TCEBชูTMVSดันไทยขึ้นนำอาเซียนปี’61
ผนึก17ภาคีดึง500แห่งรุกสร้างไมซ์ยั่งยืน
TCEB ผนึก 17 ภาคีพันธมิตรลุยเต็มเหนี่ยวดันอุตสาหกรรมไมซ์ไทยขึ้นนำอาเซียน ดึงผู้ประกอบการไทยร่วมมาตรฐาน TMVS ปี’61 ตั้งเป้ารวมเฉียด 500 แห่ง 10 จังหวัดผ่านฉลุยแล้ว ด้านสมาคมทิก้าขานรับเทรนด์ในฐานะผู้ใช้บริการพร้อมหนุนโปรเจ็กต์นี้เต็มที่
นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB เปิดเผยว่า ตลอดปี 2561 ได้เดินหน้าจัดทำมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standards -TMVS ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน 17 แห่ง รวมถึงระหว่างพฤษภาคม – สิงหาคม 2561 ดำเนินการอบรมไปแล้วรวมทั้งสิ้น 10 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ ระยอง ภูเก็ต นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา และพัทยา แยกเป็น 1.ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม 553 คน จากสถานประกอบการไมซ์ 267 แห่ง 3.ผู้สนใจเข้าตรวจประเมิน 181 แห่ง 3.กลุ่มผู้ประกอบการขอต่ออายุ (Re-assessment) อีกกว่า 74% ตอกย้ำให้เห็นถึงผลตอบรับที่ดีเกินคาด จากทั่วประเทศให้ความสนใจและเชื่อมั่นต่อมาตรฐาน TMVS
เป้าหมายของ TCEB ตลอดปี 2561 จะผลักดันให้มีสถานที่ประกอบการไมซ์ผ่านมาตรฐาน TMVS ได้ไม่ต่ำกว่า 490 แห่ง ตอกย้ำความเป็นผู้นำของประเทศไทยในด้านจุดหมายปลายทางของจัดประชุมและนิทรรศการของอาเซียน โดยเริ่มจากปีที่เริ่มทำมาตรฐานมาจนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทห้องประชุม และประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้าเรียบร้อยแล้ว 315 แห่ง ปีนี้จะทำให้ได้อีก 175 แห่ง แบ่งเป็น 1.ประเภทห้องประชุม 150 แห่ง 2.ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า 5 แห่ง 3.ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ 20 แห่ง
ส่วนปี 2562 จะเพิ่มความเข้มข้นเรื่องเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และความยั่งยืน โดยสถานที่จัดงานพิเศษจะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในด้านการรับรู้และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อใช้อุตสาหกรรมไมซ์ในการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาล
ขณะเดียวกันในปีหน้าทาง TCEB อาจจะต้องเก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าไปตรวจคุณสมบัติเของกลุ่มผู้ประกอบการท่ขอต่ออายุในครั้งต่อไป เนื่องจากงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐเริ่มทยอยตัดงบประมาณส่วนนี้ลง เพราะได้ให้การสนับสนุนฟรีต่อเนื่องมา4 ปีแล้ว
สำหรับการสมัครเข้าร่วมมาตรฐาน TMVS กับ TCEB นั้น ผู้ประกอบการและเจ้าของสถานที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศตามเกณฑ์ 3 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การให้องค์ความรู้ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก TCEB ทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ในเชิงลึกถึงมาตรฐานแต่ละตัวแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจประเมิน แบ่งเป็น 1.ประเภทห้องประชุม จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาในด้านกายภาพ เทคโนโลยี และการจัดการ-บริการ 2.ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านการจัดการอย่างยั่งยืน 3. ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งให้การสนับสนุน และการจัดการอย่างยั่งยืน กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการตรวจประเมินสถานที่จัดงานในแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 3 การรับรองผลมาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย จะต้องผ่านคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา อาทิ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
เมื่อผู้ประกอบการผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว TCEB จะออกใบรับรองมีอายุรับรอง 3 ปี และรายชื่อทั้งหมดจะอยู่ในแผนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาดของ สสปน. เพื่อเชิญชวนให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการต่อไป
นายสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) กล่าวว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการรับรองผลมาตรฐาน มาตรฐาน TMVS เล็งเห็นถึงความสำคัญกับการยกระดับสถานที่จัดงานประเทศไทยให้มีความน่าเชื่อถือ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจำนวนสถานประกอบการรายใหม่เติบโตมากขึ้นและรายเก่าเติบโตขขอต่ออายุเพิ่มทุกปี จึงควรเร่งเพิ่มศักยภาพสถานที่จัดงานเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งมองหาสถานที่ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นลำดับต้น ๆ และพร้อมสนับสนุนการเข้าร่วมมาตรฐานดังกล่าว
นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ หรือ สรอ. กล่าวว่า สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้ดำเนินโครงการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย ของ TCEB มาตั้งแต่ปี 2558 โดยยึดมั่นจรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ รวมถึงการรักษาความลับ การดำเนินงานอย่างโปร่งใส เป็นกลางและอย่างมืออาชีพ ในการประเมินผลสถานที่ประกอบการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17021-1, ISO 50003, UNFCCC Accreditation Standard & ISO/IEC 17020 ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจประเมินและรับรองระบบการจัดการ ระบบการจัดการพลังงาน, CDM & ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจ และ ISO 19011
ทั้งนี้แนวทางการตรวจประเมินระบบการจัดการ ได้ใช้เกณฑ์การพิจารณามาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย ครอบคลุมตัวชี้วัดด้านกายภาพ บริการและการจัดการ เทคโนโลยี ความปลอดภัย การสนับสนุน รวมถึงการจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศจะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำอาเซียนอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร. ณัฏฐณิชชา สิงห์บุระอุดม นักวิจัยในโครงการพัฒนามาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะผู้จัดทำหลักเกณฑ์การประเมิน TMVS ซึ่งมีตัวชี้วัดแตกต่างกันไป นั้น ภายในปี 2562 ก็จะทำให้อยู่มาตรฐานเดียวกันคือ 3 ปี ทั้งประเภทห้องประชุม เอ็กซิบิชั่น และสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อตอบโจทก์ผู้จัดงานและใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร โดยเฉพาะด้านการจัดทำเอกสาร อย่างเป็นระบบ
ผนึก17ภาคีดึง500แห่งรุกสร้างไมซ์ยั่งยืน
TCEB ผนึก 17 ภาคีพันธมิตรลุยเต็มเหนี่ยวดันอุตสาหกรรมไมซ์ไทยขึ้นนำอาเซียน ดึงผู้ประกอบการไทยร่วมมาตรฐาน TMVS ปี’61 ตั้งเป้ารวมเฉียด 500 แห่ง 10 จังหวัดผ่านฉลุยแล้ว ด้านสมาคมทิก้าขานรับเทรนด์ในฐานะผู้ใช้บริการพร้อมหนุนโปรเจ็กต์นี้เต็มที่
นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB เปิดเผยว่า ตลอดปี 2561 ได้เดินหน้าจัดทำมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standards -TMVS ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน 17 แห่ง รวมถึงระหว่างพฤษภาคม – สิงหาคม 2561 ดำเนินการอบรมไปแล้วรวมทั้งสิ้น 10 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ ระยอง ภูเก็ต นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา และพัทยา แยกเป็น 1.ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม 553 คน จากสถานประกอบการไมซ์ 267 แห่ง 3.ผู้สนใจเข้าตรวจประเมิน 181 แห่ง 3.กลุ่มผู้ประกอบการขอต่ออายุ (Re-assessment) อีกกว่า 74% ตอกย้ำให้เห็นถึงผลตอบรับที่ดีเกินคาด จากทั่วประเทศให้ความสนใจและเชื่อมั่นต่อมาตรฐาน TMVS
เป้าหมายของ TCEB ตลอดปี 2561 จะผลักดันให้มีสถานที่ประกอบการไมซ์ผ่านมาตรฐาน TMVS ได้ไม่ต่ำกว่า 490 แห่ง ตอกย้ำความเป็นผู้นำของประเทศไทยในด้านจุดหมายปลายทางของจัดประชุมและนิทรรศการของอาเซียน โดยเริ่มจากปีที่เริ่มทำมาตรฐานมาจนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS ประเภทห้องประชุม และประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้าเรียบร้อยแล้ว 315 แห่ง ปีนี้จะทำให้ได้อีก 175 แห่ง แบ่งเป็น 1.ประเภทห้องประชุม 150 แห่ง 2.ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า 5 แห่ง 3.ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ 20 แห่ง
ส่วนปี 2562 จะเพิ่มความเข้มข้นเรื่องเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และความยั่งยืน โดยสถานที่จัดงานพิเศษจะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในด้านการรับรู้และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อใช้อุตสาหกรรมไมซ์ในการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาล
ขณะเดียวกันในปีหน้าทาง TCEB อาจจะต้องเก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าไปตรวจคุณสมบัติเของกลุ่มผู้ประกอบการท่ขอต่ออายุในครั้งต่อไป เนื่องจากงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐเริ่มทยอยตัดงบประมาณส่วนนี้ลง เพราะได้ให้การสนับสนุนฟรีต่อเนื่องมา4 ปีแล้ว
สำหรับการสมัครเข้าร่วมมาตรฐาน TMVS กับ TCEB นั้น ผู้ประกอบการและเจ้าของสถานที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศตามเกณฑ์ 3 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การให้องค์ความรู้ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก TCEB ทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ในเชิงลึกถึงมาตรฐานแต่ละตัวแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจประเมิน แบ่งเป็น 1.ประเภทห้องประชุม จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาในด้านกายภาพ เทคโนโลยี และการจัดการ-บริการ 2.ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านการจัดการอย่างยั่งยืน 3. ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งให้การสนับสนุน และการจัดการอย่างยั่งยืน กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการตรวจประเมินสถานที่จัดงานในแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 3 การรับรองผลมาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย จะต้องผ่านคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา อาทิ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการปกครอง สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
เมื่อผู้ประกอบการผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว TCEB จะออกใบรับรองมีอายุรับรอง 3 ปี และรายชื่อทั้งหมดจะอยู่ในแผนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาดของ สสปน. เพื่อเชิญชวนให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการต่อไป
นายสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) กล่าวว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการรับรองผลมาตรฐาน มาตรฐาน TMVS เล็งเห็นถึงความสำคัญกับการยกระดับสถานที่จัดงานประเทศไทยให้มีความน่าเชื่อถือ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจำนวนสถานประกอบการรายใหม่เติบโตมากขึ้นและรายเก่าเติบโตขขอต่ออายุเพิ่มทุกปี จึงควรเร่งเพิ่มศักยภาพสถานที่จัดงานเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งมองหาสถานที่ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นลำดับต้น ๆ และพร้อมสนับสนุนการเข้าร่วมมาตรฐานดังกล่าว
นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ หรือ สรอ. กล่าวว่า สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้ดำเนินโครงการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย ของ TCEB มาตั้งแต่ปี 2558 โดยยึดมั่นจรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ รวมถึงการรักษาความลับ การดำเนินงานอย่างโปร่งใส เป็นกลางและอย่างมืออาชีพ ในการประเมินผลสถานที่ประกอบการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17021-1, ISO 50003, UNFCCC Accreditation Standard & ISO/IEC 17020 ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจประเมินและรับรองระบบการจัดการ ระบบการจัดการพลังงาน, CDM & ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจ และ ISO 19011
ทั้งนี้แนวทางการตรวจประเมินระบบการจัดการ ได้ใช้เกณฑ์การพิจารณามาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย ครอบคลุมตัวชี้วัดด้านกายภาพ บริการและการจัดการ เทคโนโลยี ความปลอดภัย การสนับสนุน รวมถึงการจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศจะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำอาเซียนอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร. ณัฏฐณิชชา สิงห์บุระอุดม นักวิจัยในโครงการพัฒนามาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะผู้จัดทำหลักเกณฑ์การประเมิน TMVS ซึ่งมีตัวชี้วัดแตกต่างกันไป นั้น ภายในปี 2562 ก็จะทำให้อยู่มาตรฐานเดียวกันคือ 3 ปี ทั้งประเภทห้องประชุม เอ็กซิบิชั่น และสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ เพื่อตอบโจทก์ผู้จัดงานและใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร โดยเฉพาะด้านการจัดทำเอกสาร อย่างเป็นระบบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น