ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม1.4ล้านล้านปี65 จัดทัพ"ราง-บก-น้ำ-อากาศ"ผุดโครงข่ายสร้างอนาคตเศรษฐกิจ2.2ล้านล้าน
"ศักดิ์สยาม
ชิดชอบ"เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม1.4ล้านล้านปี65
จัดทัพ"ราง-บก-น้ำ-อากาศ"ผุดโครงข่ายสร้างอนาคตเศรษฐกิจ2.2ล้านล้าน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ไทยรัฐกรุ๊ป #คมนาคม #ThailandFutureSmartandSustainableMobility
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand Future Smart & Sustainable Mobility ขบเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน” จัดโดย “ไทยรัฐกรุ๊ปและกระทรวงคมนาคม” ในหัวข้อ “โอกาสของประเทศไทยกับการได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม ณ โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ รางน้ำ โดยได้ฉายภาพให้เห็นถึงโครงข่ายอนาคตการลงทุนพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งประเทศครบทั้งระบบถนน ราง ทางน้ำ ทางอากาศ โลจิสติกส์เชื่อมต่อเป็นวงแหวนรอบประเทศ และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมตะเข็บรอยต่อไทย-สปป.ลาว และจีน โดยจะเงินลงทุนประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท เพื่อสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจ 2.24 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนที่จะช่วยสร้างสัดส่วนจีดีพี 2.35 % หรือคิดเป็นประมาณปีละ 400,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เดินหน้าตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่นายกรัฐมนตรีวางแผนไว้ตั้งแต่ปี 2558
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ปี 2565 กระทรวงคมนาคมวางแผนใช้เงินลงทุนโครงข่ายคมนาคมทั้งหมด 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการที่ลงนามสัญญาแล้ววงเงิน 516,000 ล้านบาท และ 2.โครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท 3.เกิดการจ้างงานได้มากถึง 154,000 ล้านบาท 4.สร้างมูลค่าเพิ่มในส่วนของการใช้จ่ายด้านวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ 1.24 ล้านล้านบาท 5.เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 2.35% ของจีดีพี หรือประมาณ 400,000 ล้านบาท
โดยกระทรวงคมนาคม ได้วางแผนการลงทุน
ระบบราง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ มุ่งเน้นเป้าหมายสำคัญ คือ
1.ช่วยเพิ่มความเร็วในการเดินทางจากรถไฟฟ้าช่วงรถติดได้
35 กม.2ชม มอเตอร์เวย์จาก
80 กม. เป็น 120
กม./ชม. การใช้รถไฟทางคู่
จาก 60 กม.เป็น 100
กม./ชม. รถไฟความเร็วสูง จาก 80 กม.เป็น 160 กม./ชม.
2.ช่วยลดต้นทุนตค่าขนส่งได้ 4
เท่า
3.ทางอากาศได้ขยายอาคารผู้โดยสารและแผนการลงทุนรันเวย์ใหม่ให้ครบ 4 รันเวย์ตามผลศึกษาของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) โดยเฉพาะสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ต่างประเทศเร็วรองรับผู้โดยสารจาก 80 ล้านคนต่อปี เป็น 120 ล้านคนต่อปี
ระบบที่ 1
เดินหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพ 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กม. โดยมีสายที่จะเปิดในปี 2566 สู่ชานเมือง-สายสีแดง
ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี มุ่งเน้นระบบรถไฟฟ้า รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน โดยพัฒนาการลงทุน "สถานีบางซื่อ" เป็นศูนย์กลางคมนาคม รวมทั้งเติมเต็มเครือข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพเป็นวงกลม จากกรุงเทพ สู่กรุงเทพ และสู่ทั่วประเทศ โดยมีแผนสร้าง "ระบบรางคู่"
ตามมีแผนก่อสร้างทำให้มี “รถไฟรางคู่ทั่วประเทศ” ได้วางแผนการลงทุน ทั้งในส่วนของรางรถไฟเดิม และการก่อสร้างเส้นทางใหม่ ระยะแรก จะแล้วเสร็จ 1,111 กม. เฟสที่ 1 ลพบุรี-ปากน้ำโพ เฟสที่ 2 นครปฐม-หัวหิน
ปี 2565 ได้ก่อสร้างเพิ่มอีก 600 กม. 1.ภาคเหนือ ลำปาง สถานีเด่นชัย-เชียงราย และเชียงของ 2.ภาค2.อีสาน ขอนแก่น บ้านไผ่-นครพนม เปิดแล้วสถานีจิระ และกำลังทำ มาบกะเบา-จิระ (เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดเรื่องอุบัติเหตุทางถนน) โดยจะมีบันทึกประเทศไทย อุโมงค์ยาวสุดในประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดโลจิสติกครบวงจร
รวมทั้งจะการลงทุนทางน้ำ
เรียกว่า “ท่าเรือบก” (DryPort) ขึ้นมารองรับการขนส่งสินค้าจากรถไฟทางคู่ ซึ่งอยู่ขั้นตอนของทางหน่วยงานกำลังศึกษาทำแผนพัฒนาต่อไป
สำหรับแหล่งเงิน - จะมาจาก Future Fund พร้อมกับเปิดให้ร่วมทุนกับเอกชนตามแบบ
PPP สำหรับท่าเรือบก -ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลางที่ฉะเชิงเทรา
“ท่าเรือบก” ก่อสร้างเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า
ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นแผนคู่ขนานเดินหน้าไปพร้อมกับรถไฟรางคู่ เพื่อขนส่งทางรถไฟได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว ตรงเวลา ตอนนี้การจัดทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือบกเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานแผนการลงทุนร่วมภาครัฐเอกชน
(PPP)
นอกจากระบบรางกับท่าเรือบก
ยังต้องมี "รถไฟความเร็วสูง" ประเทศไทยกำลังสร้าง 1.ไทย-จีน กำลังเชื่อมจาก สปป.ลาว
และ 2.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา เสริมความแข็งแกร่งเข้าไปยังระเบี
โครงการที่ 1 -รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน สำคัญมาก เน้นเรื่องทางการค้า ปี 2565 กระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดรถไฟความเร็วสูง กำลังก่อสร้าง 2 เส้นทาง คือ 1.รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะทาง 2,506 กม. วงเงินลงทุนกว่า 1.62 ล้านล้านบาท ช่วงที่ 1 ไทย-จีน มายังโคราช 2,253 กม 1.7 แสนล้านบาท ช่วง 2 หนองคาย-โคราช กำลังทำ EIA ปี 2565 สามารถเสนอ ครม.เพื่อก่อสร้างแล้วเปิดใช้ได้ปี 2571
โครงการที่ 2 -รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3
สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ
อู่ตะเภา) ระยะทาง 220
กม. เน้นสนับสนุนการท่องเที่ยว ในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก EEC
ซึ่งขณะนี้มีการลงทุนมหาศาล ปัจจุบันส่งมอบพื้นที่ไปแล้ว จะเปิดปี 2571
แล้วยังมีการศึกษาสนามบินอู่ตะเภาควบคู่กันไปด้วย
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติม
-ขณะนี้กระทรวงคมนาคม กำลังศึกษารถไฟความเร็วสูง ไปภาคเหนือ ลำปาง ภาคใต้
หัวหินไปสุราษฎร์ธานี
ระบบที่ 2 ระบบทางหลวง 4 แสน กม.
1. บางปะอิน-โคราช เงินกว่า 80,000 ล้านบาท
ความก้าวหน้าก่อสร้าง 85% เคยลองเปิดใช้ช่วงลำตะคอง แล้ว
จะใช้ได้จริงปี 2566
2.M84 บางใหญ่ เงินลงทุน 60,000 ล้านบาท ปี 2566 จะใช้งานได้แน่นอน โดยมีที่พักริมทาง
ปัจจุลัน “กรมทางพิเศษ”
ทำโครงการเชื่อมภาคกลางตอนล่างพระราม 2
ไปนครพนม ตอนนี้สร้างเสร็จ สามารถใช้งานได้แล้ว และการ “ก่อสร้างสะพานข้ามเจ้าพระยา”
บริเวณแยกปู่เจ้าสมิงพราย ข้ามไปแยกพระสมุทร้จดีย์ เชื่อวงแหวน 3
อีกทั้งกรมทางหลวง
บูรณาการทำงานร่วมกับการทางพิเศษพัฒนาการก่อสร้างทางยกระดับ บางขุนเทียน-บ้านแพร้ว
ได้ผู้รับจ้างจะเริ่มสร้างแล้วเสร็จภายใน 3
ปี แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก
บางขุนเทียน-มหาชัย ช่วง2 มหาชัย-บ้านแพร้ว
ส่วนแก้ไขปัญหาการเดินทางสู่ภาคเหนือ
จะใช้ “ดอนเมืองโทลเวย์” ซึ่งกำลังให้สร้างส่วนเชื่อมต่อจาก รังสิต ไปยังบางปะอิน อีก
22 กม. เป็นทางเลือกเดินทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ปี 2565 จะขอครม.อนุมัติลงทุน เพื่อเปิดบริการปี 2569
ขณะที่ทางด้าน “วงแหวนตะวันตก”
บางขุนเทียน-บางบัวทอง จะทำทางยกระดับ 36
กม. สามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2568
นอกจากนี้จะมีวงแหวนรอบกทม.
และ A7 ศรีนครินทร์ ไป อู่ตะเภา จากมาบตะพุดไปยังอู่ตะเภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพ EEC คาดน่าจะเปิดบริการได้ ปี 2568
ระบบ 3
ขนส่งทางอากาศ
นายศักดิ์สยามย้ำว่า
เชื่อมั่นว่าไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของทั่วโลก IATA คาดปี 2574 มีต่างชาติมาไทยปีละ 200 ล้านคน จากฐานข้อมูลปกติต่างชาติเคยเดินทางเข้ามาแล้วปีละ
40 ล้านคน จึงต้องพัฒนาสนามบินต่าง ๆ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง
ภูเก็ต หาดใหญ่ และเมืองการบินอู่ตะเภา จะต้องรองรับอีก 10 ปีหน้า
ประกอบด้วย
1.สนามบินสุวรรณภูมิ นำมาสเตอร์แพลนมาดูเรื่องการก่อสร้างทางวิ่งเครื่องบินหรือรันเวย์
จาก 2 เป็น 4 เส้น
ควบคู่การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร เพราะก่อนเกิดโควิดมีผู้โดยสารมาใช้สนามบินปีละ 120 ล้านคน เช่นเดียวกับดอนเมือง ก็หนาแน่นพอ ๆ กัน ตอนนี้ ทอท. ได้สร้างอาคารแซทเทิลไลท์สุวรรณภูมิเสร็จแล้ว รับเพิ่มได้อีกปีละ15 ล้านคน +อาคารผู้โดยสารหลักที่รองรับได้ 45 ล้านคน ขณะนีเร่งก่อสร้างรันเวย์
3 รองรับเพิ่มได้อีก 90 เที่ยว/ชม.
ปี 2568 คาดจะมีผู้โดยสารมาใช้สนามบินไม่ต่ำกว่าปีละ
68 ล้านคน จึงต้องพิจารณาขยายการก่อสร้างสุวรรณภูมิเทอร์มินัลใหม่ทางด้านทิศตะวันออก
และทิศเหนือ ต่อไป
2.สนามบินดอนเมือง อยู่ในสภาพ Over Capicity มีความจำเป็นจะต้องขยายระยะที่
3 เพื่อเพิ่มพื้นที่อาคารให้รองรับผู้โดยสารได้อีกปีละ 45
ล้านคน
3.สนามบินอู่ตะเภา กำลังทยอยก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ เตรียมรองรับได้มากถึงปีละ
16 ล้านคน ทำให้ EEC มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
4.สนามบินภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเฉพาะสนามบินในเมืองท่องเที่ยวหลัก ได้แก่
4.1 สนามบินภูเก็ต จะต้องขยายอาคารผู้โดยสารจาก 12 เป็น 18
ล้านคน/ปี ที่จเปิดได้ในปี 2570
ระบบ 4 กระทรวงคมนาคม ได้รวมระบบ "รางกับถนน" MR-
MAP
โดยเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายการค้าการลงทุน
เชื่อมไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ลดผลกระทบเรื่องความเดือดร้อนการเวรคืนที่ดิน เพื่อจะได้ช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจอย่างเต็มที่
ประกอบด้วย
โครงการหลัก
ได้แก่ 1.แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง สนข.กำลังทำผลศึกษา จะรู้ผลกลางปี 2565 แล้วจากนั้นปี 2566 เริ่มพัฒนาในรูปแบบ Business
Model เริ่มการสร้างได้ปี 2573
ประกอบด้วย 1.ท่าเรือน่ำลึก ฝั่งอันดามัน
กับอ่าวไทย ลึกไม่น้อยกว่า 15 กม. จะต้องเชื่อม รถไฟรางคู่
และมีท่อส่งน้ำมัน จะต้องเป็นโครงการ ไม่ชัน ไม่ยาว ลดระยะเวลาเดินทาง ลดค่าขนส่ง
เป็นศูนย์กระจายสินค้าสำคัญของประเทศ ซึ่งจะใช้ศักยภาพความเป็น
“ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน” ซึ่งยังไม่เคยนำมาใช้มาก่อน
เพราะที่ผ่านมา
-ระบบคมนาคมทางน้ำการส่งสินค้าไปยังทวีป อเมริกา แอฟริกา ต้องไปผ่านทาง “ช่องแคบมะละกา”
แต่แลนด์บริดจ์แห่งใหม่ในระนอง จะช่วยลดเวลา จากตะวันตกไปตะวันออกของไทย
ลดการเดินทางไปได้ถึง 4 วัน
สำหรับสถิติมีเรือขนส่งสินค้าใช้ช่องแคบมะละกาถึงปีละ
80,000
ลำ และขีดความสามารถสูงสุด อยู่ที่ปีละ 120,000 ลำ แต่อีก 10 ปีหน้า ต้องมีปัญหาจราจรทางน้ำอย่างแน่นอน ดังนั้นหากไทยทำแลนด์บริดจ์สำเร็จจะเป็นทางเลือกและทางหลัก
โดยจะสามารถสร้างผลตอบแทนเบื้องต้น
14,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการใช้เงินลงทุนราว 2 แสนล้านบาท
สามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย สำหรับไทยต้องการท่าเรือที่รองรับตู้คอนเทนเนอร์
17,000 ล้านคิวบิค
แนวโน้มการสร้างโลจิสติกส์เชื่อมทุกเครือข่ายในอนาคต
“การลงทุนทางน้ำ” จะยิ่งใหญ่กว่าการคมนาคมอื่นๆ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี
มีนโยบายให้ฟื้น "สายการเดินเรือแห่งชาติ" โดยใช้วิธีการ “ร่วมลงทุน”
ระหว่างรัฐ+เอกชน บริเวณอ่าวไทย ต้องเดินหน้าพัฒนาโลจิสติกส์
มีเอกชนมาถามชื่อซีมอส Seamoss บริการเดินเรือเฟอรี่จากสงขลามายังอ่าวไทย
วิ่งวันละ 2 รอบ ศึกษาแล้ว "ต้นทุน" ถูกกว่าทางบก ใช้ระยะเวลาขนส่งสั้นกว่า
เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า และเป็นทางออก ลดจำนวนรถบรรทุกขนาดใหญ่ได้ด้วย
กระทรวงคมนาคมเตรียมจะพัฒนา
"สายการเดินเรือแห่งชาติ" โดยมี 3
ท่า ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ แหลมฉบัง/ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ไปต่อเชื่อมตรงชุมพร และระนอง
สำหรับคำถามที่ว่า
-การลงทุนคมนาคม มากมาย เพื่อประโยชน์อะไร นายศักดิ์สยามย้ำว่า คำตอบคือ
ประโยชน์ที่ 1. สร้างความสะดวกแก่พี่น้องประชาชน
ประโยชน์ที่ 2 สร้างความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้นในการเดินทาง
และการขนส่งสินค้า จากระบบต่าง ๆดังนี้คือ
“ระบบราง”
ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 554 กม.
จะเพิ่มความเร็วเดินทางรถติดได้ 35 กม./ชั่วโมง 2.มอเตอร์เวย์ กฎหมายใหห้ 80 เป็น 120 กม. ดำเนินแบบระบบปิด จะแยก มอเตอร์ไซต์ออก 3.รถไฟทางคู่
60 เป็น 120 กม./ชั่วโมง 4.รถไฟความเร็วสูง 80 เป็น 160 กม./ชม.
5.รถไฟฟ้ารอบกรุงเทพฯ 14 เส้นทาง 500
กม.
“ระบบขนส่งทางอากาศ”
โดยเฉพาะสนามบิน สุวรรณภูมิจะรองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 80 เป็น 100 และ
200 ล้านคน/ปี
ประโยชน์ที่ 3
ช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก
คมนาคมวางเป้าหมายนำยางมาทำแท่งแบริเออร์ลดอุบัตเหตุ ตั้งเป้าไว้อีก 3 ปีหน้า
ประโยชน์ที่ 4 การคิดค่าโดยสาร ต่อไปทางกระทรวงคมนาคมได้คิดอัตราค่าบริการ
โดยให้ประชาชนเป็นตัวตั้ง แล้วจึงจะไปคิดเรื่องแบ่งผลประโยชน์ของรัฐกับเอกชน
+การพัฒนาพื้นที่ใช้ประโยชน์เชื่อมโยง ศูนย์ถ่ายสินค้า พื้นที่เชิงพานิชย์
ซึ่งมีดราม่าเล็กๆ ที่หัวลำโพง เราไม่มีนโยบายทุบทำลายประวัติศาสตร์ ซึ่งตอนนี้รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง
เปลี่ยนไปแล้ว คือ องค์กรต้องรอดจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพานิชย์
เพื่อมาทดแทนค่าเก็บจากประชาชน
ประโยชน์ที่ 5 ทำให้การเดินทางในประเทศไทย
ตรงต่อเวลา
นายศักดิ์สยามกล่าวสรุปว่า ปี
2565 กระทรวงคมนาคม จะลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท 1.ลงนามสัญญา 500,000 ล้านบาท 2.สร้างเศรษฐกิจสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท 3.จ้างงาน 154,000 ล้านบาท 4.ก่อสร้าง/อุปกรณ์
1.24 ล้านล้านบาท และ 5.สร้างมูลค่าจีดีพีประเทศจากคมนาคมให้ได้
2.35 % คิดเป็น 400,000 ล้านบาท
ทั้งหมด เป็นการวางแผนอนาคตไว้
20 ปีข้างหน้า ที่ผมจะมีเวลาทำงานในนามรัฐบาลอีก 1 ปีเศษ
เมื่อผู้บริหารคนอื่น ๆ มาจะได้มี Roadmap สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น
ผมอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ไม่เฉพาะกระทรวงคมนาคม
แต่พี่น้องชาวไทยต้องร่วมมือกัน เชื่อศักยภาพไทยจะกลับมามั่นคง
มั่งคั่ง ยั่งยืน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น