TCEBดันบิ๊กโปรเจ็กต์MICE WINNOVATION4กิจกรรมปั๊มธุรกิจปี64 จัดTECNOMARTดึงเจ้าของนวัตกรรมจับคู่ซื้อขายไฮเทคยอดนัดเกินเป้า
TCEBดันบิ๊กโปรเจ็กต์MICE WINNOVATION4กิจกรรมปั๊มธุรกิจปี64
จัดTECNOMARTดึงเจ้าของนวัตกรรมจับคู่ซื้อขายไฮเทคยอดนัดเกินเป้า
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #MICEWINNOVATION #TCEB
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่วมกับพันธมิตรขับเคลื่อนโครงการ MICE WINNOVATION มุ่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีจัดงานไมซ์ครบวงจร จับคู่ธุรกิจผู้ประกอบการไมซ์และผู้ให้บริการนวัตกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมไมซ์ตลอดปี 2564 ผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 แพลตฟอร์มผู้ให้บริการนวัตกรรม :MICE Innovation Catalog สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://innocatalog.tceb.or.th/ เพื่อเลือกหานวัตกรรมและบริการที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจหรือการจัดงานด้านต่างๆ ซึ่งสามารถติดต่อผู้ให้บริการนวัตกรรมได้โดยตรง
กิจกรรมที่
2 เปิดเวทีเจรจาธุรกิจ
:Tecnomart สร้างโอกาสทางธุรกิจและแสดงศักยภาพของผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(Tech Entrepreneurs) ผ่านการจับคู่ทางธุรกิจ (Business
Matching) และการนำเสนอผลงาน บริการต่างๆ
ให้กับผู้ประกอบการไมซ์ด้านต่างๆ ในทุกภูมิภาค
กิจกรรมที่
3 ทำแพคเกจสนับสนุนเงินทุน :Inno-Voucher ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำนวัตกรรมไปใช้ในการจัดงานโดยจับคู่กับผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(Tech Entrepreneurs) ผ่าน MICE Innovation Catalog เพื่อขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บ
ในรูปแบบคูปองนวัตกรรม
โดยให้เงินสนับสนุนด้วย Inno Voucher แก่ผู้จัดงานแบ่ง 4 แบบ คือ
1.Tech Max สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ ต้องมีพื้นที่จัดงานไม่น้อยกว่า 1,000 ตารางเมตร สนับสนุนเงินไม่เกิน 100,000 บาท
2.Convene+ สนับสนุนการใช้ออนไลน์แพลตฟอร์มช่วยจัดประชุมนานาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 คน รับเงินสนับสนุนได้สูงสุด 200,000 บาท
3.New Norm Support สนับสนุนใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ โดยมีพื้นที่จัดงานกว่า 800 ตารางเมตร รับสนับสนุนไม่เกิน 200,000 บาท
4.N2N
tech Savvy สนับสนุนใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีจัดงานเทศกาลต้องจัดอย่างน้อย
2 วัน และผู้เข้าชมงานไม่น้อยกว่า 1,000 คน สนับสนุนเงินสูงสุด 500,000 บาท
นายจิรุตถ์กล่าวว่า
ทีเส็บตั้งเป้าโครงการ “MICE Winnovation” จะสร้างผลลัพธ์ 4 เรื่อง
คือ 1.เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีตอบโจทย์การแก้ปัญหา
2.พัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการไมซ์ได้ตรงใจและเกิดเป็นรูปธรรม
3.สร้างความแตกต่างทางธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถทางแข่งขันในเวทีระดับสากลได้
4.ผลักดันการสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(Tech Entrepreneurs) ของไทยให้มีความสามารถพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมธุรกิจไมซ์อย่างยั่งยืนต่อไป
นางศุภวรรณ
ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม ทีเส็บ
กล่าวเสริมว่า เส้นทางการพัฒนา
MICE WINNOVATION เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของไมซ์ทั่วโลกได้หันมาใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสร้างความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมไมซ์
โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเผชิญอุปสรรคมากมายในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
เครื่องมือดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการสร้างความเชื่อมั่นที่จะทำให้การจัดงานไมซ์ในประเทศและระหว่างประเทศยังคงเดินหน้าจัดต่อไปได้
ดังนั้นทีเส็บจึงได้เปิดเวทีจัดงาน TECNOMART ครั้งที่
1 ขึ้นเมื่อวันที่
26 มีนาคม
2564 โดยมีพันธมิตรทางนวัตกรรม
และผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี เข้าร่วมเพื่อจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างกัน 180
ราย เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียง 150 ราย รวมทั้งเกิดการจับคู่นัดหมายกันขึ้นกว่า 200 นัดหมาย
ตอกย้ำถึงความสนใจของทุกฝ่าย และตอบโจทย์ของทีเส็บเรื่องการใช้เวทีดังกล่าวสร้างโมเดลต้นแบบเพื่อขยายผลนำเครื่องมือทั้งหมดส่งต่อให้ภาคธุรกิจไมซ์นำไปต่อยอดในอนาคตได้
โครงการ MICE WINNOVATION จะเป็นกิจกรรมที่จะช่วยลดการยกเลิกการจัดงานไมซ์ให้ได้มากที่สุด
โดยภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องยังสามารถจัดงานต่อไปได้ และเป็นเวทีสร้างความเชื่อมั่นทั้งผู้ซื้อ
ผู้ขาย ควบคู่กันไป
นางศุภวรรณกล่าวว่าที่ผ่านมาทีเส็บประสบความสำเร็จในการจัดทำโครงการ
“ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ”
กระตุ้นตลาดไมซ์ในประเทศท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ตั้งแต่กลางปี 2563 มาจนถึงปัจจุบัน
ส่งผลทำให้ทั้งไมซ์และการท่องเที่ยวชะลอตัวลดลงไปใกล้เคียงกันประมาณ70-80 % แต่เมื่อทีเส็บใช้เงินราว
20 ล้านบาท
ทำกิจกรรมเชิงรุกในโครงการ “ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ”
ทำให้มีรายได้จากไมซ์กลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
ดังนั้นโครงการ MICE WINNOVATION ก็จะเป็นกุญแจสำคัญอีกดอกที่จะช่วยไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมให้คลี่คลายไปทางที่ดีขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นางจุรุวรรณ สุวรรณศาสน์
ผู้อำนวยการฝ่าย MICE
Intelligence และนวัตกรรม ทีเส็บ กล่าวว่า นอกจาก MICE WINNOVATION จะขับเคลื่อนด้วย
4 กิจกรรมหลักแล้ว
ยังมี “Hero Technology แพ็กเกจ” เข้ามาเสริมทัพสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์ในภาวะวิกฤต
หรือเป็น Crisis support โดยการใช้ Virtual / Hybrid
Event Solutions กับ Crowd Management Technology ซึ่งผู้จัดงานสามารถขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บได้ตั้งแต่วันนี้ถึง
30 กันยายน 2564 ทุกกิจกรรมสามารถช่วยแก้ปัญหากำจัดอุปสรรค 2 เรื่องใหญ่
ได้แก่ 1.สามารถช่วยลดจำนวนของการเลื่อนและการยกเลิกการจัดงาน
ทำให้ผู้ประกอบการอีกกว่า 50
% ยืนยันจัดงานไมซ์ต่อไป และ 2.เป็นเครื่องมือในการโซลูชั่นใหม่เข้ามาใช้เพิ่มขีดความสามารถภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมไมซ์แบบครบวงจร
สำหรับโครงการ
MICE Winnovation ทางทีเส็บได้รับสนับสนุนและความร่วมมือจากพันธมิตรภาครัฐ
ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) (สนช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ อาทิ สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) (TEA)
สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) (TICA) และสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย
(TIEFA) รวมพลังกันเดินหน้าไมซ์ประเทศไทยให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง
รวมทั้งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการไมซ์ไทยและผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(Tech Entrepreneurs) ในระยะยาว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่เทคโนโลยีจะก้าวเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตผู้คนมากขึ้นในทุกมิติทั้งเศรษฐกิจและสังคมโลกต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น