ฮือฮา ! มติบอร์ด ทอท.30 ต.ค.2560
ชงครม.บริหาร29สนามบินภูมิภาคทั่วไทย
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน
ผลการประชุมคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 โดยมี นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการ ทอท. เป็นประธาน ที่ประชุม มีมติอนุมัติให้ ทอท.เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพิ่มศักยภาพโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศไทยโดยให้ ทอท.เข้าไปบริหารสนามบินภูมิภาคทั่วประเทศอีก 29 แห่ง
เบื้องต้น ทอท.เสนอจะขอบริหาร 15 แห่ง โดยจัดทำเป็นคลัสเตอร์ของภูมิภาค เหนือ อีสาน ใต้ ได้แก่ สนามบินที่อยู่ในความดูแลของ กรมท่าอากาศยาน คือ น่าน ลำปาง พิษณุโลก แม่สอด(ตาก) อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส
บอร์ด ทอท.ระบุว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ ทอท.พิจารณาตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 เกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค (Aviation Hub)
โดยในส่วนท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท.ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารท่าอากาศยานและเพิ่มบทบาทการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานให้บริการครบวงจร
รวมทั้งให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) พิจารณาศึกษาแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถท่าอากาศยาน และอาจมีแผนทางเลือกให้ ทอท.เข้ามาบริหารจัดการ หรือให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทย.เพื่อสร้างโครงข่ายระบบการขนส่งทางอากาศโดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ผลของนโยบายดังกล่าว ทอท.ทำการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาพการบริหารของท่าอากาศยานพาณิชย์ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน 39 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานภายในกรมท่าอากาศยาน ทอท. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และท่าอากาศยานอู่ตะเภา การคาดการณ์ปริมาณการจราจรทางอากาศในอีก 20 ปีข้างหน้า
นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศไทย ระบบความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมของประเทศ ความเหมาะสมในแต่ละช่วงของการลงทุน การกำหนดบทบาทท่าอากาศยานประเทศไทย และบทบาทของ ทอท.ในการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศในมิติเชิงรัฐและความมั่นคง
เมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทอท.เล็งเห็นโอกาส และศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศของประเทศไทยในภาพรวมภายใต้แนวคิดการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบท่าอากาศยาน (Airport System) และการดำเนินธุรกิจใน รูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะเป็นเพิ่มศักยภาพภาคการขนส่งของประเทศในภาครวม
ดังนั้น ทอท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่บริหารท่าอากาศยานหลักของประเทศ มีแนวคิดที่ควรจะเป็นผู้บริหารท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน จำนวน 29 แห่ง ด้วย 4 เหตุผลดังนี้
1. การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานโลก โดยต้องคำนึงถึงเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติควบคู่กันไป : อุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานทางด้านความปลอดภัย (Safety) และด้านการรักษาความปลอดภัย (Security) สูง โดยมาตรฐานต่างๆ นั้นเป็นมาตรฐานสากลที่ปฏิบัติกันทั่วโลก ไม่สามารถประนีประนอมหรือผ่อนผันได้ ซึ่งกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับมาตรฐานฯ ดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเป็นดำเนินการผ่านหน่วยงานรัฐที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ
2. การระบุสถานะของแต่ละสนามบิน (Positioning) ที่ถูกต้องในปัจจุบัน เป็นจุดเริ่มของการลงทุนที่ถูกต้องในอนาคต : การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและในอีกทศวรรษข้างหน้าเป็นไปอย่างก้าวกระโดดและมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ จึงทำให้แผนแม่บทการพัฒนาสนามบินของชาติ ซึ่งจะต้องมี การลงทุนมหาศาลนั้น จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา หรือระบุสถานะ (Positioning) ของแต่ละสนามบิน ให้สอดคล้องกับการเติบโตและความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
อาทิ การพัฒนาสนามบิน เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการบิน (Aviation Hub) ก็ต้องมีการออกแบบ รันเวย์ แทกซี่เวย์ ตลอดจนถึงสะพานเทียบเครื่องบินที่รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ ในขณะที่การพัฒนาสนามบินเพื่อเป็นประตูเมือง (Gateway) นั้น อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนใน สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมากนัก เพราะสนามบินขนาดเล็กนั้นไม่มีโอกาสได้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันใกล้ เป็นต้น ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดจะทำให้มีการลงทุนจำนวนมหาศาลที่ผิดพลาดและจะนำมาซึ่งความเสียหายในเชิงการเงินและเชิงเศรษฐกิจของประเทศที่ตามมาในระยะยาวอีกจำนวนมหาศาล
3. การบริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานต้องทำเป็นกลุ่ม (Cluster) : การบริหารจัดการและการทำการตลาดของสนามบินในลักษณะCluster นอกจากจะทำให้การบริหารจัดการน่านฟ้าของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ภาคพื้นแล้ว ยังทำให้การทำการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มCluster เป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่เกิดการแข่งขันกันเอง อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวมอีกด้วย
4. การมีผู้บริหารเดียว (Single Operator) : เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านสังคมที่จะต้องมีการรักษามาตรฐาน และคงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติควบคู่กันไป และด้านเศรษฐกิจที่จะมีการลงทุนที่บูรณาการ เหมาะสมตามสถานะ (Position) ของแต่ละสนามบิน และมีการบริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานที่ดี โดย ทอท. มีความพร้อมทั้งในด้านทุนและบุคลากรในการบริหารจัดการสนามบินของประเทศอย่างบูรณาการ อันจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินของประเทศให้อยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคและของโลกต่อไปอย่างยั่งยืน
ตามที่บอร์ด ทอท.มีมติเห็นชอบให้ ทอท.จัดทำแผนดำเนินงานและช่วงเวลา ที่จะเข้าบริหารท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
ซึ่งจะต้องจับตาดูกันต่อไปถึงกระแสตอบรับและกลุ่มที่จะออกคัดค้านถึงผลดี ผลเสีย หากให้หน่วยงานเดียวบริหารสนามบินทั้งประเทศ โดยภาพรวมแล้วจะเกิดประโยชน์สมดุลอย่างไรบ้าง ทั้งต่อผู้ใช้บริการ เครือข่ายภาคีพันธมิตรผู้ประกอบการภายในสนามบินในแต่ละพื้นที่ของประเทศ
ชงครม.บริหาร29สนามบินภูมิภาคทั่วไทย
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน
ผลการประชุมคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 โดยมี นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการ ทอท. เป็นประธาน ที่ประชุม มีมติอนุมัติให้ ทอท.เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพิ่มศักยภาพโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศไทยโดยให้ ทอท.เข้าไปบริหารสนามบินภูมิภาคทั่วประเทศอีก 29 แห่ง
เบื้องต้น ทอท.เสนอจะขอบริหาร 15 แห่ง โดยจัดทำเป็นคลัสเตอร์ของภูมิภาค เหนือ อีสาน ใต้ ได้แก่ สนามบินที่อยู่ในความดูแลของ กรมท่าอากาศยาน คือ น่าน ลำปาง พิษณุโลก แม่สอด(ตาก) อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส
บอร์ด ทอท.ระบุว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ ทอท.พิจารณาตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 เกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค (Aviation Hub)
โดยในส่วนท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท.ให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารท่าอากาศยานและเพิ่มบทบาทการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานให้บริการครบวงจร
รวมทั้งให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) พิจารณาศึกษาแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถท่าอากาศยาน และอาจมีแผนทางเลือกให้ ทอท.เข้ามาบริหารจัดการ หรือให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทย.เพื่อสร้างโครงข่ายระบบการขนส่งทางอากาศโดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ผลของนโยบายดังกล่าว ทอท.ทำการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาพการบริหารของท่าอากาศยานพาณิชย์ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน 39 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานภายในกรมท่าอากาศยาน ทอท. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และท่าอากาศยานอู่ตะเภา การคาดการณ์ปริมาณการจราจรทางอากาศในอีก 20 ปีข้างหน้า
นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศไทย ระบบความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมของประเทศ ความเหมาะสมในแต่ละช่วงของการลงทุน การกำหนดบทบาทท่าอากาศยานประเทศไทย และบทบาทของ ทอท.ในการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายระบบท่าอากาศยานของประเทศในมิติเชิงรัฐและความมั่นคง
เมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทอท.เล็งเห็นโอกาส และศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศของประเทศไทยในภาพรวมภายใต้แนวคิดการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบท่าอากาศยาน (Airport System) และการดำเนินธุรกิจใน รูปแบบ Cluster ด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะเป็นเพิ่มศักยภาพภาคการขนส่งของประเทศในภาครวม
ดังนั้น ทอท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่บริหารท่าอากาศยานหลักของประเทศ มีแนวคิดที่ควรจะเป็นผู้บริหารท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน จำนวน 29 แห่ง ด้วย 4 เหตุผลดังนี้
1. การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานโลก โดยต้องคำนึงถึงเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติควบคู่กันไป : อุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานทางด้านความปลอดภัย (Safety) และด้านการรักษาความปลอดภัย (Security) สูง โดยมาตรฐานต่างๆ นั้นเป็นมาตรฐานสากลที่ปฏิบัติกันทั่วโลก ไม่สามารถประนีประนอมหรือผ่อนผันได้ ซึ่งกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับมาตรฐานฯ ดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเป็นดำเนินการผ่านหน่วยงานรัฐที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ
2. การระบุสถานะของแต่ละสนามบิน (Positioning) ที่ถูกต้องในปัจจุบัน เป็นจุดเริ่มของการลงทุนที่ถูกต้องในอนาคต : การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและในอีกทศวรรษข้างหน้าเป็นไปอย่างก้าวกระโดดและมีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ จึงทำให้แผนแม่บทการพัฒนาสนามบินของชาติ ซึ่งจะต้องมี การลงทุนมหาศาลนั้น จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา หรือระบุสถานะ (Positioning) ของแต่ละสนามบิน ให้สอดคล้องกับการเติบโตและความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
อาทิ การพัฒนาสนามบิน เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการบิน (Aviation Hub) ก็ต้องมีการออกแบบ รันเวย์ แทกซี่เวย์ ตลอดจนถึงสะพานเทียบเครื่องบินที่รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ ในขณะที่การพัฒนาสนามบินเพื่อเป็นประตูเมือง (Gateway) นั้น อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนใน สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมากนัก เพราะสนามบินขนาดเล็กนั้นไม่มีโอกาสได้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันใกล้ เป็นต้น ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดจะทำให้มีการลงทุนจำนวนมหาศาลที่ผิดพลาดและจะนำมาซึ่งความเสียหายในเชิงการเงินและเชิงเศรษฐกิจของประเทศที่ตามมาในระยะยาวอีกจำนวนมหาศาล
3. การบริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานต้องทำเป็นกลุ่ม (Cluster) : การบริหารจัดการและการทำการตลาดของสนามบินในลักษณะCluster นอกจากจะทำให้การบริหารจัดการน่านฟ้าของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ภาคพื้นแล้ว ยังทำให้การทำการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มCluster เป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่เกิดการแข่งขันกันเอง อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวมอีกด้วย
4. การมีผู้บริหารเดียว (Single Operator) : เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านสังคมที่จะต้องมีการรักษามาตรฐาน และคงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติควบคู่กันไป และด้านเศรษฐกิจที่จะมีการลงทุนที่บูรณาการ เหมาะสมตามสถานะ (Position) ของแต่ละสนามบิน และมีการบริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานที่ดี โดย ทอท. มีความพร้อมทั้งในด้านทุนและบุคลากรในการบริหารจัดการสนามบินของประเทศอย่างบูรณาการ อันจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินของประเทศให้อยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคและของโลกต่อไปอย่างยั่งยืน
ตามที่บอร์ด ทอท.มีมติเห็นชอบให้ ทอท.จัดทำแผนดำเนินงานและช่วงเวลา ที่จะเข้าบริหารท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
ซึ่งจะต้องจับตาดูกันต่อไปถึงกระแสตอบรับและกลุ่มที่จะออกคัดค้านถึงผลดี ผลเสีย หากให้หน่วยงานเดียวบริหารสนามบินทั้งประเทศ โดยภาพรวมแล้วจะเกิดประโยชน์สมดุลอย่างไรบ้าง ทั้งต่อผู้ใช้บริการ เครือข่ายภาคีพันธมิตรผู้ประกอบการภายในสนามบินในแต่ละพื้นที่ของประเทศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น