ทอท.งัดกลยุทธ์ SISTER AIRPORTขึ้นผู้นำอินโดจีน
เพิ่มจุดขายท่องเที่ยวนำโมเดลยุโรปดันส่งออกเกษตร
ทอท.ยึดเวทีสัมมนา “Indochina Aviation Conference 2017” เปิดแนวรุกแผน SISTER AIRPORT ขยายเครือข่ายให้ไทยขึ้นผู้นำสนามบินกลุ่มอินโดจีน เพิ่มจุดขายและกระจายนักท่องเที่ยวล้นเมืองไทย
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ทอท.เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนา “Indochina Aviation Conference 2017” ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2560 ในประเทศไทย ในหัวข้อหลัก “Greater Heights Accelerating Growth in Indochina Aviation” โดยมีผลมาจากในภูมิภาคอาเซียนอุตสาหกรรมการบินเติบโตแบบก้าวกระโดดมาก แตกต่างจากก่อนหน้านี้มีเพียงประเทศระดับเศรษฐกิจจากอเมริกา ยุโรป เป็นส่วนใหญ่ที่ครองธุรกิจการบิน ต่อมาเมื่อครึ่งทศวรรษนี้มีนักธุรกิจในกลุ่มอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินมากขึ้น และการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำหรือ Low Cost Airline เพิ่มทั้งจำนวนเที่ยวเบินและผู้โดยสารอย่างรวดเร็ว
รวมถึง “ดอนเมือง” เป็นสนามบินรองรับตลาดการบินโลว์คอสต์หรือสายการบินต้นทุนต่ำ หลังเหตุการณ์มหาพิบัติภัยน้ำท่วมใหญ่ปี 2555-2559 ดอนเมืองกลายเป็นสนามบินโลว์คอสต์ขนาดใหญ่ติดอันดับโลก และเป็นสนามบินศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงต้องหันมาพัฒนาความร่วมมือกับเพื่อนบ้านทั้งทางด้านบริการ การตลาด ซึ่งเป็น 1 ใน International Forum ที่ ทอท.ผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้ ทอท.เป็นตัวแทนรัฐวิสาหกิจการบินของไทยยกระดับให้ประเทศเป็นผู้นำอาเซียน
สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนทางการบินในงาน “Indochina Aviation Conference 2017” ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เกี่ยวข้องจากวงการบินประเทศแถบอินโดจีน CLMV กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม รวมกว่า 150 คน
ขณะที่โครงการความร่วมมือก่อนหน้านี้ ทอท.ได้เข้าไปบุกเบิกความสัมพันธ์กับองค์กรบริหารสนามบินใน CLMV ไว้บ้างแล้วนั้นจะขยายความก้าวหน้าโดยวางตำแหน่ง “สนามบินของไทย” เป็นตัวแทนการแข่งขันในเวทีโลก ซึ่งทำหน้าที่กันไปกับความร่วมมือกับคู่แข่งด้วย ทอท.จึงลงนาม MOU ร่วมมือเป็น Sister Airport กับ 15 สนามบินนานาชาติ ทำ Brenchmark ชัดเจน แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างใกล้ชิดเป็นทางการ แลกเปลี่ยนการดูงานที่มีความโดดเด่นเพื่อนำมาพัฒนาให้กลายเป็นจุดแข็งของสนามบินเมืองไทย
โดย ทอท.ได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือสนามบินบ้านพี่เมืองน้อง หรือ SISTER AIRPORT ตั้งแต่ระดับสากลโลก คือสนามบินเมืองเท็กซัส (สหรัฐอเมริกา) มิวนิค (เยอรมัน) ล่าสุดก็ขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยใน CLMV เพราะต่างก็มี knowhow หรือต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน รวมถึงการเริ่มต้นในบางเรื่องก่อนก็จะมีความโดดเด่นในฐานะผู้บุกเบิกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อย่าง สปป.ลาว เมียนมา มีวัฒนธรรมที่ดี แต่ต้องการให้ไทยช่วยสนับสนุนทางด้านมาตรฐาน คู่มือระเบียบการบิน เทคโนโลยีบางอย่าง เป็นความร่วมมือแลกเปลี่ยนกันอย่างมีนัยสำคัญเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งหมด
“ทอท.พร้อมนำจุดแข็งที่เป็นประโยชน์จากสนามบิน SISTER AIRPORT เข้ามาต่อยอดในบ้านเรา อาทิ การนำรูปแบบของสนามบินในสหภาพยุโรป ด้านมาตรฐานการตรวจสอบทั้งทั้งพืช สัตว์ และสิ่งของ มาใช้เพื่อเป็นฐานส่งออกสินค้าการเกษตรของไทยสู่ตลาดโลกจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย”
สำหรับ ทอท.เมื่อปักหมุด SISTER AIRPORT กับ CLMV ก็จะเป็นผลดีต่อประเทศไทย และการสัมมนาครั้งนี้ก็จะประกาศเรื่องไทยจะเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการบินภูมิภาคอาเซียน
นายนิตินัยกล่าวว่าปี 2560 ไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางเข้ามามากเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย จึงทำให้มีปริมาณผู้โดยสารผ่านเข้าออกสนามบินของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต หาดใหญ่เชียงใหม่ เชียงราย เกินขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารไปแล้วถึง 21 % แต่ก็จะเร่งนำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเข้ามาบริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสนามบินของ ทอท.ได้รับความสะดวกมากที่สุด รวมไปถึงการจัดทำมาตรฐาน แผนปฏิบัติการรับมือผู้โดยสารล้นทะลักอันเนื่องมาจากเที่ยวบินมาลงพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาคอขวดเรื่องการตรวจหนังสือเดินทางเข้าเมืองล่าช้าใช้เวลายาวนานมาก” ซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นที่ดอนเมืองจนกลายเป็นกระแสโซเชียลในช่วงที่ผ่านมา
ดร.นิตินัยย้ำว่า ได้จัดทำแผนปฎิบัติการใหม่โดยให้แต่ละสนามบินส่งมาภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2560 นี้ เนื่องจากสนามบินแต่ละแห่งจะมี “หน่วยงานรับผิดชอบ” ขึ้นตรงต่างกันไป เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้ให้บริการขนสัมภาระกระเป๋าเข้า-ออกแต่ละเที่ยวบินจะมีสายการบินรับผิดชอบกันเอง ส่วน ทอท.ดูแลเรื่องสายพานกระเป๋าต้องไม่ขัดข้องหรือต้องไม่มีขโมย สะท้อนว่าในสนามบิน ทอท.เป็นเจ้าบ้านมีลูกบ้านอีกหลายหน่วยงานแต่แน่นอน ทอท.ก็ต้องถูกวัดและประเมินผล
ส่วนแผนรับมือกรณีหากเกิดผู้โดยสารทะลักอาคารขาเข้า ล่าสุดทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ “เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่และเคาน์เตอร์” ใหม่แล้วอีก 14 จุด ทอท.ก็อำนวยความสะดวกเต็มที่ และ ทอท.ในฐานะเจ้าบ้านดูแล 6 สนามบิน ได้สั่งการให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกสนามบินจัดทำ “คู่มือปฏิบัติ” กำหนดเบื้องต้นทำ Early Warning กับสัญญาณเตือน หรือ Alarm โดยดูขีดความสามารถการรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้เต็มที่ 1,000 คนต่อชั่วโมง
ซึ่งแต่ละวันเมื่อพบข้อมูลสายการบินเตรียมนำผู้โดยสารเข้าใกล้เส้น 1,000 คนก็ต้องรีบเข้าตามแผนที่ 1 ได้แก่ แจ้ง ตม. ทีมขนย้ายกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบิน เพราะคงจะไม่ใช้การตัดสินใจตามวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่แต่ละคน เพราะบางคนเคยใช้วิธีดังกล่าวซึ่งล่าช้าเกินไปที่จะรับมือได้ และยังต้องใช้หลักปฏิบัติสากลอย่าง SOP : Standard Operating Procudureในหลายรูปแบบมาใช้รับมือตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นางาสาวศศิศุภา สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานยุทธศาสตร์) ทอท.กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือเพิ่มจำนวน SISTER AIRPORT กับประเทศในอาเซียนอีก 2-3 สนามบิน รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงบริการโดยทยอยนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เช่น เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ เครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ ระบบแอพลิเคชั่น และอื่น ๆ เพื่อระบายผู้โดยสารเข้า-ออก จากสนามบินให้ได้เร็วที่สุด ควบคู่กับการต้องนำมาตรฐานด้านความปลอดภัยตามกฎของ ICAO เข้ามาใช้อย่างเคร่งครัดด้วย
เพิ่มจุดขายท่องเที่ยวนำโมเดลยุโรปดันส่งออกเกษตร
ทอท.ยึดเวทีสัมมนา “Indochina Aviation Conference 2017” เปิดแนวรุกแผน SISTER AIRPORT ขยายเครือข่ายให้ไทยขึ้นผู้นำสนามบินกลุ่มอินโดจีน เพิ่มจุดขายและกระจายนักท่องเที่ยวล้นเมืองไทย
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย |
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ทอท.เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนา “Indochina Aviation Conference 2017” ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2560 ในประเทศไทย ในหัวข้อหลัก “Greater Heights Accelerating Growth in Indochina Aviation” โดยมีผลมาจากในภูมิภาคอาเซียนอุตสาหกรรมการบินเติบโตแบบก้าวกระโดดมาก แตกต่างจากก่อนหน้านี้มีเพียงประเทศระดับเศรษฐกิจจากอเมริกา ยุโรป เป็นส่วนใหญ่ที่ครองธุรกิจการบิน ต่อมาเมื่อครึ่งทศวรรษนี้มีนักธุรกิจในกลุ่มอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินมากขึ้น และการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำหรือ Low Cost Airline เพิ่มทั้งจำนวนเที่ยวเบินและผู้โดยสารอย่างรวดเร็ว
รวมถึง “ดอนเมือง” เป็นสนามบินรองรับตลาดการบินโลว์คอสต์หรือสายการบินต้นทุนต่ำ หลังเหตุการณ์มหาพิบัติภัยน้ำท่วมใหญ่ปี 2555-2559 ดอนเมืองกลายเป็นสนามบินโลว์คอสต์ขนาดใหญ่ติดอันดับโลก และเป็นสนามบินศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงต้องหันมาพัฒนาความร่วมมือกับเพื่อนบ้านทั้งทางด้านบริการ การตลาด ซึ่งเป็น 1 ใน International Forum ที่ ทอท.ผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้ ทอท.เป็นตัวแทนรัฐวิสาหกิจการบินของไทยยกระดับให้ประเทศเป็นผู้นำอาเซียน
สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนทางการบินในงาน “Indochina Aviation Conference 2017” ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เกี่ยวข้องจากวงการบินประเทศแถบอินโดจีน CLMV กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม รวมกว่า 150 คน
ขณะที่โครงการความร่วมมือก่อนหน้านี้ ทอท.ได้เข้าไปบุกเบิกความสัมพันธ์กับองค์กรบริหารสนามบินใน CLMV ไว้บ้างแล้วนั้นจะขยายความก้าวหน้าโดยวางตำแหน่ง “สนามบินของไทย” เป็นตัวแทนการแข่งขันในเวทีโลก ซึ่งทำหน้าที่กันไปกับความร่วมมือกับคู่แข่งด้วย ทอท.จึงลงนาม MOU ร่วมมือเป็น Sister Airport กับ 15 สนามบินนานาชาติ ทำ Brenchmark ชัดเจน แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างใกล้ชิดเป็นทางการ แลกเปลี่ยนการดูงานที่มีความโดดเด่นเพื่อนำมาพัฒนาให้กลายเป็นจุดแข็งของสนามบินเมืองไทย
โดย ทอท.ได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือสนามบินบ้านพี่เมืองน้อง หรือ SISTER AIRPORT ตั้งแต่ระดับสากลโลก คือสนามบินเมืองเท็กซัส (สหรัฐอเมริกา) มิวนิค (เยอรมัน) ล่าสุดก็ขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยใน CLMV เพราะต่างก็มี knowhow หรือต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน รวมถึงการเริ่มต้นในบางเรื่องก่อนก็จะมีความโดดเด่นในฐานะผู้บุกเบิกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อย่าง สปป.ลาว เมียนมา มีวัฒนธรรมที่ดี แต่ต้องการให้ไทยช่วยสนับสนุนทางด้านมาตรฐาน คู่มือระเบียบการบิน เทคโนโลยีบางอย่าง เป็นความร่วมมือแลกเปลี่ยนกันอย่างมีนัยสำคัญเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งหมด
“ทอท.พร้อมนำจุดแข็งที่เป็นประโยชน์จากสนามบิน SISTER AIRPORT เข้ามาต่อยอดในบ้านเรา อาทิ การนำรูปแบบของสนามบินในสหภาพยุโรป ด้านมาตรฐานการตรวจสอบทั้งทั้งพืช สัตว์ และสิ่งของ มาใช้เพื่อเป็นฐานส่งออกสินค้าการเกษตรของไทยสู่ตลาดโลกจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย”
สำหรับ ทอท.เมื่อปักหมุด SISTER AIRPORT กับ CLMV ก็จะเป็นผลดีต่อประเทศไทย และการสัมมนาครั้งนี้ก็จะประกาศเรื่องไทยจะเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการบินภูมิภาคอาเซียน
นายนิตินัยกล่าวว่าปี 2560 ไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางเข้ามามากเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย จึงทำให้มีปริมาณผู้โดยสารผ่านเข้าออกสนามบินของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต หาดใหญ่เชียงใหม่ เชียงราย เกินขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารไปแล้วถึง 21 % แต่ก็จะเร่งนำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเข้ามาบริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสนามบินของ ทอท.ได้รับความสะดวกมากที่สุด รวมไปถึงการจัดทำมาตรฐาน แผนปฏิบัติการรับมือผู้โดยสารล้นทะลักอันเนื่องมาจากเที่ยวบินมาลงพร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาคอขวดเรื่องการตรวจหนังสือเดินทางเข้าเมืองล่าช้าใช้เวลายาวนานมาก” ซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นที่ดอนเมืองจนกลายเป็นกระแสโซเชียลในช่วงที่ผ่านมา
ดร.นิตินัยย้ำว่า ได้จัดทำแผนปฎิบัติการใหม่โดยให้แต่ละสนามบินส่งมาภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2560 นี้ เนื่องจากสนามบินแต่ละแห่งจะมี “หน่วยงานรับผิดชอบ” ขึ้นตรงต่างกันไป เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้ให้บริการขนสัมภาระกระเป๋าเข้า-ออกแต่ละเที่ยวบินจะมีสายการบินรับผิดชอบกันเอง ส่วน ทอท.ดูแลเรื่องสายพานกระเป๋าต้องไม่ขัดข้องหรือต้องไม่มีขโมย สะท้อนว่าในสนามบิน ทอท.เป็นเจ้าบ้านมีลูกบ้านอีกหลายหน่วยงานแต่แน่นอน ทอท.ก็ต้องถูกวัดและประเมินผล
ส่วนแผนรับมือกรณีหากเกิดผู้โดยสารทะลักอาคารขาเข้า ล่าสุดทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ “เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่และเคาน์เตอร์” ใหม่แล้วอีก 14 จุด ทอท.ก็อำนวยความสะดวกเต็มที่ และ ทอท.ในฐานะเจ้าบ้านดูแล 6 สนามบิน ได้สั่งการให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกสนามบินจัดทำ “คู่มือปฏิบัติ” กำหนดเบื้องต้นทำ Early Warning กับสัญญาณเตือน หรือ Alarm โดยดูขีดความสามารถการรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้เต็มที่ 1,000 คนต่อชั่วโมง
ซึ่งแต่ละวันเมื่อพบข้อมูลสายการบินเตรียมนำผู้โดยสารเข้าใกล้เส้น 1,000 คนก็ต้องรีบเข้าตามแผนที่ 1 ได้แก่ แจ้ง ตม. ทีมขนย้ายกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบิน เพราะคงจะไม่ใช้การตัดสินใจตามวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่แต่ละคน เพราะบางคนเคยใช้วิธีดังกล่าวซึ่งล่าช้าเกินไปที่จะรับมือได้ และยังต้องใช้หลักปฏิบัติสากลอย่าง SOP : Standard Operating Procudureในหลายรูปแบบมาใช้รับมือตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นางาสาวศศิศุภา สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานยุทธศาสตร์) ทอท.กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือเพิ่มจำนวน SISTER AIRPORT กับประเทศในอาเซียนอีก 2-3 สนามบิน รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงบริการโดยทยอยนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เช่น เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ เครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ ระบบแอพลิเคชั่น และอื่น ๆ เพื่อระบายผู้โดยสารเข้า-ออก จากสนามบินให้ได้เร็วที่สุด ควบคู่กับการต้องนำมาตรฐานด้านความปลอดภัยตามกฎของ ICAO เข้ามาใช้อย่างเคร่งครัดด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น