ท่องเที่ยว"ถามแบงก์รัฐ/พานิชย์ปลดล็อกเงินกู้จริงหรือ!?? เอกชนพร้อมดับเครื่องชน"ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย"ทำแน่พ.ค.นี้ ผู้นำแบงก์ชาติยันใช้ 4 มาตรการพยุงธุรกิจ SMEs ทั่วไทย
ท่องเที่ยว"ถามแบงก์รัฐ/พานิชย์ ปลดล็อกเงินกู้จริงหรือ!??
เอกชนพร้อมดับเครื่องชน"ไม่มี- ไม่หนี-ไม่จ่าย"ทำแน่พ.ค.นี้
ผู้นำแบงก์ชาติยันใช้ 4 มาตรการพยุงธุรกิจ SMEs ทั่วไทย
การหยุดชะงักของกิ จกรรมทางเศรษฐกิจ และความผันผวนที่สูงขึ้ นมากในตลาดการเงินโลก ส่งผลต่อเนื่องมายังตลาดการเงิ นไทย ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนบางส่วนได้ เทขายตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนซึ่งเป็นช่ องทางการออมที่สำคั ญของประชาชนและการระดมทุ นของภาคธุรกิจ ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 20 ของ GDP
เอกชนพร้อมดับเครื่องชน"ไม่มี-
ผู้นำแบงก์ชาติยันใช้ 4 มาตรการพยุงธุรกิจ SMEs ทั่วไทย
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามสนเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์ FM97 #แบงก์ปลดล็อกเงินกู้จริงหรือ #ท่องเที่ยวดับเครื่องชนไม่มี ไม่หนีไม่จ่าย #แบงก์ชาติยันใช้4มาตรการช่ วยSMEs
นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ทันที่รัฐบาลประกาศมติคณะรั ฐมนตรี วันที่ 7 เมษายน 2563 และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงใช้วงเงินรวม 9 แสนล้านบาท เข้ามาบริหารจัดการช่วยเหลื อเศรษฐกิจของประเทศ นั้น ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ ยวรอฟังข่าวดีจากรัฐบาลทีส่ งจดหมายตรงถึงนายกรัฐมนตรีและรั ฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ ยวและกีฬา เพื่อขอให้มีมติ ครม.ช่วยปลดล็อก 2 เรื่องหลัก ได้แก่
🍎 ปลดล็อกแรก ให้"อุตสาหกรรมท่องเที่ยว" เข้าข่ายเป็น "เหตุสุดวิสัย" เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างเข้ าเงื่อนไขที่จะได้รับเงินเยี ยวยา ตามมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะการจ้างงานตามมาตรา 97/1
แต่วันนี้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ ยวก็ยังไม่ได้ยินข่าวดีใด ๆ
🍎 ปลดล็อกที่ 2 ขอให้ประกาศสั่งแบงก์รั ฐและแบงก์พานิชย์ ที่จะปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่ ดอกเบี้ยต่ำ(Soft Loan) ให้ยกเลิกเงื่อไขกับSMEs เรื่องการต้องแสดงบัญชี ผลการดำเนินงานเป็นบวกย้อนหลัง 3 ปี และเอกสารที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ เพราะเหตุการณ์การระบาดของฌควิ ด-19 ครั้งนี้ เป็นเรื่องสร้างผลกระทบเกิ ดความเสียหายเหนือความคาหมาย เพราะถ้ารัฐบาลไม่ประกาศหรือมี คำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแบงก์ ทั้งหลายก็จะไม่ทำ แล้ว SMEs ท่องเที่ยวที่จะกู้รายละไม่เกิน 100 ล้านบาท ก็ไม่สามารถกู้ได้จริง ปัญหาต่าง ๆ ก็จะวนกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่ งใหม่
วันนี้ 7 เมษายน 2563 ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงยังไม่ได้รับข่าวดีใด ๆ แต่จะทดลองรอดูมาตรการของแบงก์ ชาติ ว่าจะนำไปสู่การทำให้แบงก์รั ฐและแบงก์พานิชย์ สามารถปล่อยกู้ได้จริงหรือไม่ ภายในเดือนเมษายน 2563 นี้
เมื่อถึงทางตัน "อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเอกชน" ทั้ง 13 สาขาวิชาชีพ อาจต้องใช้ มาตรการขั้นสุดท้าย นั่นคือ "ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย" หนี้แบงก์ทั้งหมด เพราะไม่มีรายได้เข้า มีแต่รายจ่ายออก และไม่มีเงินในกระเป๋าเพี ยงพอจะจ่ายลูกจ้าง จึงจำเป็นจะไม่จ่ายหนี้แบงก์ เพื่อนำเงินมาบริหารจัดการเลี้ ยงลูกจ้างไปพลาง ๆ
แนวโน้มผู้ประกอบการท่องเที่ ยวทั้งอุตสาหกรรมอาจจะอยู่ได้ มากสุดไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2563 นี้
🌏🌏แบงก์ชาติยันใช้ 4 มาตรการพยุง SMEsทั่วไทย 🌏🌏
🍎 ขณะที่ "นายวิรไท สันติประภพ" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) "แบงก์ชาติ" เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ว่า ธปท. กับกระทรวงการคลังได้ทำงานร่ วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อออกมาตรการช่ วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โรคโควิด 19) ต่อประชาชนและภาคธุรกิจมาต่อเนื่ อง แต่การแพร่ระบาดมีแนวโน้มรุ นแรงและยาวนานกว่าคาด จึงมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่ วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีความสำคั ญต่อเศรษฐกิจไทยและเป็นแหล่ งการจ้างงานหลักของประเทศ ให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพี ยงพอเพื่อดำเนินธุรกิจและรั กษาการจ้างงานต่อไปได้ รวมทั้งต้องมีมาตรการเพื่อดู แลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชน เพื่อรักษาช่องทางการระดมทุ นของภาคเอกชนและรักษาเสถี ยรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงิ นของประเทศ โดยมาตรการในครั้งนี้จะประกอบด้ วย 4 ส่วนที่สำคัญ
🍎 มาตรการที่ 1 : การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สำหรั บธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้ SMEs มีสภาพคล่อง
ธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อกั บธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิ นเฉพาะกิจ (ธนาคาร) แต่ละแห่งไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้รับสิทธิ์เป็นการทั่วไป ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้ นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ไม่ถือว่ าเสียประวัติข้อมูลเครดิต
ธปท. หวังว่ามาตรการนี้จะช่ วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกั บผู้ประกอบการ SMEs ทำให้ SMEs มีเงินสดในมือเพื่อรองรับรายจ่ ายจำเป็น โดยเฉพาะค่าจ้างพนักงาน นอกจากนั้น ธปท. คาดหวังว่าในช่วง 6 เดือนนี้ ธนาคารจะต้องทำงานร่วมกับลูกหนี้ อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับโครงสร้ างหนี้ ปรับแผนการผ่อนชำระหนี้ให้ สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และช่วยจัดโครงสร้างทางการเงิ นที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกหนี้
ส่วนธุรกิจ SMEs ที่ไม่ได้ประสบกับปัญหาสภาพคล่ องในช่วงนี้ ธปท. แนะนำว่าควรชำระหนี้ตามปกติหรื อตามความสามารถ เพราะมาตรการนี้เป็นเพียงการเลื่ อนกำหนดวันชำระหนี้เท่านั้น ธนาคารยังคงคิดดอกเบี้ยอยู่ และที่สำคัญ การชำระหนี้ตามปกติจะช่วยให้ ธนาคารมีสภาพคล่องที่จะไปดูแลธุ รกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิ กฤตการณ์โควิด 19 ได้มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) เข้าไปช่วยเหลือสภาพคล่องให้ลู กหนี้ได้อย่างเต็มที่ ธปท. จึงได้ผ่อนปรนเกณฑ์การบริ หารสภาพคล่องชั่วคราว
🍎 มาตรการที่ 2 : การสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) ให้แก่ธุรกิจ SMEs วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษร้ อยละ 2 ต่อปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก
ธปท. จัดสรร soft loan อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ให้ธนาคารวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารนำไปให้สินเชื่ อแก่ธุรกิจ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและ มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารแต่ ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท และมีสถานะผ่อนชำระปกติ หรือ ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มาตรการนี้ไม่ครอบคลุมถึงบริษั ทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (SET และ MAI) โดยวงเงินที่ SMEs แต่ละรายสามารถขอกู้ได้จะไม่เกิ นร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สำหรับ SMEs ที่สนใจ สามารถขอสินเชื่อได้ที่ธนาคารที่ ท่านเป็นลูกค้าและมีวงเงินสิ นเชื่ออยู่
ในช่วง 2 ปีแรก ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยผ่ อนปรนพิเศษร้อยละ 2 ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ ยแทนลูกหนี้ ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่มีค่าใช้จ่ ายด้านดอกเบี้ย และเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารเร่ งปล่อยสินเชื่อใหม่ในภาวะที่ สถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลั งจะชดเชยความเสียหายบางส่วนให้ แก่ธนาคารในส่วนที่ปล่อยกู้เพิ่ มเติมด้วย กรณีที่หนี้กลายเป็นหนี้เสียเมื่ อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้ ไม่เกินร้อยละ 70 ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรั บลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่ เกิน 50 ล้านบาท และชดเชยให้ไม่เกินร้อยละ 60 ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรั บลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อ 50-500 ล้านบาท
🍎 มาตรการที่ 3 : มาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อดู แลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชน
การหยุดชะงักของกิ
ทั้งนี้ หากกลไกตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่ นในการลงทุน การระดมทุนหรือต่ออายุหนี้ (rollover) ของธุรกิจจะทำได้ยาก แม้ธุรกิจที่มั่นคงก็อาจจะไม่ สามารถระดมทุนได้ หรือต้องระดมทุนด้วยต้นทุนที่สู งขึ้นมาก จึงมีความเสี่ยงที่ปั ญหาการขาดสภาพคล่องจะลุ กลามในวงกว้าง เป็นปัญหาเชิงระบบตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ ออมเงินผ่านตัวกลางต่าง ๆ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคมด้วย
เพื่อดูแลเสถี ยรภาพของตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนและกลไกของตลาดการเงิ นให้ทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ธปท. และกระทรวงการคลังจึงเห็นควรจั ดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่ องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่ วคราว (bridge financing) สำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มี ตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563–2564 ทั้งนี้ บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลื อจากกองทุนฯ จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สู งกว่าอัตราตลาด ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่ งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรื อการเพิ่มทุน ต้องมีแผนการจัดหาทุ นในระยะยาวที่ชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกั บกองทุนกำหนด ทั้งนี้ หากผู้ออกตราสารหนี้ เสนอขายตราสารหนี้ต่อนักลงทุนทั่ วไปและมีการให้หลักประกันแก่ผู้ ถือ ตราสารหนี้ที่กองทุน BFS จะลงทุนในคราวเดียวกันต้องมีหลั กประกันไม่ด้อยกว่าหลักประกันที่ ให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้อื่น
🍎 มาตรการที่ 4 : ลดเงินนำส่ง FIDF ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (สถาบันการเงิน) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ ของภาคธุรกิจและประชาชน
ธปท. ปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุ นฟื้นฟูฯ (Financial Institutions Development Fund: FIDF) จากเดิมอัตราร้อยละ 0.46 เหลือร้อยละ 0.23 ของฐานเงินฝาก เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินไปปรั บลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่ มเติมให้กับประชาชนและภาคธุรกิ จในทันที
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ ธปท. สามารถดำเนินมาตรการช่วยเหลือ SMEs และดูแลเสถี ยรภาพของตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนข้างต้นได้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็ นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) สองฉบับ ได้แก่
1. ร่าง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงิ นแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และ
2. ร่าง พ.ร.ก. การสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดู แลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชน
ธปท. ขอเรียนว่า พ.ร.ก. ทั้งสองฉบับนี้ให้อำนาจ ธปท. บริหารจัดการสภาพคล่องและปริ มาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้ตรงกลุ่ มเป้าหมายที่ได้รั บผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19 และมีกลไกที่รัฐบาลจะช่วยรั บภาระชดเชยความเสียหายที่อาจเกิ ดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกที่จำเป็นในภาวะที่ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสู งและอาจจะยืดเยื้อ พ.ร.ก. ทั้งสองฉบับนี้ จะช่วยให้ ธปท. มีเครื่องมือเพิ่มขึ้นสำหรับช่ วยเหลือธุรกิจ SMEs และมีเครื่องมือที่พร้อมใช้ดู แลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนได้อย่างทันการณ์
ธปท. เชื่อมั่นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มาตรการสนับสนุนให้สถาบั นการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ให้ลูกหนี้ มาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้สำหรั บลูกหนี้รายย่อย รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมในครั้ งนี้จะช่วยดูแลประชาชน ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งช่วยรักษาเสถี ยรภาพของตลาดตราสารหนี้ ภาคเอกชนและระบบการเงิ นของประเทศให้ทำงานได้ต่อเนื่อง ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิ ดและพร้อมจะมีมาตรการเพิ่มเติ มหากจำเป็น
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น