ททท.ชวนเที่ยวเส้นทางพลังบุญ"ปราจีนบุรี-นครนายก"เติมความสุขเสริมทรัพย์ที่"มหามณฑปวัดโคกอู่ทอง-วัดแจ้ง-วัดฝั่งคลอง"
ททท.ชวนเที่ยววิถีใหม่ไปเติมพลังบุญ“ปราจีนบุรี-นครนายก”
เพิ่มสุขเสริมทรัพย์“มหามณฑปวัดโคกอู่ทอง-วัดแจ้ง-วัดฝั่งคลอง”
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ทททนครนายก #ทททตะวันออก #เที่ยวเติมพลังบุญมหามณฑปวัดโคกอู่ทองวัดแจ้งพิพิธภัณฑ์ปะพวน
ติดตามอ่านได้ในมติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/publicize/news_2320338
คิดแล้ว...ไปให้ถึง
เป็นโครงการที่ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.)
รณรงค์คนในประเทศออกมาเดินทางท่องเที่ยว เพื่อช่วยกันเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ “วิบูลย์ นิมิตรวานิช” ผู้อำนวยการ
ภูมิภาคภาคตะวันออก ททท.นำทีมเปิดแหล่งท่องเที่ยววิถีใหม่ ๆ ใกล้กรุงเทพฯ เส้นทาง “เพิ่มพลังกับการท่องเที่ยวสายบุญเชิงศาสนา”
ชวนกันไปเช็คอินได้ 2 จังหวัด
เริ่มจากอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ต่อด้วย อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
จุดเติมพลังสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอพรตามความเชื่อเมื่อมา “วัดโคกอู่ทองกับวัดแจ้ง(เมืองเก่า)”
ประจันตคาม อาจมีโอกาสเป็นเศรษฐีได้ ส่วนที่ “พิพิธภัณฑ์ปะพวน ปากพลี
วัดฝั่งคลอง” เมืองนครนายก เป็นแหล่งเรียนรู้ดูวิถีชุมชนน้องใหม่มาแรง
วัดแรก
“วัดโคกอู่ทอง” ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม
ถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ที่มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรม “มหามณฑป”
สไตล์เรเนซองส์ตามแบบโรมันตะวันตก ทางครอบครัว “คุณสมชัยและคุณกนกวรรณ
ยาจันทร์ทา” พร้อมศิษยานุสิตจากทั่วทุกมุมโลก
ร่วมกันบริจาคเงินทุนสร้างมหามณฑป ตามที่ “หลวงปู่โสฬส ยโสธโร”
เกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตาสั่งไว้ก่อนละสังขารมิให้ลูกศิษย์เผาร่างของท่าน
และขอให้เก็บร่างกายท่านไว้ให้อยู่คู่วัดนี้ในอนาคตจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหลานอนุชนรุ่นหลัง
ศูนย์รวมพลัง "หยิน-หยาง" บนวงกลมปี12นักษัตริย์ กลางมหามณฑปวัดโคกอู่ทอง
“มหามณฑปวัดโคกอู่ทอง”
ดีไซน์แปลกตาตามแบบโรมันตะวันตก คล้ายโบสต์เพียงแต่อยู่ในวัดพุทธนั่นเอง
เริ่มสร้างเมื่อปี 2556
มาแล้วเสร็จปี 2562 ขนาดความสูง
32 เมตร
กว้างและยาว 24 เมตร
จัดสร้างขึ้นเพื่อ “ครอบสรีระสังขารของหลวงปู่โสฬส” ที่บรรจุอยู่โรงเรือนแก้วใส
ภายในมหามณฑปยังดีไซน์งดงามสวยสะดุดตา
ด้วยการวางโครงสร้างให้มีลักษณะเป็นศูนย์รวมพลังจักรวาล “หยิน-หยาง”
ผูกเข้ากับอิทธิบาทสี่ของชาวพุทธ
ดังลักษณะของการออกแบบก่อสร้างให้บริเวณตรงกลางโดมประดับลวดลายตะวันตกแบบโรมัน
ด้านบนสุดทำสัญลักษณ์กากบาทอยู่ตรงกลาง แทนคติธรรมความสำเร็จทั้งปวงของอิทธิบาทสี่
“ฉันทะ-วิริยะ-จิตตะ-วิมังสา” พื้นมณฑปด้านล่างตรงกลางสร้างเป็น “ปี 12
นักษัตรย์”
เชื่อมโยงกันระหว่างหลังคาโดมกับพื้นตรงกลางโถงใหญ่
ตามความเชื่อว่าเมื่อนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ได้สักการะลงนั่งตรงกลางโดมหลังนี้จะทำให้เกิดพลังหยิน-หยาง
กระจายเป็นประจุพลังบนนักษัตริย์ทั้งสิบสอง รับพลังความสุขได้อย่างเต็มที่
ขณะที่ “ด้านหน้ามหามณฑป”
ประดิษฐานรูปหล่อองค์หลวงปู่โสฬส มีครุฑและสิงขรรายล้อมแท่นรูปหล่อ
ปิดยอดด้วยฉัตรจำลองรูปโดมสีเขียวตัดกับทองด้านบน
เพื่อสื่อถึงความรู้และความเจริญทั้งหลายอันไม่สิ้นสุด
แต่ละทิศประดับด้วยกระจกสแตนเลสกลางกระจกทุกบานจะมีพระเครื่องซึ่งหลวงปู่ปลุกเสกไว้ให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายผู้ซึ่งมีความเคารพรักและศรัทธามากราบไหว้บูชา
ผู้ที่มีโอกาสมาสักการะ
“มหามณฑปวัดโคกอู่ทอง” จะได้กราบ 4 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย 1.“พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้จากมูลนิธิพระบรมธาตุในพระสังฆราชูปถัมภ์
สมเด็จพระญาณสังวร สกลสังฆปรินายก ประดับอยู่ในซุ้มดาวจักรวาล 2.“พระพุทธรูปปรางนาคปรก”
สัญลักษณ์แสดงถึงการน้อมนำธรรมะของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติอย่างถึงที่สุด 3.”พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ขณะทรงผนวชล้อมด้วยเลข 5 และ 4.”พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ขณะทรงผนวชล้อมด้วยเลข 9
อีกทั้งบริเวณ “รอบนอกมหามณฑป”
ยังสามารถสักการะ “พระพุทธมหาบูรพา” หรือหลวงพ่อใหญ่
เรื่อยไปจนถึงการเติมพลังจาก “สระน้ำรูปไซ” ลึก 15
เมตร
มีศาลารายล้อมอยู่รอบบ่อน้ำพร้อมโคมไฟตุ๊กตาศิลปะโรมัน
บ่อนี้มีความเชื่อว่าเปรียบเสมือนไซที่ดักนำทรัพย์สินเงินทองเข้ามาสู่ตัวเรา
ขณะที่ด้านหน้าจัดทำ “ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง” แกนเสาหลัก 8
ต้น
ด้านในบรรจุเรือขุดโบราณที่เจ้าแม่ตะเคียนกราบขอความเมตตาจากหลวงปู่โสฬสให้นำขึ้นมาจากแม่น้ำแล้วนำมาจัดทำเป็นศาลดังกล่าว
ขณะนี้วัดโคกอู่ทองเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มีความศรัทธาเข้าชม
“มหามณฑป” ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00
น.ส่วนบริเวณโดยรอบวัดปัจจุบันยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง
หากแล้วเสร็จจะมีเส้นทางเชื่อมโยงให้ท่องเที่ยววิถีวัดแห่งนี้อย่างสมบูรณ์
สอบถามเพิ่มได้ที่โทร. 087-588-1111
เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดแห่ง แล้วจะได้รับพรมีโอกาสเป็นมหาเศรษฐีได้
จากนั้นเดินทางต่อไปอีกแห่งที่ “วัดแจ้ง
(เมืองเก่า)” มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ไฮไลต์ของวัดแจ้งคือรูปปั้น“ท้าวเวสสุวรรณ”
องค์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณลานกลางแจ้งด้านหลังวัด
กล่าวกันว่าท้าวเวสสุวรรณเป็นยักษ์ผู้มีเมตตาและผู้คนนิยมมาขอพรขอความร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้ด้วย
ปัจจุบัน “หลวงปู่โทน”
เจ้าอาวาสวัดแจ้งดำเนินการสร้างอาคารชั้นเดียวเพิ่มอีกหลัง
พร้อมนำรูปปั้นเกจิอาจารย์ดังทั้งหมดของประเทศมาเก็บไว้ในอาคารหลังนี้
เพื่อให้ลูกหลานเข้ามากราบสักการะ ศึกษาเรียนรู้วิถีพุทธศาสนา ส่วนบริเวณใกล้ ๆ
กันมีโบสถ์ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ส่วนด้านข้างติดทะเลสาบก็จัดทำเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม
อนุรักษ์ดูแลหลักคำสอนพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป
ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก
เชิญชวนทุกคนออกเดินทางท่องเที่ยวตามเส้นทางสายใหม่ 2 วัดศักดิ์สิทธิ์
“วัดโคกอู่ทองและวัดแจ้ง(เมืองเก่า)”
มาเพิ่มพลังเสริมบุญเติมเต็มชีวิตให้มีความสุขตลอดไป
@ชมพิพิธภัณฑ์ปะพวนปากพลีวัดฝั่งคลอง
จ.นครนายก
จากปราจีนบุรี ขับรถเข้าตัวเมืองนครนายก มุ่งตรงไปชม “พิพิธภัณฑ์ปะพวน
ปากพลี” ตั้งอยู่ใน “วัดฝั่งคลอง”
อำเภอเมือง เป็นอาคารสองชั้น อยู่ภายในวัดฝั่งคลอง อำเภอเมือง จ.นครนายกได้รวบรวมเรื่องราวของ "ชุมชนไทยพวน"
ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่นครนายกมนานับร้อยปี ตอนนี้ "วิบูลย์
นิมิตรวานิช" ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคตะวันออก ททท. กับ “สกล ทองคำ”
ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานนครนายก ได้เข้าไปให้การสนับสนุนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
"ปะพวน ปากพลี" เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 60 เส้นทางความสุขอีกแห่ง
เพื่อกระตุ้นคนเดินทางเข้ามาเยี่ยมชม
พิพิธภัณฑ์ปะพวน เดินเรื่องดึงดูดความน่าสนใจด้วยการนำเรื่องราวความรักของ
"เจ้าจอม นางกอย" อดีตของชาวไทยพวนซึ่งปัจจุบันมีลูกหลานกระจายกันไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ทั่วประเทศไทยมากถึง
40 จังหวัด
ภายในพิพิธภัณฑ์ได้ออกแบบเล่าเรื่องผ่านนิทรรศการแสดงในอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วย
“ชั้นล่าง”
วิถีชีวิตชาวไทยพวน นักท่องเที่ยวจะได้เดินลอดอุโมงค์
จุดแรกจะมี “ประเพณีการบายศรีสู่ขวัญ” ต่อด้วย วิดีโอสารคดีตำนารัก "เจ้าจอม
นางกลอย" ไล่เรียงเป็นภาพนิทรรศการบนผนังปูนบอกถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวไทยพวน
พร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร การทำครัวสมัยโบราณ
ห้องแสดงภาพถ่ายเมนูอาหารพื้นบ้าน
“ชั้นสอง” แบ่งเป็น 3 ห้องย่อย ได้แก่ “ห้องแรก”
รวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์สมัยชาวไทยพวนอพยพมาจากเชียงขวาง
เมืองหลวงของอาณาจักรพวน พร้อมประวัติศาสตร์ความเป็นมาทั้งหมด “ห้องที่ 2” จัดแสดงภาชนะเครื่องลายคราม และห้องเจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัดฝั่งคลอง
“ห้องที่ 3”
จัดแสดงเส้นทางท่องเที่ยวพร้อมจังหวัดนครนายก
ปัจจุบันชาวไทยพวน 4 ชุมชน รวมตัวกัน จัดส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิต
โดยจัดให้มีกิจกรรมบริการเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมสร้างประสบการณ์แนวใหม่ให้ร่วมสนุกได้ทุกวัน
“พิพิธภัณฑ์ปะพวน ปากพลี” เปิดทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าบัตรเข้าชมคนไทยและต่างชาติจ่ายเท่ากัน คนละ 20 บาท ติดต่อได้ที่โทร.
081-458-8200 , 086-380-6461
ออกมาท่องเที่ยวเติมพลังศรัทธา
“ท่องเที่ยวเชิงศาสนา” ใกล้กรุงเทพฯ 2 จังหวัด “ปราจีนบุรี-นครนายก” ชม 3 วัด “วัดโคกอู่ทอง-วัดแจ้ง(เมืองเก่า)-วัดฝั่งคลอง”
เมืองไทยยิ่งเที่ยวยิ่งได้รับประสบการณ์ดี ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น