รมว.สุดาวรรณสั่งปั้นด่วนระนองออนเซนทาวน์
กรมท่องเที่ยวงานเข้าพัฒนาแบรนด์สู่ตลาดโลก
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza
#รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TheJournalistclub #TAT #สุดาวรรณหวังศุภกิจโกศล #น้ำพุร้อนรักษะวาริน #ระนอง
อ่านใน website TheJournalistclub…
“สุดาวรรณ” ตื่นเต้น!! นโยบายดันระนองผงาดเทียบชั้น “สปา ทาวน์” ยุโรป หรือ “ออนเซ็น ทาวน์”ญี่ปุ่น สั่ง “กรมการท่องเที่ยว” ทำด่วนเที่ยวเชื่อมโยงสายน้ำพุร้อน 7 เส้นทาง เร่งปั้นแบรนด์เข้าตลาดโลก แถมได้ยกท่องเที่ยวเมืองรองสู่เมืองหลัก นำรายได้เข้าท้องถิ่น
· -“สุดาวรรณ”
ลงพื้นที่พร้อมนายกฯ เศรษฐา สั่งด่วนปั้นระนองขึ้นชั้นท่องเที่ยวออนเซนทาวน์
· -ลั่นทำแบรนด์ 7 Hot Springs or Wellness Routes ทัวร์สุขภาพบุกโลก
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ร่วมเดินทางกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดระนองในวันที่ 22 มกราคม 2567 ได้ตรวจราชการในจังหวัดก่อนจะประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ในวันที่ 23 มกราคม มีโอกาสดูการบริหารจัดการ “บ่อน้ำร้อนรักษะวาริน” แหล่งเดียวในเมืองไทยที่ไร้สารกำมะถันเจือปนจึงทำให้ได้น้ำแร่ใส ไร้กลิ่นกำมะถัน และเป็นสถานที่สำคัญทั้งคนไทยและต่างชาตินิยมมาท่องเที่ยวใจอยู่ใจกล้างเมือง ด้วยคุณภาพแหล่งน้ำแร่คุณภาพดี ได้มาตรฐานสากล
หลังตรวจพื้นที่เสร็จจึงมอบหมายให้กรมการท่องเที่ยววางแผนพัฒนายกระดับน้ำพุร้อนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้องเร่งทำโดยด่วนในลักษณะ เมืองสปา Spa Town แบบยุโรป หรือ ออนเซน (Onsen Town) แบบญี่ปุ่น ใช้น้ำพุร้อนสร้างเศรษฐกิจ (Hot Spring Economy) และรายได้ให้ท้องถิ่น โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวรองตามนโยบายรัฐบาลมุ่งส่งเสริมยกระดับเป็นเมืองหลักท่องเที่ยวให้ได้
รมว.สุดาวรรณ กล่าวว่า แนวทางพัฒนาจะต้องเชื่อมโยงร้อยเรียงแหล่งน้ำพุร้อนระนองเข้ากับจังหวัดใกล้เคียง จัดทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสายน้ำพุร้อน และ Wellness เบื้องต้นมอบหมายกรมการท่องเที่ยวรวบรวมแบ่งตามลักษณะได้ 7 เส้นทาง หรือ 7 Hot Springs or Wellness Routes สร้างแบรนด์การขายสู่ตลาดสากลควบคู่กับกระจายการท่องเที่ยวสู่เมืองรองได้ด้วย
ขณะเดียวกันจะต้องสร้างองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติที่มีมาตรฐานสากลสอดคล้องกับการท่องเที่ยววิถีใหม่
(New Normal) เพื่อนำไปเป็นต้นแบบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนธรรมชาติแหล่งอื่นต่อไป
เรื่องสำคัญที่ต้องทำคือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดธุรกิจบริการสุขภาพเกี่ยวเนื่องกับน้ำพุร้อนธรรมชาติ
และพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะให้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ปัจจุบันไทยมีแหล่งน้ำพุร้อนทั่วประเทศ 118 แห่ง กระจายอยู่ในแต่ละภาคหลัก ๆ อันดับ 1 ภาคเหนือ 71 แห่ง อันดับ 2 ภาคใต้ 32 แห่ง อันดับ 3 ภาคกลาง 12 แห่ง อันดับ 4 ภาคตะวันออก 2 แห่ง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์หลัก ๆ เป็นพื้นที่สาธารณะ (แหล่งน้ำสาธารณะ) ของชุมชนหรือเมือง และเพื่อการท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีแหล่งน้ำพุร้อนอีกหลายแห่ง ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นธรรมชาติสูง หรืออยู่ในพื้นที่ชนบทการเดินทางเข้าถึงยาก ส่วนแหล่งน้ำพุร้อนในเมืองจะได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งแช่และอาบของคนในเมืองนั้น ๆ ผนวกกับได้รับการพัฒนาเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการได้ด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น