียนนอกที่เคยล้มเหลวต้องปิดกิจการ แต่ได้เริ่มต้นใหม่ใช้บ้านหลังเล็ก ๆ ผลิตขนมทองม้วนขายอยู่ชั้นใต้ดินเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ ก่อนจะมีทีมงานคิง เพาเวอร์ สั่งมาวางขายในร้านดิวตี้ฟรีล็อตแรก 200 กล่อง ต่อมาทำรายได้จนสามารถสั่งเครื่องจักรนำเข้าจากเยอรมันมาผลิตทองม้วนสูตรพิเศษขณะนี้มีกว่า 30 รส พร้อมจ้างพนักงานได้ถึง 300-400 คน มีเงินเดือนหมุนเวียนไปเลี้ยงครอบครัวอีกนับพันและหมื่นคน จากขนมบ้าน ๆ สู่ตลาดส่งออกทั่วโลก ปัจจุบันมียอดขายปีละหลายร้อยล้านบาท
หมวดที่ 2 “แก้วเป่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย สร้างรายได้สู่ผู้ด้อยโอกาส” ได้ผู้นำคือ “ภพ เทวาสิต” ประธานสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย ซึ่งตั้งใจเป็นผู้ให้คนอื่นโดยช่วยเหลือให้อาชีพพี่น้องผู้พิการคนอื่น ๆ มีงานมีอาชีพ หลังจากที่ได้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เป็นสื่อกลาง ด้วยความโดดเด่นที่แตกต่างแก้วเป่าของสหกรณ์ฯ ที่เน้นใช้วัสดุจากอัญมณีมาทำเป็นลายธงชาติเป่าเป็นรูป ตุ๊กตุ๊ก ช้าง เรือสุพรรณหงส์ นักท่องเที่ยวสนใจสั่งซื้อ ทำให้ยอดขายเติบโตอย่างมั่นคง ลดต้นทุนจากการสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก
ภพย้ำว่ากลุ่มคิง เพาเวอร์ ให้โอกาสทางการตลาด ซึ่งเป็นเรื่องตรงใจกลุ่มผู้พิการมากที่สุด มาตลอดระยะเวลา 4 ปี สร้างรายได้ให้คนพิการปีละหลายร้อยล้านบาท
หมวดที่ 3 “ข้าวแต๋น -Bangkok Cokies” จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ “ต๋อง” เป็นผู้นำมาเสนอคิง เพาเวอร์ พร้อมกับรับโจทก์หินที่ต้องทำให้ได้ 3 ข้อ คือ โจทก์ข้อแรก ต้องเป็นข้าวแต๋นหนึ่งเดียวในโลกไม่เหมือนใคร เขาจึงเลือกแหล่งปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ พาทีมไปดูการทำปูผัดผงกระหรี่ แล้วคิดสร้างสรรค์สูตรนำอาหารมาเป็นขนมปรับส่วนผสมเปลี่ยนวิธีปรุงจนตอบโจทก์ความไม่เหมือนใคร ตอนนี้ทำได้ทั้งหมดเกือบ 70 รส วางขายในคิง เพาเวอร์ 18 รส
โจทก์ข้อสอง ต้องเก็บได้นาน ด้วยการค้นพบวิธีลดน้ำมันที่เกาะตัวข้าวด้วยการอบ เมื่อค้นพบแล้วจึงสามารทำให้ข้าวแต๋นมีอายุการเก็บไว้บริโภคเพิ่มจาก 3 เดือน เป็น 1 ปีเป็นผลสำเร็จ
โจทก์ข้อ 3 สร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวไทย เพราะสิ่งแรกข้าวไทยในสายตาต่างชาติเป็นพรีเมียม โดยเฉพาะหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวขาว ทำให้รูปร่างของข้าวแต๋นรูปทรงดีวันนี้ต๋องได้ตั้งโครงการ “ขอบคุณชาวนา” มีเครือข่ายผู้ข้าวเกษตรอินทรีย์สามารถนำมาสร้างเป็นข้าวแต๋น ได้แบ่งเบาภาระเกษตรกร ทั้งเรื่องเมล็ดพันธุ์ เลิกใช้ปุ๋ย สร้างระบบท่อน้ำ
เส้นทางยาวไกลจากเมล็ดข้าวไทยที่ต้องฝากชะตากรรมไว้กับการส่งออกปีละหลายล้านตัน ปัจจุบันชาวนากลุ่มนี้ได้แปลงสภาพเป็นขนมในบรรจุภัณฑ์ดีไซน์หรูให้ทั่วโลกมาซื้อถึงเมืองไทย
หมวดที่ 4 แบรนด์ “คญาบาติก” ผู้ผลิตและจำหน่ายหน่ายผ้าบาติกชาวอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ที่มี “นิต-สำรอง ดรเขื่อนสม” สองสามีภรรยาริเริ่มช่วยกันทำหลังไม่ประสบความสำเร็จในการมาทำงานที่กรุงเทพฯ มีเงินเหลือติดตัวเป็นทุนเพียง 5,000 บาท ทั้งสองตัดสินใจกลับไปสร้างอาชีพในบ้านเกิด เริ่มต้นนำของดีที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือ หนอนไหม ส่งต่อไปยังคนในชุมชนซึ่งมีทักษะ การสาว การกอ การทอ การฟั่น การไสกาว วาดลวดลาย ลงเทียน ทาสีทับ ต้มและตากจนแห้งสนิท จากมือสู่มือ ทำให้คำว่าบาติกสร้างสรรค์ได้หลากหลายจากการสร้างเรื่องราวของวิถีชีวิตคนอีสานจนกลายเป็น “แบรนด์คญา” ขึ้นมาในช่วงเวลานับ 10 ปี
แรงบันดาลใจบนผืนผ้าแบรนด์ “คญาบาติก” มาจากช่วงเริ่มต้นเป็นปีที่เกิดสึนามิทำให้นิตนำความเศร้ามาแปรเปลี่ยนเป็นลายเส้นสะบัดลงผ้าทุกผืนก่อนถ่ายทอดวิธีเขียนทั้งลายเส้น ลายดอกไม้ ให้สมซึ่งเป็นสามีที่ผันชีวิตจากอาจารย์มาร่วมกันเขียนลายผ้ามีงานมากขึ้นจนผลิตแทบไม่ทัน แถมยังได้คิดนวัตกรรมใหม่โดยกาว ซึ่งพอนำไปล้างออกจากผ้าก็แตกเป็นระแหงก็ร้อยเรื่องอีสานแห้งแล้งใส่เข้าไป
จังหวะชีวิตที่ “คญาบาติก” ได้มาพบกับ คิง เพาเวอร์ ในงานโอท็อปจัดที่เมืองทองธานี แล้วสั่งซื้อล็อตแรก 100 ชิ้น จากวันนั้นจนถึงวันนี้ได้ทำให้ความฝันของชาวปักธงชัยกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกชุมชนกลายเป็นแบรนด์ที่นักท่องเที่ยวนานาประเทศสนใจ ผลิตภัณฑ์คญาบาติกได้ส่งผลไปถึงผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตขั้นตอนทั้ง ผู้เขียนลาย ผู้ฟอก ผู้กอ ผู้ย้อม ผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ขยายการผลิตได้จำนวนมากมาย เป็นโอกาสของผู้ผลิตเล็ก ๆ กลายเป็นแบรนด์สู่สากล
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ในปีที่ 29 ด้วยพลังคนไทยก้าวสำคัญคือ “Community Power : พลังชุมชนไทย” ที่มีคำตอบตามนโยบายการสร้างเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างชัดเจน
ปลุกพลังชุมชน-เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง
ประเทศไทยในจังหวะขาขึ้นเรื่องอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำเงินเข้าระบบเศรษฐกิจได้เป็นกอบกำ แล้วรัฐบาล “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ก็พุ่งเป้าส่งเสริมนโยบาย “กระจายรายได้สู่ชุมชน” รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนร่วมมือกัน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้ผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นอัตลักษณ์ไทยมีช่องทางการจำหน่ายเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวจากนานาชาติที่หลั่งไหลเข้าเมืองไทยปี 2561 มีแนวโน้มจะมากถึง 38 ล้านคน และคนไทยเที่ยวในประเทศอีกกว่า 160 ล้านคนครั้ง มีเงินจากการท่องเที่ยวเป็นรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 3 ล้านล้านบาท
กลุ่มบริษัท “คิง เพาเวอร์” ในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจร้านค้าปลอดอากร” (duty free) ก้าวเข้าสู่ปีที่ 29 ด้วยคอนเซ็ปต์ “ร้านค้าปลีกเพื่อการท่องเที่ยวที่ตอบสนองการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด-Explore Endlessly Jouney” ผสมผสานการลงทุนอย่างลงตัวทั้งแหล่งช้อปปิ้ง โรงแรม ร้านอาหาร การเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับผู้มาเยือนอย่างเป็นมิตร (hospitality) สร้างยอดขายรวมเข้าประเทศมูลค่ารวมปีละ 900,000-100,000 ล้านบาท
“อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยว่า ทำโครงการ “King Power Thai Power : พลังคนไทย” พุ่งเป้าสร้าง “COMMUNITY POWER-พลังชุมชนไทย” มุ่งมั่นยกระดับผู้ผลิตคัดสรรแบรนด์ไทยอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาวางจำหน่ายในร้านสาขาคิง เพาเวอร์ แต่ละปีขายได้ราว 20,000-25,000 ล้านบาท คิดเป็น 20-25 % ของทั้งหมด สามารถแบ่งปันรายได้สู่ฐานรากในปัจจุบันมีคู่ค้าผู้ผลิตสินค้าไทยจากชุมชนทั่วประเทศกว่า 154 กลุ่ม หลัก ๆ 4 หมวด คือ 1.ผ้าและเครื่องแต่งกาย 2.ของใช้ของที่ระลึก 3.สมุนไพรไทย 4.อาหารและเครื่องดื่ม วางขายในดิวตี้ฟรีของบริษัทมากกว่า 1,100 รายการ อีกทั้ง คิง เพาเวอร์ ได้สั่งซื้อสินค้าไทยชุมชนต่อเนื่องมา 28 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2532ถึงตอนนี้รวมกว่า 50,000 ล้านบาท ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจีนนิยมซื้อสินค้าชุมชนในร้านดิวตี้ฟรี คิง เพาเวอร์ สูงเป็นอันดับต้น ๆ 7 รายการ ได้แก่ น้ำผึ้ง เม็ดมะม่วงหิมมะพานต์ อาหารทะเลอบแห้งรสต้มยำโป๊ะแตก หมอนรองคอ ยาหม่องเขียว แก้วเป่ารูปช้าง แจกัน
ทุกวันนี้สินค้าไทยจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทำให้ผู้ผลิตในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยังได้เผยแพร่วัฒนธรรมความเป็นไทยที่โดดเด่นแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ด้วย
ขณะที่เสียงสะท้อนจาก “เจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน” ที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดช่องทางให้นำสินค้ามาวางจำหน่ายนับทศวรรษจนกลายเป็นสินค้าดาวรุ่งเชื่อมท้องถิ่นสู่ทั่วโลก สร้างทั้งโอกาส งาน อาชีพ ครอบครัว ลดความเหลื่อมล้ำ ค่อย ๆ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เศรษฐกิจในท้องถิ่นเติบโตอย่างเข้มแข็งตามตัวอย่าง 4 หมวด ล้วนมีเรื่องราวที่น่าสนใจ
หมวดแรก “ทองม้วน : King Pow Roll” ขนมไทยดั้งเดิมวางจำหน่ายในร้านค้า คิง เพาเวอร์ มากว่า 18 ปี ทุกวันนี้มียอดขายเดือนละกว่า 20 ล้านบาท สามารถพลิกชีวิตวิศวกรไทยเจ้าของผลิตภัณฑ์ดีกรีนักเรียนนอกที่เคยล้มเหลวต้องปิดกิจการ แต่ได้เริ่มต้นใหม่ใช้บ้านหลังเล็ก ๆ ผลิตขนมทองม้วนขายอยู่ชั้นใต้ดินเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ ก่อนจะมีทีมงานคิง เพาเวอร์ สั่งมาวางขายในร้านดิวตี้ฟรีล็อตแรก 200 กล่อง ต่อมาทำรายได้จนสามารถสั่งเครื่องจักรนำเข้าจากเยอรมันมาผลิตทองม้วนสูตรพิเศษขณะนี้มีกว่า 30 รส พร้อมจ้างพนักงานได้ถึง 300-400 คน มีเงินเดือนหมุนเวียนไปเลี้ยงครอบครัวอีกนับพันและหมื่นคน จากขนมบ้าน ๆ สู่ตลาดส่งออกทั่วโลก ปัจจุบันมียอดขายปีละหลายร้อยล้านบาท
หมวดที่ 2 “แก้วเป่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย สร้างรายได้สู่ผู้ด้อยโอกาส” ได้ผู้นำคือ “ภพ เทวาสิต” ประธานสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย ซึ่งตั้งใจเป็นผู้ให้คนอื่นโดยช่วยเหลือให้อาชีพพี่น้องผู้พิการคนอื่น ๆ มีงานมีอาชีพ หลังจากที่ได้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เป็นสื่อกลาง ด้วยความโดดเด่นที่แตกต่างแก้วเป่าของสหกรณ์ฯ ที่เน้นใช้วัสดุจากอัญมณีมาทำเป็นลายธงชาติเป่าเป็นรูป ตุ๊กตุ๊ก ช้าง เรือสุพรรณหงส์ นักท่องเที่ยวสนใจสั่งซื้อ ทำให้ยอดขายเติบโตอย่างมั่นคง ลดต้นทุนจากการสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก
ภพย้ำว่ากลุ่มคิง เพาเวอร์ ให้โอกาสทางการตลาด ซึ่งเป็นเรื่องตรงใจกลุ่มผู้พิการมากที่สุด มาตลอดระยะเวลา 4 ปี สร้างรายได้ให้คนพิการปีละหลายร้อยล้านบาท
หมวดที่ 3 “ข้าวแต๋น -Bangkok Cokies” จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ “ต๋อง” เป็นผู้นำมาเสนอคิง เพาเวอร์ พร้อมกับรับโจทก์หินที่ต้องทำให้ได้ 3 ข้อ คือ โจทก์ข้อแรก ต้องเป็นข้าวแต๋นหนึ่งเดียวในโลกไม่เหมือนใคร เขาจึงเลือกแหล่งปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ พาทีมไปดูการทำปูผัดผงกระหรี่ แล้วคิดสร้างสรรค์สูตรนำอาหารมาเป็นขนมปรับส่วนผสมเปลี่ยนวิธีปรุงจนตอบโจทก์ความไม่เหมือนใคร ตอนนี้ทำได้ทั้งหมดเกือบ 70 รส วางขายในคิง เพาเวอร์ 18 รส
โจทก์ข้อสอง ต้องเก็บได้นาน ด้วยการค้นพบวิธีลดน้ำมันที่เกาะตัวข้าวด้วยการอบ เมื่อค้นพบแล้วจึงสามารทำให้ข้าวแต๋นมีอายุการเก็บไว้บริโภคเพิ่มจาก 3 เดือน เป็น 1 ปีเป็นผลสำเร็จ
โจทก์ข้อ 3 สร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้าวไทย เพราะสิ่งแรกข้าวไทยในสายตาต่างชาติเป็นพรีเมียม โดยเฉพาะหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวขาว ทำให้รูปร่างของข้าวแต๋นรูปทรงดีวันนี้ต๋องได้ตั้งโครงการ “ขอบคุณชาวนา” มีเครือข่ายผู้ข้าวเกษตรอินทรีย์สามารถนำมาสร้างเป็นข้าวแต๋น ได้แบ่งเบาภาระเกษตรกร ทั้งเรื่องเมล็ดพันธุ์ เลิกใช้ปุ๋ย สร้างระบบท่อน้ำ
เส้นทางยาวไกลจากเมล็ดข้าวไทยที่ต้องฝากชะตากรรมไว้กับการส่งออกปีละหลายล้านตัน ปัจจุบันชาวนากลุ่มนี้ได้แปลงสภาพเป็นขนมในบรรจุภัณฑ์ดีไซน์หรูให้ทั่วโลกมาซื้อถึงเมืองไทย
หมวดที่ 4 แบรนด์ “คญาบาติก” ผู้ผลิตและจำหน่ายหน่ายผ้าบาติกชาวอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ที่มี “นิต-สำรอง ดรเขื่อนสม” สองสามีภรรยาริเริ่มช่วยกันทำหลังไม่ประสบความสำเร็จในการมาทำงานที่กรุงเทพฯ มีเงินเหลือติดตัวเป็นทุนเพียง 5,000 บาท ทั้งสองตัดสินใจกลับไปสร้างอาชีพในบ้านเกิด เริ่มต้นนำของดีที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือ หนอนไหม ส่งต่อไปยังคนในชุมชนซึ่งมีทักษะ การสาว การกอ การทอ การฟั่น การไสกาว วาดลวดลาย ลงเทียน ทาสีทับ ต้มและตากจนแห้งสนิท จากมือสู่มือ ทำให้คำว่าบาติกสร้างสรรค์ได้หลากหลายจากการสร้างเรื่องราวของวิถีชีวิตคนอีสานจนกลายเป็น “แบรนด์คญา” ขึ้นมาในช่วงเวลานับ 10 ปี
แรงบันดาลใจบนผืนผ้าแบรนด์ “คญาบาติก” มาจากช่วงเริ่มต้นเป็นปีที่เกิดสึนามิทำให้นิตนำความเศร้ามาแปรเปลี่ยนเป็นลายเส้นสะบัดลงผ้าทุกผืนก่อนถ่ายทอดวิธีเขียนทั้งลายเส้น ลายดอกไม้ ให้สมซึ่งเป็นสามีที่ผันชีวิตจากอาจารย์มาร่วมกันเขียนลายผ้ามีงานมากขึ้นจนผลิตแทบไม่ทัน แถมยังได้คิดนวัตกรรมใหม่โดยกาว ซึ่งพอนำไปล้างออกจากผ้าก็แตกเป็นระแหงก็ร้อยเรื่องอีสานแห้งแล้งใส่เข้าไป
จังหวะชีวิตที่ “คญาบาติก” ได้มาพบกับ คิง เพาเวอร์ ในงานโอท็อปจัดที่เมืองทองธานี แล้วสั่งซื้อล็อตแรก 100 ชิ้น จากวันนั้นจนถึงวันนี้ได้ทำให้ความฝันของชาวปักธงชัยกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกชุมชนกลายเป็นแบรนด์ที่นักท่องเที่ยวนานาประเทศสนใจ ผลิตภัณฑ์คญาบาติกได้ส่งผลไปถึงผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตขั้นตอนทั้ง ผู้เขียนลาย ผู้ฟอก ผู้กอ ผู้ย้อม ผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ขยายการผลิตได้จำนวนมากมาย เป็นโอกาสของผู้ผลิตเล็ก ๆ กลายเป็นแบรนด์สู่สากล
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ในปีที่ 29 ด้วยพลังคนไทยก้าวสำคัญคือ “Community Power : พลังชุมชนไทย” ที่มีคำตอบตามนโยบายการสร้างเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างชัดเจน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น