ชำแหละ!!รัฐใช้งบหลักพันล้านฝันฟื้นรายได้ท่องเที่ยว1.5ล้านล้าน ไทยปิดจ็อบยุทธศาสตร์ชาติเฟส1ปี65เผชิญโลกเปลี่ยน8ปัจจัยเสี่ยง
ชำแหละ!!รัฐใช้งบหลักพันล้านฝันฟื้นรายได้ท่องเที่ยว1.5ล้านล้าน
ไทยปิดจ็อบยุทธศาสตร์ชาติเฟส1ปี65เผชิญโลกเปลี่ยน8ปัจจัยเสี่ยง
ช้อปคิงเพาเวอร์จ่ายสบายแบ่งชำระ0%
6-10เดือนได้ตลอดปีเสือ65
5บัตรสมาชิกคิงเพาเวอร์รับเลยส่วนลดร้านอาหารดังในสุวรรณภูมิ
ททท.เปิดแล้วอันซีนนิวซีรีย์เมืองใต้พิภพ-ลอยฟ้าโรงไฟฟ้าลำตะคอง
บางจากแจกสิทธิ์ใหม่โอนแต้มสะสมบัตรสมาชิกให้หมายเลขอื่นได้
ราชบุรีเที่ยวใกล้ไปง่าย2แห่งใหม่
“อลังการการ์เด้น-บ้านห้วยน้ำใส”
7 วิธีนอนอย่างมีคุณภาพเริ่มลงมือทำวันนี้ช่วยให้สุขภาพดีแน่นอน
“OKMD”เปิดปฏิทินเที่ยว12เดือน12สุดยอดแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์
จุฬาระดมดีไซเนอร์เปิด3เส้นทางเที่ยวภูษาจรผ้าถิ่นน่าน8คลัสเตอร์
วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์”
เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน”
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทางfacebookLiveFM97.0
และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen บล็อกเกอร์
#gurutourza #รวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #เพ็ญรุ่งใยสามเสน
#เที่ยวกับกู๋ #KingPower #บัตรคิงเพาเวอร์รับส่วนลดร้านดังในสุวรรณภูมิ #TAT
#อลังการการ์เด้น
#บ้านห้วยน้ำใสสวนผึ้งราชบุรี
ฟัง Live สดจากลิงค์นี้
ชำแหละ!! “ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชาติ”
ปี’65
รัฐบาลเทหน้าตักแค่หลักพันล้านให้ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
แชร์ใช้เงินร่วมกับอีก 10 กระทรวง 21 หน่วยงาน หวังผลสูงที่จะฟื้นเศรษฐกิจโกยรายได้ 1.5 ล้านล้านบาท
ปิดจ็อบท่องเที่ยวเฟสแรกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เปลี่ยนเส้นทางใหม่เน้นภารกิจเดียว
“วางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่” นโยบายย้อนแย้งสั่ง “เพิ่ม” การลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการท่องเที่ยวโต
10 % ท้าความเสี่ยงวิถีใหม่
“เปลี่ยนโลก” ชุดใหญ่ 8 ปัจจัย
“วิกฤตเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจตกต่ำ-กระแสดิจิทัล-สภาพภูมิอากาศวิปริต-สงครามการค้า-ผู้สูงวัยทะลัก-สิ่งแวดล้อมเสื่อม-ช่องว่างความเหลื่อมล้ำใหญ่ขึ้น”
ท่องเที่ยวยังต้องเดินหน้าขายสินค้า 6 หมวดหลัก
“เที่ยวสร้างสรรค์/ไมซ์/สุขภาพ/เชื่อมโยงอาเซียน/สำราญทางน้ำ/เที่ยวอย่างรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม
รัฐบาล
“พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ประกาศ “แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี” ไว้เมื่อ 4
ปีก่อนเริ่มตั้งแต่ปี 2561
ให้ทุกภาคส่วนเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย
ภายใต้วิสัยทัศน์ 2580 :
ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยชู “6 แผนยุทธศาสตร์ชาติ
23 แผนแม่บท”
พร้อมกับให้ความสำคัญเรื่อง “การท่องเที่ยว” ไว้ลำดับที่ 5 โดยมี
“กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” เป็นเจ้าภาพ ทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับ 10
กระทรวง 21 หน่วยงาน
2 รัฐวิสาหกิจ
ปี 2565 รัฐบาลได้เฉือนงบประมาณท่องเที่ยวทิ้งไปกว่า
40 % ทั้ง ๆ
ที่กำหนดให้ท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 12 เป้าหมายของประเทศ
รัฐบาล “ลงทุนน้อย”
แค่หลักพันล้าน แต่ “ตั้งเป้าหวังผลไว้สูงลิบ” จาก “รายได้ท่องเที่ยว”
ทั้งปีก้อนโตรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท
ควบคู่กับต้องหาวิธี “เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการท่องเที่ยว” ขยายตัวขึ้นไม่ต่ำกว่า
10 % หลังจากการอนุมัติเป็น
“งบประมาณตามแผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว” ให้ใช้ร่วมกันรวม 4,653.8 ล้านบาท
คิดเป็น 0.2 % ของงบประมาณรวมของประเทศ
เสมือนเป็นนโยบาย
“ย้อนแย้งกัน” อย่างชัดเจน ในการใช้เงินเพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยทั้งทางด้าน
การพัฒนาและการฟื้นฟูสินค้า การกระตุ้นตลาดในประเทศและทั่วโลก
ตลอดปี 2565 “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”
(ททท.) ได้ส่วนแบ่งงบบูรณาการเพียง 1,164.1 ล้านบาท
ที่จะต้องนำไป “ฟื้นฟูตลาดทั้งในประเทศและทั่วโลก”
หาเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประเทศให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท
ท่ามกลางสถานการณ์การปิด ๆ เปิด ๆ ประเทศ
ตามจังหวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ซึ่งยังระอุเป็นวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ
โจทย์ใหญ่ปี 2565 “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” เองจะต้องเป็นผู้นำบูรณาการทำภารกิจตามนโยบายรัฐบาลปรับใหม่พุ่งทำเป้าหมายเดียวคือ
“วางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่” กระจายการใช้เงินบูรณาการดังกล่าว
ติดอาวุธท่องเที่ยว 4 แนวทาง
ประกอบด้วย
แนวทางที่
1
ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
2,830.1 ล้านบาท
คิดเป็น 61 %
แนวทางที่
2 ส่งเสริมให้เกิดการปรับรูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่การท่องเที่ยว
1,233. ล้านบาท
คิดเป็น 27 %
แนวทางที่
3 พัฒนาภาคการท่องเที่ยวทั้งระบบมุ่งเน้นเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณหรือ
Creative Tourism 530.3 ล้านบาท
คิดเป็น 11 %
แนวทางที่
4 สร้างความหลากหลายให้การท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าและบริการทางสุขภาพ
59.6 ล้านบาท
คิดเป็น 1 %
ทั้ง ๆ ที่ในปี
2564 ก่อนจะเป็นปีสุดท้ายเฟสที่
1 แผนยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาลที่กำหนดไว้
ระหว่างปี 2561-2565 นั้นรัฐบาลได้ขายฝัน
“การท่องเที่ยวประเทศ” ไว้ 3 เรื่องหลัก คือ
1.ประเทศจะต้องสร้างจีดีพีท่อเงที่ยวเพิ่มขึ้นรวม
22 %
2.ผู้ประกอบการยุคใหม่จะเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SME
จะสร้างจีพีดีรวม 45 %
3.คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้นตามดัชนีพัฒนา
0.79 คะแนน
จากนั้นจะส่งต่อไปยังแผนยุทธศาสตร์ชาติเฟสที่
2 ระหว่างปี
2566-2570 ให้มีพลังเพิ่มมากขึ้นต่อทั้ง
3 เรื่อง
คือ
1.ประเทศจะต้องสร้างจีดีพีท่องที่ยวเพิ่มขึ้นรวม
25 % เพิ่มขึ้นจากเฟสแรก
3 %
2.ผู้ประกอบการยุคใหม่จะเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SME
จะสร้างจีพีดีรวม 50 % เพิ่มขึ้นจากเฟสแรก
5 %
3.คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้นตามดัชนีพัฒนา
0.82 คะแนน
เพิ่มขึ้นจากเฟสแรก 0.03 คะแนน
จากนั้นรัฐบาลก็เปลี่ยนโจทย์ใหม่ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตามแผนยุทธศาสตร์ 20
ปี เฟสที่ 1 ที่จะจบในปี 2565 เน้นเฉพาะ
“การเพิ่มรายได้และขยายการลงทุน” ปูทางสู่รอยต่อเฟสที่ 2 ปี 2566 โดยยังต้องเคลื่อนทัพต่อท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มตามมาเป็นหางว่าว
นอกจากโควิด-19
หรือโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ แล้ว อุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังมีตัวแปรใหญ่รอรับมือเพื่อปรับตัวให้อยู่รอดได้กับสถานการณ์
“โลกแห่งความปั่นป่วนและการเปลี่ยนแปลง” ที่ผู้นำการขับเคลื่อนประเทศต้องพึงตระหนักกับตัวแปรเปลี่ยนโลกวิถีใหม่จาก
8
ปัจจัย
1.วิกฤตเศรษฐกิจโลก
2.สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ
3.การเข้าสู่ยุคดิจิทัล
นำไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่แห่งการแบ่งปัน
4.สภาพภูมิอากาศปะทุขึ้นทั้งดิน น้ำ ลม
ไฟ ส่งเสียงเรียกร้องให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ดังขึ้นเรื่อย ๆ
5.สงครามการค้ารุนแรงขึ้น
ตามแนวคิดชาตินิยม ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจของโลก
6.ประชากรโลกและประชากรไทยก็กำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
7.สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
การเจริญเติบโตของเมืองก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
8.ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทะลักเข้ามาไม่หยุด
โดยที่ยังไม่สามารถปลดชนวนปัญหาเก่า แต่ก็ต้องเจอปัญหาใหม่ทับถมเข้ามาเพิ่ม
โจทย์ที่ต้องทำส่งท้ายแผนยุทธศาสตร์เฟส
1 ปี 2565
ในช่วงรอยต่อเฟส 2 ปี 2566 “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
หนีไม่พ้นที่ยังคงต้องให้ “ททท.” งัดขายเทรนด์สินค้าท่องเที่ยว 6 หมวดหลัก ต่อไป ประกอบด้วย
“สินค้าท่องเที่ยวที่มองเห็นอนาคต” การเติบโตสามารถไปต่อได้อย่างราบรื่น 6 หมวด คือ
หมวดที่ 1 “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม” ตามเป้าภายในปี 2565 “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” มีความหวังจะสร้างรายได้เติบโตเฉลี่ย
10 % ควบคู่กับขยายเมืองและชุมชนที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นปีละ 5 เมือง โดยมี “กระทรวงพาณิชย์”
เข้ามาเสริมทัพรณรงค์นำสินค้าท่องเที่ยวขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ได้ราว 5
%
ปี 2562
พบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนนำร่องใน 22 ชุมชน เติบโตเพิ่มอย่างรวดเร็วถึง22.13
% ส่วนเมืองสร้างสรรค์มีเข้ามาใหม่แค่
2 จังหวัด
คือ สุโขทัยกับกรุงเทพฯ ยังห่างจากเป้าหมายที่เคยตั้งไว้เฉลี่ยปีละ 5 เมือง และ
“สินค้าท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม”
ได้รับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญากลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2561
เพิ่มขึ้นถึง 20
%
หมวดที่ 2 การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ หรือ ไมซ์ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ควรจะผลักดันเพิ่มรายได้เติบโต
5 % ส่วน “สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน)” ต้องส่งเสริมให้เป็นจุดหมายปลายทางการจัดประชุมนานาชาติ โดยติด 1 ใน 23 ของโลก
ระหว่างปี 2561-2562 พบว่า “รายได้จากไมซ์” ขยายตัวปีละ
212,924 ล้านบาท และ 202,362
ล้านบาท ตามลำดับ ยังคงเพิ่มขึ้น 20.9
% และ
15.9 % อีกทั้งปี 2561
ไทยเป็นจุดหมายปลายทางจัดการประชุมนานาชาติอันดับ
21 ของโลก
และอันดับ 5
ของเอเชีย
หมวดที่ 3 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม
และแพทย์แผนไทย “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ต้องเพิ่มรายได้ให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5 %
และยกระดับให้มีรายได้ขึ้นไปยืนอยู่อันดับที่
12 ให้ได้
ส่วน “กระทรวงสาธารณสุข” ควรช่วยผลักดัน “สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและบริการทางการแพทย์”ได้รับมาตรฐานอีกสัก
5 %
ปี 2562 กรมส่งเสริมบริการสุขภาพ
ระบุมีสถานประกอบการสปา นวดเพื่อสุขภาพ และความงาม ได้การรับมาตรฐานมากถึง 3,312
แห่ง เติบโตปีละกว่า 37
% ตามรายงานของ
Global Wellness Institute ระบุปี 2561 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยทำรายได้กว่า
12,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 13 % เป็นโอกาสอย่างมากหลังโควิด-19
การเติบโตจะมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามเทรนด์การหันมารักษาสุขภาพ
เน้นความสะอาดปลอดภัยด้านสุขอนามัย
หมวดที่ 4 การท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค ไทยกลุ่มสมาชิกอาเซียน “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
ตั้งความหวังจะลงทุนเพิ่มจุดเชื่อมต่อการเดินทางท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเติบโต 5 %
ปี 2562
นักท่องเที่ยวอาเซียนเข้ามาไทยเติบโตเกิน 6.6 % ผ่านเข้ามาทางชายแดนทางบก เพิ่มขึ้น 10
% ทางน้ำ
เพิ่มขึ้น 60
%
ตอกย้ำถึงความนิยมใช้ช่องทางการเข้าถึงไทยอย่างน่าสนใจในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวทางน้ำกับอาเซียน
ส่วน “สินค้าการท่องเที่ยว”
ที่ยังคงรั้งท้ายจะต้องเร่งเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขัน ที่ยังคงต้องทำต่อไปอีก
2 หมวด คือ
หมวดที่ 5 การท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”
ต้องรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5 % โดยทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับ “กระทรวงคมนาคม”
ลงทุนพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ท่าเรือ จากปัจจุบันไทยมีท่าเรือท่องเที่ยวอยู่ทั่วประเทศเพียง
34 แห่งเท่านั้น
ในสองฝั่งทะเล คือ ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ส่วนรายได้การท่องเที่ยวทางน้ำเพิ่มขึ้นเกินสองหลักเฉลี่ยปีละ
12 %
หมวดที่ 6 การพัฒนาระบบนิเวศน์การท่องเที่ยวหรือเที่ยวอย่างรับผิดชอบ/CSR ซึ่ง “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” จำเป็นจะต้องเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้มีความปลอดภัยสูงติด
1 ใน 70 ของโลก รวมถึงต้องเร่งรัดเพิ่มกลุ่มการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดติด
1 ใน 110 ของโลก โดยมีพันธมิตรอย่าง“กระทรวงคมนาคม”
ช่วยสนับสนุนเพิ่มมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องที่ยวคุณภาพสูง ติด 1 ใน 50 ของโลก
ปี 2562 ขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านท่องเที่ยวด้านความมั่นคงปลอดภัยไทยติดอันดับ
111
ของโลก โดยมีโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการท่องเที่ยวคุณภาพสูงด้านคมนาคมและทางทะเลไทยอยู่อันดับ
72
ของโลก ต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย
และการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไทยก็รั้งท้ายอยู่อันดับ 130 ของโลก
อยู่อันดับ 7
ของอาเซียน
จับตาว่าปี
2565 การลงทุนของรัฐบาลด้วยงบรายจ่ายเพียงหลักพันล้าน
ด้วยความหวังจะฟื้นฟูเศรษฐกิจและรายได้ท่องเที่ยวให้ได้เป็นกอบกำถึง 1.5 ล้านล้านบาท
นั้น คือความฝันหรือความจริง
ข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 ช้อปคิงเพาเวอร์จ่ายสบายแบ่งชำระ
0% ยาว6-10เดือนได้ตลอดปีเสือ65
“คิง เพาเวอร์”
ให้ช้อปแล้วสามารถแบ่งชำระ 0% ได้อย่างสบายใจ ตั้งแต่วันนี้
– 31 ธันวาคม 2565 ที่ คิง เพาเวอร์
รางน้ำ ศรีวารี พัทยา ภูเก็ต และ คิง เพาเวอร์ สนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง
1.เมื่อช้อปครบ 20,000 บาทขึ้นไป (สุทธิ) /ใบเสร็จ แบ่งชำระ
0 % ได้นาน 6 เดือน
2.เมื่อช้อปครบ 30,000 บาทขึ้นไป (สุทธิ) / ใบเสร็จ
แบ่งชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน
โดยทำตามกติกาสบาย ๆ ดังนี้
1.รับสิทธิ์ผ่อนชำระ 0%
เฉพาะสมาชิก คิง เพาเวอร์ เท่านั้น
2.ยอดซื้อสินค้าเพื่อรับสิทธิ์ผ่อนชำระ
0% ต้องเป็นยอดซื้อหลังจากหักส่วนลดต่างๆ (ยอดสุทธิ)
ภายในแผนกสินค้าเดียวกัน
3.บัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยา
และบัตรผ่อนชำระในเครือกรุงศรี คอนซูเมอร์ สามารถร่วมรายการได้เฉพาะที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ และ คิง เพาเวอร์ สนามบินสุวรรณภูมิ
โดยสงวนสิทธิ์การผ่อนชำระสำหรับสินค้าบางประเภทเท่านั้น
ข่าวที่ 2 บัตรคิงเพาเวอร์5ประเภทรับเลยส่วนลดร้านอาหารดังในสุวรรณภูมิ
“คิง เพาเวอร์”
มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิกบัตร 5 ประเภท ทั้ง VEGA, CROWN, ONYX, SCARLET และ NAVY
ให้ทุกคนได้เติมเต็มความสดชื่นระหว่างเดินทางไปกับหลากหลายเมนูความอร่อยในราคาพิเศษ
ได้ตามร้านดังในสนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 เพียงแสดงสถานะสมาชิก
คิง เพาเวอร์ เพื่อรับสิทธิ์ใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ – 31
ธันวาคม 2565
1.รับส่วนลด 15% ที่ร้าน Gloria Jean’s Coffees
2.รับส่วนลด 10% ที่ร้าน One Minute Gourmet
พบกับอาหารและเครื่องดื่มปรุงสดใหม่ พร้อมเสิร์ฟให้รับประทานในแบบ Freshly
Made to Go
3.รับส่วนลด 10% ที่ร้าน The Villa Halalชั้น 4 Concourse C ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อร่อยเด็ด
คุ้มสุดฟินไปกับอาหารไทยฮาลาลแท้ 100%
ที่มีให้เลือกรับประทานหลากหลายเมนูในราคาพิเศษ
4.รับส่วนลด 10% ที่ร้าน kanom ชั้น
2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อร่อยฟินไปกับเบเกอรีระดับพรีเมียม
เสิร์ฟสดใหม่จากเตาให้สมาชิกฯ ได้ลิ้มลองอย่างจุใจ
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
King Power Contact Centre 1631
ข่าวที่ 3 ททท.เปิดแล้วทัวร์อันซีนนิวซีรีย์เมืองใต้พิภพ-ลอยฟ้าโรงไฟฟ้าลำตะคอง
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์
รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565
ได้เป็นประธานเปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยว "Unseen New
Series " ภาคอีสาน แห่งใหม่ "
โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดย
ททท.จับมือกับพันธมิตร นายดนุนันท์ ไชยทุม ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าลําตะคองชลภาวัฒนา นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน
"โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา
กฟผ. " เป็น 1 ใน 5 แหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน ที่ได้รับการคัดสรรเป็นแหล่งท่องเที่ยว
Unseen New Series ตอบโจทย์นโยบายการท่องเที่ยว BCG & Happy Model อันโดดเด่นของอีสาน
รวมทั้งเป็นแหล่งทองเที่ยวใหม่ ที่มีความสวยงามอันโดเด่น
ทั้งเมืองใต้พิภพและเมืองลอยฟ้า ที่จะดึงดูดผู้คนเข้ามาท่องเที่ยวตลอดทุกปี คือ
"เมืองลอยฟ้า"
อยู่บริเวณ "อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง"
ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นจุดชมวิวหมื่นล้านที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
"เมืองใต้พิภพ"
เป็นจุดที่ตั้งของอุโมงค์โรงไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ลึกลงไปใต้ดินกว่า 1.5 กิโลเมตร ใช้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า
ด้วยการสูบน้ำจากเขื่อนลำตะคองไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง
จุดเด่นของโรงไฟฟ้าลำตะคองทั้งใต้ดินและบนดิน
จึงนับเป็น Unseen จุดเช็คอินที่โดเด่นไม่เหมือนใคร
ภายในชุมชนรอบโรงไฟฟ้าลำตะคอง
ยังมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมได้ร่วมลงมือทำมากมาย ทั้ง วัฒนธรรม
ชุมชนคนหลังเขายายเที่ยง สินค้า อาหารถิ่น
มีการแฟดิฟ “ร้านกาแฟขี้คุย” ใช้หวดจิ๋ว มากรอง ผสมกาแฟสดดงมะไฟโคราช รสเลิศ
โรงไฟฟ้าลำตะคอง
โคราช เป็นจุดเช็คอินและจุดนัดพบ 1 ใน 25 Unseen New
Series แห่งปีเสือ 2565 ที่จะต้องชวนกันมาชมสักครั้ง
มาเที่ยวกันเถอะ คนโคราชคิดถึงนักท่องเที่ยวทุกคน
ข่าวที่ 4 บางจากแจกสิทธิ์ใหม่โอนแต้มสะสมบัตรสมาชิกให้หมายเลขอื่นได้แล้ว
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) แจ้งสิทธิพิเศษ
สำหรับ “สมาชิกบางจาก” สามารถโอนคะแนนสะสมให้สมาชิกบางจากหมายเลขอื่นได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2565 ผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ 1.Bangchak
Mobile Application และ 2.เว็บไซต์ http://www.bcpgreenmiles.com
โดยจำกัดการโอนคะแนนสมาชิกบางจาก
สูงสุด 20,000
คะแนน / วัน และไม่เกิน 50,000 คะแนน / เดือน คลิกโอนคะแนน https://bit.ly/3i7Zdfa
วิธีโอนคะแนนไปยังหมายเลขอื่นมีดังนี้
1. สิทธิพิเศษของสมาชิกบางจากโอนคะแนนให้กันได้
ผ่าน Bangchak Mobile Application และ เว็ปไซต์ http://www.bcpgreenmiles.com 2. โอนขั้นต่ำ 1 คะแนน 3. จำกัดการโอนคะแนนไปหมายเลขสมาชิกอื่นสูงสุด 20,000
คะแนน/หมายเลขสมาชิก/วัน และไม่เกิน 50,000
คะแนน / หมายเลขสมาชิก / เดือน
4. คะแนนบางจากจะถูกตัดทันทีหลังจากทำรายการเสร็จสมบูรณ์ และโอนไปยังหมายเลขสมาชิกบางจากที่ท่านต้องการโดยอัตโนมัติ หลังจากทำการโอนคะแนนทันที 5. ไม่สามารถโอน/ เปลี่ยน/ แลก / ทอนเป็นเงินสดได้ 6. หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือพบปัญหาการใช้งานโอนคะแนน ติดต่อ บางจาก คอล เซนเตอร์1651 กด 4
ช่วงที่ 2 เที่ยวไทย เที่ยวง่าย ไปกันเถอะเมืองโอ่ง “ราชบุรี” ตอนนี้เปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่อีกแล้ว 2 แห่ง ออกไปเช็คอินด่วน ๆ ที่ “อลังการการ์เด้น” อำเภอเมือง แปลงโฉมศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวครบวงจร กับ “บ้านห้วยน้ำใส” วิถีชาวมอญ สวนผึ้ง ถ้าเรื่องสุขภาพรีบทำเลย “7 วิธีนอนอย่างมีคุณภาพ” ทำแล้วดีแน่นอน ปิดท้ายด้วยข่าวฮ็อตแห่งสัปดาห์ ข่าวแรก “OKMDลุยเปิดปฏิทินเที่ยว” 12 เดือน 12สุดยอดแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ ข่าวที่สอง “จุฬาฯระดมดีไซเนอร์” เปิด 3 เส้นทางทัวร์ภูษาจร 8 คลัสเตอร์ผ้าพื้นเมืองน่าน
พาเที่ยว -ราชบุรีเที่ยวใกล้ไปง่าย2แห่งใหม่ “อลังการการ์เด้น-บ้านห้วยน้ำใส”
เที่ยวใกล้ เที่ยวง่าย เที่ยวสบาย ๆ กับการออกไปเติมประสบการณ์ในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 2 แห่ง ใน “ราชบุรี” ออกเที่ยวกันเถอะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
แห่งแรก “อลังการการ์เด้น” ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ศูนย์จำหน่ายไม้ดอก ไม้ประดับ ตอนนี้ได้เนรมิตรพื้นที่กว่า 100 ไร่ ให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ท่ามกลางธรรมชาติรายล้อมด้วยสวนดอกไม้หลากสีสัน เปิดบริการทุกวัน 9:00 - 18:30 น.
พร้อมทั้งการจัดให้มีพื้นที่กางเต็นท์ในโซนป่า ที่จะเป็นแม่เหล็กเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบสายแคมป์มาร่วมประสบการณ์พักค้างแรมท่ามกลางอากาศเย็นสบาย ๆ เรื่อยไปจนถึงการเห็นดอกไม้สวย ๆ มีกิจกรรมให้ทำมากมาย เช่น ถ่ายรูป ปั่นจักรยาน และมุมถ่ายรูปละลานตาให้เหล่าเลิฟเวอร์ สายดอกไม้ สายคาเฟ่ และสายแคมป์ปิ้ง ได้เก็บภาพกันอย่างจุใจ
ภายในอลังการการ์เด้น มีบริการโดน ๆ นักท่องเที่ยวเทรนด์ใหม่ทั้ง บริการอาหาร คาเฟ่ ลานกางเต็นท์ ศูนย์เพาะและขายดอกไม้สายพันธุ์ต่าง ๆ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พร้อมอุปกรณ์เก๋ ๆ ในการปลูก กับข้อแนะนำดี ๆ จากทางร้านที่อาศัยประสบการณ์มาบอกต่อกัน อีกทั้งยังสามารถเลือกเป็นสถานที่ จัดงานเลี้ยง งานสัมมนา จัดประชุมต่าง ๆ ก็ได้
“อลังการการ์เด้น” เก็บค่าเข้า ผู้ใหญ่ 20 บาท/คน เด็กความสูง 100 – 130 ซม. 10 บาท/คน และฟรีหากเป้นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กับเด็กส่วนสูงต่ำกว่า 100 ซม.
สอบถามได้ที่โทร. 094-562 2085 , 081-9284518 , 098-4262446 หรือติดตามได้ทาง Facebook : Alungkarn Garden อลังการ การ์เด้น และ Google Map : https://goo.gl/maps/9BoGN217kfrcU4PX8
แห่งที่ 2 “หมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส” อ.สวนผึ้ง แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ กับประสบการณ์แห่งวิถีชาวไทย-รามัญ ท่ามกลางธรรมชาติ หมู่บ้านนี้มีละธารน้ำไหลผ่าน บรรยกาศร่มรื่น อากาศเย็นสดชื่น ไฮไลต์การท่องเที่ยวช่วงวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทางชุมชนมอบความสุขให้นักท่องเที่ยวด้วยกิจกรรม “ตักบาตรวิถีชาวมอญ”
ตอนเช้าประมาณ 8 โมง ชาวบ้านจะนำเสื่อมาปูตามแนวทางเดิน ให้นักท่องเที่ยวเตรียมนั่งรอพระสงฆ์จาก “สำนักห้วยน้ำใส” จะเดินบินฑบาตร เพื่อให้ผู้คนได้นำอาหารคาวหวาน ร่วมกันตักบาตร สิ้นสุดจากขบวนแถวพระสงฆ์ จะมีหญิงสาวชาวมอญเดินเรียงแถวนำถาดวางสิ่งของ คนโทน้ำ ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ เทินไว้บนศรีษา เพื่อจะนำไปถวายพระที่วัด ปิดท้ายขบวนด้วยนางรำชาวมอญ เป็นวิถีชีวิตที่นักท่องเที่ยวพบเห็นแล้วจะต้องประทับใจอย่างแน่นอน
ส่วน “วันธรรมดา” จันทร์-พฤหัสบดี ก็จะเปิดหมู่บ้านให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมได้ทุกวัน รวมทั้งชาวชุมชนจะร่วมกันเปิดตลาดเล็ก ๆ ให้ร้านนำสินค้ามาวางแผงขาย อาหาร ขนมพื้นบ้านของชาวมอญ นักท่องเที่ยวก็เดินชม ชิม อุดหนุนได้ตามที่ชอบและที่ใช่ได้ตามสบาย
มาเที่ยว
“ราชบุรี” กันเถอะ เติมประสบการณ์ความประทับใจ เมืองไทย ยิ่งเที่ยว
ยิ่งได้ประโยชน์ในการช่วยฟื้นเศรษฐกิจท้องถิ่นของชาติให้กลับมายืนอย่างแข็งแกร่ง
ด้วยพลังคนไทย ช่วยไทย
สุขภาพ – 7 วิธีนอนอย่างมีคุณภาพลงมือทำวันนี้ช่วยให้สุขภาพดีชัวร
เรื่องง่าย ๆ อย่าง “การนอน” หลายคนลืมนึกถึงว่าการนอนนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตคนเรา ดังนั้นจึงควรรู้วิธีเพื่อจะสุขภาพที่ดี ไม่มีปัญหาและมีโรคร้ายตามมาได้ในอนาคต ขอแนะนำ “7 วิธีนอนอย่างมีคุณภาพ” ช่วยสุขภาพดีได้แน่นอน ดังนี้
1.พยายามปรับเวลาตื่นและเวลานอนให้สม่ำเสมอเหมือนกันทุกวัน
2.ก่อนนอนให้ทำร่างกายให้ผ่อนคลาย งดดูหนังหรือซีรีส์ที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นหรือเร้าอารมณ์ ลองเปลี่ยนเป็นฟังเพลงเบาๆ หรืออ่านหนังสือหรือทำ to do list เพื่อฝึกการคิดให้เป็นระบบและไม่ฟุ้งซ่านก็ได้
3.ปรับสภาพห้องนอนให้น่านอน เช่น ปิดไฟให้สนิทและป้องกันเสียงรบกวน
4.ระหว่างวันไม่ควรนอนกลางวัน แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็ไม่ควรเกิน 30 นาที
5.ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ เวลาใกล้จะนอน
6.เลี่ยงการกินอาหารมื้อดึกเวลาใกล้นอน
7.เปิดม่านเอาไว้เพื่อให้แสงแดดเข้าในตอนเช้าเป็นการช่วยให้เราตื่นได้เองอัตโนมัติ
ส่วนคนที่นอนไม่หลับหรือรู้สึกว่าเวลาชีวิตรวนก็ลองนำ
7 วิธีนี้ ไปทำ แล้วจะรู้สึกสดชื่นทุกเช้าเปลี่ยนชีวิตได้จริง
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “OKMD”เปิดปฏิทินเที่ยว12เดือน12สุดยอดแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) : สบร. หรือ OKMD (Office of Knowledge Management and Development: Public Organization) OKMD เปิดเผยว่า ได้จัดทำปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี เชิญชวนคนไทยออกเดินทางท่องเที่ยวแบบใหม่ ที่เรียกว่า ‘การเดินทางเชิงความรู้’ หรือ Knowledge-based Tourism เป็นการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน หย่อนใจ แสวงหา และเรียนรู้ไปตามที่ต่าง ๆ ไปพร้อมกัน
แตกต่างจากการเดินทางท่องเที่ยวแบบเดิมที่คุ้นเคย การท่องเที่ยวเชิงความรู้นั้นเป้าหมายก็เพื่อการพักผ่อน ผ่อนคลาย ในยุโรปได้รับนิยมสูง โดยผู้คนจะออกเดินทางเพื่อเรียนรู้ เติมเต็มประสบการณ์ให้ชีวิต สนุกสนาน ไม่เคร่งเครียด และได้ความรู้ประเภทฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่จะอยู่กับแต่ละคนอย่างยาวนาน
ปี 2565 ทาง OKMD ได้คัดสรร การท่องเที่ยว 12 เดือน 12 สุดยอดแหล่งเเรียนรู้สร้างสรรค์ประจำปีคัดสรร ตามความ เหมาะสมของฤดูกาล สถานที่ตั้ง เทศกาล อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน มีทั้งแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์ เกษตรกรรม ชาติพันธุ์วิทยา เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เพลินไป กับการเดินทางท่องเที่ยว พร้อมการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และยกคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่
1.มกราคม : อุทยานธรณี จังหวัดสตูล หนึ่งในอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) ที่มีทั้งหมด 120 แห่ง และเป็นแห่งแรกของไทย
2.กุมภาพันธ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีที่แสดง พัฒนาการทางสังคมและศาสนาของมนุษย์ เดือนนี้อากาศเย็นเหมาะกับการเดินทางเที่ยวชม
3.มีนาคม : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย จังหวัดชลบุรี พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ริมทะเล เหมาะเดินทางเที่ยวทะเลฝั่งอ่าวไทย
4.เมษายน : โฮงเฮียนสืบสานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ เมษายนตรงกับเทศกาลสงกรานต์ ไปแล้วจะได้ทั้งองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านล้านนา พร้อมกับร่วมกิจกรรมพิเศษสงกรานต์ได้ด้วย
5. พฤษภาคม : อุทยานธรรมชาติวิทยาสิริรุกขชาติ และพฤกษาดุริยางค์ (พิพิธภัณฑ์ต้นไม้ดนตรี) เริ่มเข้าฤดูฝน ต้นไม้เขียวขจี สวยงาม แถมยังเป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพรด้วย
6.มิถุนายน : Space Inspirium อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ จังหวัดชลบุรี เป็นพิพิธภัณฑ์ในร่ม แม้เป็นฤดูฝนก็สามารถเข้าชมได้
7.กรกฎาคม : โครงการชั่งหัวมันตามแนวพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เป็นเดือนก่อตั้งโครงการนี้ขึ้นกลางหุบเขางดงาม เหมาะไปศึกษาหาความรู้ด้านเกษตรกรรมและพลังงาน
8.สิงหาคม : สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ มีทางเดินลอยฟ้าที่ออกแบบ ให้กลมกลืนกับการชมธรรมชาติ มีการจัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบรม ราชชนนีพันปีหลวงเดือนนี้ทุกปี
9.กันยายน : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนนี้เป็น 1
ใน 4 ช่วง ที่เหมาะชมความมหัศจรรย์ของพระอาทิตย์ขึ้นลอดผ่านช่องในปราสาทพนมรุ้ง
10.ตุลาคม : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
ถือเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย เหมาะกับการศึกษาเรื่องสุขภาวะ
และเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวด้วย
11.พฤศจิกายน : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ตรงกับเทศกาลลอยกระทง ซึ่งสุโขทัยถือเป็นต้นกำเนิดเทศกาลนี้ จึงเหมาะไปเยือนอย่างยิ่ง
12.ธันวาคม : หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ศูนย์รวมความรู้
ความตื่นเต้น ปลายปีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมไปสัมผัสไอหนาวในภาคเหนือ
และหอฝิ่นแห่งนี้
ข่าวที่สอง
จุฬาระดมดีไซเนอร์เปิด3เส้นทางเที่ยวภูษาจรผ้าเมืองน่าน8คลัสเตอร์
ศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล
หัวหน้าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ได้ระดมพลังอาจารย์นักออกแบบรุ่นใหม่พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง
นำการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Cultural Creative Tourism) ตั้งเป้าหมายจะช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
โดยได้ผนวกเป็นเส้นทาง “ภูษาพาจร” 3 เส้นทางท่องเที่ยวสานเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ใน 5 อำเภอ ของจังหวัดน่าน
3 เส้นทางท่องเที่ยวสายผ้าทอ “ภูษาพาจร”
พร้อมต้อนรับผู้มาเยือน ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 “ช้อป-ชิม-แชร์ - Shop, Taste,Share” เชิญชวนกลุ่มนักเดินทางทั่วไปที่อยากชิมประสบการณ์
เยี่ยมชมกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอ ซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึก และรับประทานอาหาร เครื่องดื่มท้องถิ่น
หรือพักแบบโฮมสเตย์ ของกลุ่มทอผ้าบ้านชาวหลวง
อำเภอเมือง ร้านฝ้ายเงิน อำเภอเมือง,กลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านเก็ต
อำเภอปัว และร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา
เส้นทางที่ 2 “สิ่งทอและงานฝีมือ - Textile and CraftDestination” เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ใหม่
ๆ ทดลองทำงานฝีมืออาทิ ทอผ้าหรือย้อมสีผ้าเป็นของที่ระลึก ของกลุ่มผ้าทอบ้านซาวหลวง
อำเภอเมือง ร้านรัตนาภรณ์ผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว กลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านเก็ต
อำเภอปัวร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา
และร้านมิสเอโปรดักซ์ อำเภอปัว
เส้นทางที่ 3 “ต่อยอดเชิงธุรกิจ -Creative EntrepreneurRoute” เหมาะกับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่หรือนักออกแบบ
ที่กำลังมองหาวัตถุดิบ แรงบันดาลใจ ได้จากกลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง อำเภอเมือง
ร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว ร้านฝ้ายเงิน
อำเภอเมือง กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านปางกอม อำเภอสองแคว ผ้าไทลื้อบ้านเก็ต
อำเภอปัว ศูนย์ผ้าทอไทลื้อบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา และร้านมิสเอโปรดักซ์ อำเภอปัว
โครงการนี้ได้รีแบรนด์อัตลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองน่านให้มีความน่าสนใจขึ้นมา
8 คลัสเตอร์
1.บ้านซาวหลวง:
ประยุกต์ลายน้ำไหลจากชาวไทลื้อโบราณ เน้นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน
และเฟอร์นิเจอร์
2.ร้านวราภรณ์ผ้าทอ: ลายผ้าเรียบง่าย สีสันสดใสผสมโทนสีเทา
มีความเป็นยูนิฟอร์มร่วมสมัย
3.ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน: พัฒนาลวดลายเดิมด้วยการจัดวางใหม่
จากวัฒนธรรมม้ง เน้นความคล่องตัวใส่สบาย สไตล์มินิมอล
4.ร้านฝ้ายเงิน: ลวดลายวัฒนธรรมไทลื้อ เน้นสีสันสดใส
ดีไซน์สนุกกับแนวเสื้อโอเวอร์ไซส์
5.บ้านปางกอม: ลวดลายไทลื้อ ที่มีความเป็นสากล ด้วยเอิร์ทโทน เหมาะกับ Gen
Y สายรักษ์โลก
6.โกโก้วัลเล่ย์: กลุ่มทอผ้าไทลื้อ เน้นกลุ่มไลฟ์สไตล์ชอบเที่ยว อินดี้
ไม่เหมือนใคร
7.ไทมูล: ลวดลายท้องถิ่นไทลื้อ เน้นความแปลกตาผสมกับรูปทรงเรขาคณิต
อิสระและเรียบง่าย
8.มีสเอ โปรดักส์: ลายไทลื้อที่มีความสตรีทแวร์ สวยสบาย คล่องตัว
ติดตามฟังรายการได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.ทาง สวท.FM 97.0 MHz.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น