ททท.ใต้จัดทัพรับNewNormalจ่อขาย6โปรแกรมเด็ด
ลั่นดึงตลาดในประเทศ50ล้านคนช่วยหนุนธุรกิจฐานราก
คิงเพาเวอร์”ผงาดคว้าแชมป์เอเชีย2รางวัลใหญ่แห่งปี’63
“คิงเพาเวอร์”โชว์นวัตกรรมสุดล้ำ“เรียลไทม์ช้อปปิ้ง”รางน้ำ
ททท.ได้แรงหนุน“รมว.พิพัฒน์”ลุยชงเปิดเที่ยวไทย1มิ.ย.63
รมว.พิพัฒน์เปิดททท.ปลุก10ธุรกิจร่วมSHAค่อนประเทศ
บางจากทำสัญญาสยามแก๊สรับฝากยาวน้ำมันดิบน้ำมันใส
TCEBผลิตสื่อยูทูบ“หัวใจไทย
ภูมิใจช่วยชาติ”ปลุกไมซ์ไทย
ตะลึง!เปิดแฟ้มการบินไทยเจอขยะใต้พรม10ปี10โครงการ
พัทยา-บางแสน”ติวเข้มมาตรการเซฟตี้เปิดเที่ยวหาด1มิ.ย.
อยุธยานำร่องเปิดวัด-โบราณสถานฟื้นเศรษฐกิจชุมชนปัง
ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทางfacebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen บล็อกเกอร์ #gurutourza #รวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #เที่ยวกับกู๋ #ทททภาคใต้จัดทัพรับNewNormalขาย6โปรแกรมใหม่ #พัทยาบางแสนเปิดหาดแล้ว1มิย
นิธี สีแพร”ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ช่วงที่ 1 “นิธี สีแพร”ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคใต้
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำทัพท่องเที่ยวชีพจร ลงเซาท์ ภาคใต้ 14
จังหวัด
ขานรับปลดล็อกดาวน์เที่ยวไทยช่วง มิถุนายน นี้ พร้อมกอดคอภาคธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิดปลุกคนเดินทาง
50 ล้านคน-ครั้ง
ตั้งเป้าหารายได้เติมเข้าพื้นที่ปี’63 กว่า 10 % กระตุ้น Road trip เที่ยวทางรถ “ส่วนตัว-เวสป้า-สายแว้น”
จัดเต็มแพกเกจต้อนรับตลาด New Normal 6
โปรแกรม“ทัวร์ตามกูรูฟื้นฟูสุขภาพ-ล้างพิษชมธรรมชาติ-เที่ยวกับเชฟกินสมุนไพรต้านภัยโควิด-
บำบัดจิตกับเกจิดัง-ตะลอนทำดีกับฮีโร่แพทย์พยาบาล-เติมพลังเส้นทางสายกรีน”
รอลุ้นโปรเจ็กต์ SAT
ปิดเกาะรับทัวร์เศรษฐีและตลาดคุณภาพสูง
นายนิธี
สีแพร ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ในฐานะที่ภาคใต้
14 จังหวัดเคยเป็นพื้นที่หลักทำรายได้จากท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับต้น
ๆ ของประเทศ ขณะนี้พยายามรณรงค์ผู้คนโดยใช้แคมเปญ “คิดถึง...” ปูพรมไว้แล้ว
เพื่อส่งต่อทันทีเมื่อรัฐบาลประกาศคลายล็อกดาวน์ท่องเที่ยวก็จะนำเข้าสู่
“ไปให้ถึง” ธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ ทะเล ภูเขา เขียวสดใสสวยงาม
พอตอนนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอากาศจะยิ่งเย็นสบาย มีวิถีชุมชน อาหารรสจัดจ้าน
เมนูสดใหม่ และความหลากหลายทางการท่องเที่ยวที่ยังคงครองใจนักเดินทางคนในประเทศ
โดยตั้งเป้าหมายจะพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหารายได้จากการท่องเที่ยวมาให้ได้อีกไม่ต่ำกว่า
10 % จัดกิจกรรมเชิญชวนคนไทยเข้ามาเยี่ยมเยือนภาคใต้อีกสัก
40-50 ล้านคน
แล้วนำเงินเข้ามาเติมเพิ่มให้ได้ 1 ใน 3
ของประเทศ
ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยรวมตลอดปีนี้ทั้งประเทศควรจะช่วยกันทำให้ได้ 1.2 ล้านล้านบาท
ในช่วงโควิดรายได้ท่องเที่ยวหายไปจากภาคใต้ 60-70 % ก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นกำลังซื้อกลับมาในทุกช่องทาง
ตอนนี้มู้ดแอนด์โทนของคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในสถานการณ์
“คิดถึง” แต่ยังไม่สามารถเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้มากนัก
ผนวกกับกำลังเกิดวิถีการเดินทางใหม่หรือ New Normal นักท่องเที่ยวคงจะต้องปรับพฤติกรรมการเดินทางเข้าสู่โหมด
1.การรักษาระยะห่างทางสังคม
: Social Distancing 2.หันมาเดินทางเป็นกลุ่มขนาดเล็ก
ๆ กับคนที่คุ้นเคย 3.ใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่ารถสาธารณะ
ทาง
ททท.ภูมิภาคภาคใต้ จึงจะให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยต้องเร่งช่วยเยียวยา
รวมทั้งระยะนี้ภาคใต้มีข่าวเผยแพร่ออกมาค่อนข้างมากถึงการฟื้นตัวทางธรรมชาติกลับคืนมาสวยงาม
สัตว์ทะเล เพิ่มจำนวนมากขึ้น ช่วงคนต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
ฉนั้นการจะโปรโมตการท่องเที่ยวนับจากนี้เป็นต้นไป จะต้องปรับกลยุทธ์เพิ่มด้วยการ
ปลุกจิตสำนึกให้ท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ผนวกกับเน้นส่งเสริม
“คนใต้เที่ยวภาคใต้” เริ่มจาก เฟสที่ 1 ท่องเที่ยวกันเองภายในจังหวัด เฟส 2 ท่องเที่ยวข้ามจังหวัดในพื้นที่สีเขียวไม่มีโรคระบาด
เฟส 3 ท่องเที่ยวข้ามจังหวัด
เจาะลึกถึง
“ตลาดคุณภาพ” กลุ่มกำลังซื้อหลักภายในประเทศ หลังจากที่เคยพึ่งต่างชาติมาตลอด
แล้วก็ต้องหาแม่เหล็กดึงคนไทยที่เคยท่องเที่ยวต่างประเทศหันมาเที่ยวเมืองไทยให้มาก
ๆ พร้อมกับตอกย้ำเป็นโอกาสดีมากที่จะได้สัมผัสเมืองไทยซึ่งหาไม่ได้อีกแล้ว
มีทั้งราคาโปรโมชั่นต่าง ๆ มากมาย
มองว่าต่อไปนี้คนจะเที่ยวต้องนึกถึงสุขภาพเป็นหลักเป็นการท่องเที่ยวแบบ
Healthy
ผอ.นิธีกล่าวว่า
ขณะนี้วางแผนจัดลำดับที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ทันทีเมื่อรัฐบาลปลดล็อกดาวน์
อันดับแรก ชุมพร และจังหวัดที่ไม่มีผู้ป่วยโควิดเลยอย่าง พังงา ระนอง
หรือจังหวัดที่ปลอดผู้ป่วยแล้วเกินกว่า 14 วัน
อย่างสตูล หรือแม้กระทั่ง นครศรีธรรมราช ก็สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้เช่นกัน
วิธีการออกแบบกิจกรรมเชิญชวนนักท่องเที่ยวเดินทางภายในจังหวัด
จะใช้ความสนใจใหม่ ๆ เข้ามาเชิญชวนคนออกเที่ยว ไฮไลต์หลัก ๆ ได้แก่ 1.เที่ยวตามกูรูฟื้นฟูสุขภาพ
เสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ภาคใต้มีความพร้อมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ โดยพาเที่ยวกับคุณหมอและเทรนเนอร์
2.โปรแกรมล้างพิษ
ซึ่ง ททท.จะร่วมกับโรงแรมนำร่องทำโปรแกรมได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
เพื่อให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางไปชมธรรมชาติ 3.จะจัดโปรแกรม “ท่องเที่ยวกับเชฟ”
พาไปรับประทานอาหารทะเลสด เมนูสมุนไพรต้านโรคโควิด มีร้านอาหารขึ้นชื่อเปิดอยู่ก่อนแล้ว
หร็อย 100 เมนู 4.เที่ยวบำบัดจิตใจกับเกจิดัง พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จีน พุทธ มุสลิม เดินทางสายบุญ หรือจะทำโปรโมชั่นร่วมกับไลลา หรือวัดต่าง ๆ 5.ท่องเที่ยวกับฮีโร่ ไปช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชน
หรือบุคลากรทางการแพทย์ 6.ท่องเที่ยวสายกรีน
ไปตามสถานที่ธรรมชาติต่าง ๆ
สำหรับการเดินทางจะเน้นส่งเสริมการเดินทางขับรถเที่ยว
Road trip มีหลากหลายรูปแบบ
นอกเหนือจากรถยนต์ส่วนตัว ก็จะรณรงค์คาราวานรถเวสป้า บิ๊กไบค์ สายแว้น
หรือขับรถไปแล้วขี่จักรยานต่อ หรือจะไปล่องทะเล ชมสวน หลากหลายกิจกรรม ซึ่งจะค่อย
ๆ ขยายต่อไปเรื่อย ๆ
ส่วนเทรนด์
New Normal ทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม
เพราะต่างฝ่ายต่างกลัวเรื่องการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งเจ้าของพื้นที่และนักท่องเที่ยว
มีหลายชุมชนไม่เปิดให้คนภายนอกเข้าไปเที่ยว
ส่วนนักท่องเที่ยวก็อาจไม่มั่นว่าในพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสหรือไม่
ขณะเดียวกันทางกรมอุทยานแห่งชาติทางทะเลและทางบกก็ให้ความสำคัญอย่างมาก
จึงต้องปรับแนวทางการรับนักท่องเที่ยว โดย 1.ให้เข้าไปจองล่วงหน้าก่อนเดินทางเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยว
เช่น ชุมชน ได้ประชุมกันถึงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
มีหลายพื้นที่จำกัดจำนวนและวัดอุณหภูมิ ทุกฝ่ายยังยึดหลักปฏิบัติไปอีกไม่น้อยกว่า 1
ปี จนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันมาใช้ 2.กรมอุทยานเองก็ต้องนำมาตรการ carrying
capacity มาใช้
เพราะตอนนี้สัตว์ทะเลที่กลับคืนมาอย่าง วาฬ ฉลาม และอื่น ๆ
จะได้อยู่อย่างมีความสุขด้วย
ผอ.นิธีกล่าวถึงเรื่องที่ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
(ศบค.)
เสนอให้เลือกภาคใต้บางโซนจัดทำเป็นพื้นที่ปิดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง
หรือ Seal Area Tourism :SAT นั้นสอดคล้องกับแนวคิดของ
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ
ททท.ซึ่งต้องการให้แต่ละภาคมุ่งเน้นการทำตลาดเชิงรุกกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ
ในช่วงเวลาที่ทุกคนยังห่วงเรื่องความปลอดภัย สุขภาพ โรคติดต่อ
ซึ่งประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นจุดแข็งที่สามารถนำไปใช้ได้
ทางด้านมีทีมแพทย์เชี่ยวชาญที่เข้มแข็ง ผนวกกับการวางระบบบริหารจัดการที่ดี
จะกำหนดพื้นที่เฉพาะที่มีกำลังซื้อสูง พร้อมใช้จ่ายเงินในพื้นที่ปิด
ตัวนักท่องเที่ยวก็ไม่นำโรคเข้าพื้นที่
หรือท้องถิ่นเองก็จะได้ไม่ต้องกลัวนักท่องเที่ยวออกนอกพื้นที่
ขณะนี้
ททท.กำลังมองหาพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการ SAT แต่จะทำภายใต้การยอมรับของคนในพื้นที่นั้น ๆ
ว่าพร้อมจะเข้าร่วมด้วยหรือไม่
เพราะเดี๋ยวนี้มีหลายปัจจัยโดยเฉพาะคนในท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมตัดสินใจว่าอยากได้รายได้จากการท่องเที่ยวหรือไม่
สำหรับหลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่ปิดเพื่อการท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะ
คือ การเข้าถึงได้สะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
พื้นที่ลักษณะเป็นเกาะอย่างสมุย ภูเก็ต
แต่ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเกาะเพียงอย่างเดียว พื้นที่อื่น ๆ หากพร้อมก็สามารถทำได้
โดยจะต้องมีธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สวยงาม และมีการบริหารจัดการพื้นที่
สำคัญสุดต้องมีระบบความปลอดภัยในสุขภาพตามมาตรฐานสากล โครงการนี้จะเป็นแผนระยะยาว
เพราะจะต้องในพื้นที่เองก็จะต้องลงทุนอีกพอสมควรเพื่อให้องค์ประกอบการพักผ่อนครบตามเกณฑ์มาตรฐานของการรองรับนักท่องเที่ยวฐานะดีที่จะเข้ามาอยู่ในพื้นที่ปิด
ผอ.นิธีกล่าวถึงกลยุทธ์ภาพรวมในการสร้างแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าภาคใต้
จะต้องดูความพร้อมว่ากลุ่มใด
ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายอย่างผู้สูงวัย
ดังนั้นจึงจะพุ่งเป้าไปยังกลุ่มเจนวาย มิเลนเนียล มีรายได้ประจำ
แนะนำเข้าไปเที่ยวแหล่งใหม่ ๆ มีสถานบริการอย่างโรงแรม 5 ดาว โรงแรมพลู วิลล่า
ซึ่งตามปกติจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าไปใช้บริการ
รวมทั้งการร่วมมือเปิดช่องทางการขายกับพันธมิตรอย่าง
ผู้ขายท่องเที่ยวออนไลน์ -Online Travel Agents : OTA ค่ายมือถือ บัตรเครดิต
และจัดเตรียมของแถมผลิตภัณฑ์ชุมชน โวเชอร์ โดยเน้นความคุ้มค่ามากที่สุด
แต่ด้วยข้อจำกัดบางอย่างในการเดินทางมาท่องเที่ยวภาคใต้ระยะทางไกล
แล้วกำลังเข้าหน้าฝน จึงต้องหาวิธีให้เหมาะสม 1.ส่งเสริมคนใต้เที่ยวใต้ 2.ร่วมมือกับสายการบินทำโปรโมชั่น 3.การท่องเที่ยวนอกฤดูกาลเที่ยวหน้าฝนก็สวยงามไม่แพ้ภาคอื่น
ๆ
ผอ.นิธี
ย้ำว่าการเดินทางท่องเที่ยวหลังโควิด-19
ต้องห้ามการ์ดตก ดูแลรักษาสุขภาพก่อนเป็นอันดับแรก สวมหน้ากากอนามัย
กินร้อนช้อนกลาง ควบคู่กับการดูแลแหล่งท่องเที่ยวที่เปราะบางอย่างรับผิดชอบ
ซึ่งอยู่ในช่วงฟื้นตัว โดยจะทำการส่งเสริมท่องเที่ยวภาคใต้แบบค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าสถานการณ์ทุกอย่างจะปกติจึงจะโหมทำกิจกรรมกระตุ้นการเดินทางสร้างรายได้เต็มรูปแบบในอนาคต
ทำให้ทุกคนมีความสุข
เพราะทุกพื้นที่ในภาคใต้ก็พร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างมีความสุขด้วยเช่นกัน
ข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 คิงเพาเวอร์”คว้าแชมป์เอเชีย2รางวัลใหญ่แห่งปี’63
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์
รายงานว่าในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและรีเทลระดับโลกของคนไทย ล่าสุดในเวที
‘ดีเอฟเอ็นไอ-ฟรอนเทียร์ เอเชีย แปซิฟิก อวอร์ดส 2020’ (DFNI-Frontier Asia
Pacific Awards 2020)
ประกาศให้ คิง เพาเวอร์ ได้รับรางวัลสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจดิวตี้ฟรี
ในภูมิภาคเอเชีย 2 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัลผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกสนามบินที่บริหารงานยอดเยี่ยม
หรือ Asia Pacific Airport Travel Retailer of the year 2.รางวัลผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน หรือ CSR
or Sustainability Initiative of the year
สำหรับรางวัลผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกสนามบินที่บริหารงานยอดเยี่ยม หรือ Asia
Pacific Airport Travel Retailer of the year การันตีถึงความเป็นมืออาชีพของ คิง
เพาเวอร์ ในการบริหารจัดการร้านค้าจำหน่ายสินค้าปลอดอากรภายในสนามบินนานาชาติและร้านค้าเชิงพาณิชย์
ซึ่งพัฒนาตอบโจทย์ครอบคลุมทั้งด้านสินค้า บริการ แก่นักเดินทางทั่วโลก โดย คิง
เพาเวอร์ ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดเป็นชนะผู้เข้าแข่งขันจากธุรกิจดิวตี้ฟรี โดยมีผู้เข้าชิงอีก
3 ราย คือ จากอินเดีย 2 ราย ได้แก่ Delhi Duty Free กับ Hyderabad Duty Free และ The Shilla Duty Free เกาหลีใต้
นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ
สำหรับปีนี้ที่ทาง ‘ดีเอฟเอ็นไอ-ฟรอนเทียร์ เอเชีย แปซิฟิก อวอร์ดส’ จัดให้มีเป็นปีแรกการมอบรางวัลสาขา
CSR or Sustainability Initiative of the year รวมทั้งคัดเลือกให้กิจกรรมเพื่อสังคมของ
คิง เพาเวอร์ ชนะผู้เข้าชิงรางวัลจากธุรกิจดิวตี้ฟรี
และโครงการในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อีก 5 ราย ได้แก่ Delhi Duty Free อินเดีย, Dubai Duty Free สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, Lotte
Duty Free เกาหลีใต้,
Ever Rich Duty Free สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และโครงการ Wild Tiger’s Roar Trip อินเดีย
สำหรับคิง เพาเวอร์ ทำโครงการเพื่อสังคมด้านต่าง
ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งทางด้าน กีฬา ด้านดนตรี และด้านชุมชน รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
โครงการต่างๆ ดังกล่าวขับเคลื่อนภายใต้แนวทาง CSR ของ คิง เพาเวอร์ ที่ได้ลงมือทำแล้วกว่า
12 โครงการ
การมอบรางวัล ‘ดีเอฟเอ็นไอ-ฟรอนเทียร์
เอเชีย แปซิฟิก อวอร์ดส 2020’ (DFNI-Frontier Asia Pacific Awards 2020) จัดโดย นิตยสาร ดิวตี้ ฟรี นิวส์
อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ DFNI Magazine เป็นรางวัลระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
ที่สำคัญของวงการธุรกิจดิวตี้ฟรี
ตัดสินโดยคณะผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลก
เป็นการลงคะแนนให้กับผู้ประกอบการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ www.dfnionline.com
ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
ขณะที่ปี 2563 ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19
คณะผู้ตัดสินจึงประกาศแจ้งผู้ได้รับรางวัลผ่านทางเว็บไซต์
และจัดส่งรางวัลให้แก่ธุรกิจที่ได้รับรางวัล โดยมิได้จัดกิจกรรมมอบรางวัลแต่อย่างใด
ส่วนกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์
ได้รับรางวัล DFNI-Frontier Asia Pacific Awards ซึ่งเป็นรางวัลในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจดิวตี้ฟรี
ท่องเที่ยว และธุรกิจค้าปลีก มาแล้วถึง 8 ประเภทรางวัล ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน
ประกอบด้วย
ปี 2546 รางวัล Runner-up Best
Partnership Initiative of the Year
ปี 2551 รางวัลชนะเลิศ Airport
Retailer of the Year
ปี 2553 รางวัลชนะเลิศ Land
Based - Border / Downtown Retailer of the Year
ปี 2554 รางวัลชนะเลิศ Best
Land - Border / Downtown Retailer of the Year และรางวัลชนะเลิศ Best Airport
Retailer of the Year
ปี 2561 รางวัลชนะเลิศ Border/
Downtown and Non-Airport Retailer of the Year
ล่าสุดปีนี้ 2563 ได้รับรางวัล Asia
Pacific Airport Travel Retailer of the
year และ
CSR or Sustainability Initiative of the year
ข่าวที่ 2 คิงเพาเวอร์โชว์นวัตกรรมเรียลไทม์ช้อปปิ้งรางน้ำ
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์
เน้นย้ำการบริหารจัดการจำนวนผู้เข้าใช้บริการ ผ่าน Innovative Real Time
Dashboard ยกระดับมาตรการสุขอนามัย ภายใต้ยุทธศาสตร์ “KING POWER CARE POWER สร้างความมั่นใจ
เสริมสุขอนามัย ในทุกพื้นที่บริการ”
โดยจะทำการประมวลผลจำนวนผู้เข้าใช้บริการในอาคารทั้งหมด
พร้อมแสดงจำนวนผู้เข้าใช้บริการในแต่ละพื้นที่แบบ Real Time หลังจากที่ผู้เข้าใช้บริการลงทะเบียนสแกน
QR Code ผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
(ศบค.) เพื่อใช้เป็นช่องทางบันทึกข้อมูลการใช้บริการในสถานที่ต่างๆ
ของประชาชน ซึ่ง Innovative Real Time Dashboard สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการวางแผนเข้าใช้บริการในพื้นที่
และยังสามารถช่วยบริหารจัดการจำนวนผู้เข้าใช้บริการแต่ละพื้นที่ได้ตามหลักเกณฑ์ 1 คน
ต่อ 5 ตารางเมตร ได้อีกด้วย
ข่าวที่ 3 “ททท.ได้แรงหนุนรมว.พิพัฒน์ชงเปิดเที่ยวไทย1มิ.ย.63”
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้นำทีม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ
"มาตรฐานการรับรองความปลอดภัย :Safty and Healthly Administration :
SHA" ที่จะให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว 10 ธุรกิจ
เข้าร่วมปรับปรุงสถานที่ให้เป็นไปตามเกณฑ์
เพื่อสร้างความมั่นใจต้อนรับนักเดินทางหลังสถานการณ์โควิด-19 จบลง
โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563 ได้เสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-109
หรือ "ศบค." พิจารณาปลดล็อกดาวน์การท่องเที่ยวในประเทศได้ตั้งแต่ 1
มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
เสนอให้เปิดการท่องเที่ยวข้ามจังหวัด
เปิดโรงแรม และร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นคนในประเทศเดินทาง
ซึ่งทางรัฐบาลจะแจกคูปองเพื่อสนับสนุนคนไทยเที่ยวในประเทศ
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร
ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค.เวลา
9.30 น. ททท.จะหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ศสค.)ถึงแนวทางการจัดทำข้อเสนอโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงิน ที่รัฐอนมุติให้ใช้วงเงิน 4 แสนล้านบาท
เข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก
จึงจะขอให้พิจารณาเงินสนับสนุนการฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลายมาตรการ
โดยเฉพาะแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว
เพื่อทำโปรโมชั่นลดราคากระตุ้นคนเดินทางในประเทศ
โครงการแรก คือการแจกคูปองท่องเที่ยว และอื่น ๆ ภายในปี 2563
จะเดินหน้าผลิตเป็นแพ็คเกจใหญ่ฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
แทนการรอตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้
หลังจากเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
2563 ททท.ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการสายการบิน
เห็นตรงกันว่าสถานการณ์ฟื้นตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศกลับเข้ามาจะต้องทำอย่างระมัดระวัง
อีกทั้งการนำร่องเปิดเที่ยวบินในประเทศของ 4 สายการบิน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563
มาจนถึงขณะนี้ก็มีผู้โดยสารใช้บริการเพียงวันละพันคน ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่มีเพียง
2 กลุ่ม คือ 1.เดินทางเพื่อไปทำธุรกิจ และ 2.กลับภูมิลำเนา
ททท.จึงวางแนวทางการฟื้นฟูตลาดการเดินทางในประเทศช่วงแรกจะเน้น
การขับรถท่องเที่ยว หรือ Road Trip แล้วก็ต้องให้ผู้ประกอบการ
สถานที่ท่องเที่ยว ต้องปรับตัวตามแบบวิถีใหม่ (New Normal) ดำเนินการด้วยกลยุทธ์ใหม่ที่ใช้ตัวย่อว่า
BEST ได้แก่ B -Booking : ทำการจองล่วงหน้า E-Edition : การจำกัดจำนวนคน
S-Social Distancing : การรักษาระยะห่างทางสังคม T -Tecnology
: นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการอย่างสมดุล
ขณะที่การเปิดให้ผู้ประกอบการ 10
ธุรกิจ เข้ามาลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรฐาน SHA ตั้งแต่วันที่
18-25 พฤษภาคม 2563 มีผู้สมัครแล้ว 1,442
ราย ตั้งเป้าตลอดโครงการในช่วง 2ปี 2563-2564
จะรณรงค์ให้มีธุรกิจเข้าร่วมกว่า 70% ของซัพลลายเชนท่องเที่ยวของประเทศทั้งหมด
โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมขณะนี้มีมากถึง 700,000 ห้อง
จะพยายามให้โรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเข้ามาร่วมโครงการฝห้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในวันเปิดตัวเมื่อ 25
พฤษภาคม 2563 นายพิพัฒน์ รัชกิจปราการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ได้ทำพิธีมอบตรามาตรฐานสัญลักษณ์ SHA ให้โรงแรมพลาซ่า แอทินี กรุงเทพ ที่ปรับปรุงตามเกณฑ์จนผ่านมาตรฐานแล้วเป็นกลุ่มแรก
ข่าวที่ 4 รมว.พิพัฒน์นำทีมเปิดททท.ปลุก10ธุรกิจสมัครเข้าร่วม70%
นายพิพัฒน์
รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้เปิดโครงการ
“มาตรฐานการรับรองควมปลอดภัย” ที่จะนำมาใช้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และอาจจะเป็นอุตสาหกรรมสุดท้ายที่ฟื้นสู่ภาวะปกติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวครั้งสำคัญเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มอบหมายให้ ททท. ปรับนโยบายให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีภายใต้พันธกิจของ
ททท. โดยนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ คือ การยกระดับมาตรฐานด้านความสะอาดและสุขอนามัย
ตามแนวคิด “ซ่อม-สร้าง”
เพื่อกระตุ้นให้สถานประกอบการเตรียมความพร้อมปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีปกติใหม่
(New Normal) ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการนำเสนอสินค้าและบริการที่ดีเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา
แต่ยังต้องเตรียมความพร้อมเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรคติดต่อไวรัสโควิด-19
และการสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยอย่างมีความสุข
และมีประสบการณ์ที่ดี
และทำให้การท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งเสาหลักทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร
อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข และ ททท.
ได้ร่วมกันจัดทำมาตรฐาน SHA เรียบร้อยแล้ว ทางกรมอนามัยยังได้ทำคู่มือและแนวทางการดำเนินงานพร้อมสนับสนุนสถานประกอบการท่องเที่ยวและการกีฬา
รวมทั้งจัดให้มีทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับเขต จังหวัด อำเภอ
ที่มีความรู้และสามารถให้คำแนะนำด้านการป้องกันโรค สุขลักษณะ สุขาภิบาล
และอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังมีคณะกรรมการร่วม 2
กระทรวง ที่ขับเคลื่อนร่วมกันที่จะจัดทำแผนการงานอย่างต่อเนื่องด้วย
ขณะที่ ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่ารายละเอียดว่า
โครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย หรือ Amazing
Thailand Safety & Health Administration : SHA คือ
ความตั้งใจของ ททท. ที่จะสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้มาใช้บริการหลังจากสถานการณ์โควิด-19
อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับการเดินทาง
ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการบริการและด้านสุขอนามัยให้เป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุข
โดยกิจการที่สามารถขอรับมาตรฐาน SHA
แบ่งเป็น 10
ประเภทกิจการ ดังนี้
1.ประเภทภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2. ประเภทโรงแรม/ที่พักและสถานที่จัดประชุม
3. ประเภทนันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว 4.
ประเภทยานพาหนะ 5. ประเภทบริษัทนำเที่ยว 6. ประเภทสุขภาพและความงาม
7. ประเภทห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า 8. ประเภทกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
9.ประเภทการจัดกิจกรรม การจัดประชุม (MICE)
โรงละคร โรงมหรสพ และ 10. ประเภทร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้า
อื่นๆ
โดยได้มีมาตรฐานเบื้องต้นจากกรมควบคุมโรคของทุกสถานประกอบการ
มี 3 องค์ประกอบ
คือ 1. สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร
2. การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
และ 3. การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ มีรายละเอียดของมาตรฐานเฉพาะประเภทกิจการเพิ่มเติม
โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับตราสัญลักษณ์ SHA ต่อไป
ผู้ว่าการ ททท. กล่าวเพิ่มว่า ททท. จะทำหน้าที่ควบคุมการออกตราสัญลักษณ์โดยการระบุหมายเลขของตราสัญลักษณ์
SHA ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อบันทึกเป็นฐานข้อมูลรายชื่อ
ซึ่งมีอายุ 2 ปี
และหากพบว่าผู้ประกอบการไม่สามารถรักษามาตรฐาน SHA ได้
เบื้องต้นจะแจ้งให้ผู้ประกอบการพัฒนาและปรับปรุง
หากยังไม่สามารถรักษามาตรฐานได้ก็จำเป็นต้องเพิกถอนตราสัญลักษณ์และตัดรายชื่อออกจากฐานข้อมูล
SHA
สำหรับสถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้ฟรีทั้งหมด
สามารถศึกษาแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน SHA เข้าไปดาวน์โหลด e-Book ได้ที่
https://thailandsha.tourismthailand.org/ebook เพื่อปรับสถานประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐาน
SHA
รวมทั้งสมัครขอรับการตรวจและรับตราสัญลักษณ์
SHA ได้ที่ www.tourismthailand.org/thailandsha
ขั้นตอนต่อจากการลงทะเบียนแล้ว ทางพันธมิตรของโครงการ
เช่น สภา สมาพันธ์ หรือสมาคมต่างๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการนั้น ๆ
เป็นสมาชิก จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ (Checklist) และให้การรับรองว่าผู้ประกอบการได้ดำเนินการตามมาตรฐาน
SHA หรือหากไม่เป็นสมาชิกของสมาคมท่องเที่ยวใด ททท.
จะประสานผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบ ทั้งนี้ ททท.
จะเป็นผู้รวบรวมขั้นตอนสุดท้ายก่อนมอบตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 -
3 สัปดาห์
ทั้งนี้ ททท.
เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ช่วยตรวจสอบสถานประกอบการหรือกิจการที่ได้รับสัญลักษณ์
SHA อีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นเสียงสะท้อน (Voice
of Customers : VOC) จากการใช้บริการ นอกจากนี้ มีคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐาน SHA ประกอบด้วยกรมอนามัย
สาธารณสุขจังหวัด กรมการท่องเที่ยว ททท.
และ อพท. สุ่มตรวจประเมินเป็นระยะอีกด้วย
ผู้ที่ได้รับรองมาตรฐาน SHA
ททท. จะประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ททท.
ได้เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการตรวจสอบตามมาตรฐาน SHA ตั้งแต่วันที่
18 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา
ขณะนี้มีผู้สนใจทยอยลงทะเบียนจำนวนมาก สอบถามรายเพิ่มเติมได้ทาง thailandsha@gmail.com
หรือ Line Official : @thailandsha และ 1672
ข่าวที่ 5 บางจากทำสัญญารับฝากน้ำมันดิบน้ำมันใสกับสยามแก๊ส
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) “BCP”
กล่าวว่า ได้ลงนามกับกลุ่มพันธมิตร เพื่อทำสัญญาบริการรับฝากน้ำมันดิบและน้ำมันใน
กับทางนายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์ ประธานกรรมการ
และนายศุภชัย วีรบวรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (SGP)
ภายใต้สัญญาระยะยาว ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารจัดการคลังน้ำมันอีกรูปแบบในช่วงสถานการณ์ที่น้ำมันในตลาดขณะนี้มีปริมาณมาก
ข่าวที่ 6 TCEBชูยูทูบ“หัวใจไทย ภูมิใจช่วยชาติ”ปลุกไมซ์ไทย
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB”
รายงานว่า ได้ผลิต Youtube ในชื่อชุด
“หัวใจไทย ภูมิใจช่วยชาติ” หลังศูนย์บริหารสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ประกาศมาตรการคลายล็อกดาวน์ภาคธุรกิจ
โดยเฉพาะการจัดประชุมตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา
ทางทีเส็บจึงได้นำร่องผลิตสื่อเพื่อเป็นกำลังใจรณรงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมไมซ์หลอมรวมพลังทำให้ธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศกลับมายืนอย่างแข็งแกร่งต่อไป
โดยวิธีสื่อสารรายละเอียดด้วยไฮไลต์ดังต่อไปนี้คือ
ในวันที่เราต้องพบกับจุดเปลี่ยน
เปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนวิธีทำงาน แต่หัวใจไทยไม่เคยเปลี่ยน หัวใจที่เสียสละ หัวใจที่แบ่งปัน
(ถ้าคนไทยไม่ช่วยกัน แล้วใครจะช่วยเรา) หัวใจนักสู้
(สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็จัดทำการขายอาหารดิลิเวอรี่)
เราผ่านมาด้วยกัน
แล้วเราจะรอดไปด้วยกัน เราท้อได้
แต่อยากให้มองไปถึงข้างหน้าในวันพรุ่งนี้ยังมีวันที่จะก้าวต่อไปได้
แล้วเราจะกลับมาพร้อม ๆ กัน เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศต่อไป
ด้วยหัวใจของนักสู้ของอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ
เพื่อธุรกิจได้เดินหน้าต่อไป ให้ประเทศไทยแข็งแกร่ง ยิ่งกว่าเดิม
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) ขอขอบคุณหัวใจทุกหัวใจ ที่พร้อมจะลุกขึ้นมาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศกลับมาเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ทั้งในระดับประเทศและเวทีโลกในอนาคตเมื่อทุกอย่างคลี่คลายลงไปในทางที่ดี
ช่วงที่
2 คนไทยห้ามการ์ดตก
โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่นอกบ้าน มาดู” วิธีเตรียมพร้อมให้ทุกการเดินทางพ้นโควิด”
เกาะติดข่าวร้อน “เปิดขยะใต้พรมการบินไทย 10ปี 10 โครงการ” ต้นเหตุหนี้กว่า3แสนล้านหรือไม่? “พัทยา-บางแสน”
ติวเข้มมาตรการความปลอดภัยก่อนเปิดชายหาดให้เที่ยว 1 มิ.ย.63 “อยุธยา” ชิมลางเปิดวัด โบราณสถาน คนกรุงและต่างจังหวัด
ร่วมมือตามมาตรการทัวร์แบบ New Normal
วิธีเตรียมพร้อมให้ทุกการเดินทางหายห่วงจากโควิด-19
การลดการออกไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น
หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโควิด-19
ได้ อย่างไรก็ตาม หากมีธุระจำเป็นต้องเดินทาง
ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ตลอดการเดินทางปลอดภัยจากโควิด-19
1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
หมั่นออกกำลังกายและกินอาหารถูกสุขลักษณะ
2. ของต้องมีติดกระเป๋า
หน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจล เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกการเดินทาง
3. สังเกตตัวเองและคนรอบข้าง
หากรู้สึกว่าตัวเอง หรือเห็นคนรอบข้างมีอาการป่วย ให้สวมหน้ากากอนามัยทันที
4. ภารกิจหลังเดินทาง
หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก
หายใจ เหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์
มี 5 สิ่งควรทำ 1. ล้างมือสม่ำเสมอ
2. สวมหน้ากากอนามัย 3. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด 4. ถ้าต้องไปตลาดค้าสัตว์
ต้องสวมหน้ากากอนามัย 5. ไม่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือตาย
มี 2 สิ่งไม่ควรทำ 1. นำมือสัมผัส
หู ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น 2. ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น
แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
ข่าวท้ายชั่วโมง
เปิดแฟ้มการบินไทยย้อน10ปีตะลึง10โครงการเป็นขยะใต้พรม
ทันทีที่ บริษัท การบินไทย จำกัด
(มหาชน) มอบหมายให้ บริษัท เบเคอร์ แม็คเคนซี่ จำกัด ยื่นศาลล้มละลายกลาง
เพื่อนำการบินไทยเข้าสู่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ล้มละลาย
จนศาลรับคำฟ้องเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 โดยที่ฝ่ายบริหารและสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรสายการบินแห่งชาติ
ยังคงปล่อยให้ข่าวขับเคลื่อนเป็นไปตามกระแสยังไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมืออาชีพนั้น
ภายในองค์กรการบินไทยเอง ก็มีแรงกระเพื่อมหนักไม่แพ้กัน
จากกลุ่มพนักงานส่งต่อข้อมูลตั้งคำถามถึงสถานการณ์บริษัทฯ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์
อย่างกว้างขวาง จากหลายๆหน่วยงาน ทั้งนักวิชาการ รวมถึงอดีตรัฐมนตรี ถึงเรื่อง “ฐานะการเงินการบินไทย”
ถึงขั้นล้มละลายมีหนี้สินเกินทรัพย์สินและทุนนั้น
สปอตไลท์หลัก ๆ ฉายไปยังตัวบุคคลแรกคือ
“นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ DD การบินไทย คนสุดท้ายที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งแล้วบริษัทก็เดินเข้าสู่การต้องยื่นล้มละลายฟื้นฟูกิจการ
พนักงานการบินไทยได้ส่งต่อข้อมูลกันในองค์กร
ทวงถามดัง ๆ อีกครั้ง โดยขอให้ย้อนหลังไป 10 ปี มีคำถามคาใจ 10 ข้อ ที่สังคมควรรู้คือ
นายสุเมธ ได้รับแต่งตั้งเข้ารับดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่
1 กันยายน 2561 ทำหน้าที่บริหารบริษัทมาเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน ภายในเวลา 14
เดือน สามารถทำให้บริษัทล้มละลายได้จริง ๆ หรือ !?
หากลำดับเหตุการณ์ย้อนหลังไป
10 ปี มีโครงการใหญ่ต่าง
ๆ เกิดขึ้นมากมายในการบินไทย 10
โครงการที่น่าสนใจ คือ
1. โครงการนำเครื่องบิน
B747 จำนวน 2 ลำ
ดัดแปลง เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า ทำให้การบินไทยเสียหายไป 1,500
ล้านบาท ?
2. โครงการจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์
ผลการทำ feasibility ช่วง 4
ปีแรก ระบุจะทำกำไร 7,020 ล้านบาท แต่เมื่อดำเนินธุรกิจจริง
ปรากฎว่าผลประกอบการไทยสมายล์ขาดทุน - 6,075
ล้านบาท และยังคงขาดทุนสะสมมาจนถึงปัจจุบัน มูลค่า 8,282
ล้านบาท มีหนี้สิน 12,000 ล้านบาท ?
3. โครงการจัดซื้อเครื่องบิน
75 ลำ เงินลงทุน 3
แสนล้านบาท ได้จัดซื้อไปเรียบร้อยแล้ว 37 ลำ ?
4. โครงการ
หดเพื่อโต โดยวิธีการนำเครื่องบิน A340-600 จำนวน 6 ลำ
ออกจากฝูงบินเพื่อรอการขาย หลังจากจอดอยู่บนพื้นมานานกว่า 4
ปีแล้ว เกิดความเสียหายเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาท ?
5. โครงการจัดซื้อระบบสำรองที่นั่ง
Navitare ให้ไทยสมายล์ ซื้อมาแล้วกลับไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบของการบินไทย
จึงต้องเลิกใช้ ทำให้เสียหายไปอีก 500 ล้านบาท ?
6. โครงการจัดตั้ง
“สายการบินนกสกู๊ต” ซึ่งมีสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้น 49%
ในขณะที่การบินไทยถือหุ้นเพียง 19% โครงการนี้ส่งผลกระทบกิจการของการบินไทยหรือไม่
ที่สำคัญโครงการดังกล่าวนี้สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล มาจนถึงขณะนี้จนไม่สามารถประเมินค่าได้ใช่หรือไม่
7. กรณีแต่งตั้ง นายเอกนิติ
นิติทัณฑ์ประกาศ มาเป็นประธานบอร์ดตั้งแต่วันที่ 10
กรกฎาคม 2561 พร้อมทั้งได้ ประกาศว่า
“ความสำคัญลำดับแรกของการทำงาน ไม่ใช่การซื้อเครื่องบิน แต่คือ การฟื้นฟูกิจการ
" แต่นโยบายดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
8. นโยบายของบริษัท
แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเปิดเผยกับพนักงานว่า มุ่งมั่น
และจะปฎิบัติตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี แต่ในทางปฏิบัติกลับดำเนินการแต่งตั้ง
บุคคลที่ ผิด พ.ร.บ. รัฐวิสาหกิจ และกฎระเบียบบริษัท ใช่หรือไม่ ?
9.ผู้บริหารการบินไทยให้ข่าวแจ้งต่อสาธารณชน
เมื่อช่วงเดือน เมษายน 2562 ว่าได้ขายเครื่องบิน A340
จำนวน 8 ลำ ในราคา 4,000
ล้านบาท ทั้งที่ความจริงแล้วเครื่องบินทั้งหมดยังคงยอดอยู่จนถึงขณะนี้ และโอกาสที่จะขายในราคาดังกล่าว
แทบไม่มีเลย ใช่หรือไม่ ?
10. โครงการที่จะเชื่อมต่อระหว่างไทยสมายล์
และการบินไทย เพื่อความสะดวกแก่ผู้โดยสาร
มีแต่นโยบาย แต่ไม่มีการปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม ใช่หรือไม่ ?
การลำดับเหตุการณ์ การบินไทย ตลอดระยะเวลา
10 ปี ที่ผ่านมา
จำเป็นต้องหาผู้รับชอบในโครงการต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระดังต่อไปนี้ด้วยหรือไม่
ตามที่พนักงานกลุ่มการบินไทยชี้เป้าไว้ว่า
โครงการ 1- 3
ต้องถามไปยัง “นายกรณ์ จาติกวณิช” อดีต ส.ส.
พรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคกล้า กรุณาตั้งกระทู้ ในช่วงที่ดำเนินการ โครงการ 1
,2 และ 3 ผู้ถือหุ้นใหญ่คือกระทรวงการคลัง ในช่วงที่รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขณะนั้น
ได้ทราบปัญหาดังกล่าวหรือไม่ ?
โครงการ 4 - 6
ต้องขอให้ “นายถาวร เสนเนียม” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะที่ได้รับมอบหมายเข้ามากำกับดูแลสายการบินแห่งชาติ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตรวจสอบความเสียหาย และ
สอบสวนหาผู้รับผิดชอบในการอนุมัติโครงการเหล่านี้
โครงการ 7 -10 ต้องทวงถามไปยัง
นายเอกนิติ ประธานบอร์ดการบินไทย ขณะนั้น ถึงนโยบายของคณะกรรมการและฝ่ายบริหารยุคนั้น
มิได้ดำเนินการตามคำมั่นสัญญา ดังประกาศไว้ ใช่หรือไม่ ?
ย้อนหลัง
10 ปี 10 โครงการ
กับผู้บริหาร รัฐมนตรี เพียงไม่กี่คน มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย
แล้ววันนี้จะโยนบาปให้ใครดี “พนักงาน” และ/หรือ ฝ่ายบริหาร บอร์ด นักการเมือง ฯลฯ
ข่าวที่
3 “พัทยา-บางแสน”ถกเข้มมาตรการเซฟตี้ก่อนเปิดหาดเริ่ม1มิ.ย.63
นายสนธยา
คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า หลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
(ศบค.) ประกาศผ่อนคลายล็อกดาวน์ให้เดินทางข้ามจังหวัดได้ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน
นี้เป็นต้นไป จะเริ่มทยอยเปิดแหล่งท่องเที่ยวชายหาดพัทยา
ภายใต้การดูแลมาตรฐานความปลอดภัยอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่และทีมงาน
ควบคุมป้องกันการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามนโยบายหลัก ไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
ทางด้านเทศบาลเมืองแสนสุข รายงานว่า
จะเปิดให้ท่องเที่ยวชายหาดบางแสนตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2563 ด้วยเช่นกันโดยได้ประชุมเตรียมพร้อมความจัดระเบียบการใช้พื้นที่ชายหาดสาธารณะ
รองรับการท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาเปิดใหม่หลังล็อกดาวน์มาเกือบ 2 เดือน
ตอนนี้พร้อมวางแผนการบริหารจัดการ ความสะอาด ขยะ
การประกอบการร้านค้าเพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งให้ความสำคัญเรื่องการกำหนดระยะห่างทางสังคม
Social Distancing เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ข่าวที่
3 อยุธยานำร่องเปิดวัด-โบราณสถานฟื้นเศรษฐกิจชุมชน
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่จังหวัดอยุธยาได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการ
โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ได้ทดลองเปิดแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานและวัดต่างๆ ให้ประชาชนเข้ามาท่องเที่ยว
ทำบุญกราบไหว้พระได้ตามปกติ ส่วนใหญ่เป็นคนไทยจากกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัดสนใจเข้าชมวัดและโบราณสถานในปริมาณพอสมควร
เดินทางมาเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับไม่ค้างคืน สถานที่หลัก ๆ
ที่นักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา เช่น วัดพนัญเชิงวรวิหาร และวัดใหญ่ชัยมงคล
ในจำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวเกือบ 100 %
สวมใส่หน้ากากอนามัย ให้ความร่วมมืออย่างดีปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคของจังหวัด ซึ่งออกประกาศมาตรการ
หากออกนอกบ้านต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
และในสถานที่ท่องเที่ยวรวมถึงวัดทุกแห่ง จะมีจุดลงทะเบียนเข้าออก ตรวจวัดอุณหภูมิ
เจลและน้ำล้างมือ พร้อมกำหนดรูปแบบการเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ด้วย
เมื่อมีนักท่องเที่ยวก็จะส่งผลดีไปถึงธุรกิจเชื่อมโยงอย่าง ตลาดน้ำ ตลาดย้อนยุค
ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก และธุรกิจอื่น ๆ
จะได้มีรายได้เริ่มฟื้นตัวในทางที่ดีขึ้นต่อไป
ติดตามฟังรายการได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
เวลา 11.00-12.00 น.ทาง สวท.FM 97.0 MHz.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น