พท.หนุนม.พะเยาปี65ลุยเปิดบริษัท”ออร์แกนิคพะเยา-OPSE” ปั้นวิสาหกิจชุมชนลุยตลาดออนไลน์-ออฟไลน์สร้างรายได้ยั่งยืน
บพท.หนุนม.พะเยาปี65ลุยเปิดบริษัท”ออร์แกนิคพะเยา-OPSE”
ปั้นวิสาหกิจชุมชนลุยตลาดออนไลน์-ออฟไลน์สร้างรายได้ยั่งยืน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #บพท #ออร์แกนิกพะเยาOPSE
“บพท.” หนุน “ม.พะเยา” เต็มเหนี่ยว ปี’65 ลุยเปิด “บริษัท ออร์แกนิกพะเยา/OPSE” ระดมเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อสังคมรุกขายเต็มรูปแบบ ทั้งออนไลน์ผ่านเพจ+ไลน์กลุ่ม กับ “ออฟไลน์”ผนึกห้างทำบูธโชว์ขายสินค้าขึ้นชื่อ นำงานวิจัยต่อยอดปั้นเพิ่ม 4 ชุมชนนวัตกรรม “ลิ้นจี่-เห็ด-พืชผง-สมุนไพรอบแห้ง” นำร่องสร้างรายได้ยั่งยืนเข้าท้องถิ่น40,000 บาท/เดือน
ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้อำนวยการโครงการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยาสู่การสร้างชุมชนนวัตกรรม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำวิจัยเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์จังหวัดพะเยามาเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันและได้ร่วมมือกับชุมชนตั้งบริษัทออร์แกนิคพะเยาขึ้น
ปี 2565 มีเป้าหมายจะเดินหน้าพัฒนา
บริษัท ออร์แกนิคพะเยา วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
(OPSE) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านการตลาด
ผลผลิตเกษตรอินทรีย์และสินค้าแปรรูป พร้อมขับเคลื่อนการตลาดที่เป็นธรรมผ่าน OPSE
ควบคู่การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา
“OPSE ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2563 มuเครือข่ายสมาชิกเป็นกลุ่มเกษตรกรในสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยาแล้วประมาณ
200 ราย ทางมหาวิทยาลัยพะเยาเข้ามาช่วยอบรมสร้างความรู้ทางการตลาดและการจัดทำบัญชีธุรกิจ
ที่เป็นทักษะที่จำเป็นการทำธุรกิจในอนาคต ตามแผน OPSE มุ่งสร้างความยั่งยืนและสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องธุรกิจให้กับสมาชิกได้เองต่อไปภายใน
3 ปีนี้
ปี 2565 วางแผนการพัฒนาการตลาดต่อยอดเพิ่มเติมทาง “ออนไลน์” ได้เปิดเพจ และกลุ่มไลน์เพื่อขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ และผักออร์แกนิคในจังหวัดพะเยา ส่วน “ออฟไลน์” เจรจาพูดคุยกับห้างโมเดิร์นเทรดในพื้นที่ภาคเหนือเพื่อส่งสินค้าไปจำหน่าย กับเปิดโอกาสให้เกษตรกรออกบูทแสดงสินค้าของกลุ่มจังหวัดจนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ผักเคล ถั่วพู วอเตอร์เครส มะเขือเทศราชินี ฟักทองไทย
อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการตลาด
ซึ่งทางคณะนักวิจัยได้แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและแก้ปัญหาผลผลิตเหลือทิ้ง จำนวน 4
ชุมชมนวัตกรรม พื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่
1.กลุ่มอนุรักษ์การผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย
อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา บริหารจัดการลิ้นจี่ตกเกรด
2.ชุมชนนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากเห็ด
โดยฟาร์มเห็ดธนกฤต์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
3.ชุมชนนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผงชงดื่ม
โดยกลุ่มผลิตผักอินทรีย์ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
4.นวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืช ผัก สมุนไพรอบแห้ง โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด อโกรโปรเกรส
สำหรับ OPSE มีภารกิจหลักด้านการรวบรวมสินค้าเกษตรในพื้นที่จังหวัดพะเยาไปส่งขายให้ผู้รับซื้อในจังหวัดอื่น ๆ ที่ผ่านมานำร่องขายสินค้าจากจังหวัดพะเยาให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าจากพะเยาเป็นจำนวนมาก เช่น เลมอนฟาร์ม รับซื้อลิ้นจี่พะเยา กับบริษัท สุขทุกคำ รับซื้อสินค้าเกษตรออร์แกนิกจากพะเยาเช่นกัน แล้วนำไปขายต่อลูกค้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่ผ่านมาบริษัท OPSE มีรายได้ประมาณเดือนละ 30,000 – 40,000 บาท
ขณะนี้กำลังพัฒนาให้ชุมชนเป็นเจ้าของบริษัท OPSE ที่จะดำเนินการตามรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) มีการปันผลให้กับสมาชิกที่ถือหุ้นสัดส่วน 30:70 คือนำกำไรมาจัดสรรให้สมาชิกที่ถือหุ้น 30% และกันเงินไว้ใช้หมุนเวียนและพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีก ส่วนอีก 70% เช่น การทำแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ให้มากขึ้น
นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่า งานวิจัยดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งในนโยบายส่งเสริมการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่นด้วยความรู้จากสถาบันการศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืน โดยบพท.ตั้งเป้าหมายให้งานวิจัยสร้างประโยชน์โดยตรงกับชุมชนที่เข้าร่วมแล้ว ยังมุ่งให้ได้รับความรู้เพียงพอจะเดินต่อไปได้
ตลอดจนได้สร้างกลไกภาคีในท้องถิ่นจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะเข้ามาร่วมมือ
จนกลายเป็นตัวอย่างกระบวนการบริหารท้องถิ่นที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จนถึงทุกวันนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น