ททท.นครนายกโหม3กลยุทธ์ปลุกทัวร์สวนผลไม้
เปิดMoreFood&Funตลุยเมืองทุเรียนชุมชน6พันไร่
เปิดใจ “สกล ทองคำ”
ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นครนายก งัด 3 กลยุทธ์ปลุกกำลังซื้อ “นักท่องเที่ยวสวนผลไม้”
ปั้น “มะยงชิดโมเดล” ต้นแบบการตลาดทัวร์สวน “ทุเรียน/มังคุด/เงาะ” ช่วง
เม.ย.-มิ.ย.2563 ตลุยกินใน 2
จังหวัด
นครนายก ปราจีนบุรี พื้นที่ปลูกกว่า 6,000 ไร่
ร่วมเป็นพลังสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนสู่ชุมชนค้ำยันเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง
เดินหน้าสู้ผลกระทบวิกฤตไวรัสโควิด-19 ไปด้วยกัน
นายสกล
ทองคำ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครนายก เปิดเผยว่า
สถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่นครนายก
ที่ยังได้รับความสนใจอยู่เป็นการท่องเที่ยว “สวนผลไม้”
ตอนนี้มะยงชิดรุ่นสุดท้ายกำลังมีผลผลิตออกมาดึงดูดคนมาเที่ยว ปีนี้อยู่ ๆ
มะยงชิดกลับได้ผลผลิตดีเป็นที่น่าพอใจ ดึงดูดกลุ่มคนเดินทางมาชิม ช้อป
เข้ามาอุดหนุนชาวสวน พอถึงเดือนเมษายนนี้ทุเรียน มังคุด ในพื้นที่สวนรวมกัน
2 จังหวัด กว่า 6,000
ไร่ คือ นครนายกกว่า 1,000 ไร่ ปราจีนบุรีอีก 4-5,000 ไร่
จะเริ่มให้ผลผลิตแล้วตอนนี้ดอกกำลังออกเยอะมากว่าทุกปี เพราะอากาศเย็นลง
จึงสามารถจัดกิจกรรมขนาดเล็ก ๆ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชิม ช้อป ใช้
เงินเที่ยวสวนผลไม้ สามารถทำได้
กลยุทธ์การกระตุ้นตลาดได้จัดทำโมเดลต้นแบบ
“การท่องเที่ยวสวนมะยงชิด” นำสื่อลุยเข้าไปชิมซึ่งปีนี้ราคาดีมาก ราคาเฉลี่ยผลละ 30
บาท กิโลกรัม 250-400 บาท/กิโลกรัม
สวนที่ใจกว้างให้ชิมแบบไม่อั้นนักท่องเที่ยวก็จะชื่นชอบแล้วซื้อกลับบ้านเป็นจำนวนมาก
เช่นเดียวกันกับการโปรโมตท่องเที่ยวสวนทุเรียน มังคุด
ก็จะเปิดให้ชิมไม่อั้นแบบเดียวกับสวนมะยงชิด โดยจะกระตุ้นผ่านสื่อท้องถิ่นกับจัดแฟรมทิปนำสื่อส่วนกลางลงพื้นที่ชิมผลไม้ในสวนด้วย
สำหรับสวนทุเรียน มีทั้งสวนลุงไหว
ทุเรียนนมสด จ.ปราจีนบุรี พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวชิมชอบได้ตลอดเวลา
ตอนนี้หลายหมู่บ้านในปราจีนบุรีเริ่มขยายพื้นที่เข้ามาร่วมขายท่องเที่ยวด้วย
ซึ่งสวนผลไม้ในนครนายกกับปราจีนบุรีเป็นระดับพรีเมี่ยม
เพราะเป็นสวนที่เป็นมรดกตกทอดไม่เน้นเชิงธุรกิจมากจึงปลูกแบบอินทรีย์
และไม่มีพ่อค้าคนกลางกลุ่มล้งเข้ามาซื้อ ดังนั้นรูปแบบจึงต่างจากระยอง จันทบุรี
ตราด ส่วนราคาขายแต่ละปีไม่ขึ้นลงรุนแรงมากประมาณ 150-200 บาท/กิโลกรัม
โดยมีพันธุ์ยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ หลัก ๆ คือ พันธุ์หมอนทอง
หรือบางพันธุ์คนไทยแทบจะไม่ได้กินเพราะมีเศรษฐีจีนมาเหมาซื้อไว้อย่างที่สวนคุณกิตติศักดิ์
อำเภอศรีมโหสถ ถูกจองก่อนล่วงหน้า เป็นพันธุ์กบน้ำลูกละ 10,000 บาท
แนวโน้มการท่องเที่ยวสวนผลไม้นครนายก
ปราจีนบุรี ปี 2563 ยังคงค่อนข้างดี
โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวมาเลเซียซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้า(แต่ไม่ใช่มืออาชีพ)
นิยมกินแล้วซื้อไปขายต่อให้กลุ่มเพื่อน ๆ ในประเทศด้วย
ก็เข้ามาเหมาซื้อมะยงชิดจำนวนมาก มีเท่าไรก็ส่งทั้งหมด
ผอ.สกลกล่าวว่า ต้นปีนี้ชาวสวนมะยงชิดมีรายได้ดี
สวนละ 10 ไร่ มีรายได้ 1-2
ล้านบาท/ฤดู ได้สวนละ 3-4 ตัน
ตอนนี้รอยอดช่วงปิดฤดูกาลขายรอบสุดท้ายในเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจากทาง
ททท.ให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้กระจายเข้าสู่ชุมชนเป็นหลัก
ปี 2563 ปริมาณการออกดอกของสวนทุเรียน มังคุด ตอนนี้มีจำนวนมาก
เป็นผลมาจากอากาศเย็นจึงออกดอกมาก แต่ต้องรอลุ้นพายุจะทำลายผลผลิตหรือไม่
แต่ชาวสวนก็พึงพอใจแนวโน้มปีนี้จะมีผลไม้ขายได้จำนวนมาก
อีกทั้งเงาะซึ่งมีพื้นที่ปลูกน้อยแต่ส่งสัญญาณผลผลิตจะดี หากแบ่งพื้นที่ปลูก
“ทุเรียน” ในนครนายกมีบ้านละเฉลี่ย 5
ไร่/ครอบครัว ขนาดใหญ่ 10-20 ไร่/ราย
แต่ในปราจีนบุรีปีที่ผ่านมามีราว 4,000-5,000 ไร่ เฉลี่ยแต่ละครอบครัวจะปลูก 30-40 ไร่
ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่มาอุดหนุนเพราะรู้ว่าต้องเข้าไปซื้อได้ถึงสวน
ซึ่งแต่ละสวนจะมีเพจกับลูกค้าประจำ ส่วนใหญ่ก็จะใช้ 3 กลยุทธ์ คือ 1.ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการที่มาจัดสัมมนาบอกกันปากต่อปากจากประสบการณ์ตรงว่าแต่ละสวนมีลักษณะอย่างไร
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาการบอกบวกกับการส่งถึงบ้านลูกค้าได้ภายในวันเดียว
ทำให้ยอดขายผลไม้แต่ละสวนเติบโตดีขึ้น โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง 2.ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวเรือใหญ่
ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ช่วยกันประชาสัมพันธ์ แล้ว
ททท.นำเข้าไปชิมถึงสวนแล้วนำข้อมูลแต่ละสวนไปบอกต่อ กลยุทธ์นี้ได้ผลดี 3.จับมือกับกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมแนะนำสวนผลไม้ของชาวบ้านแก่ลูกค้าที่เข้ามาพัก
สำหรับปีนี้ในการเดินทางมา นครนายก ปราจีนบุรี
เพื่อท่องเที่ยว สวนทุเรียน มังคุด
เงาะจะอยู่ช่วงปลายเมษายนต่อเนื่องไปจนถึงมิถุนายน 2563 โดย ททท.พร้อมทำเป็นแพกเกจ
จัดพื้นที่ขายบริเวณหน้า ร่วมกับทางโรงแรม รีสอร์ต
เพราะสามารถขายกลุ่มสัมมนาที่เดินทางเข้ามาได้
เป็นการทำกิจกรรมพึ่งพาซึ่งกันและกัน นั่นคือ
โรงแรมช่วยซื้อผลไม้ไปบริการเป็นของว่างกับกลุ่มสัมมนาและนักท่องเที่ยว
ส่วนชาวสวนก็นำผลไม้คุณภาพดีมาขายให้โรงแรม และนักท่องเที่ยว
ผอ.สกลกล่าวว่า
ต้องยอมรับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
เป็นอุปสรรคต่อการทำแผนกระตุ้นตลาดโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
ด้วยนโยบายรัฐบบาลฉบับใหม่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสินใจขอความร่วมมือยกเลิกการจัดกิจกรรมรวมตัวกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่
ส่งผลให้ต้องยกเลิกงาน “ปั่นเมืองรัก พักเมืองรอง สระแก้ว” เดือนมีนาคมนี้
ขณะที่ห้องพักโรงแรมซึ่งเดิมนักปั่นจองใช้บริการเต็มแล้ว ก็ต้องยกเลิกด้วย
ตามปกติโครงการนี้จะสามารถช่วยเพิ่มรายได้เข้าท้องถิ่นได้พอสมควร
ผนวกกับการสื่อสารข้อมูลเรื่องการติดต่อของไวรัสโควิด-19 ที่มาถึงชุมชนสร้างความตื่นตระหนก
ขาดความเข้าใจก็มีผลทำให้เกิดความกลัวรุนแรง
นอกจากโครงการปั่นจักรยานท่องเที่ยวรายการใหญ่แล้ว
ช่วงเดือนมีนาคมนี้เทศกาลสงกรานต์ขนาดไม่ใหญ่มากก็ต้องยกเลิกด้วยเช่นกัน
ดังนั้นจึงขอเชิญชวนมาท่องเที่ยวสวนผลไม้
ทุเรียน มังคุด เงาะ นครนายก ปราจีนบุรี
เพื่อช่วยกันสร้างความคึกคักให้ชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้ตลอดฤดูช่วงเมษายน-มิถุนายน
2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น