EP.2 การบินไทย
ส่อง“หนี้”การบินไทย4แบงก์รัฐ&บริษัทในเครือ
อึ้ง!!กรุงไทย-อิสลามแบงก์-ไทยสไมล์-วิงสแปน
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ส่องหนี้การบินไทย4แบงก์รัฐ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้บันทึกรายงานประจำปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เกี่ยวกับรายการทางการเงินที่สำคัญระหว่างกัน ระหว่างการบินไทยกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และนิติบุคคล/บริษัท ที่การบินไทยเข้าไปถือหุ้น ซึ่งมีหลายรายการมีนัยสำคัญ ไล่เรียงลำดับได้ดังนี้
1.กระทรวงการคลังกู้เงิน จากสถาบันการเงิน ต่างประเทศให้การบินไทยกู้ต่อ เป็นเงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาวคงค้าง 11,977.44 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 310.92 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 128.54 ล้านบาท
2.ทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย หลัก ๆ คือ 2.1.เงินกู้ยืมระยะสั้น ประเภทเงินทุนหมุนเวียน มียอดคงค้าง 3,500 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 12.11 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 5.26 ล้านบาท 2.2.ขายหุ้นกู้ให้ธนาคารกรุงไทย มูลค่าหุ้นกู้ 750 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 10.60 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 3.38 ล้านบาท
3.ทำสัญญากับธนาคารเพื่อการ ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ทำสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว โดยมียอดเงินคงค้าง 437.31 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 11.41 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 0.02 ล้านบาท
4.ทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กู้ยืมระยะยาว มียอดเงินคงค้าง 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 64.84 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 5.14 ล้านบาท
ส่วนการทำรายการใช้จ่ายเงินระหว่างกัน ของ "การบินไทยกับบริษัทย่อยที่ถือหุ้น" ก็มีหลายรายการ ที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก คือ
1.การบินไทยซื้อ Block Space จาก บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด มีค่าใช้จ่ายรวม 7,011.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,970.45 ล้านบาท จากปี 2561 มีค่าใช้จ่ายกัน 5,041.45 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน “การบินไทย” ก็มีรายได้จาก “ไทยสมายล์” รวม 9,328.93 ล้านบาท เป็นค่าบริการ เช่าเครื่องบิน การบริการภาคพื้นดิน ลานจอดสนามบิน ค่าเบี้ยประกันเครื่องบิน บัตรผ่านขึ้นเครื่องบิน ฝึกนักบินใช้เครื่องบิน อาหารขึ้นเครื่องบิน แต่มียอดลูกหนี้คงค้าง 5,486.27 ล้านบาท
2.การบินไทยจ้างเหมาพนักงานจาก บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด มียอดค่าใช้จ่ายรวม 1,119.93 ล้านบาท ยอดเจ้าหนี้คงค้าง 298.79 ล้านบาท ค่าแรงจ่ายล่วงหน้า 238.86 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นบริษัทย่อยของการบินไทยถือหุ้นใหญ่ 49 % มีนางสุวิมล บัวเลิศ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล นั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทดังกล่าว
3.การบินไทยมียอดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระค่าน้ำมัน ให้บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 362.57 ล้านบาท ซึ่งบริษัทนี้การบินไทยถือหุ้นร่วมอยู่ด้วย 22.29 % โดยส่ง นาวาอากาศตรีสรเดช นามเรืองศรี เข้าไปเป็นกรรมการ
4.การบินไทยมียอดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระ ให้ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นค่าใช้จ่ายรวม 1,388.29 ล้านบาท มียอดเจ้าหนี้คงค้าง 115.32 ล้านบาท
“การบินไทย” วัย 60 ปี ที่เคยสง่างาม วันนี้ต้องยอมรับสภาพหันหน้าพึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย เพื่อก้มหน้าเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ นับจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ภาระหนี้ที่ส่องพบข้างต้นแม้จะถอดมาให้สังคมเห็นความจริงเป็นบางส่วนเท่านั้น ทว่ามีนัยสำคัญเมื่อ 4 ธนาคารที่รัฐถือหุ้น และนิติบุคคลที่การบินไทยถือหุ้น ถูกนำเข้ามาใช้ข้องเกี่ยวภายใต้กลไกการใช้เงินจากกระเป๋าซ้ายย้ายสู่กระเป๋าขวาหรือไม่ จึงกลายเป็นเกิดคลื่นความเสียหายขนาดใหญ่ทันทีที่สายการบินแห่งชาติล้มละลาย !?
อึ้ง!!กรุงไทย-อิสลามแบงก์-ไทยสไมล์-วิงสแปน
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ส่องหนี้การบินไทย4แบงก์รัฐ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้บันทึกรายงานประจำปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เกี่ยวกับรายการทางการเงินที่สำคัญระหว่างกัน ระหว่างการบินไทยกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และนิติบุคคล/บริษัท ที่การบินไทยเข้าไปถือหุ้น ซึ่งมีหลายรายการมีนัยสำคัญ ไล่เรียงลำดับได้ดังนี้
1.กระทรวงการคลังกู้เงิน จากสถาบันการเงิน ต่างประเทศให้การบินไทยกู้ต่อ เป็นเงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาวคงค้าง 11,977.44 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 310.92 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 128.54 ล้านบาท
2.ทำสัญญากับธนาคารกรุงไทย หลัก ๆ คือ 2.1.เงินกู้ยืมระยะสั้น ประเภทเงินทุนหมุนเวียน มียอดคงค้าง 3,500 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 12.11 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 5.26 ล้านบาท 2.2.ขายหุ้นกู้ให้ธนาคารกรุงไทย มูลค่าหุ้นกู้ 750 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 10.60 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 3.38 ล้านบาท
3.ทำสัญญากับธนาคารเพื่อการ ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ทำสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาว โดยมียอดเงินคงค้าง 437.31 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 11.41 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 0.02 ล้านบาท
4.ทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กู้ยืมระยะยาว มียอดเงินคงค้าง 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 64.84 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 5.14 ล้านบาท
ส่วนการทำรายการใช้จ่ายเงินระหว่างกัน ของ "การบินไทยกับบริษัทย่อยที่ถือหุ้น" ก็มีหลายรายการ ที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก คือ
1.การบินไทยซื้อ Block Space จาก บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด มีค่าใช้จ่ายรวม 7,011.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,970.45 ล้านบาท จากปี 2561 มีค่าใช้จ่ายกัน 5,041.45 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน “การบินไทย” ก็มีรายได้จาก “ไทยสมายล์” รวม 9,328.93 ล้านบาท เป็นค่าบริการ เช่าเครื่องบิน การบริการภาคพื้นดิน ลานจอดสนามบิน ค่าเบี้ยประกันเครื่องบิน บัตรผ่านขึ้นเครื่องบิน ฝึกนักบินใช้เครื่องบิน อาหารขึ้นเครื่องบิน แต่มียอดลูกหนี้คงค้าง 5,486.27 ล้านบาท
2.การบินไทยจ้างเหมาพนักงานจาก บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด มียอดค่าใช้จ่ายรวม 1,119.93 ล้านบาท ยอดเจ้าหนี้คงค้าง 298.79 ล้านบาท ค่าแรงจ่ายล่วงหน้า 238.86 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นบริษัทย่อยของการบินไทยถือหุ้นใหญ่ 49 % มีนางสุวิมล บัวเลิศ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล นั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทดังกล่าว
3.การบินไทยมียอดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระค่าน้ำมัน ให้บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 362.57 ล้านบาท ซึ่งบริษัทนี้การบินไทยถือหุ้นร่วมอยู่ด้วย 22.29 % โดยส่ง นาวาอากาศตรีสรเดช นามเรืองศรี เข้าไปเป็นกรรมการ
4.การบินไทยมียอดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระ ให้ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นค่าใช้จ่ายรวม 1,388.29 ล้านบาท มียอดเจ้าหนี้คงค้าง 115.32 ล้านบาท
“การบินไทย” วัย 60 ปี ที่เคยสง่างาม วันนี้ต้องยอมรับสภาพหันหน้าพึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย เพื่อก้มหน้าเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ นับจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ภาระหนี้ที่ส่องพบข้างต้นแม้จะถอดมาให้สังคมเห็นความจริงเป็นบางส่วนเท่านั้น ทว่ามีนัยสำคัญเมื่อ 4 ธนาคารที่รัฐถือหุ้น และนิติบุคคลที่การบินไทยถือหุ้น ถูกนำเข้ามาใช้ข้องเกี่ยวภายใต้กลไกการใช้เงินจากกระเป๋าซ้ายย้ายสู่กระเป๋าขวาหรือไม่ จึงกลายเป็นเกิดคลื่นความเสียหายขนาดใหญ่ทันทีที่สายการบินแห่งชาติล้มละลาย !?
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น