TCEBผนึกพันธมิตรผุดคู่มือไมซ์เวนิวไฮยีนไกด์ไลน์ส
ปลุกโรงแรม-ห้องประชุมพร้อมลุยหลังปลดล็อกดาวน์
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TCEBMiceVenueHygieneGuidelines
TCEB ผนึกพันธมิตร
ผุด “MICE Venue Hygiene Guidelines” คู่มือปฏิบัติด้านสุขภาพอนามัยด้านอุตสาหกรรมไมซ์
ให้โรงแรมและสถานจัดงานทั่วไทยดาวโหลด เพื่อเตรียมความพร้อมลุยตลาดรอรับนโยบายเปิดล็อกดาวน์ธุรกิจจัดประชุมในประเทศ
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
นายจิรุตถ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่าตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม
2563 เป็นต้นไป
ทีเส็บและพันธมิตรอย่างสมาคมโรงแรมไทย ร่วมกันจัดทำโครงการ “พัฒนาและจัดทำแนวปฏิบัติด้านสุขอนามัยสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์
(MICE Venue Hygiene Guidelines) สถานที่จัดงาน
ผู้จัดงานประชุม นิทรรศการ และงานอีเวนต์”
เป็นแผนงานตามนโยบายของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งได้ให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักเกณฑ์มาตรการและแนวทางการเตรียมความพร้อมเปิดกิจการหรือการจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและกีฬา
เป็นศูนย์กลางควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
โครงการดังกล่าวทำขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) และโรคติดต่ออื่นๆ
เพื่อให้ผู้ประกอบการไมซ์ภายในประเทศทั่วทุกภูมิภาคได้ศึกษาทำความเข้าใจ
เตรียมความพร้อมในการกลับมาจัดงานไมซ์อีกครั้ง
หากได้รับการผ่อนปรนให้ดำเนินกิจการได้ตามพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
โดยยังคงมาตรการความเข้มงวดในการดูแลความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้ร่วมงานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
โดยเน้น 5 มาตรการหลัก ดังนี้
1.จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ (จำนวน 1
คนต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร)
2.ตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย (ต้องมีระบบดูแล
ส่งต่อ และติดตามผู้ป่วย เช่น การใช้ Application)
3.การเว้นระยะห่างในสถานประกอบการ เช่น
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม บันไดเลื่อน ห้องน้ำ ห้องอาหาร เป็นต้น
4.ระบบติดตามผู้ใช้บริการ (Tracking
system) กรณีผู้ใช้บริการป่วย
หลังจากมาใช้บริการในสถานประกอบการ
5.จัดระบบคิว โดยแยกพื้นที่รอก่อนใช้บริการ
แนวปฏิบัติด้านสุขอนามัยสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์
จะครอบคลุมตั้งแต่ ก่อนเริ่มงาน ระหว่างงาน และหลังจบงาน
ส่วนที่
1 แนวทางปฏิบัติก่อนเริ่มงาน
ครอบคลุมการเตรียมความพร้อมของพนักงาน การจัดการเดินทางระหว่างงาน
การจัดตั้งจุดคัดกรอง การจัดทำคู่มือสื่อสารผู้เกี่ยวข้องกับงาน เช่น
การขออนุญาตจัดงาน จำนวนคนที่รวมกลุ่มในการจัดงาน
คำแนะนำและแนวทางในการทำกิจกรรมขนาดใหญ่ การจัดทำคู่มือและวีดีโอคำแนะนำการปฏิบัติตัวด้านสุขอนามัยให้กับผู้เข้าร่วมงาน
การนำส่ง Self-Screening Application หรือเว็บไซต์คัดกรองตนเองให้ผู้ร่วมงานตอบกลับภายใน
24 ชั่วโมงก่อนงานเริ่มทุกครั้ง
ส่วนที่
2 แนวปฏิบัติระหว่างงาน
มุ่งเน้นมาตรการด้านความปลอดภัยสาธารณสุข ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยลดความเสี่ยง
เช่น จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่เพื่อลดจุดสัมผัส
การทำความสะอาดในจุดสัมผัสต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
จุดลงทะเบียนและการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจควรใช้ระบบ QR Code และกระจายให้เพียงพอต่อผู้ร่วมงานเพื่อลดความแออัด
การจัดประชุมสัมมนา จัดแผนผังของห้องให้มีระบบอากาศถ่ายเทสะดวก
จัดที่นั่งเว้นระยะห่างทางกายภาพไม่ต่ำกว่า 2 เมตร วางไมโครโฟนไว้ตามจุดต่างๆ
และจัดเจ้าหน้าที่ดูแลทำความสะอาดทุกครั้งที่มีผู้ใช้งาน
กรณีที่มีวิทยากรเดินทางข้ามจังหวัดหรือข้ามประเทศเข้ามา
ต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้เข้าอบรมด้วยการชี้แจงมาตรการควบคุมป้องกันโรคและการอำนวยความสะดวกให้แก่วิทยากรเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรค
เช่น บริการรถรับส่ง หรือเลือกที่พักใกล้สถานที่จัดประชุม
การจัดนิทรรศการ
ควรนำเทคโนโลยีในการจองคิวล่วงหน้ามาใช้จองรอบเข้าดูนิทรรศการแต่ละบูธเพื่อลดความแออัด
หรือนำเทคโนโลยีการจัดงานเสมือนจริง (Virtual Exhibition) มาใช้งานสร้างประสบการณ์ของผู้ร่วมงานระหว่างรอคิวเข้าชมนิทรรศการ
และสร้างแพลทฟอร์มออนไลน์ (Online Platform) ให้สามารถจองหรือสั่งซื้อสินค้าภายในงานได้ทันที
ส่วนที่
3 แนวปฏิบัติหลังจบงาน
ผู้จัดงานต้องตรวจสอบประกาศคําสั่งและข้อกําหนดที่ได้จากรัฐและศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
เรื่องการจัดทํารายงานผลการจัดงานชี้แจงต่อหน่วยงานที่อนุญาตให้จัดงาน
และจัดระบบการจัดการขยะมูลฝอยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้สามารถดาวน์โหลดคู่มือได้ที่ http://www.micecapabilities.com/mice/uploads/attachments/MICE_Hygiene_Guidelines_(Post_COVID-19).pdf”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น