เปิดโมเดล“พลังพ่อสู่ลูก”อาณาจักรคิงเพาเวอร์
“วิชัย ศรีวัฒนประภา”ต้นแบบพลังดีที่โลกจดจำ
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #สวท97
อ่านได้ในหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน/ข่าวสดรายวัน และ มติชนออนไลน์ /ข่าวสดออนไลน์
พลังความรักความอาลัยของคนไทยและทั่วโลกยังคงหลั่งไหลสู่เมืองไทยไม่หยุด ในการจากไปของ “วิชัย ศรีวัฒนประภา” ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ THE POSSIBLE MAN VS : ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้
“ประธานวิชัย” มักพูดในตอนมีชีวิตอยู่ให้เพื่อนฝูงได้ฟังเสมอ ๆ ว่า แม้จะยากลำบากขนาดไหนก็จะยึดมั่นใน “พลังความดี” นำธุรกิจก้าวผ่านมรสุมต่าง ๆ ไปให้ได้ และพร้อมจะปกป้องศักดิ์ศรีคนไทย “รักษาธุรกิจที่คนไทยเป็นเจ้าของ” ไว้ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ วิธีการ อย่างถูกต้อง มีน้ำใจนักกีฬา เล่นในเกม ทุกครั้งเมื่อกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เข้าสู่สนามแข่งขันการประมูลงาน จึงพร้อมจะใส่ตัวเลขตามกติกาให้กับหน่วยงานรับผิดชอบนั้น ๆ และรัฐบาลได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
การทำธุรกิจด้วยจิตวิญญาณจากหัวใจของ “ประธานวิชัย” กระทั่งตอนนี้กลายเป็น “ปรากฏการณ์ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่” จนผู้คนพากันเรียกว่า “อาณาจักร คิง เพาเวอร์” ซึ่งมีเบื้องหลังการเติบโตอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องมาเป็นเวลา 30 ปี ด้วยพื้นฐานเดียวกันกับการลงทุนทั่วไป นั่นคือ 20 ปีแรกต้องบริหารจัดการเงินลงทุนโดย “กู้หนี้-ยืมสิน” มูลค่านับร้อยนับพันล้านบาท ผ่านเหตุการณ์ความร้อนหนาว ในวันที่คิง เพาเวอร์ ยังต้องเดินหน้าแต่ขาดเงินพัฒนาโครงการ เชื่อหรือไม่ว่าแม้แต่สถาบันการเงินบางแห่งก็ยังไม่ยอมให้ปล่อยเงินกู้หรือสนับสนุนด้วยซ้ำ
ดังนั้นกว่าที่ “อาณาจักร คิง เพาเวอร์” จะรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้ แล้วไปสร้างชื่อเสียงให้กับ “ประเทศไทย” โด่งดังทั่วโลกได้ ด้วยการทำให้มีเงินและสินทรัพย์หมุนเวียนปัจจุบันตามการรวบรวมของนิตยสาร Forb ระบุ 1.62 แสนล้านบาท
“ประธานวิชัย” ต้องใช้พลังใจและพลังกายมหาศาลทุ่มเทนำองค์กรต่อสู้กับทุกอุปสรรคปัญหา โดยเฉพาะในประเทศต้องทนอยู่กับการถูกกล่าวหาโจมตีว่าเป็น “ผู้ผูกขาดสัมปทาน” ทั้ง ๆ ที่ในการลงแข่งขันเข้าร่วมประมูล ตามเงื่อนไขของทุกหน่วยงานกำหนดไว้ชัดเจนว่า “ผู้ที่เสนอผลประโยชน์ตอบแทนรัฐสูงสุด” คือ “ผู้ชนะ” ได้สิทธิเข้าดำเนินธุรกิจอย่างชอบธรรม
ประธานกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อธิบายซ้ำย้ำชัดมาตลอดว่า “ผู้ชนะ” มิใช่ “ผู้ผูกขาด” และไม่ได้ “สิทธิพิเศษ” แต่ได้มาด้วย “สิทธิตามกติกาอย่างชอบธรรม”
โดยเฉพาะ “ร้านค้าปลอดภาษีและอากร” (Duty/Tax Free) เมื่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโต ก็มีต่างชาติแห่กันเข้ามาในลักษณะของการร่วมทุนกับบริษัทในไทยยื่นประมูลแข่งกับคนไทยด้วยกัน แตกต่างจากเมื่อ 30 ปีก่อน สมัยนั้นการท่องเที่ยวของไทยลุ่ม ๆ ดอน ๆ จึงแทบไม่ได้รับความสนใจและแทบไม่ได้อยู่ในสายตาบรรดาเหล่าเจ้าของกิจการดิวตี้ฟรีข้ามชาติแต่อย่างใด
ระหว่างการแสดงความอาลัยและช่วงงานสวดอภิธรรมโดยเปิดให้ประชาชนร่วมเคารพศพ “ประธานวิชัย” ณ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ระหว่างวันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งมีทั้งประชาชนคนไทยและนักฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ บินลัดฟ้ามาร่วมไว้อาลัย นั้น
ในอีกมุมหนึ่งของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ก็ต้องรวมพลังกับฝ่ายบริหารเดินหน้าปฏิบัติการภารกิจสำคัญอีกเรื่องคือ การทำรายละเอียดยื่นประมูลเข้าร่วมแข่งขันบริหารพื้นที่ใน “ท่าอากาศยานอู่ตะเภา พัทยา” แยกเป็น 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 บริหารร้านค้าดิวตี้ฟรี ขนาด 2,000 ตารางเมตร ในนาม บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และ สัญญาที่ 2 ยื่นแข่งขันเข้าบริหารพื้นที่ร้านค้าปลีก ในนาม บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งทางผู้บริหารท่าอากาศยานอู่ตะเภากำหนดให้ผู้สนใจซื้อซองไปเรียบร้อยแล้วยื่นเอกสารได้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561
“อัยยวัฒน์” เปิดเผยถึงเส้นทางการรับไม้ต่อดูแลอาณาจักร คิง เพาเวอร์ ต่อจากคุณพ่อ-ประธานวิชัย ว่า ได้รับการสั่งสอนให้ยึดมั่นในพลังการทำความดี มีชีวิตอยู่ด้วยการคืนประโยชน์สู่สังคม พร้อมจะให้ในสิ่งที่คุณงามความดีแก่ผู้อื่นเสมอ คำสอนเหล่านี้ได้รับการปลูกฝังอยู่ในจิตใจมาตั้งแต่เล็กจนถึงวันนี้กว่า 30 ปี วันนี้จึงพร้อมนำพาองค์กรธุรกิจ พนักงาน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน เพื่อทำให้ทั่วโลกสัมผัสได้ถึง “พลังคนไทย พลังคิง เพาเวอร์” เฉกเช่นที่ประธานวิชัยสร้างไว้อย่างแข็งแรง
ส่วนในสนามการดำเนิน “ธุรกิจ” ทุกอย่างจะก้าวต่อไปเสมือนปกติเพราะคุณพ่อ-ประธานวิชัย ไม่ได้หายไปไหน พลังความดีของท่านคงอยู่กับเราตลอดไป
ดังนั้นในฐานะทายาทผู้ดูแลธุรกิจ จะนำ “โมเดลพ่อ” ของ “ประธานวิชัย ศรีวัฒนประภา” มาใช้อย่างเข้มแข็ง เป็นประโยชน์ทั้งต่อครอบครัว ส่วนรวม สังคม ไม่ว่าเป็น “การดำเนินธุรกิจในประเทศ” ซึ่งมีร้านค้าดิวตี้ฟรีสาขาต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์คิง เพาเวอร์ หรือโครงการใหม่ คิง เพาเวอร์ มหานคร กำลังจะเปิดเดือนพฤศจิกายน 2561 และ “กิจการในต่างประเทศ” ซึ่งมีสโมสรฟุตบอลทั้งเลสเตอร์ ซิตี้ ในอังกฤษ กับ OHL Leuven ในเบลเยี่ยม
ทุกกิจกรรมโครงการจะขับเคลื่อนอย่างมี “พลัง” ต่อไป โดยเฉพาะ “การให้โอกาส” มอบทุนคัดสรรเด็กและเยาวชนไทยเดินทางไปศึกษาฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเป็นนักเตะระดับอินเตอร์ยังสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ และ OHL Leuven กับการแจกทั่วประเทศต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ใช้ทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ได้แก่ ฟุตบอล 1 ล้านลูก สนามกีฬาฟุตบอลตามสถานศึกษาในถิ่นห่างไกล 100 แห่ง นับจากนี้เป็นต้นไปพลังทุกแหล่งจะมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
อัยยวัฒน์ยืนยันว่าขอทุ่มเทแรงใจ แรงกาย ทั้งหมด ทำทุกอย่างให้เหมือนกับท่านประธาน ต้องรักษาสถานะการเป็นผู้บุกเบิกร้านค้าดิวตี้ฟรี ขยายการเติบโตอย่างยั่งยืน สนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยขึ้นเป็นประเทศผู้นำของภูมิภาคเอเชียตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ไปยังชุมชนทั่วประเทศให้มีเศรษฐกิจฐานรากอย่างเข้มแข็งในระยะยาว
สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการให้สิทธินักลงทุนพัฒนาร้านค้าดิวตี้ฟรี แบ่งเป็น
ประเภทที่ 1 ร้านค้าดิวตี้ฟรีในเมือง (duty free down) สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ยุค “จุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์” อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศเปิดเสรีให้ผู้สนใจสามารถเปิดกิจการได้ตามระเบียบกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ปลดล็อกสิทธิเดิมจาก ททท.เจ้าของสิทธิ์ประกอบกิจการร้านค้าดิวตี้ฟรีให้กับนักธุรกิจที่มีความพร้อมทั้งหลายเข้ามาทำได้ แต่จนถึงวันนี้ก็ยังมีนักลงทุนที่พร้อมอยู่น้อยมาก
ประเภทที่ 2 “ดิวตี้ฟรีในสนาม :Duty Free Airport” ตั้งแต่ปี 2540 มาจนถึงปัจจุบัน ยังคงบริหารจัดการด้วยการให้สัมปทานสิทธิแก่ผู้ประกอบการรายเดียว ภายใต้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.”ในพื้นที่สนามบินนานาชาติ 6 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ แม่ฟ้าหลวงเชียงราย โดย ทอท.ได้จัดสรรสัดส่วนตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และตามกฎการบินโลก ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ท่าอากาศเป็นหลักด้วย
ประเภทที่ 3 “ดิวตี้ฟรีบนเครื่องบิน : Duty Free Onbroad” เงื่อนไขการได้สิทธิ์ขายจำหน่ายสินค้าบนเครื่องขึ้นอยู่กติกาของแต่ละสายการบิน เช่น การบินไทยกับแอร์ เอเชีย เลือกที่จะให้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เป็นผู้ดำเนินการเพียงรายเดียว
ด้วยพลังความดี หลอมรวมกันเป็น “พลังศรัทธา” หนุนส่งให้ “อาณาจักร คิง เพาเวอร์” ดำรงความยิ่งใหญ่ต่อไปในยุคของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ลูกชายของ “ประธานวิชัย” ผู้สร้างปาฏิหารย์ทำให้คนทั้งโลกรู้ว่าความดีผู้ไม่มีตาย
“วิชัย ศรีวัฒนประภา”ต้นแบบพลังดีที่โลกจดจำ
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #สวท97
อ่านได้ในหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน/ข่าวสดรายวัน และ มติชนออนไลน์ /ข่าวสดออนไลน์
พลังความรักความอาลัยของคนไทยและทั่วโลกยังคงหลั่งไหลสู่เมืองไทยไม่หยุด ในการจากไปของ “วิชัย ศรีวัฒนประภา” ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ THE POSSIBLE MAN VS : ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้
“ประธานวิชัย” มักพูดในตอนมีชีวิตอยู่ให้เพื่อนฝูงได้ฟังเสมอ ๆ ว่า แม้จะยากลำบากขนาดไหนก็จะยึดมั่นใน “พลังความดี” นำธุรกิจก้าวผ่านมรสุมต่าง ๆ ไปให้ได้ และพร้อมจะปกป้องศักดิ์ศรีคนไทย “รักษาธุรกิจที่คนไทยเป็นเจ้าของ” ไว้ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ วิธีการ อย่างถูกต้อง มีน้ำใจนักกีฬา เล่นในเกม ทุกครั้งเมื่อกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เข้าสู่สนามแข่งขันการประมูลงาน จึงพร้อมจะใส่ตัวเลขตามกติกาให้กับหน่วยงานรับผิดชอบนั้น ๆ และรัฐบาลได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
การทำธุรกิจด้วยจิตวิญญาณจากหัวใจของ “ประธานวิชัย” กระทั่งตอนนี้กลายเป็น “ปรากฏการณ์ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่” จนผู้คนพากันเรียกว่า “อาณาจักร คิง เพาเวอร์” ซึ่งมีเบื้องหลังการเติบโตอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องมาเป็นเวลา 30 ปี ด้วยพื้นฐานเดียวกันกับการลงทุนทั่วไป นั่นคือ 20 ปีแรกต้องบริหารจัดการเงินลงทุนโดย “กู้หนี้-ยืมสิน” มูลค่านับร้อยนับพันล้านบาท ผ่านเหตุการณ์ความร้อนหนาว ในวันที่คิง เพาเวอร์ ยังต้องเดินหน้าแต่ขาดเงินพัฒนาโครงการ เชื่อหรือไม่ว่าแม้แต่สถาบันการเงินบางแห่งก็ยังไม่ยอมให้ปล่อยเงินกู้หรือสนับสนุนด้วยซ้ำ
ดังนั้นกว่าที่ “อาณาจักร คิง เพาเวอร์” จะรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้ แล้วไปสร้างชื่อเสียงให้กับ “ประเทศไทย” โด่งดังทั่วโลกได้ ด้วยการทำให้มีเงินและสินทรัพย์หมุนเวียนปัจจุบันตามการรวบรวมของนิตยสาร Forb ระบุ 1.62 แสนล้านบาท
“ประธานวิชัย” ต้องใช้พลังใจและพลังกายมหาศาลทุ่มเทนำองค์กรต่อสู้กับทุกอุปสรรคปัญหา โดยเฉพาะในประเทศต้องทนอยู่กับการถูกกล่าวหาโจมตีว่าเป็น “ผู้ผูกขาดสัมปทาน” ทั้ง ๆ ที่ในการลงแข่งขันเข้าร่วมประมูล ตามเงื่อนไขของทุกหน่วยงานกำหนดไว้ชัดเจนว่า “ผู้ที่เสนอผลประโยชน์ตอบแทนรัฐสูงสุด” คือ “ผู้ชนะ” ได้สิทธิเข้าดำเนินธุรกิจอย่างชอบธรรม
ประธานกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อธิบายซ้ำย้ำชัดมาตลอดว่า “ผู้ชนะ” มิใช่ “ผู้ผูกขาด” และไม่ได้ “สิทธิพิเศษ” แต่ได้มาด้วย “สิทธิตามกติกาอย่างชอบธรรม”
โดยเฉพาะ “ร้านค้าปลอดภาษีและอากร” (Duty/Tax Free) เมื่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโต ก็มีต่างชาติแห่กันเข้ามาในลักษณะของการร่วมทุนกับบริษัทในไทยยื่นประมูลแข่งกับคนไทยด้วยกัน แตกต่างจากเมื่อ 30 ปีก่อน สมัยนั้นการท่องเที่ยวของไทยลุ่ม ๆ ดอน ๆ จึงแทบไม่ได้รับความสนใจและแทบไม่ได้อยู่ในสายตาบรรดาเหล่าเจ้าของกิจการดิวตี้ฟรีข้ามชาติแต่อย่างใด
ระหว่างการแสดงความอาลัยและช่วงงานสวดอภิธรรมโดยเปิดให้ประชาชนร่วมเคารพศพ “ประธานวิชัย” ณ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ระหว่างวันที่ 5-9 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งมีทั้งประชาชนคนไทยและนักฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ บินลัดฟ้ามาร่วมไว้อาลัย นั้น
ในอีกมุมหนึ่งของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ก็ต้องรวมพลังกับฝ่ายบริหารเดินหน้าปฏิบัติการภารกิจสำคัญอีกเรื่องคือ การทำรายละเอียดยื่นประมูลเข้าร่วมแข่งขันบริหารพื้นที่ใน “ท่าอากาศยานอู่ตะเภา พัทยา” แยกเป็น 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 บริหารร้านค้าดิวตี้ฟรี ขนาด 2,000 ตารางเมตร ในนาม บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และ สัญญาที่ 2 ยื่นแข่งขันเข้าบริหารพื้นที่ร้านค้าปลีก ในนาม บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งทางผู้บริหารท่าอากาศยานอู่ตะเภากำหนดให้ผู้สนใจซื้อซองไปเรียบร้อยแล้วยื่นเอกสารได้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561
“อัยยวัฒน์” เปิดเผยถึงเส้นทางการรับไม้ต่อดูแลอาณาจักร คิง เพาเวอร์ ต่อจากคุณพ่อ-ประธานวิชัย ว่า ได้รับการสั่งสอนให้ยึดมั่นในพลังการทำความดี มีชีวิตอยู่ด้วยการคืนประโยชน์สู่สังคม พร้อมจะให้ในสิ่งที่คุณงามความดีแก่ผู้อื่นเสมอ คำสอนเหล่านี้ได้รับการปลูกฝังอยู่ในจิตใจมาตั้งแต่เล็กจนถึงวันนี้กว่า 30 ปี วันนี้จึงพร้อมนำพาองค์กรธุรกิจ พนักงาน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน เพื่อทำให้ทั่วโลกสัมผัสได้ถึง “พลังคนไทย พลังคิง เพาเวอร์” เฉกเช่นที่ประธานวิชัยสร้างไว้อย่างแข็งแรง
ส่วนในสนามการดำเนิน “ธุรกิจ” ทุกอย่างจะก้าวต่อไปเสมือนปกติเพราะคุณพ่อ-ประธานวิชัย ไม่ได้หายไปไหน พลังความดีของท่านคงอยู่กับเราตลอดไป
ดังนั้นในฐานะทายาทผู้ดูแลธุรกิจ จะนำ “โมเดลพ่อ” ของ “ประธานวิชัย ศรีวัฒนประภา” มาใช้อย่างเข้มแข็ง เป็นประโยชน์ทั้งต่อครอบครัว ส่วนรวม สังคม ไม่ว่าเป็น “การดำเนินธุรกิจในประเทศ” ซึ่งมีร้านค้าดิวตี้ฟรีสาขาต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์คิง เพาเวอร์ หรือโครงการใหม่ คิง เพาเวอร์ มหานคร กำลังจะเปิดเดือนพฤศจิกายน 2561 และ “กิจการในต่างประเทศ” ซึ่งมีสโมสรฟุตบอลทั้งเลสเตอร์ ซิตี้ ในอังกฤษ กับ OHL Leuven ในเบลเยี่ยม
ทุกกิจกรรมโครงการจะขับเคลื่อนอย่างมี “พลัง” ต่อไป โดยเฉพาะ “การให้โอกาส” มอบทุนคัดสรรเด็กและเยาวชนไทยเดินทางไปศึกษาฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเป็นนักเตะระดับอินเตอร์ยังสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ และ OHL Leuven กับการแจกทั่วประเทศต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ใช้ทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ได้แก่ ฟุตบอล 1 ล้านลูก สนามกีฬาฟุตบอลตามสถานศึกษาในถิ่นห่างไกล 100 แห่ง นับจากนี้เป็นต้นไปพลังทุกแหล่งจะมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
อัยยวัฒน์ยืนยันว่าขอทุ่มเทแรงใจ แรงกาย ทั้งหมด ทำทุกอย่างให้เหมือนกับท่านประธาน ต้องรักษาสถานะการเป็นผู้บุกเบิกร้านค้าดิวตี้ฟรี ขยายการเติบโตอย่างยั่งยืน สนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยขึ้นเป็นประเทศผู้นำของภูมิภาคเอเชียตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ไปยังชุมชนทั่วประเทศให้มีเศรษฐกิจฐานรากอย่างเข้มแข็งในระยะยาว
สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการให้สิทธินักลงทุนพัฒนาร้านค้าดิวตี้ฟรี แบ่งเป็น
ประเภทที่ 1 ร้านค้าดิวตี้ฟรีในเมือง (duty free down) สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ยุค “จุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์” อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศเปิดเสรีให้ผู้สนใจสามารถเปิดกิจการได้ตามระเบียบกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ปลดล็อกสิทธิเดิมจาก ททท.เจ้าของสิทธิ์ประกอบกิจการร้านค้าดิวตี้ฟรีให้กับนักธุรกิจที่มีความพร้อมทั้งหลายเข้ามาทำได้ แต่จนถึงวันนี้ก็ยังมีนักลงทุนที่พร้อมอยู่น้อยมาก
ประเภทที่ 2 “ดิวตี้ฟรีในสนาม :Duty Free Airport” ตั้งแต่ปี 2540 มาจนถึงปัจจุบัน ยังคงบริหารจัดการด้วยการให้สัมปทานสิทธิแก่ผู้ประกอบการรายเดียว ภายใต้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.”ในพื้นที่สนามบินนานาชาติ 6 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ แม่ฟ้าหลวงเชียงราย โดย ทอท.ได้จัดสรรสัดส่วนตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และตามกฎการบินโลก ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ท่าอากาศเป็นหลักด้วย
ประเภทที่ 3 “ดิวตี้ฟรีบนเครื่องบิน : Duty Free Onbroad” เงื่อนไขการได้สิทธิ์ขายจำหน่ายสินค้าบนเครื่องขึ้นอยู่กติกาของแต่ละสายการบิน เช่น การบินไทยกับแอร์ เอเชีย เลือกที่จะให้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เป็นผู้ดำเนินการเพียงรายเดียว
ด้วยพลังความดี หลอมรวมกันเป็น “พลังศรัทธา” หนุนส่งให้ “อาณาจักร คิง เพาเวอร์” ดำรงความยิ่งใหญ่ต่อไปในยุคของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ลูกชายของ “ประธานวิชัย” ผู้สร้างปาฏิหารย์ทำให้คนทั้งโลกรู้ว่าความดีผู้ไม่มีตาย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น