TCEBปลุกไมซ์ทั่วไทยสร้างเชื่อมั่นเฟสแรก 2 โปรเจ็กต์
แจกงบเตรียมสถานที่ประชุมปลอดโควิด-ไมซ์ออนไลน์
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน -บล็อกเกอร์ : gurutourza www.facebook.com/penroongyaisamsaen
อ่านได้ในมติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/publicize/news_2140859
อ่านได้ในมติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/publicize/news_2140859
TCEB
ขานรับนโยบายรัฐบาล ลุยส่งเสริมผู้ประกอบการไมซ์ทั่วประเทศเตรียมความพร้อมสร้างเชื่อมั่นตลาด
ชิมลางใช้เงิน 6.48
ล้านบาท เดินหน้าเฟสแรก 2 โปรเจ็กต์ หนุน “จัดประชุมอย่างไรให้ปลอดภัย COVID-19” แจกงบ
216
แห่ง ๆ ละ 3 หมื่นบาท
ควบโปรเจ็กต์ออนไลน์ “Virtual Meeting Space : VMS” เทรนด์ประชุม สัมมนา ไลฟ์สตรีมมิ่ง ครบวงจร ชวนผู้ประกอบการและกลุ่มสัมนาเลือกเข้าร่วมได้ถึง
3 กิจกรรม “Webinar-Offline to Online- E-Learning Platform” พร้อมเปิดรับสมัคร 250 ราย อบรมฟรีไฮเทคโนโลยี 6 หลักสูตร 6 เดือน พ.ค.-ต.ค.นี้
นายจิรุตถ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า ได้จัดทำโครงการเพื่อช่วยภาคอุตสาหกรรมไมซ์ในช่วงที่ทั้งประเทศได้รับผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หันมาร่วมมือกันเตรียมความพร้อมไว้รองรับสถานการณ์เมื่อทุกอย่างคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ
โดยได้เน้นเสริมมาตรการของรัฐบาลเกี่ยวกับเตรียมความพร้อมมาตรฐานสถานที่จัดงานและผู้ประกอบการไมซ์หลัก
ๆ คือ การสร้างมาตรฐานความปลอดภัย
และการจัดงานไมซ์โดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์ ระยะแรกรวม 2
โครงการ ประกอบด้วย
โครงการแรก
“จัดประชุมอย่างไร ปลอดภัยไร้ COVID-19” ทางทีเส็บได้จัดงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 6,480,000
บาท ระยะเวลา 3 เดือน
ระหว่างเมษายน-มิถุนายน 2563 เพื่อให้การสนับสนุนสถานประกอบการไมซ์รายละ
30,000 บาท ตั้งเป้าจะช่วยเหลือทั่วประเทศให้ได้ 216 แห่ง
นำเงินไปจัดทำแผน จัดหาอุปกรณ์ตามมาตรการคัดกรองและป้องกันไวรัสโควิด-19 เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขด้านการควบคุมและป้องกันไวรัสโควิด-19 สร้างความมั่นใจให้สถานที่จัดงานของไทยมีมาตรฐานที่ดี
เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าร่วมงาน
การตรวจประวัติของผู้ที่เข้ามาร่วมงาน การติดตั้งจุดล้างมือ จุดบริการแอลกอฮอล์
และการเว้นระยะห่างทางสังคม
ส่วน
“คุณสมบัติ” ของ “ผู้ประกอบการ” ที่จะยื่นของบโครงการจัดประชุมอย่างไรให้ปลอดภัยไร้
COVID-19 จะต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1.เป็นสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย
หรือ Thailand MICE Venue Standard (TMVS) หรือ 2.เป็นผู้ประกอบการโรงแรมซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย
(Thai Hotel Association : THA) สอบถามรายละเอียดและลงทะเบียนขอรับการสนับสนุนได้ที่
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ทีเส็บ อีเมล MICEstandards@gmail.com
โครงการที่สอง
“Virtual Meeting Space หรือ VMS” ทีเส็บมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ส่งเสริมการจัดงาน
และเพิ่มทักษะความรู้ผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 จะเริ่มสนับสนุนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
2563 เป็นต้นไป สอบถามได้ที่ ฝ่าย MICE
Intelligence และนวัตกรรม ทีเส็บ อีเมล vms@tceb.or.th
โดยมีให้เลือก 3 กิจกรรม
คือ
กิจกรรมแรก Webinar หรือ
จัดการประชุมสัมมนาเสมือนจริงผ่านออนไลน์ ทีเส็บพร้อมสนับสนุนการจัดหาและบริหารจัดการแพลทฟอร์มออนไลน์แก่ผู้จัดงานและผู้ประกอบการไมซ์
ซึ่งสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละงานผ่านออนไลน์ได้ตั้งแต่ระดับหลัก 10 คน
ไปจนถึงสูงสุด 10,000 คน โดยทีเส็บจะเข้าไปช่วยด้านบริหารจัดการ
การผลิต และจัดเตรียมสตูดิโอเพื่อไลฟ์ (LIVE) เตรียมผู้ประสานงานทางเทคนิค
ช่วยดูแลระบบระหว่างการไลฟ์ (LIVE) ซึ่งผู้จัดงานสามารถทำทุกอย่างพร้อม ๆ
กันได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งประชุม สัมมนา นำเสนอสไลด์ดิจิทัล (Slide
Presentation) ขึ้นจอโชว์ เพื่อแชร์ประสบการณ์
การพูดคุยร่วมกับวิทยากร การสอบถามด้วยวิธียกมือแสดงความคิดเห็น เรื่อยไปจนถึงการทำโพลแบบสำรวจ
กิจกรรมที่สอง O2O หรือ Offline to Online เป็นวิธีการจัดงานแสดงสินค้าผ่านออนไลน์
ทางทีเส็บจะให้การสนับสนุนจัดหาและบริหารจัดการแพลทฟอร์มออนไลน์ให้แก่ผู้จัดงานแสดงสินค้า
ในการถ่ายทอดสดผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งทั้งจากสตูดิโอหรือสถานที่ของผู้จัดงาน ร่วมวางคิว
ผลิต ควบคุม และดูแลระบบระหว่างการถ่ายทอดสดผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง
จัดเตรียมผู้ประสานงานทางเทคนิคทุกขั้นตอนให้แก่ผู้จัดงานแสดงสินค้า ซึ่งผู้ร่วมแสดงสินค้าจะสามารถนำเสนอกิจกรรมและสินค้าบริการต่างๆ
พร้อมการชำระเงินออนไลน์เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจได้อีกด้วย
กิจกรรมที่สาม E-Learning
Platform หรือศูนย์การเรียนรู้คอร์สฝึกอบรมออนไลน์ ให้ผู้ประกอบการไมซ์ที่สนใจ
สมัครเข้าอบอรม 250 ราย
เพื่อเพิ่มทักษะและทบทวนความรู้ (Upskills and Reskills) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ทำงานได้ช่วงที่งานได้รับผลกระทบ
สามารถรองรับการทำงานที่ปฏิบัติจริงได้ทันที
และเตรียมความพร้อมปูพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการไมซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเรียนผ่านแพลตฟอร์ม YourNextU
จากสถาบัน Southeast Asia Center หรือ
SEAC รวมทั้งสิ้น 6
หลักสูตร ประกอบด้วย 1. หลักสูตรการบริหารโครงการ (Project
Management) 2. หลักสูตรทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonnel
Skills) 3. หลักสูตรการจัดการ (Management) 4. หลักสูตรการสื่อสาร
(Communication) 5. หลักสูตรความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
และ 6. หลักสูตรการใช้ดิจิตอล (Digital) ระยะเวลาเรียนออนไลน์
6 เดือน ระหว่างพฤษภาคม-ตุลาคม 2563 ทางทีเส็จะมอบประกาศนียบัตรรับรองให้ผู้เข้าเรียนรายวิชาครบตามที่กำหนด
นายจิรุตถ์
กล่าวว่า ทีเส็บพร้อมจัดตั้ง TCEB COVID-19 Information
Center หรือ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร COVID-19 เพื่อเป็นศูนย์กลางการสื่อสารข้อมูลในช่วงภาวะวิกฤต
เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัส
COVID-19 โดยศูนย์ของทีเส็บจะแบ่งการทำงานเป็น
2 ส่วน คือ
1.ส่วนข้อมูล
ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
วิเคราะห์ ตรวจสอบ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะ
2.ส่วนประชาสัมพันธ์
จะคอยติดตามสถานการณ์ข่าวสารภาพรวมอย่างเร่งด่วน
และพัฒนาเนื้อหาและสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลอย่างถูกต้องผ่านทุกช่องทางทันท่วงที
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการไมซ์
ตามแนวทางปฏิบัติของสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น