“TCEB”นำ3บ๊อสค่ายใหญ่ชี้เป้าความสำเร็จจัดไมซ์ไฮบริดให้ปัง เทรนด์โลกใหม่มาแรง“2HY”ลูกผสมไฮเทคกับเสมือนจริง+6C”
“TCEB”นำ3บ๊อสค่ายใหญ่ชี้เป้าความสำเร็จจัดไมซ์ไฮบริดให้ปัง
เทรนด์โลกใหม่มาแรง“2HY”ลูกผสมไฮเทคกับเสมือนจริง+6C”
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TCEB #2HYhybridHygiene
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB”
“TCEB” ดึงกูรู 3 บ๊อสบริษัทใหญ่ “ซีเอ็มโอ-ปิโก (ไทยแลนด์) -สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ” เสวนาออนไลน์ชี้เป้าความสำเร็จ “Do’s and Don’ts จัดงานไฮบริดอย่างไรให้ปัง” ด้วยสูตร “2 HY :Hygiene & Hybrid” ยึดหลัก 6 C เดินตามเทรนด์โลกยุคอนาคตจัดไมซ์ผสมผสานไฮเทค+เสมือนจริง มีโอกาสรวยเพิ่ม แถมยั่งยืน ต้อนรับแพลตฟอร์มน้องใหม่มาแรง Sound of Earth
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” กล่าวเปิดงานเสวนาออนไลน์ “Do’s and Don’ts
จัดงานไฮบริดอย่างไรให้ปัง” ที่นำแพลตฟอร์มการจัดงานธุรกิจไมซ์เปลี่ยนมา
"จัดงานแบบไฮบริด" โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และบิ๊กด้าเข้ามาผสมผสานการจัดงานระหว่างออนไลน์เข้ากับออฟไลน์ ซึ่งในอนาคตจะเทคโนโลยีมาต่อยอดโอกาสทางธุรกิจและสร้างการรับรู้ให้เพิ่มขึ้น
และเมื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อ B2B แบบเรียลไทม์ ยิ่งจะช่วยเพิ่มโอสาสทางการตลาดมากขึ้นได้
จึงต้องเร่งพัฒนาโซลูชั่นตามเทรนด์โลก
โดยใช้เทคโนโลยี
และนวัตกรรมผนวกเข้ากับแนวทางการจัดงานอย่างปลอดภัย และยั่งยืน
รวมไปถึงการใช้แนวทาง BCG (Bio-Circular-Green
Economy) ซึ่งธุรกิจไมซ์ไทยได้รับเสียงชื่นชมจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการนำแนวทาง
2HY ผสมผสานระหว่าง Hygiene และ Hybrid
มาใช้ในการจัดงานเป็นประเทศแรก ๆ ของโลก
เทรนด์โลกให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ผู้จัดงานหันมาสนใจการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability ทีเส็บได้ให้องค์ความรู้ในเรื่องนี้แก่ผู้ประกอบการไมซ์ไทยมาตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งยังได้พัฒนาเครื่องมือและมาตรฐานต่าง ๆ เช่น การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์ในการจัดงาน แนวปฏิบัติด้านสุขอนามัยในการจัดงาน รวมถึงมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยและอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดงานและองค์กรต่าง ๆ นำไปใช้ มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการจัดงานอย่างยั่งยืน
เทรนด์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไมซ์เข้าใจความต้องการกลุ่มเป้าหมาย
และกำหนดทิศทางการทำงาน
ที่จะช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ไทยให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด
(มหาชน) กล่าวว่า การจัดงานอีเวนต์นับจากนี้ไปเกิดปรากฎการณ์ใหม่
ๆ 1.ผู้จัดงานจะมีมาตรฐานใหม่มาพร้อมกับความรับผิดชอบมากขึ้น
2.ต้องระมัดระวังทุกทางในด้านสาธารณสุข เพราะบทเรียนจากช่วงโควิด
19 สอนให้ผู้จัดงานเรียนรู้การจัดงานไฮบริดทำการผสมผสานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน
ในอนาคตก็ยังต้องทำควบคู่กันไป ด้วยเทคโนโลยีออนไลน์อันหลากหลายจะนำไปสู่การขยายกลุ่มเป้าหมายหลากหลายขึ้น
3.ผู้ประกอบการจะมีรายได้มากขึ้นด้วย ในอนาคตอาจจะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากขั้น เช่น การจัดอีเวนต์คอนเสิร์ตขนาดกลางที่มีคนมาร่วมงานจริง 2,000 คน และออนไลน์อีก 20,000 คน
ปัจจุบันงานเทรดแฟร์ เป็นอีกหนึ่งความท้าทายการจัดอีเวนต์ เพราะเป็นงานที่ได้ผ่านจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาระยะหนึ่งแล้วในรูปแบบออนไลน์เสมือนจริง Virtual Fair สามารถทำได้ทั้งการจัดประชุมสัมมนา ค้าขาย จับคู่เจรจาธุรกิจ และทำเวิร์กชอป ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการจัดงานในรูปแบบเดิมไปแล้ว
โดยเฉพาะการจับคู่เจรจาธุรกิจ ในอดีตงานแฟร์รายการใหญ่ อาจจะจับคู่เจรจาธุรกิจได้
200-300 นัดหมาย แต่พอเป็นแบบเสมือนจริงจะสามารถทำได้มากถึง
5,000 นัดหมาย ซึ่งแตกต่างจากการจัดงานแบบปกติ ดังนั้นการจัดงานออนไลน์จึงช่วยสร้างการรับรู้
ขยายโอกาสและฐานลูกค้าได้อีกมากมหาศาล
นายกฤษณ์ธน ยี่สุ่น ผู้อำนวยการแผนกสร้างสรรค์ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์)
จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อพูดถึงการจัดงานไฮบริดจะต้องทำให้เกิด
Wow Factor หรือสิ่งที่ทำให้คนพูดถึงต่อ ๆ กันไป ทางผู้จัดจึงต้องคำนึงถึง
วัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวสินค้าหรือการประชุมประจำปี ถึงสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ก็จะต้องขับเคลื่อนงานออกไปให้ได้
การเริ่มต้นด้วยคำถามแรกว่า “ทำไม” จะทำให้เข้าใจเป้าประสงค์ที่อยู่ในใจของลูกค้า ต่อด้วยคำถามที่ 2 งานที่จัดขึ้นจะคุยกับ “ใคร” เพราะสิ่งที่ไฮบริดต่างจากเสมือนจริง คือ “งานไฮบริด” จะมีคนมาร่วมงานจริงส่วนหนึ่ง
ส่วน “งานเสมือนจริง” ทุกคนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
กุญแจสำคัญคือ 1.จะทำอย่างไรในการสร้างชุดประสบการณ์ให้เสมือนว่าผู้ชมทุกคนมาอยู่ที่งานด้วยกัน
2.ต้องพิจารณา คือ ใครเป็นผู้ดำเนินรายการc]h;สามารถดึงผู้ชม รวมถึงกิจกรรมเพื่อสร้างผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมได้ ปัจจุบันถึงแม้จะมีเทคโนโลยีมากมายช่วยให้งานน่าสนใจ
แต่ไม่สามารถรู้ผลตอบรับจากผู้เข้าร่วมงานได้เหมือนการจัดงานปกติซึ่งสังเกตุได้จากสื่อทางสายตา
(Eye Contact) ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ท้าทายในการสร้างประสบการณ์ผ่านออนไลน์
เมื่อตั้งคำถามเสร็จแล้วก็จะต้องมาคิดเรื่อง 1.จะจัดงาน “อย่างไร” เลือกใช้แพลตฟอร์มอะไร
เช่น Zoom, Facebook Live อื่น ๆ 2.ควรจะจัด “เมื่อไหร่”
ถ้าเป็นการออนไลน์ทั่วโลก ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาไหนที่ผู้ชมพร้อมจะเข้า Live ร่วมงานได้ สิ่งสำคัญที่สุดของห่วงโซ่แนวคิด Why Who How When นี้ คือ
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy)
ลองมองจากมุมของผู้ร่วมงานว่าต้องการจะเห็นอะไร
3.ทุกเครื่องมือในการจัดงานไฮบริดจะต้องตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังโควิด
ขณะนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายผู้จัดงานอย่างมาก
นายจอห์น รัตนเวโรจน์ ผู้อำนวยการบริหารการผลิต บริษัท สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด / ประธานสมาคมเครือข่าย เพื่อการเรียนรู้เท่าทัน ดิจิทัลเทคโนโลยี กล่าวถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ว่าจะต้องคิดถึงเนื้อหาก่อน พร้อมกับยกตัวอย่าง หูฟังที่มีความสามารถพิเศษในการรับฟัง นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง จึงได้คิดค้นโครงการ Sounds of Earth (SOE) ตามที่บริษัทพัฒนาขึ้น เพื่อตอบโจทย์การจัดงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อผู้จัดงานที่ต้องการจัดกิจกรรม เช่น คอนเสิร์ตเล็กๆ ในพื้นที่อาคารโรงแรม หรือ บริเวณชายหาด ไม่เกิดเสียงรบกวนผู้อื่น แล้วยังสามารถดูแลจัดการระยะห่างทางสังคมการร่วมกิจกรรมได้ด้วย
ทั้งนี้ทีเส็บได้สร้างประสบการณ์การจัดงานในทุกรูปแบบตามที่ได้เรียนรู้
“เทคนิคการจัดงานไฮบริด” คือ การนำเทคโนโลยีออนไลน์มาต่อยอดธุรกิจไมซ์
และสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยน คือ ทัศนคติที่พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ (Growth
Mindset) โดยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ปรับตัวเพื่อมุ่งไปข้างหน้า ด้วยแนวทาง 2HY ผสานกับ 6 C
ได้แก่
1.Customer รู้ความต้องการของผู้เข้าร่วมงาน
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
2.Creativity ความคิดสร้างสรรค์
เป็นสิ่งที่จะสร้างความจดจำ ประทับใจ ให้กับผู้เข้าร่วมงาน
3.Content เนื้อหาที่ตอบโจทย์ผู้ร่วมงานนำไปใช้และมีส่วนร่วมได้ง่าย
4.Collaboration การดำเนินงานกับพันธมิตร เพื่อให้งานน่าสนใจจากมุมมองที่หลากหลาย 5.Communication
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลายครบทุกช่องทาง
6.Crisis Management การบริหารจัดการโครงการ
และแผนการรับมืออย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้พ้นวิกฤติต่าง ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น