กรรมาธิการฯ สว.ผ่าทางรอดเที่ยววิถีใหม่ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี "วีระศักดิ์"ชี้เป้าปลดล็อกเงินทุน3ปีด้าน5องค์กรงัดดิจิทัลฟื้นไทย
กรรมาธิการฯสว.ผ่าทางรอดเที่ยววิถีใหม่ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี
“วีระศักดิ์”ชี้เป้าปลดล็อกเงินทุน3ปี-5องค์กรงัดดิจิทัลฟื้นไทย
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง
ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#ท่องเที่ยววิถีใหม่ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี #กรรมาธิการท่องเที่ยววุฒิสภา
“บิ๊กเจี๊ยบ”
นำทีมกรรมาธิการท่องเที่ยว สว.เปิดเวทีใหญ่ระดมรัฐ เอกชน ถก “ท่องเที่ยววิถีใหม่
โอกาสและความท้าทาย” ปรับใช้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” ชี้เป้า
“ผลักดันนโยบายเงินกู้ปลอดต้น-ดอก 3ปี-แปลงทรัพย์สินเป็นทุน”
นำร่องผ่าหลุมดำก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 แนะจับตาอุตสาหกรรมการบินโลกปรับครั้งใหญ่
ส่วนไทยต้องเร่ง “ลดค่าใช้จ่าย-ห้ามเลิกจ้าง-เข้มวินัยการเงินเคลื่อนย้ายคน” ส่วน 5
ตัวแทน
โชว์ข้อมูลใหม่เต็มแม็กซ์ “ททท.-กรมอุทยาน-สมาคมโรงแรมไทย-สตาร์ตอัพท่องเที่ยว-ทีมทีเส็บ”
งัดสารพัดเครื่องมือชี้ทางออกเทรน์ดใหม่ “พฤติกรรม-บริการ-ตลาด-กฎหมาย”
พลเอกธนะศักดิ์
ปฏิมาประกร “บิ๊กเจี๊ยบ” ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา (กธ.สว.)
เปิดเผยว่า ได้นำทีมกรรมาธิการท่องเที่ยว วุฒิสภา จัดเวทีเสวนาร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชน
หัวข้อ “ท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) :โอกาสและความท้าทาย” ณ โรงแรม รามาการ์เด้น
กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน
ซึ่งจะใช้เวทีนี้เปิดรับความเห็นแล้วรวบรวมนำไปเสนอแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนโดยให้บรรลุเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี
ทางด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการท่องเที่ยว (Travel & Tourism
Compettitiveness Index :TTCI)
หลังเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
แล้วส่งผลกระทบต่อแนทางการจัดการท่องเที่ยววิถีใหม่ในภาพรวมและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและทั่วโลก
ผลักดันให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังคงเป็นกลไกหลักช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศ
ก่อให้เกิดการระจายรายได้เข้าประเทศ การจ้างงาน ไปยังทุกพื้นที่ท้องถิ่น
เนื่องจากที่ผ่านมาการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ตามสถิติปี 2560 มูลค่า 2.82 ล้านล้นบาท ปี 2561 มูลค่า 2.94 ล้านล้านบาท ปี 2562 มูลค่าสูงถึง 3.01 ล้านล้านบาท ปี 2563 ช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ก่อนไวรัสโควิด-19จะระบาดรุนแรงจนนำไปสู่การล็อกดาวน์ประเทศก็ยังสามารถทำรายได้เข้าประเทศมากถึง
444,271.80 ล้านบาท
การจัดเสวนาครั้งนี้นับเป็นอีกเวทีที่จะเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยรวมเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ก้าวผ่านวิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำให้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
เดินหน้าอย่างมีพลังสร้างผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจทุกระดับพัฒนาการเติบโตต่อไปในอนาคต
“ดร.วีระศักดิ์
โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ในฐานะตัวแทนภาครัฐ ขึ้นปาฐากถาถึง “โอกาสและความท้าทาย” ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
โดยสะท้อนภาพรวมทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั่นคือ นั่นคือ
ที่ผ่านมาประเทศมหาอำนาจของโลกล้วนพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวตามสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ประชาชาติ
(GDP)
สูงแตกต่างกันไป ตัวอย่าง “สหรัฐอเมริกา” มีรายได้จากการท่องเที่ยวมากถึงปีละ 49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 7.8 % ของจีดีพี ส่วนไทยมีรายได้ปีละประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 21.60 % ของจีดีพี ฟิลิปปินส์ มีรายได้ 2.5ล้านล้านบาท คิดเป็น 24.70 %ของจีดีพี
และอีกหลากหลายประเทศที่ต้องพึ่งท่องเที่ยวแต่พอเกิดไวรัสโควิด-19
ทุกอย่างต้องวางแผนฟื้นฟูเยียวยารักษาธุรกิจคงอยู่ให้ได้มากที่สุด
“การบิน”
เป็นอุตสาหกรรมขนาดการลงทุนใหญ่สุดของการท่องเที่ยวตอนนี้ประกาศล้มละลายไปแล้ว 20 สายการบิน
และสายการบินระดับนานาชาติอีกเป็นจำนวนมากกำลังถูกกดดันให้ควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด
คำถามคือแล้ว “รัฐบาลกับรัฐสภา”ประเทศไทย จะช่วยทำอะไรได้บ้าง
หากเปรียบเทียบนโยบายแก้ปัญหาของรัฐบาลไทยกับไอซ์แลนด์มีลักษณะโมเดลคล้ายคลึงกัน
นั่นคือ สื่อสารข้อมูลควบคู่การฟื้นฟูเยียวยา ประกอบด้วย 1.นำภาคธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินกู้ 2.รักษาการจ้างงานโดยไม่ให้ถูกเลิกจ้างทะลุเกินกว่า
10 %
แต่ในอีกด้านหนึ่งคือสถาบันการเงินของไทยก็ระวังการปล่อยเงินกู้แล้วจะก่อให้เกิดหนี้เสีย
(NPL)
ดังนั้นช่วงแรก ๆ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจึงเข้าไม่ถึงแหล่งเงินได้มากนัก
แต่ถึงอย่างไรประเทศก็ยังมีความเชื่อและความหวังที่จะใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือฟื้นเศรษฐกิจ
ผนวกกับถึงอย่างไรคนก็ยังคงต้องเดินทางท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันมีสถิติผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เฉลี่ยวันละ 250,000 คน
ดร.วีระศักดิ์
กล่าวว่า โอกาสของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ก้าวทะลุท่อดำของไวรัสโควิด-19 ไปให้ได้นั้น จึงขอเสนอทางเลือกหลัก ๆ
ไว้ให้พิจารณาคือ
แพกเกจที่
1
รัฐบาลควรมีนโยบายให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับความเดือดร้อนแบบปลอดเงินต้นและดอกเบี้ย
3 ปี เพื่อเป็นน้ำหล่อเลี้ยงกิจการไว้
สอดคล้องกับการพยากรณ์ของหน่วยงานระดับโลกระบุทั่วโลกจะต้องอยู่กับไวรัสโควิดไปอีกระยะโดยจะต้องใช้เวลาราว
3-4 ปี
ฟื้นฟูทุกอย่างกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
เช่นเดียวกันกับท่องเที่ยวของไทยหากพ้นวิกฤตแล้วก็สามารถกลับมาจ่ายต้นจ่ายดอกตามจำนวนจริงได้
แพกเกจที่
2 จัดทำ Capital
Venture แปลงทรัพย์สินเป็นทุน
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก มีอสังหาริมทรัพย์เช่น ธุรกิจโรงแรมสามารถแปลงเป็นทุนขอกู้ได้ กลุ่มที่ 2
ไม่มีทรัพย์สินแต่สามารถใช้วิธีอื่นนั่นคือ
ยกระดับปรับคุณภาพทักษะอาชีพ ควบคู่กับการลงมือทำงานหนักค้นหาแหล่งหรือเส้นทางท่องเที่ยวใหม่
ๆ มานำเสนอเพื่อพร้อมขายในตลาด
โดยทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันรักษาบุคลากรในอุตสาหกรรมหรือนักรบเหล่านี้ให้อยู่รอดโดยห้ามปลดคนออกจากอาชีพ
ด้วยการหาวิธี ลดค่าใช้จ่าย ปรับโครงสร้างธุรกิจให้กระชับมีประสิทธิภาพเข้มข้น
ใช้ช่วงเวลานี้จัดการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเรื่องอารยะสถาปัตย์ไว้รองรับตลาดอนาคตอีก
3 ปีข้างหน้าคนไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยมีประชากรอายุมากถึง
20 % ของทั้งหมด
จึงต้องร่วมด้วยช่วยกันใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวขับเคลื่อนการจ้างงาน
การฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
ดร.วีระศักดิ์ย้ำว่า
การใส่ท่อออกซิเจนเพื่อรักษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ก้าวพ้นวิกฤตไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้ มาตการ “การเงิน”
จากนโยบายภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะต้องทำควบคู่กับมาตรการของ
“ผู้ประกอบการเอกชนท่องเที่ยว” จะต้องเดินหน้าทำไปพร้อม ๆ กัน 2 ส่วน
คือ 1.รักษาวินัยอย่างเข้มข้นมาก
ห้ามการ์ดตกเรื่องการดูแลเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยว บุคลากร
จะต้องปฏิบัติตามกติกาความปลอดภัยทุกขั้นตอน 2.ลดค่าใช้จ่าย
โดยอาจจะต้องเปลี่ยนรูปแบบรวมตัวกันจัดซื้อเป็นกลุ่มเพื่อลดต้นทุน
เพราะหากปล่อยทุกอย่างเดินไปตามยถากรรมโดยตั้งตารอจากภาครัฐแล้วไม่ได้พึ่งพาตนเองลุกขึ้นมาลงมือทำบางเรื่องที่จำเป็น
ธุรกิจท่องเที่ยวสาขาต่าง ๆ
ก็อาจจะต้องตกอยู่ในสภาพล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมากนั่นเอง
จากนั้น
นายศุกรีย์ สิทธิวนิช ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการ
สว.ทำหน้าที่ดำเนินรายการบนเวทีต่อเนื่อง ในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของการท่องเที่ยวไทย
วิถีใหม่ (New Normal)
ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (Travel & Tourism
Compettitiveness Index :TTCI)
ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีตัวแทนหลักจาก 5 หน่วยงาน นำเสนอแนวทางอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย
1.นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร” รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำเสนอถึงการจัดทำผลสำรวจ “พฤติกรรม”
นักท่องเที่ยวและแนวทางการจัดการท่องเที่ยววิถีใหม่ในภาพรวม
ยืนยันได้นำเครื่องมือดิจิทัลสำรวจประมวลผลพฤติกรรมนักท่องเที่ยวมาตลอดตั้งแต่เดือนมิถุนาย-กรกฎาคม
2563 พร้อมทั้งจัดทำโครงการเยียวยา
และสื่อสารถึงสถานการณ์ความต้องการของนักท่องเที่ยวไปยังผู้ประกอบการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบโควิด-19
มีผลกระทบอย่างไรกับทั้งตลาดคนไทยและต่างชาติทั่วโลกที่ต้องการเที่ยวเมืองไทยตามวิถีใหม่
โดยค้นพบว่าโรงแรมต้องมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 27.8 % ขึ้นไปจึงจะอยู่รอดปลอดภัย
นำเครื่องมือใหม่อย่าง SHA :Safty & Health Administrationมาตรฐานรับรองความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
ซึ่งมีธุรกิจ 10 ประเภท
ลงทะเบียนได้ใบรับรองแล้วกว่า 5,000 ราย
2.นายทรงธรรม
สุขสว่าง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำเสนอเรื่อง “การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว”
ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมความต้องการของนักท่องเที่ยววิถีใหม่ ขณะนี้กรมฯ
ต้องเร่งเดินหน้าเน้น 4 เรื่อง 1.Park
Policy ปรับนโยบายบริหารการบริการนักท่องเที่ยว
2.Advance Booking ให้นักท่องเที่ยวจองล่วงหน้าก่อนเดินทางเข้าอุทยาน
3.Rescure เน้นความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
4.Knowledge & Tecnology นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้ามายกเครื่องการบริการในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานอย่างเต็มประสิทธิภาพตอนนี้อยู่ระหว่างจัดทำแอพลิเคชั่นใหม่
3.น.ส.ศุภวรรณ
ถนอมเกียรติภูมิ อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทย นำเสนอเรื่อง “การบริการที่พัก”
ตอบสนองนักเดินทาง New Normal
ตอนนี้ผู้ประกอบการโรงแรมพร้อมลงมือ ลดค่าใช้จ่าย สร้างโปรแกรมพัฒนาทักษะบุคลากร
เต็มรูปแบบ เพราะตอนนี้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยโรงแรมในกรุงเทพฯ เหลือไม่ถึง 20
% เป็นสัญญาณเตือนว่าธุรกิจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
4.น.ส.อชิรญา
ธรรมปริพัตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HiveSters เว็บไซต์ออนไลน์
สตาร์ตอัพด้านการท่องเที่ยวชุมชนของประเทศไทย นำเสนอ “การทำตลาดยุคใหม่” โดยใช้เครื่องมือเทรนด์มาแรงดิจิทัล
Influencer บล็อกเกอร์ พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวคิดนอกกรอบ
นำแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ เช่น
การสร้างเกมเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวิถีใหม่
ตามโมเดลของนิวซีแลนด์ทำสำเร็จมาแล้ว ส่วนช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
ก็ให้หันมาเน้นวิธีสร้างเนื้อหาด้วยประสบการณ์เพื่อให้คนอยากเข้าร่วม
หรือตัวอย่างเปลี่ยนรูปแบบเมื่อนักท่องเที่ยวต้องถูกกักตัว ก็สามารถนำประโยชน์ต่าง
ๆ ไปเสิร์ฟให้ถึงที่ เช่น นำกิจกรรม เรียนภาษาไทย ทำอาหาร ทำขนม นั่งสมาธิ โยคะ
เข้าไปชวนนักท่องเที่ยวทำร่วมกัน
พอพ้นจากการกักกันนักท่องเที่ยวจะได้อยากไปสัมผัสสถานที่จริงต่อไป
หรือแม้แต่การเตรียมรองรับ นักเดินทางอาชีพอิสระอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ (Nomad) และอื่น ๆ
5.นายชาติชาย
เทพแปง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” นำเสนอ แนวทางการทบทวน กฎ ระเบียบ
เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวก
เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวในอนาคต
ซึ่งตอนนี้มีกฎหมายควบคุมสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 อาทิ พ.ร.ก.บริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 พ.ร.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 รวมทั้งอยู่ระหว่างการทบทวน อีกหลากหลาย
พ.ร.บ.ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่ เช่น
การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยกิจกรรมเล่นซิปไลน์ ตอนนี้ต้องอิง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตอนนี้กำลังเสนอทบทวนโดยมีเอกชนร่วมสนับสนุนด้วย
ทั้งนี้การจัดเสวนา
“ท่องเที่ยวไทยวิถีใหม่ (New Normal) : โอกาสและความท้าย โดยคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
วุฒิสภา วันที่ 27 สิงหาคม 2563
ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ หวังผลที่จะได้รับจากเวทีดังกล่าว
3 เป้าหมายหลัก
ประกอบด้วย
1.ได้รับรู้โอกาสและความท้าทายของการท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์ระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
2.รับรู้ทิศทางแนวโน้มการท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์ระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
3.มีแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์
20 ปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น