พช.มหาดไทยเท8.3พันล้านผุดชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถีครั้งแรกในประวัติศาสตร์-ปั่นชมสวนชิมผลไม้ในเขาสมิง ตราด
พช.มหาดไทยเท8.3พันล้านปั้นหมู่บ้านท่องเที่ยว
ผุดบิ๊กโปรเจ็กต์“ชุมชนท่องเที่ยวOTOPนวัตวิถี”
ซื้อคิงเพาเวอร์การ์ดช้อปปุ๊บลดปั๊บ15%-30มิย.
ททท.ปลุกสีสันใหม่ทัวร์เกาะหมากโลว์คาร์บอน
บีซีพีจีเครือบางจากลุยลงทุนต่างประเทศปีจอ
ทอท.ผนึกทย.เร่งแก้แออัด3สนามบินอินเตอร์
ปั่นไปเที่ยวไปชิมผลไม้อร่อยทั่วเขาสมิง-ตราด
รู้ไว้เลย“โรควูบ”อันตรายต่อชีวิตมากกว่าที่คิด
ฮือฮาชางยีสิงคโปร์T5-ผุดน้ำตกกลางสนามบิน
ดี๊ด๊านโยบายเมืองรองดันรายได้โรงแรมพุ่งแรง
อนันตราสยามชวนจิบชา-ขนมรสเลิศ-30มิย.
ทิงค์เน็ตงัดอีบุ๊คแอพลิเคชั่นสุดเจ๋งเที่ยวล่าสุด
ต้อนรับเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันอาทิตย์ที่ 2561 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังเรียลไทม์ได้ทางมือถือ และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen และบล็อกเกอร์ #gurutourza
ช่วงที่ 1 ถึงคิว “อภิชาติ โตดิลกเวชช์” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย ออกโรงถ่ายทอดแผนลุยทำบิ๊กโปรเจ็กต์ครั้งแรกชนิดจัดเต็มรูปแบบในโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ยุทธศาสตร์ใหม่ถอดด้าม รุกปลุกแอ่งท่องเที่ยวหมู่บ้านรวมตัวกันลุกขึ้นสร้างอาชีพยั่งยืนโกยเงินทะลุเป้าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท ทุ่มใช้งบกลางปี’61 กว่า 8,344ล้านบาท นำร่องท่องเที่ยวแก้จน 3,273 หมู่บ้าน 64,570 โปรดักซ์อยู่ดีกินดี ปลดล็อกความเหลื่อมล้ำทั่วไทย
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า โครงการจัดทำชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่จะส่งผลดีต่อนโยบายของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจฐานราก โดยจะใช้นวัตกรรมบวกกับวิถีชีวิตในการผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือ OTOP ซึ่งทำต่อเนื่องมากว่า 16 ปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก พออยู่ พอกิน ผ่านมาแล้วระยะ 10 ปีแรก มีรายได้ 100,000 ล้านบาท เติบโตไม่เกินปีละ 11 % ระยะที่ 2 อยู่ดี กินดี ช่วงปี 2560 โอท็อปมียอดขายสินค้า 153,000 ล้านบาท เติบโต 22 % ระยะที่ 3 มั่งมี ศรีสุข ในยุครัฐบาลปัจจุบัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำประเทศ ยอดการเติบโตของสินค้าโอท็อปจะทำแบบก้าวกระโดด เป็นปีละ 200,000 - 300,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมาเราพัฒนาเฉพาะเพียงด้านหัวเท่านั้นคือ ทำตามลักษณะของท้องถิ่นจึงทำให้การเติบโตของยอดขายสินค้าโอท็อปทำได้ปีละไม่เกิน 200,000 ล้านบาท ดังนั้นกรมการพัฒนาชุมชนจึงอาสาจะนำร่องทำเพิ่มจากด้านหัวเพิ่มด้านก้อยด้วยอีกด้าน ด้วยการใช้ “นวัตวิถี” ตามคอนเซ็ปต์ ร่วมสุข ร่วมวิถี-ร่วมสมัย ผนวกการท่องเที่ยวชุมชนเข้าไป โดยให้ชุมชนเป็นตัวตั้ง อันดับแรก สร้างชุมชนเข้มแข็งคอยต้อนรับนักท่องเที่ยว อันดับ 2 ดึงเสน่ห์ชุมชนออกมาอวดนักท่องเที่ยวเพื่อดึงคนเดินทางไปซ้ำ ๆ อันดับ 3 ยกระดับสินค้าของชุมชนอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน ให้ได้ 10 โปรดักซ์ เพื่อทำเป็นหมวดย่อยสินค้าที่ระลึกของใช้
ทั้งหมดนี้จะพัฒนาเป็น “แอ่งท่องเที่ยวขนาดเล็กระดับหมู่บ้าน” เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่ซื้อแพกเกจบริษัททัวร์ เปลี่ยนมาท่องเที่ยวอิสระตามลำพังแบบใหม่นวัตวิถีมีสิ่งแปลกสวยงาม
ทั้งนี้ทางกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย วางกรอบแนวทางการเพิ่มความเข้มข้นการจัดกิจกรรมเพิ่มรายได้ตามโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” แบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก พฤษภาคม 2561 จัดสัมมนาขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี ประชาสัมพันธ์และตลาดออนไลน์ สร้างการรับรู้ใหม่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง และตั้งศูนย์การจัดการประเมินผลโอท็อปวิถี
ช่วงที่ 2 มิถุนายน-สิงหาคม 2561 จัดสัมมนาย่อยการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ทำประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ใหม่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ยกระดับมาตรฐานสินค้าโอท็อปกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนาในชุมชนท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐานสินค้าอาหารโอท็อปรสไทยแท้ (OTOP Authentic) พัฒนาผลิตภัณฑ์โอท็อปโดยโรงเรียนโอท็อป จัดประกวดชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี กระตุ้นรณรงค์กลุ่มเป้าหมายเดินทางท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี ติดตามประเมินผล ให้คำแนะนำและแนวทางแก้ปัญหา
ช่วงที่ 3 เดือนกันยายน 2561 เดินหน้าทำ 3 เรื่องหลัก 1.ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ใหม่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง รายงานความก้าวหน้าโอท็อปนวัตวิถี ประเมินความสำเร็จ 2.จัดแสดงผลงานประกาศความสำเร็จของชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี 3.นำ Tourism Platform ซึ่งเป็น Big Data เจาะลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
อธิบดีอภิชาตย้ำว่า สิ่งที่ได้จากโครงการ พัฒนาชุมชนโอท็อป นวัตวิถี คือ ส่วนที่ 1 ชุมชนเข้มแข็งขึ้น ทุกหมู่บ้านต้องลุกขึ้นมาพัฒนาพื้นที่ให้สะอาด น่าอยู่ ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 รายได้ในชุมชนหมู่บ้านจะเริ่มเปลี่ยนไปจะกระจายสู่ทุกคนในชุมชน เริ่มจากบริการถสามล้อถีบในหมู่บ้าน ร้านน้ำ ร้านอาหาร นักแสดงศิลปวัฒนธรรม ผู้จำหน่ายสินค้าชุมชน และหากยิ่งมีสถานที่พักค้างแรมก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น
ข้อแตกต่างของ “โอท็อปชุมชน” แบบดั้งเดิมนั้นรัฐบาลจะต้องเข้าไปช่วยในทุก ๆ ด้าน แต่ “โอท็อปนวัตวิถี” จะเปลี่ยนโฉมใหม่เป็นคนในชุมชนต้องลุกขึ้นมาสู้ทำงานร่วมกัน เป็นเจ้าบ้านที่ดี นำภูมิปัญญา สินค้า เสน่ห์พื้นบ้าน มาหลอมรวมสร้างสรรค์จุดขายให้แก่นักท่องเที่ยว หาวิธีสร้างความประทับเพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับไปเที่ยวซ้ำ ๆ
สำหรับกรมการพัฒนาชุมชนส่วนกลางมีหน้าที่ให้ทุกจังหวัดสร้าง Application ของแต่ละจังหวัดเชื่อมแหล่งท่องเที่ยว บอกเส้นทาง ระยะทาง ร้านอาหาร ของฝาก ของที่ระลึก เป็น Big Data ที่กระทรวงมหาดไทยจะเดินหน้าเต็มที่ โดยจะทำเป็นศูนย์ข้อมูลใหญ่ทั่วประเทศเกี่ยวเข้ากับข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อทำสำเร็จก็จะเป็นกลายเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีข้อมูลสมบูรณ์แบบค้นหาได้ทุกจุดจาก Application โดยจะทำให้เกิดโดยเร็วที่สุด ทุกจังหวัดจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561 จากนั้นในเดือนตุลาคมปีนี้ก็จะใช้งานได้แล้วนักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวตามหมู่บ้าน ชุมชน ได้ครอบคลุม ทุกพื้นที่
นายอภิชาตกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลให้กรมการพัฒนาชุมชน นำงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2561 จำนวนกว่า 8,324 ล้านบาท ไปใช้ระหว่างเดือนเมษายน-30 กันยายน 2561 เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนกระจายในกว่า 3,000 หมู่บ้าน โดยตรงตลอด 5 เดือนนี้ จะมุ่งพัฒนาเร่งด่วน 5 เรื่องหลัก คือ
เรื่องที่ 1 สินค้าโอท็อปชุมชนที่กำลังพัฒนาหรือเรียกว่า OTOP กลุ่ม D มีอยู่กว่า 64,570 รายการ จะถูกยกระดับมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจนเพื่อให้พร้อมขายและสร้างรายได้มากขึ้น
เรื่องที่ 2 รายได้ของโอท็อปต้องเติบโตเพิ่มสูงเกินปีละ 25 % จากปัจจุบันเติบโตปีละประมาณ 22 %
เรื่องที่ 3 รายได้ในชุมชนจะกระจายไม่เฉพาะโอท็อปไม่เฉพาะท่องเที่ยว แล้วมีเงินเข้ามาเกิดการหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่
เรื่องที่ 4 สร้างชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองร่วมกับหน่วยงานราชการ เรื่องที่ 5 ลดความเหลื่อมล้ำชีวิตความเป็นอยู่ตามนโยบายของรัฐบาล
หัวใจสำคัญที่จะให้ชุมชนหันมาร่วมกระบวนการ “โอท็อปชุมชน นวัตวิถี” ทำให้พี่น้องในชุมชนลุกขึ้นมาทำงานร่วมกับรัฐ ผลิตสินค้าดึงดูดคนซื้อ และทำชุมชนให้น่าอยู่ เมื่อไรที่คนในชุมชนลุกขึ้นมาทำร่วมกับรัฐนั่นก็หมายความว่าชุมชนจะเข้มแข็ง ยั่งยืน เพราะฉะนั้นโอท็อป นวัตวิถี เป็นรูปแบบใหม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมเพื่อจะทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในส่วนของนวัตวิถี เมื่อชุมชนมีรายได้ทั่วประเทศมีมากกว่า 84,000 หมู่บ้าน เพื่อกระจายความมั่งคั่งสู่ท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชนได้วางทิศทางการพัฒนาแบ่งเป็นบันได 3 ขั้นแรก
ขั้นแรก เศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน เน้นไปที่บุคคลและครัวเรือน มุ่งสร้างอาชีพ ปีที่ผ่านมาทำไปแล้วกว่า 470,000 ครัวเรือน
ขั้นที่ 2 เศรษฐกิจก้าวหน้า มุ่งส่งเสริมประชาชนรวมกลุ่มกัน เห็นตัวอย่าง SMEs โอท็อป รัฐวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างพลัง การส่งเสริมจากรัฐก็ทำได้ง่าย
ขั้นที่ 3 เศรษฐกิจขึ้นสูงสุด เน้นการเครือข่ายโดยสร้าง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม จะไม่เน้นอำเภอหรือจังหวัดแล้ว พอมีสินค้าก็จะขายข้ามจังหวัดและภูมิภาค เช่น การผลิตผ้าบาติกภาคใต้สามารถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคอื่น 17 จังหวัด แล้วส่งทั้งหมดไปขายในภูเก็ต หรือภาคอีสานต้องการบริโภคอาหารทะเล ตอนนี้ก็ใช้ศูนย์กลางที่สมุทรสาครเป็นอาหารทะเลแปรรูปส่งไปจำหน่ายให้ผู้บริโภค ในอนาคตทางอีสานอาจจะส่งข้าวสารที่ผลิตได้ไปขายยังสมุทรสาคร ซึ่งจะเห็นภาพชัดถึงการพัฒนาแบบเครือข่าย ขายข้ามส่งจากอำเภอสู่จังหวัดภาคอื่น ๆ
โดยสรุปแล้วกรมการพัฒนาชุมชน ได้ตั้งเป้าผลสัมฤทธิ์จากโครงการ “ชุมชนโอท็อป นวัตวิถี” 2 ด้าน
ด้านแรกในเชิงปริมาณ ต้องตอบโจทก์ทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์โอท็อปกลุ่ม D ต้องได้รับการพัฒนามาตรฐานไม่น้อยกว่า 64,570 ผลิตภัณฑ์ 2.รายได้เฉพาะการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้องเพิ่มเฉลี่ย 10 % ขึ้นไป 3.ชุมชน/หมู่บ้าน ได้รับการพัฒนาด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ต่ำกว่า 3,273 ชุมชน/หมู่บ้าน กระจายครบทั้ง 76 จังหวัด 4.ชุมชน 3,273 หมู่บ้าน ผ่านการประเมินระดับมั่งมี ศรีสุข ตามเกณฑ์และตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย
ด้านที่ 2 ในเชิงคุณภาพ จะต้องครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีการกระจายรายได้ในกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 60 % 2.ชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน มีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาบูรณาการทุกพื้นที่เป้าหมาย และ 3.ครอบครัวอบอุ่น ลูกหลานกลับบ้านไปประกอบอาชีพมีรายได้อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข
นับเป็นครั้งแรกที่มหาดไทยคิดนอกกรอบโดยการลุกขึ้นมาพัฒนาเรื่องของการท่องเที่ยวหมู่บ้านอย่างจริงจัง จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้ารัฐบาลจะเปลี่ยนโฉม “คนไทย” ทั้งประเทศจะเลิกจนได้จริงมากน้อยขนาดไหน
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 “ซื้อคิงเพาเวอร์การ์ดช้อปปุ๊บลดปั๊บสูงสุด15%”
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ชวนขาช้อปร่วมแคมเปญ KING POWER CARD วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561 เพียงซื้อ คิง เพาเวอร์ การ์ดเสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปช้อปสามารถรับทันทีได้เลยเป็นส่วนลดสูงสุด 15 % โดยมีการ์ดให้เลือกซื้อตามสะดวก เริ่มตั้งแต่
แพ็กเกจ 1,000 บาท มียอดเงินในบัตร 1,000 บาท รับส่วนลด 5% พร้อมคูปอง on-top 5% สำหรับการซื้อสินค้า 1 ใบเสร็จ จำนวน 1 ใบ
แพ็กเกจ 6,000 บาท มียอดเงินในบัตร 6,000 บาท รับส่วนลด 10% พร้อมคูปอง on-top 5% สำหรับการซื้อสินค้า 1 ใบเสร็จ จำนวน 2 ใบ
และสามารถรับฟรี 50 กะรัตเพียงลงทะเบียนสมัครสมาชิกคิง เพาเวอร์พร้อมบริการห้องรับรองพิเศษ และสิทธิประโยชน์อีกมายทุกการเดินทางที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ ศรีวารี พัทยา ภูเก็ตและ คิง เพาเวอร์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561
โดยเข้าไปลงทะเบียนสมาชิกภายใน 30 วัน ที่ http://services.kingpower.com/register เพื่อรับสิทธิ์การเป็นสมาชิกบัตรคิง เพาเวอร์ และสิทธิประโยชน์ของบัตร เมื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิกคิง เพาเวอร์ เรียบร้อยแล้ว สามารถสะสมยอดซื้อ และกะรัตได้ตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยนับจากวันที่ทำการซื้อสินค้าครั้งแรกด้วยบัตรใบดังกล่าว
สอบถามเพิ่มเติมที่ คอล เซ็นเตอร์ 1631 หรือดูเพิ่มใน www.kingpower.com
ข่าวที่ 2 “ททท.เปิดเที่ยวสีสันใหม่เกาะหมากโลว์คาร์บอน”
นายวิบูลย์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวและร่วมหารือกับเอกชนในเกาะหมากรวมถึงบริเวณใกล้เคียงฝั่งทะเลอ่าวไทย เพื่อวางกลยุทธ์ปลุกกระแสการท่องเที่ยวธรรมชาติมุมใหม่บน “เกาะหมาก โลว์ คาร์บอน” จังหวัดตราด ด้วยคอนเซ็ปต์ 5 ช. ได้แก่ ชีล ชิม แชะ แชร์ ช่วย ภายใต้ธีม “สีสัน ตะวันออก” โดยชาวบ้านกับเอกชนบนเกาะขนาดกว่า 9,000 ไร่ ร่วมกันออกแบบกิจกรรมความหลากหลายไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ไฮไลต์ด้วยการกิจกรรมร่วมกันปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เกาะหมากรีสอร์ต โดยมี “โอ๋” ไกด์ท้องถิ่นคอยต้อนรับพานักท่องเที่ยวไปร่วมสนุกกับการสร้างสรรผลงานสู่ธรรมชาติ จ่ายค่าบริการเพียงคนละ 200 บาท เพื่อการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับลงมือปลูกข้าวโพด ผักสวนครัว ตอนกิ่งมะละกอ ทำวิถีการเกษตรอื่น ๆ ก่อนจะเก็บพืชผักเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบช่วยกันปรุงเมนูอาหารรับประทานกันเองในกลุ่มนักท่องเที่ยว
ไฮไลต์อีกอย่างคือลงมือทำ “น้ำมันมะพร้าวกลั่นร้อน” ผลิตสมุนไพรพื้นบ้าน ในบริเวณบ้านสวน “หลวงพรหมภักดี” 1 ใน 5 ตระกูลเก่าแก่ผู้เดินทางมาบุกเบิกก่อตั้งชุมชนเกาะหมาก ที่ยังคงรักษาบ้านหลังเดิมอายุกว่า 85 ปี สวนมะพร้าว และขยายเพิ่มทำรีสอร์ต Happy Day ขนาด 18 หลัง ต่อด้วยการไปดูการนำพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือ Solar roof มาผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน ปั๊มน้ำรดพืชผักสวนผลไม้ และการวางระบบกำจัดขยะ เรื่อยไปจนถึงการกำหนดธรรมนูญชุมชนหลายร้อยครัวเรือนกับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปยังเกาะจะต้องปฏิบัติภายใต้กติกาเดียวกัน เพื่อให้เกาะหมากรักษาวิถีธรรมชาติ ลดคาร์บอน ทำให้ชุมชนดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
รอบเกาะหมาก มีรีสอร์ตธรรมชาติของคนในชุมชนตั้งกระจายอยู่รอบพื้นที่เกือบหมื่นไร่ แห่งละ 20-30 ห้อง รวมแล้วประมาณ 600 ห้อง ส่วนใหญ่จะขายผ่านเว็บไซต์ด็อทคอมชั้นนำ อาทิ www.booking.com สามารถทำราคาห้องพักได้คืนละ 1,500-10,000 บาท/ห้อง/คืน รวมทั้งมีร้านอาหารวิวทะเลมุมสวยแปลกตาต่างกันตามทำเลที่ตั้ง โดยมีสของสดสารพัด กุ้ง หอย ปู ปลา ของชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่ขายให้ร้านอาหาร รีสอร์ต นำมาปรุงขายนักท่องเที่ยว สร้างรายได้กระจายสู่ทุกอาชีพกับคนในชุมชนบนเกาะหมากอย่างครบวงจร
“ผอ.วิบูลย์” กล่าวว่าเบื้องต้นได้หารือกับภาคเอกชนเกาะหมากเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การรักษาดูแลบริหารจัดการการท่องเที่ยวสีเขียวหรือ Green Tourism เพิ่มความเข้มข้นการจัดการขยะ การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานรอบเกาะ 2.การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอาหาร หรือ Gastronomy โดยมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้ถึงแหล่งเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ด้วยกรรมวิธีเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีเพื่อนำมาใช้ปรุงอาหารสไตล์ท้องถิ่นหรือประยุกต์เสิร์ฟนักท่องเที่ยว 3.จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงดนตรีสไตล์คลาสสิก 4.จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อสุขภาพเป็นชุมทางนักเล่นโยคะ และ 5.จัดกิจกรรมสีสันเกาะแห่งงานศิลปะธรรมชาติ
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 จะผนึกความร่วมมือกับเอกชนเกาะหมากใช้เวลาช่วง 3-4 เดือนนี้เตรียมความพร้อมเพื่อจัดกิจกรรมใหญ่ภายในไม่เกินเดือนกันยายน 2561 จุดประกายให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติรู้จักเกาะหมากมุมใหม่ตามธีม Open to the New Shade ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
นายจักรพรรดิ ตะเวทีกุล นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด และผู้บริหารเกาะหมาก กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวเกาะหมากเฉลี่ยจะมีอัตราเฉลี่ยการเข้าพักประมาณ 50 % ฤดูที่นักท่องเที่ยวจองห้องพักหนาแน่น (high season) ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมียอดจองเกือบ 100 % ช่วงพฤศจิกายนจะมีคนไทยและต่างชาติเดินทางเข้ามายังเกาะสัดส่วน 50-50 และช่วงสัปดาห์ที่สองเดือนธันวาคมของทุกปีห้องพักจำนวนมากจะว่าง เอกชนจึงต้องขอรับการสนับสนุนจาก ททท.จัดกิจกรรมแคมเปญกระตุ้นนักท่องเที่ยวเข้ามาเติมช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม
สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางเข้าไปเที่ยวเกาะหมาก ตลาดต่างประเทศ จะพักเฉลี่ย 5 วัน/คน/ทริป ประกอบด้วย เยอรมัน สแกนดิเนเวีย เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ส ซึ่งมีพฤติกรรมการเดินทางเชื่อมโยง บินตรงเข้าสู่เกาะช้าง จากนั้นก็แวะมาพักผ่อนต่อยังเกาะหมาก
ขณะที่ตลาดในประเทศ จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทยวัยรุ่น วัยทำงาน ครอบครัว นิยมเดินทางมาพักผ่อนช่วงปิดเทอม วันหยุด
กิจกรรมยอดนิยมของคนไทยและชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนบนเกาะหมาก คือ พายเรือคะยัก และซื้อตั๋วเรือเร็วสปีดโบ๊ท ราคาเฉลี่ย 300-350 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10-20 นาที จากเกาะหมากไปขึ้นชมเกาะใกล้เคียง อาทิ เกาะกระดาดซึ่งมีป่าธรรมชาติ ป่ามะพร้าวเป็นที่พักอาศัยของกวางกว่า 500 ตัว และแหล่งท่องเที่ยวตามเกาะขนาดเล็ก ๆ อาทิ อ่าวนิด เกาะกระดาด เกาะขาม หมู่เกาะระยั้ง อ่าวสวนใหญ่ อ่าวไผ่/แหลมสน ซึ่งในจังหวัดตราดมีเกาะให้เลือกท่องเที่ยวครึ่งร้อยหรือกว่า 52 เกาะ
ขณะที่สถานที่ท่องเที่ยวบนฝั่งต้องห้ามพลาด เมื่อออกจากสนามบินจังหวัดตราด ต้องแวะ “พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด” ฟังกูรู “เหน่ง-รุ่งโรจน์ แสวงกาญจน์” เล่าเรื่องราวถ่ายทอดประวัติศาสตร์จากเมืองชายแดนริมฝั่งอ่าวไทยร้อยเรียงตามยุคสมัยตั้งแต่สุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ได้อย่างสนุกสนานทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตได้ภายในเวลา1 ชั่วโมงก็สามารถได้รู้และเข้าใจตราดในทุก ๆ มุม และ “วัดบุปผาราม” อายุเก่าแก่กว่า 300 ปี มีทั้งพิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณ โบสถ์เก่า จิตรกรรมฝาผนัง ศาลารูปปั้นพระเจ้าตากสินแห่งเดียวที่ไม่สวมหมวกเห็นใบหน้าชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีสถานที่เยี่ยมชมบนฝั่งจังหวัดตราด อาทิ สุดแผ่นดินตะวันออก สะพานท่าเทียบเรือเดิมของกรมเจ้าท่า อยู่ติดกับสำนักงาน ททท.สำนักงานตราด มีหอคอย จุดชมวิวทะเล และร้านจำหน่ายของที่ระลึกบ้างประปราย หรือจะเป็น ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหาดทรายดำและป่าชายเลน สวนผลไม้ขึ้นชื่อ “สวนสละลุงประโยชน์” ขนาด 80 ไร่ จำหน่ายสละสดกิโลกรัมละ 80 บาท และสละแช่อิ่ม กระปุกละ 25 บาท สามารถสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์จัดส่งทั่วประเทศ และแวะ “Check in TRAT” ของกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่นำโดย “จตุพัฒน์ ฤกษ์สหกุล” ประธานคณะกรรมการผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดตราด (YEC ตราด) ร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นเมือง และเค้ก กาแฟ แบบชิค ๆ รวมทั้งพื้นที่เทรนด์ใหม่ Co-Working Space ใช้คุยงานกันพร้อมสั่งของว่างรับประทานได้ด้วย
ปัจจุบันการเดินทางจากกรุงเทพฯ มีเที่ยวบินตรงของสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ให้บริการจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ตราด วันละ 3 เที่ยว ใช้เวลา 45 นาที รวมทั้งมีรถสาธารณะ รถปรับอากาศ รถตู้ ให้บริการด้วยหลายช่องทาง
“เกาะหมาก โลว์ คาร์บอน” และ “สีสัน ตะวันออก” ในจังหวัดตราดนับเป็นอีกหนึ่ง New Shade ของการท่องเที่ยวเมืองไทยอย่างเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนต้นแบบโลกยุคใหม่อย่างแท้จริง
ข่าวที่ 3 “บีซีพีจีเครือบางจากเปิดแผนลงทุนต่างประเทศปีจอ”
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ในเครือของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ตามแผนปี 2561 นี้ บีซีพีจีลงทุนต่อเนื่อง ปรับทัพรับ Digital Energyพันธมิตรแข็งแกร่ง พร้อมรุกทั้งในและนอกประเทศ สอดคล้องกับแนวโน้มของธุรกิจจะยังเติบโตต่อเนื่อง การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปตามแผน ได้เตรียมความพร้อมด้วยการปรับเปลี่ยนองค์กรรับ Digital Energy คาดจะมีข่าวดีเรื่องการลงทุนต่างประเทศเร็วๆ นี้ หลังผ่านไตรมาสแรกของปี 2561 สามารถดำเนินธุรกิจไปตามแผนที่ตั้งไว้ ทั้งโครงการทำธุรกิจกับลูกค้ารายย่อย การลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟใช้เองในประเทศ ส่วนการลงทุนออกในต่างประเทศก็ยังมีโครงการใหม่ๆ ที่น่าสนใจมาให้พิจารณาต่อเนื่อง
ปีนี้ตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ 130-150 เมกะวัตต์ ด้วยวิธีขยายธุรกิจด้วยการควบรวมและการซื้อกิจการ (M&A) และพุ่งเป้าพัฒนาอยู่ในพื้นที่เอเชีย แปซิฟิก รุกสร้างโรงไฟฟ้าขายเข้าระบบหรือการลงทุนในธุรกิจแบบ Wholesale ประมาณ 100 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือจะมาจากรีเทล หรือร่วมกับพันธมิตรหลายองค์กรทำตลาดกับผู้บริโภคโดยตรง ด้วยการนำนวัตกรรมทันสมัยมาใช้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป โดยโครงการต้นแบบพัฒนา Smart Community ร่วมกับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) จะเริ่มได้ต้นไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนโครงการโซลาร์รูฟท็อปตามสถานีบริการน้ำมันบางจากจะเริ่มปีนี้อีก 20-30 แห่ง และยังมองโอกาสดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน เป็นต้น
นายบัณฑิตกล่าวว่าขณะนี้ บีซีพีจี มีพาวเวอร์เล็ดเจอร์จากออสเตรเลียเป็นพันธมิตรในการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้า เน้นเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ผู้บริโภคโดยตรง สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนระยะยาว ไม่เพียงซื้อขายไฟฟ้าทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ทว่าจะทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจัดการไฟฟ้าให้ตอบสนองต่อความต้องการในแต่ละช่วงเวลาของผู้ใช้แต่ละราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ MOU กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำนวัตกรรมนำสมัยเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้กับลูกค้าของแต่ละหน่วยงาน
รวมทั้งยังเจรจากับผู้ประกอบการหลายรายควบคู่กันไป เพื่อนำนวัตกรรมมาช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สร้างผลดีต่อประเทศชาติโดยภาพรวม
ปัจจุบันบีซีพีจีจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ทั้งในไทยและญี่ปุ่น เดินหน้าโครงการโกเต็มบะ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งอยู่ที่เมืองโกเต็มบะ (Gotemba) จังหวัดชิซูโอกะ (Shizuoka) ห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 90 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ในวันที่ 16 เมษายน 2561 เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์จำหน่ายไฟฟ้าในราคา 32 เยนต่อ kWh เรียบร้อยแล้ว และโครงการโกเต็มบะซึ่งมีกำลังการผลิต 4.5 เมกะวัตต์ ขายไฟราคาขายส่ง 6.8 เยนต่อ kWh มาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2560
นอกจากนี้ยังมีโครงการโซลาร์ฟาร์มสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตรกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ กำลังการผลิต 9 เมกะวัตต์ ก็จะเปิดเชิงพาณิชย์ได้ประมาณกลางปี 2561
ข่าวที่ 4 “ทอท.ผนึกทย.เร่งแก้3สนามบินอินเตอร์แออัด”
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” กล่าวว่า ได้ปฏิบัติตามนโยบายของ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมอบให้ ทอท.ร่วมกับ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานเกี่ยวข้อง วางแผนใช้ประโยชน์จากสนามบินร่วมกัน เตรียมรับมือกับแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารจะเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
โดยจะร่วมมือกันเบื้องต้นใน 2 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 การบริหารจัดการลานจอดของเครื่องบินค้างคืนในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ขณะนี้มีสายการบินนำเครื่องบินมาจอดค้างคืนหนาแน่น จึงจะร่วมกับทางกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม พิจารณาใช้ประโยชน์จากสนามบินภูมิภาค 3 แห่ง พิษณุโลก อุดรธานี และอุบลราชธานี นำพื้นที่ลานจอดมาแบ่งเบาภาระการนำเครื่องบินไปจอดค้างคืน
เรื่องที่ 2 การจัดทำตารางบินในสนามบินที่มีผู้โดยสารใช้บริการหนาแน่น อาทิ ท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อให้สอดคล้องกับการเดินทางท่องเที่ยว แนวทางคือจะหารือกับสายการบิน บริษัทตัวแทนนำเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อขอให้ขยับเที่ยวบินบางช่วงไปลงในจังหวัดใกล้เคียงภูเก็ตตามโอกาสอันเหมาะสม
ทั้งนี้ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายชัดเจนในการให้หน่วยงานกำกับดูแลบริหารท่าอากาศยานทั้ง ทอท.และ กรมท่าอากาศยาน ใช้สนามบินทั่วประเทศรองรับ สนับสนุน ส่งเสริม การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ เนื่องจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา วางยุทธศาสตร์ให้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนรายได้กระจายสู่ชุมชนท้องถิ่น เมืองท่องเที่ยวรองและหลัก ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืนให้เกิดในระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นรูปธรรม
ช่วงที่ 2 ฟิตร่างกายให้พร้อมเพื่อจะได้ไป “ปั่นจักรยานเที่ยวไปชิมไปตามสวนผลไม้ ทั่วอำเภอเขาสมิง” จังหวัดตรา เพราะเดือนพฤษภาคม นี้ ก็ถึงฤดูผลไม้แล้วแถมแต่ละชนิดยังมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นก็ต้องรู้ทัน “โรควูบ” ซึ่งเดี๋ยวนี้คนไทยเป็นกันเยอะแต่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบไหลตายเป็นจำนวนมาก ส่วนข่าวท้ายชั่วโมง ทึ่งกับสิงคโปร์ประกาศจะสร้าง “น้ำตกและเขาวงกต” ขึ้นกลางอาคารผู้โดยสารใหม่หลังที่ 5 ปีหน้าได้เห็นแน่นอน แล้วผู้ที่ชื่นชอบชาไปได้เลยที่โรงแรมอนันตราสยาม และนโยบายเมืองรองดันรายได้โรงแรม ร้านอาหารต่างจังหวัดพุ่งไม่หยุด และ Think Net เปิดแล้ว อีบุ๊คแอพลิเคชั่น-เที่ยวล่าสุด เจ๋งจริง ๆ
@ปั่น...สุดชีลชิมสวนผลไม้เขาสมิง จ.ตราด
ใกล้ฤดูท่องเที่ยวเมืองสวนผลไม้แล้ว จะชวนกันไป “ปั่น...เข้าสวนผลไม้ อำเภอเขาสมิง” จังหวัดตราด ปั่นไปชิมไปช้อปไป ชิมสวนผลไม้สด ๆ ตลอด 3 เดือน ช่วงพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี
การปั่นไปตามเส้นทางชิมผลไม้เขาสมิง เมืองตราด ระยะทางราว 25 กิโลเมตร สองข้างทางก็มีทั้งสวนเงาะสดสีแดงห้อยเป็นพวงระย้าระดิน สลับกับ “สวนมังคุด” ใบสีเขียวขจีมีผลม่วงเต็มต้น “ลองกอง” ดกเต็มต้นแทบจะมองไม่เห็นใบ ส่วนไฮไลต์คือ “สวนทุเรียน” ส่งกลิ่นหอมฟุ้งมาแต่ไกล พอเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยวเมืองผลไม้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็จะจัดกิจกรรมเชิญชวนนักท่องเที่ยวด้วยแคมเปญ “อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน” สวนนับร้อยแห่งก็จะเข้าร่วมโดยจัดทำเป็น “แพกเกจบุฟเฟต์ผลไม้” เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวไปเก็บเองกินแบบอิ่มไม่อั้น ราคาเริ่มต้น 50 บาทขึ้นไป
หากได้ไปปั่น...เข้าสวนผลไม้ จะได้อรรถรสการท่องเที่ยวอีกแบบ เส้นทางปั่นเริ่มต้นตรง “หน้าโรงพยาบาลกรุงเทพตราด” ปั่นชมวิวเพลินไปตามบนถนนสายสุขุมวิท สัก 4.5 กิโลเมตร สวนแรกที่จะแวะคือ “สวนสละสมโภชน์” อยู่ตรงประตูวัดกระแจะ ปั่นเข้าไปราว 2 กิโลเมตร สวนนี้จะอยู่ทางซ้ายมือ แต่ถ้าปั่นตรงต่อไปประมาณ 16.5 กิโลเมตร จะถึงทางแยก “เขาสมิง” สามารถเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมายเลข 3159 ปั่นข้ามสะพานแม่น้ำเขาสมิงสู่อำเภอเมือง ตลอดสองข้างทางจะเต็มไปด้วยสวนผลไม้ยอดนิยม 4 สวนที่สุดแห่งเขาสมิง
สวนแรก “สวนสละสมโภชน์” เมื่อไปถึงจะได้เจอกับลุงสมโภชน์และครอบครัว วัย 72 ปีที่พร้อมจะสาธิตการปลูกสละพันธุ์สุมาลี กล้าพันธุ์ราคาสูง 3,000-4,000 บาท สละอายุ 8 เดือนในสวนนี้กลิ่นหอม รสชาติหวานกรอบ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็น “สละลอยแก้ว” ซึ่งได้จากการเก็บสละสดอายุ 6-7 เดือนมาทำตามกรรมวิธีหวานอร่อย นักท่องเที่ยวทั่วประเทศติดใจไปตามกัน
สวนที่สอง “สวนคุณไพฑูรย์” เป็นชุมทางการปลูก “ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง” เลือกชิมและซื้อสด ๆ จากต้นได้เลย
สวนที่สาม “สวนผลอำไพ” จะเน้นการปลูกผลไม้หลากหลายชนิดเพื่อส่งออกเป็นหลัก แต่ก็มีให้นักท่องเที่ยวชิมได้ทั้ง เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน
สวนที่สี่ “สวนนายอำเภอ” แหล่งมังคุดชั้นดีแห่งเขาสมิง เข้าไปดูการเก็บสด ๆ หรือจะขอเก็บเองบ้างก็ได้เช่นกัน
ตลอดเทศกาลผลไม้ปีจอ 2561 ลองไปปั่นจักรยานสูดอากาศบริสุทธิ์ท่ามกลางถนนสายผลไม้ “เขาสมิง” เมืองตราดกันให้สนุกได้ทุกวันทั้ง 3 เดือนหน้า
@รู้ไว้ว่า “โรควูบ” อันตรายกว่าที่คิด
โรควูบ หรือ ล้มทั้งยืน กลายเป็นโรคร้ายที่น่ากลัว ซึ่งโรคนี้เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าสุขภาพของคุณกำลังจะมีปัญหา
โรคนี้มีที่มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ อาการวูบเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สูญเสียการทรงตัวชั่วคราว จึงล้มลง แต่ไม่ใช่อาการโรคหัวใจ หรือเรียกง่ายๆว่า “เป็นลมทั่วไป” เนื่องจากร่างกายทนสภาพแวดล้อมไม่ได้ โดยมีสาเหตุจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ยืนหรือนั่งนานเกินไปหรือเกิดจากปฏิกิริยาของระบบประสาท เช่น เห็นเลือด อยู่ในที่อับ จึงควรนอนราบกับพื้น เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ อีกกลุ่มคือ อาการวูบจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดอุดตัน ทำให้ล้มลงได้ ถ้าเป็นในขณะที่นอนอยู่ก็อาจไหลตายได้ ขึ้นอยู่กับว่าเส้นเลือดที่เป็นใหญ่แค่ไหน และเป็นกี่เส้นพร้อมกัน หากเกิดอาการรุนแรง เพราะลิ่มเลือดอุดตันบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน ขั้นหัวใจวาย ช็อก หรือหยุดเต้น ทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้
การรักษาอาการวูบจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดอุดตัน จึงมีทั้งการทำบอลลูน หรือการขยายหลอดเลือดเดิมให้กว้างขึ้น การทำบายพาส คือ ต่อเส้นเลือดไปเชื่อมต่อ เส้นอื่นให้เลือดไหลเวียนได้ หรือใส่เส้นลวดขยายหลอดเลือด
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “ชางยีสิงคโปร์ทุ่มT5ผุดน้ำตกเขาวงกตกลางสนามบิน”
สนามบินนานาชาติชางยี สิงคโปร์ วางแผนเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (Terminal 5)ด้วยการทุ่มเงินลงทุนกว่า 57,000 ล้านบาท ในมีแผนจะเนรมิตน้ำตกยักษ์กลางสนามบินชื่อว่า Jewel Changi Airport จะเป็นสถาปัตยกรรมสวยงาม และจะเป็นสนามบินแห่งแรกของโลกที่กลางเทอร์มินัลจะมีน้ำตกสไตล์สวนสวยเมืองร้อนแบบทรอปิคอล ขนาดยักษ์สูงกว่า 40 เมตร พร้อมทั้งเขาวงกตแนวใหม่สุดหรูหราในแบบชิค ๆ คาดการณ์เปิดใช้งานต้นปี 2562 เป็นต้นไป
Mr. Yam Kum Weng (แยม กุม วัง) รองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาท่าอากาศยาน กลุ่มสนามบินชางงี (CAG) กล่าวว่า ล่าสุดได้ตั้ง Master Building Consultant เพื่อการพัฒนาเทอร์มินอลหลังที่ 5 (T5) ของสนามบินชางยี เรียบร้อยแล้ว 3 ทีม เพื่อทำหน้าที่ให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารหลัก และให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรม ร่วมกันสร้างสรรเทอร์มินัลแบบรวมช่วยให้มั่นใจได้ถึงศักยภาพของสนามบินชางงีจะยังคงเป็นศูนย์กลางการบินชั้นนำของเอเชียและโลกที่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของพันธมิตรสายการบินนานาชาติ รวมทั้งจะนำประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารยกเข้าสู่มาตรฐานระดับใหม่
เมื่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้สนามบินชางยี มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่าปีละ 50 ล้านคน และรองรับเครื่องบินขึ้นลงในแต่ละตารางการบินทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาวได้มากกว่า 100 ลำ
สำหรับบริษัทที่ผ่านกระบวนการคัดสรรเข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาการก่อสร้างเทอร์มินอล 5 สนามบินชางยี ที่ได้รับการแต่งตั้ง 3 ทีม ได้แก่ 1. KPF (Singapore) Pte Ltd ร่วมกับ Heatherwick Studio และ Architects 61 Private Limited เพื่อจัดหาบริการออกแบบสถาปัตยกรรม 2. Arup Singapore Private Limited, Mott MacDonald Singapore Pte Limited และ Surbana Jurong Consultants Pte Ltd จัดหาบริการด้านวิศวกรรม 3. DP Architects Pte Ltd เพื่อจัดหาบริการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์
ข่าวที่สอง “เที่ยวเมืองรองดันรายได้โรงแรม-ร้านอาหารพุ่ง”
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะการค้าบริการของไทยเดือนก.พ.2561 อยู่ที่ 106.5 เพิ่มขึ้น 4.9% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยสาขาบริการที่ขยายตัวสูงมี 8 สาขา แยกเป็น 5 สาขาที่ขยายตัวเร่งขึ้น ได้แก่ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร การขายส่งและการขายปลีก การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และศิลปะ
โดยเฉพาะสาขาบริการพบว่า บริการที่พักแรมและร้านอาหาร เติบโตสูงสุด 19.9 % ได้รับผลดีจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่ม 19.3 % และจากนโยบายเที่ยวเมืองรอง ธนาคารปล่อยสินเชื่อ ทำให้เอกชนมีการขยายกิจการเพิ่ม สาขาการขนส่งและสถานที่จัดเก็บสินค้า โต 11.3% จากความต้องการของผู้บริโภคและธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการมีการเพิ่มทุนกันมากขึ้น สาขาการเงินและการประกันภัย โต 9 % จาการที่สถาบันการเงินยกเลิกค่าธรรมเนียมการใช้บริการ และบางธนาคารปรับรูปแบบสาขาเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการ และสาขาการขายส่งและขายปลีก โต 3.5% ซึ่งเพิ่มจากยอดขายที่สูงขึ้น
ตลอดปี 2561 สนค. ประเมินแนวโน้มการค้าบริการคาดจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสาขาบริการที่มีศักยภาพและแนวโน้มดี เช่น ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร เติบโตตามจำนวนนักท่องเที่ยว นโยบายเที่ยวเมืองรอง และกระแสการท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมไทย สาขาสุขภาพ เติบโตตามกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่วนขายส่งและปลีก จะเติบโตตามการขยายของการค้าขายออนไลน์ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เติบโตตามการลงทุนภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
ทั้งนี้มีการค้าที่ยังคงขยายตัวแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน 3 สาขา ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และการศึกษา กับสาขาที่หดตัวอีก 5 สาขา ได้แก่ การก่อสร้าง ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร บริการสุขภาพ กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน และกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
ข่าวที่สาม “โรงแรมอนันตราจัดเซ็ตจิบชารสเลิศถึง30มิ.ย.นี้”
โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ ชวนไปสัมผัสกับสุนทรียรสแห่งการจิบน้ำชายามบ่าย ภายใต้บรรยากาศกลิ่นหอมและความรื่นรมย์จากมวลบุปผชาติ เพลิดเพลินกับขนมและของหวานที่รังสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะช่วงซัมเมอร์นี้ ณ เดอะ ล็อบบี้ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561 เท่านั้น • น้ำชายามบ่าย ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ราคา 850 บาท ++ ต่อเซ็ต รวม 1 เครื่องดื่ม (ชาหรือกาแฟ) • บุฟเฟ่ต์น้ำชายามบ่าย ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ราคา 950 บาท++ ต่อท่าน รวม 2 เครื่องดื่ม (ชาหรือกาแฟ) *ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าบริการ
เชฟลอเรนท์ ดัฟโฟต์ (Laurent Duffaut) หัวหน้าพ่อครัวเพสทรีเชฟ ได้รังสรรค์เมนูขนมหวาน รสชาติละมุนลิ้น ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดีกับบรรยากาศของซัมเมอร์นี้ บรรจงรังสรรค์ด้วยแรงบันดาลใจจากหมู่มวลดอกไม้นานาพรรณ ที่นอกจากจะมีความงดงามตามธรรมชาติแล้ว ยังมีสรรพคุณสมุนไพรและมีประโยชน์ต่อสุขภาพนานับประการ จิบคู่กับชาสัญชาติฝรั่งเศส มาคิยาจ แฟรส์ (MARIAGE FRÈRES) ซึ่งเป็นชาที่ได้ชื่อว่าเป็นชาอันดับ 1 ของโลก โดยมีชาที่ปรุงพิเศษแสดงถึงเอกลักษณ์ของไทย 3 รส คือ Eléphant Blanc เอลเลฟอง บลองค์ (ช้างเผือก) Lune Rouge ลูนรูจ (พระจันทร์สีแดง) และ Temple De L’aube ตอปล์ เดอ โลบ (วัดอรุณ) ซึ่งมีเสิร์ฟเฉพาะที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ เท่านั้น
เมนูขนมแนะนำ อาทิ
• พานาคอตต้ากระเจี๊ยบ ขนมหวานเย็นฉ่ำ เนื้อนุ่ม ตัดด้วยรสเปรี้ยวจากซอสเสาวรสและเจลลี่กระเจี๊ยบแดงที่มีสรรพคุณในการช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงธาตุ และบำรุงกำลัง เป็นต้น
•ซูพรีมมูสดอกอัญชัน มูสดอกอัญชันสีเทอร์ควอยซ์ ที่สกัดจากดอกอัญชันสดอันเต็มไปด้วยสรรพคุณมากมาย อาทิ มีส่วนช่วยในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยในการชะลอริ้วรอยแห่งวัย ช่วยรักษาอาการผมร่วง และช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำเงางาม
•เจลลี่กับครีมเก๊กฮวย เจลลี่และครีมสีเหลืองสวยตามธรรมชาติจากดอกเก๊กฮวย เนื้อสัมผัสละมุนลิ้น ซึ่งดอกเก๊กฮวยนี้ นอกจากจะมีกลิ่นหอมและรสชาติหวานแล้ว ยังมีประโยชน์ในการช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการหวัด ช่วยแก้อาการร้อนใน และยังช่วยเพิ่มความสดชื่น
ข่าวที่สี่ “เปิดใช้ได้เลยอีบุ๊คแอปพลิเคชัน-เที่ยวล่าสุด”
นายฤทธิกุล จ๋อมแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ สำนักพิมพ์ทิงค์เน็ต กล่าวว่าได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หนังสือ คู่มือท่องเที่ยวที่มีชื่อว่า “เที่ยวล่าสุด” ออกมาในรูปแบบ INTERACTIVE eBook ผนึกกำลัง “เมพ” (MEB) ผู้พัฒนาระบบอีบุ๊คแอปพลิเคชัน (eBook Application) เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของนักเดินทางในปัจจุบันหันมาใช้งานอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดดูแผนที่เส้นทางแบบเรียลไทม์ การเสิร์ชหาข้อมูล รูปภาพต่าง ๆ ตลอดจนการแปลภาษาเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น โดยมีข้อมูลสำคัญที่นักท่องเที่ยวควรรู้ก่อนออกเดินทางที่มาพร้อมกับ 8 ฟีเจอร์สุดล้ำที่จะเป็นประโยชน์ กับนักเดินทางไม่ว่าจะเป็น “Link Page” ที่ทำให้การเลือกเนื้อหาสะดวกรว ดเร็วด้วยการเชื่อมไปยังข้อมู ลในหน้าต่าง ๆ ได้ทันที ดังนี้
“Scrolling Text” เลื่อนขึ้นและลง ช่วยให้เข้าถึงเนื้อหาได้อย่างล ะเอียด
“Gallery Slide” การเลื่อนดูภาพได้หลากหลายมุมมอ ง
“Tap to Sound” ช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นด้วยเ สียงบทสนทนาจากเจ้าของภาษา “URL” ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ของแต่ละ สถานที่ได้อย่างรวดเร็ว
“Google Map” เชื่อมต่อไปยังพิกัดจริงบนกูเกิ้ลแมพทันทีโดยไม่ต้องเสิร์ชหา
“Pop-up Map (Offline)” ดูภาพแผนที่ของสถานที่ที่สนใจ สามารถใช้งานได้แม้ไม่มีอินเทอร์ เน็ต
“Tap for More Info” ดูรายละเอียดและข้อมูลที่สำคัญข องสถานที่นั้น ๆ
ทั้งหมดจะช่วยสร้างประสบการ ณ์และเพิ่มสีสันในการอ่านไกด์บุ๊คท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของนักเดิ นทางและนักอ่านที่ชื่นชอบเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
ติดตามฟังรายการได้เป็นประจำทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz.
ผุดบิ๊กโปรเจ็กต์“ชุมชนท่องเที่ยวOTOPนวัตวิถี”
ซื้อคิงเพาเวอร์การ์ดช้อปปุ๊บลดปั๊บ15%-30มิย.
ททท.ปลุกสีสันใหม่ทัวร์เกาะหมากโลว์คาร์บอน
บีซีพีจีเครือบางจากลุยลงทุนต่างประเทศปีจอ
ทอท.ผนึกทย.เร่งแก้แออัด3สนามบินอินเตอร์
ปั่นไปเที่ยวไปชิมผลไม้อร่อยทั่วเขาสมิง-ตราด
รู้ไว้เลย“โรควูบ”อันตรายต่อชีวิตมากกว่าที่คิด
ฮือฮาชางยีสิงคโปร์T5-ผุดน้ำตกกลางสนามบิน
ดี๊ด๊านโยบายเมืองรองดันรายได้โรงแรมพุ่งแรง
อนันตราสยามชวนจิบชา-ขนมรสเลิศ-30มิย.
ทิงค์เน็ตงัดอีบุ๊คแอพลิเคชั่นสุดเจ๋งเที่ยวล่าสุด
ต้อนรับเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันอาทิตย์ที่ 2561 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังเรียลไทม์ได้ทางมือถือ และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen และบล็อกเกอร์ #gurutourza
ช่วงที่ 1 ถึงคิว “อภิชาติ โตดิลกเวชช์” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย ออกโรงถ่ายทอดแผนลุยทำบิ๊กโปรเจ็กต์ครั้งแรกชนิดจัดเต็มรูปแบบในโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ยุทธศาสตร์ใหม่ถอดด้าม รุกปลุกแอ่งท่องเที่ยวหมู่บ้านรวมตัวกันลุกขึ้นสร้างอาชีพยั่งยืนโกยเงินทะลุเป้าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท ทุ่มใช้งบกลางปี’61 กว่า 8,344ล้านบาท นำร่องท่องเที่ยวแก้จน 3,273 หมู่บ้าน 64,570 โปรดักซ์อยู่ดีกินดี ปลดล็อกความเหลื่อมล้ำทั่วไทย
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า โครงการจัดทำชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่จะส่งผลดีต่อนโยบายของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจฐานราก โดยจะใช้นวัตกรรมบวกกับวิถีชีวิตในการผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือ OTOP ซึ่งทำต่อเนื่องมากว่า 16 ปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก พออยู่ พอกิน ผ่านมาแล้วระยะ 10 ปีแรก มีรายได้ 100,000 ล้านบาท เติบโตไม่เกินปีละ 11 % ระยะที่ 2 อยู่ดี กินดี ช่วงปี 2560 โอท็อปมียอดขายสินค้า 153,000 ล้านบาท เติบโต 22 % ระยะที่ 3 มั่งมี ศรีสุข ในยุครัฐบาลปัจจุบัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำประเทศ ยอดการเติบโตของสินค้าโอท็อปจะทำแบบก้าวกระโดด เป็นปีละ 200,000 - 300,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมาเราพัฒนาเฉพาะเพียงด้านหัวเท่านั้นคือ ทำตามลักษณะของท้องถิ่นจึงทำให้การเติบโตของยอดขายสินค้าโอท็อปทำได้ปีละไม่เกิน 200,000 ล้านบาท ดังนั้นกรมการพัฒนาชุมชนจึงอาสาจะนำร่องทำเพิ่มจากด้านหัวเพิ่มด้านก้อยด้วยอีกด้าน ด้วยการใช้ “นวัตวิถี” ตามคอนเซ็ปต์ ร่วมสุข ร่วมวิถี-ร่วมสมัย ผนวกการท่องเที่ยวชุมชนเข้าไป โดยให้ชุมชนเป็นตัวตั้ง อันดับแรก สร้างชุมชนเข้มแข็งคอยต้อนรับนักท่องเที่ยว อันดับ 2 ดึงเสน่ห์ชุมชนออกมาอวดนักท่องเที่ยวเพื่อดึงคนเดินทางไปซ้ำ ๆ อันดับ 3 ยกระดับสินค้าของชุมชนอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน ให้ได้ 10 โปรดักซ์ เพื่อทำเป็นหมวดย่อยสินค้าที่ระลึกของใช้
ทั้งหมดนี้จะพัฒนาเป็น “แอ่งท่องเที่ยวขนาดเล็กระดับหมู่บ้าน” เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่ซื้อแพกเกจบริษัททัวร์ เปลี่ยนมาท่องเที่ยวอิสระตามลำพังแบบใหม่นวัตวิถีมีสิ่งแปลกสวยงาม
ทั้งนี้ทางกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย วางกรอบแนวทางการเพิ่มความเข้มข้นการจัดกิจกรรมเพิ่มรายได้ตามโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” แบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก พฤษภาคม 2561 จัดสัมมนาขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี ประชาสัมพันธ์และตลาดออนไลน์ สร้างการรับรู้ใหม่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง และตั้งศูนย์การจัดการประเมินผลโอท็อปวิถี
ช่วงที่ 2 มิถุนายน-สิงหาคม 2561 จัดสัมมนาย่อยการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ทำประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ใหม่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ยกระดับมาตรฐานสินค้าโอท็อปกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนาในชุมชนท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐานสินค้าอาหารโอท็อปรสไทยแท้ (OTOP Authentic) พัฒนาผลิตภัณฑ์โอท็อปโดยโรงเรียนโอท็อป จัดประกวดชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี กระตุ้นรณรงค์กลุ่มเป้าหมายเดินทางท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี ติดตามประเมินผล ให้คำแนะนำและแนวทางแก้ปัญหา
ช่วงที่ 3 เดือนกันยายน 2561 เดินหน้าทำ 3 เรื่องหลัก 1.ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ใหม่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง รายงานความก้าวหน้าโอท็อปนวัตวิถี ประเมินความสำเร็จ 2.จัดแสดงผลงานประกาศความสำเร็จของชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี 3.นำ Tourism Platform ซึ่งเป็น Big Data เจาะลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
อธิบดีอภิชาตย้ำว่า สิ่งที่ได้จากโครงการ พัฒนาชุมชนโอท็อป นวัตวิถี คือ ส่วนที่ 1 ชุมชนเข้มแข็งขึ้น ทุกหมู่บ้านต้องลุกขึ้นมาพัฒนาพื้นที่ให้สะอาด น่าอยู่ ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 รายได้ในชุมชนหมู่บ้านจะเริ่มเปลี่ยนไปจะกระจายสู่ทุกคนในชุมชน เริ่มจากบริการถสามล้อถีบในหมู่บ้าน ร้านน้ำ ร้านอาหาร นักแสดงศิลปวัฒนธรรม ผู้จำหน่ายสินค้าชุมชน และหากยิ่งมีสถานที่พักค้างแรมก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น
ข้อแตกต่างของ “โอท็อปชุมชน” แบบดั้งเดิมนั้นรัฐบาลจะต้องเข้าไปช่วยในทุก ๆ ด้าน แต่ “โอท็อปนวัตวิถี” จะเปลี่ยนโฉมใหม่เป็นคนในชุมชนต้องลุกขึ้นมาสู้ทำงานร่วมกัน เป็นเจ้าบ้านที่ดี นำภูมิปัญญา สินค้า เสน่ห์พื้นบ้าน มาหลอมรวมสร้างสรรค์จุดขายให้แก่นักท่องเที่ยว หาวิธีสร้างความประทับเพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับไปเที่ยวซ้ำ ๆ
สำหรับกรมการพัฒนาชุมชนส่วนกลางมีหน้าที่ให้ทุกจังหวัดสร้าง Application ของแต่ละจังหวัดเชื่อมแหล่งท่องเที่ยว บอกเส้นทาง ระยะทาง ร้านอาหาร ของฝาก ของที่ระลึก เป็น Big Data ที่กระทรวงมหาดไทยจะเดินหน้าเต็มที่ โดยจะทำเป็นศูนย์ข้อมูลใหญ่ทั่วประเทศเกี่ยวเข้ากับข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อทำสำเร็จก็จะเป็นกลายเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีข้อมูลสมบูรณ์แบบค้นหาได้ทุกจุดจาก Application โดยจะทำให้เกิดโดยเร็วที่สุด ทุกจังหวัดจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561 จากนั้นในเดือนตุลาคมปีนี้ก็จะใช้งานได้แล้วนักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวตามหมู่บ้าน ชุมชน ได้ครอบคลุม ทุกพื้นที่
นายอภิชาตกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลให้กรมการพัฒนาชุมชน นำงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2561 จำนวนกว่า 8,324 ล้านบาท ไปใช้ระหว่างเดือนเมษายน-30 กันยายน 2561 เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนกระจายในกว่า 3,000 หมู่บ้าน โดยตรงตลอด 5 เดือนนี้ จะมุ่งพัฒนาเร่งด่วน 5 เรื่องหลัก คือ
เรื่องที่ 1 สินค้าโอท็อปชุมชนที่กำลังพัฒนาหรือเรียกว่า OTOP กลุ่ม D มีอยู่กว่า 64,570 รายการ จะถูกยกระดับมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจนเพื่อให้พร้อมขายและสร้างรายได้มากขึ้น
เรื่องที่ 2 รายได้ของโอท็อปต้องเติบโตเพิ่มสูงเกินปีละ 25 % จากปัจจุบันเติบโตปีละประมาณ 22 %
เรื่องที่ 3 รายได้ในชุมชนจะกระจายไม่เฉพาะโอท็อปไม่เฉพาะท่องเที่ยว แล้วมีเงินเข้ามาเกิดการหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่
เรื่องที่ 4 สร้างชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองร่วมกับหน่วยงานราชการ เรื่องที่ 5 ลดความเหลื่อมล้ำชีวิตความเป็นอยู่ตามนโยบายของรัฐบาล
หัวใจสำคัญที่จะให้ชุมชนหันมาร่วมกระบวนการ “โอท็อปชุมชน นวัตวิถี” ทำให้พี่น้องในชุมชนลุกขึ้นมาทำงานร่วมกับรัฐ ผลิตสินค้าดึงดูดคนซื้อ และทำชุมชนให้น่าอยู่ เมื่อไรที่คนในชุมชนลุกขึ้นมาทำร่วมกับรัฐนั่นก็หมายความว่าชุมชนจะเข้มแข็ง ยั่งยืน เพราะฉะนั้นโอท็อป นวัตวิถี เป็นรูปแบบใหม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมเพื่อจะทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในส่วนของนวัตวิถี เมื่อชุมชนมีรายได้ทั่วประเทศมีมากกว่า 84,000 หมู่บ้าน เพื่อกระจายความมั่งคั่งสู่ท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชนได้วางทิศทางการพัฒนาแบ่งเป็นบันได 3 ขั้นแรก
ขั้นแรก เศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน เน้นไปที่บุคคลและครัวเรือน มุ่งสร้างอาชีพ ปีที่ผ่านมาทำไปแล้วกว่า 470,000 ครัวเรือน
ขั้นที่ 2 เศรษฐกิจก้าวหน้า มุ่งส่งเสริมประชาชนรวมกลุ่มกัน เห็นตัวอย่าง SMEs โอท็อป รัฐวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างพลัง การส่งเสริมจากรัฐก็ทำได้ง่าย
ขั้นที่ 3 เศรษฐกิจขึ้นสูงสุด เน้นการเครือข่ายโดยสร้าง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม จะไม่เน้นอำเภอหรือจังหวัดแล้ว พอมีสินค้าก็จะขายข้ามจังหวัดและภูมิภาค เช่น การผลิตผ้าบาติกภาคใต้สามารถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคอื่น 17 จังหวัด แล้วส่งทั้งหมดไปขายในภูเก็ต หรือภาคอีสานต้องการบริโภคอาหารทะเล ตอนนี้ก็ใช้ศูนย์กลางที่สมุทรสาครเป็นอาหารทะเลแปรรูปส่งไปจำหน่ายให้ผู้บริโภค ในอนาคตทางอีสานอาจจะส่งข้าวสารที่ผลิตได้ไปขายยังสมุทรสาคร ซึ่งจะเห็นภาพชัดถึงการพัฒนาแบบเครือข่าย ขายข้ามส่งจากอำเภอสู่จังหวัดภาคอื่น ๆ
โดยสรุปแล้วกรมการพัฒนาชุมชน ได้ตั้งเป้าผลสัมฤทธิ์จากโครงการ “ชุมชนโอท็อป นวัตวิถี” 2 ด้าน
ด้านแรกในเชิงปริมาณ ต้องตอบโจทก์ทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์โอท็อปกลุ่ม D ต้องได้รับการพัฒนามาตรฐานไม่น้อยกว่า 64,570 ผลิตภัณฑ์ 2.รายได้เฉพาะการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้องเพิ่มเฉลี่ย 10 % ขึ้นไป 3.ชุมชน/หมู่บ้าน ได้รับการพัฒนาด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ต่ำกว่า 3,273 ชุมชน/หมู่บ้าน กระจายครบทั้ง 76 จังหวัด 4.ชุมชน 3,273 หมู่บ้าน ผ่านการประเมินระดับมั่งมี ศรีสุข ตามเกณฑ์และตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย
ด้านที่ 2 ในเชิงคุณภาพ จะต้องครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีการกระจายรายได้ในกลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 60 % 2.ชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน มีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาบูรณาการทุกพื้นที่เป้าหมาย และ 3.ครอบครัวอบอุ่น ลูกหลานกลับบ้านไปประกอบอาชีพมีรายได้อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข
นับเป็นครั้งแรกที่มหาดไทยคิดนอกกรอบโดยการลุกขึ้นมาพัฒนาเรื่องของการท่องเที่ยวหมู่บ้านอย่างจริงจัง จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้ารัฐบาลจะเปลี่ยนโฉม “คนไทย” ทั้งประเทศจะเลิกจนได้จริงมากน้อยขนาดไหน
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 “ซื้อคิงเพาเวอร์การ์ดช้อปปุ๊บลดปั๊บสูงสุด15%”
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ชวนขาช้อปร่วมแคมเปญ KING POWER CARD วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561 เพียงซื้อ คิง เพาเวอร์ การ์ดเสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปช้อปสามารถรับทันทีได้เลยเป็นส่วนลดสูงสุด 15 % โดยมีการ์ดให้เลือกซื้อตามสะดวก เริ่มตั้งแต่
แพ็กเกจ 1,000 บาท มียอดเงินในบัตร 1,000 บาท รับส่วนลด 5% พร้อมคูปอง on-top 5% สำหรับการซื้อสินค้า 1 ใบเสร็จ จำนวน 1 ใบ
แพ็กเกจ 6,000 บาท มียอดเงินในบัตร 6,000 บาท รับส่วนลด 10% พร้อมคูปอง on-top 5% สำหรับการซื้อสินค้า 1 ใบเสร็จ จำนวน 2 ใบ
และสามารถรับฟรี 50 กะรัตเพียงลงทะเบียนสมัครสมาชิกคิง เพาเวอร์พร้อมบริการห้องรับรองพิเศษ และสิทธิประโยชน์อีกมายทุกการเดินทางที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ ศรีวารี พัทยา ภูเก็ตและ คิง เพาเวอร์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561
โดยเข้าไปลงทะเบียนสมาชิกภายใน 30 วัน ที่ http://services.kingpower.com/register เพื่อรับสิทธิ์การเป็นสมาชิกบัตรคิง เพาเวอร์ และสิทธิประโยชน์ของบัตร เมื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิกคิง เพาเวอร์ เรียบร้อยแล้ว สามารถสะสมยอดซื้อ และกะรัตได้ตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยนับจากวันที่ทำการซื้อสินค้าครั้งแรกด้วยบัตรใบดังกล่าว
สอบถามเพิ่มเติมที่ คอล เซ็นเตอร์ 1631 หรือดูเพิ่มใน www.kingpower.com
ข่าวที่ 2 “ททท.เปิดเที่ยวสีสันใหม่เกาะหมากโลว์คาร์บอน”
นายวิบูลย์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวและร่วมหารือกับเอกชนในเกาะหมากรวมถึงบริเวณใกล้เคียงฝั่งทะเลอ่าวไทย เพื่อวางกลยุทธ์ปลุกกระแสการท่องเที่ยวธรรมชาติมุมใหม่บน “เกาะหมาก โลว์ คาร์บอน” จังหวัดตราด ด้วยคอนเซ็ปต์ 5 ช. ได้แก่ ชีล ชิม แชะ แชร์ ช่วย ภายใต้ธีม “สีสัน ตะวันออก” โดยชาวบ้านกับเอกชนบนเกาะขนาดกว่า 9,000 ไร่ ร่วมกันออกแบบกิจกรรมความหลากหลายไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ไฮไลต์ด้วยการกิจกรรมร่วมกันปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เกาะหมากรีสอร์ต โดยมี “โอ๋” ไกด์ท้องถิ่นคอยต้อนรับพานักท่องเที่ยวไปร่วมสนุกกับการสร้างสรรผลงานสู่ธรรมชาติ จ่ายค่าบริการเพียงคนละ 200 บาท เพื่อการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับลงมือปลูกข้าวโพด ผักสวนครัว ตอนกิ่งมะละกอ ทำวิถีการเกษตรอื่น ๆ ก่อนจะเก็บพืชผักเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบช่วยกันปรุงเมนูอาหารรับประทานกันเองในกลุ่มนักท่องเที่ยว
ไฮไลต์อีกอย่างคือลงมือทำ “น้ำมันมะพร้าวกลั่นร้อน” ผลิตสมุนไพรพื้นบ้าน ในบริเวณบ้านสวน “หลวงพรหมภักดี” 1 ใน 5 ตระกูลเก่าแก่ผู้เดินทางมาบุกเบิกก่อตั้งชุมชนเกาะหมาก ที่ยังคงรักษาบ้านหลังเดิมอายุกว่า 85 ปี สวนมะพร้าว และขยายเพิ่มทำรีสอร์ต Happy Day ขนาด 18 หลัง ต่อด้วยการไปดูการนำพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือ Solar roof มาผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน ปั๊มน้ำรดพืชผักสวนผลไม้ และการวางระบบกำจัดขยะ เรื่อยไปจนถึงการกำหนดธรรมนูญชุมชนหลายร้อยครัวเรือนกับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปยังเกาะจะต้องปฏิบัติภายใต้กติกาเดียวกัน เพื่อให้เกาะหมากรักษาวิถีธรรมชาติ ลดคาร์บอน ทำให้ชุมชนดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
รอบเกาะหมาก มีรีสอร์ตธรรมชาติของคนในชุมชนตั้งกระจายอยู่รอบพื้นที่เกือบหมื่นไร่ แห่งละ 20-30 ห้อง รวมแล้วประมาณ 600 ห้อง ส่วนใหญ่จะขายผ่านเว็บไซต์ด็อทคอมชั้นนำ อาทิ www.booking.com สามารถทำราคาห้องพักได้คืนละ 1,500-10,000 บาท/ห้อง/คืน รวมทั้งมีร้านอาหารวิวทะเลมุมสวยแปลกตาต่างกันตามทำเลที่ตั้ง โดยมีสของสดสารพัด กุ้ง หอย ปู ปลา ของชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่ขายให้ร้านอาหาร รีสอร์ต นำมาปรุงขายนักท่องเที่ยว สร้างรายได้กระจายสู่ทุกอาชีพกับคนในชุมชนบนเกาะหมากอย่างครบวงจร
“ผอ.วิบูลย์” กล่าวว่าเบื้องต้นได้หารือกับภาคเอกชนเกาะหมากเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การรักษาดูแลบริหารจัดการการท่องเที่ยวสีเขียวหรือ Green Tourism เพิ่มความเข้มข้นการจัดการขยะ การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานรอบเกาะ 2.การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอาหาร หรือ Gastronomy โดยมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้ถึงแหล่งเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ด้วยกรรมวิธีเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีเพื่อนำมาใช้ปรุงอาหารสไตล์ท้องถิ่นหรือประยุกต์เสิร์ฟนักท่องเที่ยว 3.จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงดนตรีสไตล์คลาสสิก 4.จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อสุขภาพเป็นชุมทางนักเล่นโยคะ และ 5.จัดกิจกรรมสีสันเกาะแห่งงานศิลปะธรรมชาติ
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 จะผนึกความร่วมมือกับเอกชนเกาะหมากใช้เวลาช่วง 3-4 เดือนนี้เตรียมความพร้อมเพื่อจัดกิจกรรมใหญ่ภายในไม่เกินเดือนกันยายน 2561 จุดประกายให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติรู้จักเกาะหมากมุมใหม่ตามธีม Open to the New Shade ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
นายจักรพรรดิ ตะเวทีกุล นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด และผู้บริหารเกาะหมาก กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวเกาะหมากเฉลี่ยจะมีอัตราเฉลี่ยการเข้าพักประมาณ 50 % ฤดูที่นักท่องเที่ยวจองห้องพักหนาแน่น (high season) ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมียอดจองเกือบ 100 % ช่วงพฤศจิกายนจะมีคนไทยและต่างชาติเดินทางเข้ามายังเกาะสัดส่วน 50-50 และช่วงสัปดาห์ที่สองเดือนธันวาคมของทุกปีห้องพักจำนวนมากจะว่าง เอกชนจึงต้องขอรับการสนับสนุนจาก ททท.จัดกิจกรรมแคมเปญกระตุ้นนักท่องเที่ยวเข้ามาเติมช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม
สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางเข้าไปเที่ยวเกาะหมาก ตลาดต่างประเทศ จะพักเฉลี่ย 5 วัน/คน/ทริป ประกอบด้วย เยอรมัน สแกนดิเนเวีย เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ส ซึ่งมีพฤติกรรมการเดินทางเชื่อมโยง บินตรงเข้าสู่เกาะช้าง จากนั้นก็แวะมาพักผ่อนต่อยังเกาะหมาก
ขณะที่ตลาดในประเทศ จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทยวัยรุ่น วัยทำงาน ครอบครัว นิยมเดินทางมาพักผ่อนช่วงปิดเทอม วันหยุด
กิจกรรมยอดนิยมของคนไทยและชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนบนเกาะหมาก คือ พายเรือคะยัก และซื้อตั๋วเรือเร็วสปีดโบ๊ท ราคาเฉลี่ย 300-350 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10-20 นาที จากเกาะหมากไปขึ้นชมเกาะใกล้เคียง อาทิ เกาะกระดาดซึ่งมีป่าธรรมชาติ ป่ามะพร้าวเป็นที่พักอาศัยของกวางกว่า 500 ตัว และแหล่งท่องเที่ยวตามเกาะขนาดเล็ก ๆ อาทิ อ่าวนิด เกาะกระดาด เกาะขาม หมู่เกาะระยั้ง อ่าวสวนใหญ่ อ่าวไผ่/แหลมสน ซึ่งในจังหวัดตราดมีเกาะให้เลือกท่องเที่ยวครึ่งร้อยหรือกว่า 52 เกาะ
ขณะที่สถานที่ท่องเที่ยวบนฝั่งต้องห้ามพลาด เมื่อออกจากสนามบินจังหวัดตราด ต้องแวะ “พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด” ฟังกูรู “เหน่ง-รุ่งโรจน์ แสวงกาญจน์” เล่าเรื่องราวถ่ายทอดประวัติศาสตร์จากเมืองชายแดนริมฝั่งอ่าวไทยร้อยเรียงตามยุคสมัยตั้งแต่สุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ได้อย่างสนุกสนานทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตได้ภายในเวลา1 ชั่วโมงก็สามารถได้รู้และเข้าใจตราดในทุก ๆ มุม และ “วัดบุปผาราม” อายุเก่าแก่กว่า 300 ปี มีทั้งพิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณ โบสถ์เก่า จิตรกรรมฝาผนัง ศาลารูปปั้นพระเจ้าตากสินแห่งเดียวที่ไม่สวมหมวกเห็นใบหน้าชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีสถานที่เยี่ยมชมบนฝั่งจังหวัดตราด อาทิ สุดแผ่นดินตะวันออก สะพานท่าเทียบเรือเดิมของกรมเจ้าท่า อยู่ติดกับสำนักงาน ททท.สำนักงานตราด มีหอคอย จุดชมวิวทะเล และร้านจำหน่ายของที่ระลึกบ้างประปราย หรือจะเป็น ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหาดทรายดำและป่าชายเลน สวนผลไม้ขึ้นชื่อ “สวนสละลุงประโยชน์” ขนาด 80 ไร่ จำหน่ายสละสดกิโลกรัมละ 80 บาท และสละแช่อิ่ม กระปุกละ 25 บาท สามารถสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์จัดส่งทั่วประเทศ และแวะ “Check in TRAT” ของกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่นำโดย “จตุพัฒน์ ฤกษ์สหกุล” ประธานคณะกรรมการผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดตราด (YEC ตราด) ร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นเมือง และเค้ก กาแฟ แบบชิค ๆ รวมทั้งพื้นที่เทรนด์ใหม่ Co-Working Space ใช้คุยงานกันพร้อมสั่งของว่างรับประทานได้ด้วย
ปัจจุบันการเดินทางจากกรุงเทพฯ มีเที่ยวบินตรงของสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ให้บริการจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ตราด วันละ 3 เที่ยว ใช้เวลา 45 นาที รวมทั้งมีรถสาธารณะ รถปรับอากาศ รถตู้ ให้บริการด้วยหลายช่องทาง
“เกาะหมาก โลว์ คาร์บอน” และ “สีสัน ตะวันออก” ในจังหวัดตราดนับเป็นอีกหนึ่ง New Shade ของการท่องเที่ยวเมืองไทยอย่างเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนต้นแบบโลกยุคใหม่อย่างแท้จริง
ข่าวที่ 3 “บีซีพีจีเครือบางจากเปิดแผนลงทุนต่างประเทศปีจอ”
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ในเครือของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ตามแผนปี 2561 นี้ บีซีพีจีลงทุนต่อเนื่อง ปรับทัพรับ Digital Energyพันธมิตรแข็งแกร่ง พร้อมรุกทั้งในและนอกประเทศ สอดคล้องกับแนวโน้มของธุรกิจจะยังเติบโตต่อเนื่อง การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปตามแผน ได้เตรียมความพร้อมด้วยการปรับเปลี่ยนองค์กรรับ Digital Energy คาดจะมีข่าวดีเรื่องการลงทุนต่างประเทศเร็วๆ นี้ หลังผ่านไตรมาสแรกของปี 2561 สามารถดำเนินธุรกิจไปตามแผนที่ตั้งไว้ ทั้งโครงการทำธุรกิจกับลูกค้ารายย่อย การลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟใช้เองในประเทศ ส่วนการลงทุนออกในต่างประเทศก็ยังมีโครงการใหม่ๆ ที่น่าสนใจมาให้พิจารณาต่อเนื่อง
ปีนี้ตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ 130-150 เมกะวัตต์ ด้วยวิธีขยายธุรกิจด้วยการควบรวมและการซื้อกิจการ (M&A) และพุ่งเป้าพัฒนาอยู่ในพื้นที่เอเชีย แปซิฟิก รุกสร้างโรงไฟฟ้าขายเข้าระบบหรือการลงทุนในธุรกิจแบบ Wholesale ประมาณ 100 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือจะมาจากรีเทล หรือร่วมกับพันธมิตรหลายองค์กรทำตลาดกับผู้บริโภคโดยตรง ด้วยการนำนวัตกรรมทันสมัยมาใช้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป โดยโครงการต้นแบบพัฒนา Smart Community ร่วมกับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) จะเริ่มได้ต้นไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนโครงการโซลาร์รูฟท็อปตามสถานีบริการน้ำมันบางจากจะเริ่มปีนี้อีก 20-30 แห่ง และยังมองโอกาสดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน เป็นต้น
นายบัณฑิตกล่าวว่าขณะนี้ บีซีพีจี มีพาวเวอร์เล็ดเจอร์จากออสเตรเลียเป็นพันธมิตรในการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้า เน้นเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ผู้บริโภคโดยตรง สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนระยะยาว ไม่เพียงซื้อขายไฟฟ้าทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ทว่าจะทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจัดการไฟฟ้าให้ตอบสนองต่อความต้องการในแต่ละช่วงเวลาของผู้ใช้แต่ละราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ MOU กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำนวัตกรรมนำสมัยเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้กับลูกค้าของแต่ละหน่วยงาน
รวมทั้งยังเจรจากับผู้ประกอบการหลายรายควบคู่กันไป เพื่อนำนวัตกรรมมาช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สร้างผลดีต่อประเทศชาติโดยภาพรวม
ปัจจุบันบีซีพีจีจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ทั้งในไทยและญี่ปุ่น เดินหน้าโครงการโกเต็มบะ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งอยู่ที่เมืองโกเต็มบะ (Gotemba) จังหวัดชิซูโอกะ (Shizuoka) ห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 90 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ในวันที่ 16 เมษายน 2561 เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์จำหน่ายไฟฟ้าในราคา 32 เยนต่อ kWh เรียบร้อยแล้ว และโครงการโกเต็มบะซึ่งมีกำลังการผลิต 4.5 เมกะวัตต์ ขายไฟราคาขายส่ง 6.8 เยนต่อ kWh มาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2560
นอกจากนี้ยังมีโครงการโซลาร์ฟาร์มสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตรกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ กำลังการผลิต 9 เมกะวัตต์ ก็จะเปิดเชิงพาณิชย์ได้ประมาณกลางปี 2561
ข่าวที่ 4 “ทอท.ผนึกทย.เร่งแก้3สนามบินอินเตอร์แออัด”
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” กล่าวว่า ได้ปฏิบัติตามนโยบายของ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมอบให้ ทอท.ร่วมกับ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานเกี่ยวข้อง วางแผนใช้ประโยชน์จากสนามบินร่วมกัน เตรียมรับมือกับแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารจะเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
โดยจะร่วมมือกันเบื้องต้นใน 2 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 การบริหารจัดการลานจอดของเครื่องบินค้างคืนในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ขณะนี้มีสายการบินนำเครื่องบินมาจอดค้างคืนหนาแน่น จึงจะร่วมกับทางกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม พิจารณาใช้ประโยชน์จากสนามบินภูมิภาค 3 แห่ง พิษณุโลก อุดรธานี และอุบลราชธานี นำพื้นที่ลานจอดมาแบ่งเบาภาระการนำเครื่องบินไปจอดค้างคืน
เรื่องที่ 2 การจัดทำตารางบินในสนามบินที่มีผู้โดยสารใช้บริการหนาแน่น อาทิ ท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อให้สอดคล้องกับการเดินทางท่องเที่ยว แนวทางคือจะหารือกับสายการบิน บริษัทตัวแทนนำเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อขอให้ขยับเที่ยวบินบางช่วงไปลงในจังหวัดใกล้เคียงภูเก็ตตามโอกาสอันเหมาะสม
ทั้งนี้ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายชัดเจนในการให้หน่วยงานกำกับดูแลบริหารท่าอากาศยานทั้ง ทอท.และ กรมท่าอากาศยาน ใช้สนามบินทั่วประเทศรองรับ สนับสนุน ส่งเสริม การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ เนื่องจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา วางยุทธศาสตร์ให้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนรายได้กระจายสู่ชุมชนท้องถิ่น เมืองท่องเที่ยวรองและหลัก ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืนให้เกิดในระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นรูปธรรม
ช่วงที่ 2 ฟิตร่างกายให้พร้อมเพื่อจะได้ไป “ปั่นจักรยานเที่ยวไปชิมไปตามสวนผลไม้ ทั่วอำเภอเขาสมิง” จังหวัดตรา เพราะเดือนพฤษภาคม นี้ ก็ถึงฤดูผลไม้แล้วแถมแต่ละชนิดยังมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นก็ต้องรู้ทัน “โรควูบ” ซึ่งเดี๋ยวนี้คนไทยเป็นกันเยอะแต่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบไหลตายเป็นจำนวนมาก ส่วนข่าวท้ายชั่วโมง ทึ่งกับสิงคโปร์ประกาศจะสร้าง “น้ำตกและเขาวงกต” ขึ้นกลางอาคารผู้โดยสารใหม่หลังที่ 5 ปีหน้าได้เห็นแน่นอน แล้วผู้ที่ชื่นชอบชาไปได้เลยที่โรงแรมอนันตราสยาม และนโยบายเมืองรองดันรายได้โรงแรม ร้านอาหารต่างจังหวัดพุ่งไม่หยุด และ Think Net เปิดแล้ว อีบุ๊คแอพลิเคชั่น-เที่ยวล่าสุด เจ๋งจริง ๆ
@ปั่น...สุดชีลชิมสวนผลไม้เขาสมิง จ.ตราด
ใกล้ฤดูท่องเที่ยวเมืองสวนผลไม้แล้ว จะชวนกันไป “ปั่น...เข้าสวนผลไม้ อำเภอเขาสมิง” จังหวัดตราด ปั่นไปชิมไปช้อปไป ชิมสวนผลไม้สด ๆ ตลอด 3 เดือน ช่วงพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี
การปั่นไปตามเส้นทางชิมผลไม้เขาสมิง เมืองตราด ระยะทางราว 25 กิโลเมตร สองข้างทางก็มีทั้งสวนเงาะสดสีแดงห้อยเป็นพวงระย้าระดิน สลับกับ “สวนมังคุด” ใบสีเขียวขจีมีผลม่วงเต็มต้น “ลองกอง” ดกเต็มต้นแทบจะมองไม่เห็นใบ ส่วนไฮไลต์คือ “สวนทุเรียน” ส่งกลิ่นหอมฟุ้งมาแต่ไกล พอเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยวเมืองผลไม้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็จะจัดกิจกรรมเชิญชวนนักท่องเที่ยวด้วยแคมเปญ “อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน” สวนนับร้อยแห่งก็จะเข้าร่วมโดยจัดทำเป็น “แพกเกจบุฟเฟต์ผลไม้” เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวไปเก็บเองกินแบบอิ่มไม่อั้น ราคาเริ่มต้น 50 บาทขึ้นไป
หากได้ไปปั่น...เข้าสวนผลไม้ จะได้อรรถรสการท่องเที่ยวอีกแบบ เส้นทางปั่นเริ่มต้นตรง “หน้าโรงพยาบาลกรุงเทพตราด” ปั่นชมวิวเพลินไปตามบนถนนสายสุขุมวิท สัก 4.5 กิโลเมตร สวนแรกที่จะแวะคือ “สวนสละสมโภชน์” อยู่ตรงประตูวัดกระแจะ ปั่นเข้าไปราว 2 กิโลเมตร สวนนี้จะอยู่ทางซ้ายมือ แต่ถ้าปั่นตรงต่อไปประมาณ 16.5 กิโลเมตร จะถึงทางแยก “เขาสมิง” สามารถเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมายเลข 3159 ปั่นข้ามสะพานแม่น้ำเขาสมิงสู่อำเภอเมือง ตลอดสองข้างทางจะเต็มไปด้วยสวนผลไม้ยอดนิยม 4 สวนที่สุดแห่งเขาสมิง
สวนแรก “สวนสละสมโภชน์” เมื่อไปถึงจะได้เจอกับลุงสมโภชน์และครอบครัว วัย 72 ปีที่พร้อมจะสาธิตการปลูกสละพันธุ์สุมาลี กล้าพันธุ์ราคาสูง 3,000-4,000 บาท สละอายุ 8 เดือนในสวนนี้กลิ่นหอม รสชาติหวานกรอบ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็น “สละลอยแก้ว” ซึ่งได้จากการเก็บสละสดอายุ 6-7 เดือนมาทำตามกรรมวิธีหวานอร่อย นักท่องเที่ยวทั่วประเทศติดใจไปตามกัน
สวนที่สอง “สวนคุณไพฑูรย์” เป็นชุมทางการปลูก “ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง” เลือกชิมและซื้อสด ๆ จากต้นได้เลย
สวนที่สาม “สวนผลอำไพ” จะเน้นการปลูกผลไม้หลากหลายชนิดเพื่อส่งออกเป็นหลัก แต่ก็มีให้นักท่องเที่ยวชิมได้ทั้ง เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน
สวนที่สี่ “สวนนายอำเภอ” แหล่งมังคุดชั้นดีแห่งเขาสมิง เข้าไปดูการเก็บสด ๆ หรือจะขอเก็บเองบ้างก็ได้เช่นกัน
ตลอดเทศกาลผลไม้ปีจอ 2561 ลองไปปั่นจักรยานสูดอากาศบริสุทธิ์ท่ามกลางถนนสายผลไม้ “เขาสมิง” เมืองตราดกันให้สนุกได้ทุกวันทั้ง 3 เดือนหน้า
@รู้ไว้ว่า “โรควูบ” อันตรายกว่าที่คิด
โรควูบ หรือ ล้มทั้งยืน กลายเป็นโรคร้ายที่น่ากลัว ซึ่งโรคนี้เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าสุขภาพของคุณกำลังจะมีปัญหา
โรคนี้มีที่มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ อาการวูบเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สูญเสียการทรงตัวชั่วคราว จึงล้มลง แต่ไม่ใช่อาการโรคหัวใจ หรือเรียกง่ายๆว่า “เป็นลมทั่วไป” เนื่องจากร่างกายทนสภาพแวดล้อมไม่ได้ โดยมีสาเหตุจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ยืนหรือนั่งนานเกินไปหรือเกิดจากปฏิกิริยาของระบบประสาท เช่น เห็นเลือด อยู่ในที่อับ จึงควรนอนราบกับพื้น เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ อีกกลุ่มคือ อาการวูบจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดอุดตัน ทำให้ล้มลงได้ ถ้าเป็นในขณะที่นอนอยู่ก็อาจไหลตายได้ ขึ้นอยู่กับว่าเส้นเลือดที่เป็นใหญ่แค่ไหน และเป็นกี่เส้นพร้อมกัน หากเกิดอาการรุนแรง เพราะลิ่มเลือดอุดตันบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน ขั้นหัวใจวาย ช็อก หรือหยุดเต้น ทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้
การรักษาอาการวูบจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดอุดตัน จึงมีทั้งการทำบอลลูน หรือการขยายหลอดเลือดเดิมให้กว้างขึ้น การทำบายพาส คือ ต่อเส้นเลือดไปเชื่อมต่อ เส้นอื่นให้เลือดไหลเวียนได้ หรือใส่เส้นลวดขยายหลอดเลือด
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “ชางยีสิงคโปร์ทุ่มT5ผุดน้ำตกเขาวงกตกลางสนามบิน”
สนามบินนานาชาติชางยี สิงคโปร์ วางแผนเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (Terminal 5)ด้วยการทุ่มเงินลงทุนกว่า 57,000 ล้านบาท ในมีแผนจะเนรมิตน้ำตกยักษ์กลางสนามบินชื่อว่า Jewel Changi Airport จะเป็นสถาปัตยกรรมสวยงาม และจะเป็นสนามบินแห่งแรกของโลกที่กลางเทอร์มินัลจะมีน้ำตกสไตล์สวนสวยเมืองร้อนแบบทรอปิคอล ขนาดยักษ์สูงกว่า 40 เมตร พร้อมทั้งเขาวงกตแนวใหม่สุดหรูหราในแบบชิค ๆ คาดการณ์เปิดใช้งานต้นปี 2562 เป็นต้นไป
Mr. Yam Kum Weng (แยม กุม วัง) รองประธานอาวุโสฝ่ายพัฒนาท่าอากาศยาน กลุ่มสนามบินชางงี (CAG) กล่าวว่า ล่าสุดได้ตั้ง Master Building Consultant เพื่อการพัฒนาเทอร์มินอลหลังที่ 5 (T5) ของสนามบินชางยี เรียบร้อยแล้ว 3 ทีม เพื่อทำหน้าที่ให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารหลัก และให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรม ร่วมกันสร้างสรรเทอร์มินัลแบบรวมช่วยให้มั่นใจได้ถึงศักยภาพของสนามบินชางงีจะยังคงเป็นศูนย์กลางการบินชั้นนำของเอเชียและโลกที่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของพันธมิตรสายการบินนานาชาติ รวมทั้งจะนำประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารยกเข้าสู่มาตรฐานระดับใหม่
เมื่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้สนามบินชางยี มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่าปีละ 50 ล้านคน และรองรับเครื่องบินขึ้นลงในแต่ละตารางการบินทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาวได้มากกว่า 100 ลำ
สำหรับบริษัทที่ผ่านกระบวนการคัดสรรเข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาการก่อสร้างเทอร์มินอล 5 สนามบินชางยี ที่ได้รับการแต่งตั้ง 3 ทีม ได้แก่ 1. KPF (Singapore) Pte Ltd ร่วมกับ Heatherwick Studio และ Architects 61 Private Limited เพื่อจัดหาบริการออกแบบสถาปัตยกรรม 2. Arup Singapore Private Limited, Mott MacDonald Singapore Pte Limited และ Surbana Jurong Consultants Pte Ltd จัดหาบริการด้านวิศวกรรม 3. DP Architects Pte Ltd เพื่อจัดหาบริการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์
ข่าวที่สอง “เที่ยวเมืองรองดันรายได้โรงแรม-ร้านอาหารพุ่ง”
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะการค้าบริการของไทยเดือนก.พ.2561 อยู่ที่ 106.5 เพิ่มขึ้น 4.9% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยสาขาบริการที่ขยายตัวสูงมี 8 สาขา แยกเป็น 5 สาขาที่ขยายตัวเร่งขึ้น ได้แก่ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร การขายส่งและการขายปลีก การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และศิลปะ
โดยเฉพาะสาขาบริการพบว่า บริการที่พักแรมและร้านอาหาร เติบโตสูงสุด 19.9 % ได้รับผลดีจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่ม 19.3 % และจากนโยบายเที่ยวเมืองรอง ธนาคารปล่อยสินเชื่อ ทำให้เอกชนมีการขยายกิจการเพิ่ม สาขาการขนส่งและสถานที่จัดเก็บสินค้า โต 11.3% จากความต้องการของผู้บริโภคและธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการมีการเพิ่มทุนกันมากขึ้น สาขาการเงินและการประกันภัย โต 9 % จาการที่สถาบันการเงินยกเลิกค่าธรรมเนียมการใช้บริการ และบางธนาคารปรับรูปแบบสาขาเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการ และสาขาการขายส่งและขายปลีก โต 3.5% ซึ่งเพิ่มจากยอดขายที่สูงขึ้น
ตลอดปี 2561 สนค. ประเมินแนวโน้มการค้าบริการคาดจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสาขาบริการที่มีศักยภาพและแนวโน้มดี เช่น ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร เติบโตตามจำนวนนักท่องเที่ยว นโยบายเที่ยวเมืองรอง และกระแสการท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมไทย สาขาสุขภาพ เติบโตตามกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่วนขายส่งและปลีก จะเติบโตตามการขยายของการค้าขายออนไลน์ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เติบโตตามการลงทุนภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
ทั้งนี้มีการค้าที่ยังคงขยายตัวแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน 3 สาขา ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และการศึกษา กับสาขาที่หดตัวอีก 5 สาขา ได้แก่ การก่อสร้าง ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร บริการสุขภาพ กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน และกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
ข่าวที่สาม “โรงแรมอนันตราจัดเซ็ตจิบชารสเลิศถึง30มิ.ย.นี้”
โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ ชวนไปสัมผัสกับสุนทรียรสแห่งการจิบน้ำชายามบ่าย ภายใต้บรรยากาศกลิ่นหอมและความรื่นรมย์จากมวลบุปผชาติ เพลิดเพลินกับขนมและของหวานที่รังสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะช่วงซัมเมอร์นี้ ณ เดอะ ล็อบบี้ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2561 เท่านั้น • น้ำชายามบ่าย ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ราคา 850 บาท ++ ต่อเซ็ต รวม 1 เครื่องดื่ม (ชาหรือกาแฟ) • บุฟเฟ่ต์น้ำชายามบ่าย ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ราคา 950 บาท++ ต่อท่าน รวม 2 เครื่องดื่ม (ชาหรือกาแฟ) *ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าบริการ
เชฟลอเรนท์ ดัฟโฟต์ (Laurent Duffaut) หัวหน้าพ่อครัวเพสทรีเชฟ ได้รังสรรค์เมนูขนมหวาน รสชาติละมุนลิ้น ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดีกับบรรยากาศของซัมเมอร์นี้ บรรจงรังสรรค์ด้วยแรงบันดาลใจจากหมู่มวลดอกไม้นานาพรรณ ที่นอกจากจะมีความงดงามตามธรรมชาติแล้ว ยังมีสรรพคุณสมุนไพรและมีประโยชน์ต่อสุขภาพนานับประการ จิบคู่กับชาสัญชาติฝรั่งเศส มาคิยาจ แฟรส์ (MARIAGE FRÈRES) ซึ่งเป็นชาที่ได้ชื่อว่าเป็นชาอันดับ 1 ของโลก โดยมีชาที่ปรุงพิเศษแสดงถึงเอกลักษณ์ของไทย 3 รส คือ Eléphant Blanc เอลเลฟอง บลองค์ (ช้างเผือก) Lune Rouge ลูนรูจ (พระจันทร์สีแดง) และ Temple De L’aube ตอปล์ เดอ โลบ (วัดอรุณ) ซึ่งมีเสิร์ฟเฉพาะที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพ เท่านั้น
เมนูขนมแนะนำ อาทิ
• พานาคอตต้ากระเจี๊ยบ ขนมหวานเย็นฉ่ำ เนื้อนุ่ม ตัดด้วยรสเปรี้ยวจากซอสเสาวรสและเจลลี่กระเจี๊ยบแดงที่มีสรรพคุณในการช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงธาตุ และบำรุงกำลัง เป็นต้น
•ซูพรีมมูสดอกอัญชัน มูสดอกอัญชันสีเทอร์ควอยซ์ ที่สกัดจากดอกอัญชันสดอันเต็มไปด้วยสรรพคุณมากมาย อาทิ มีส่วนช่วยในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยในการชะลอริ้วรอยแห่งวัย ช่วยรักษาอาการผมร่วง และช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำเงางาม
•เจลลี่กับครีมเก๊กฮวย เจลลี่และครีมสีเหลืองสวยตามธรรมชาติจากดอกเก๊กฮวย เนื้อสัมผัสละมุนลิ้น ซึ่งดอกเก๊กฮวยนี้ นอกจากจะมีกลิ่นหอมและรสชาติหวานแล้ว ยังมีประโยชน์ในการช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับลม ช่วยแก้อาการหวัด ช่วยแก้อาการร้อนใน และยังช่วยเพิ่มความสดชื่น
ข่าวที่สี่ “เปิดใช้ได้เลยอีบุ๊คแอปพลิเคชัน-เที่ยวล่าสุด”
นายฤทธิกุล จ๋อมแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ สำนักพิมพ์ทิงค์เน็ต กล่าวว่าได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หนังสือ คู่มือท่องเที่ยวที่มีชื่อว่า “เที่ยวล่าสุด” ออกมาในรูปแบบ INTERACTIVE eBook ผนึกกำลัง “เมพ” (MEB) ผู้พัฒนาระบบอีบุ๊คแอปพลิเคชัน (eBook Application) เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของนักเดินทางในปัจจุบันหันมาใช้งานอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดดูแผนที่เส้นทางแบบเรียลไทม์ การเสิร์ชหาข้อมูล รูปภาพต่าง ๆ ตลอดจนการแปลภาษาเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น โดยมีข้อมูลสำคัญที่นักท่องเที่ยวควรรู้ก่อนออกเดินทางที่มาพร้อมกับ 8 ฟีเจอร์สุดล้ำที่จะเป็นประโยชน์ กับนักเดินทางไม่ว่าจะเป็น “Link Page” ที่ทำให้การเลือกเนื้อหาสะดวกรว ดเร็วด้วยการเชื่อมไปยังข้อมู ลในหน้าต่าง ๆ ได้ทันที ดังนี้
“Scrolling Text” เลื่อนขึ้นและลง ช่วยให้เข้าถึงเนื้อหาได้อย่างล ะเอียด
“Gallery Slide” การเลื่อนดูภาพได้หลากหลายมุมมอ ง
“Tap to Sound” ช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นด้วยเ สียงบทสนทนาจากเจ้าของภาษา “URL” ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ของแต่ละ สถานที่ได้อย่างรวดเร็ว
“Google Map” เชื่อมต่อไปยังพิกัดจริงบนกูเกิ้ลแมพทันทีโดยไม่ต้องเสิร์ชหา
“Pop-up Map (Offline)” ดูภาพแผนที่ของสถานที่ที่สนใจ สามารถใช้งานได้แม้ไม่มีอินเทอร์ เน็ต
“Tap for More Info” ดูรายละเอียดและข้อมูลที่สำคัญข องสถานที่นั้น ๆ
ทั้งหมดจะช่วยสร้างประสบการ ณ์และเพิ่มสีสันในการอ่านไกด์บุ๊คท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ซึ่งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของนักเดิ นทางและนักอ่านที่ชื่นชอบเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
ติดตามฟังรายการได้เป็นประจำทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz.
เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน ผู้ดำเนินรายการ ทาง สวท.97.0 |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น