ชี้เป้าปัญหา“คอขวดอาชีพนักบินไทย”
“ชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ” กรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.)
และอดีตรองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบัน “อาชีพนักบิน” กำหอมหวานในสังคมไทยและอาจจะกลายเป็น “แฟชั่นรุ่นใหม่” ในอนาคตอันใกล้นี้ ของเยาวชนที่กำลังสนใจหอบเงินหลายล้านมาร่ำเรียน
ทว่าเส้นทางการใช้เงินของแต่ละคนตลอดหลักสูตรปีละกว่า
3 ล้านบาท
ในความเป็นจริงมิได้หอมหวานดังภาพมายาที่ปรากฎ
เพราะยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่น้อง ๆ กำลังตัดสินใจเลือกทางเดินเข้าสู่ “อาชีพนักบิน” ต้องศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนก่อนตัดสินใจเข้ามาเรียน
โดยภาพรวมตอนนี้ประเทศไทยขาดแคลนนักบิน
ส่วนการสั่งซื้อเครื่องบินก็เพิ่ม 4.7 % ทำให้คนสนใจไปเรียนกันมาก แต่ต้องทำความเข้าใจในการเข้าสู่ระบบ “อาชีพนักบิน” ไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยเฉพาะสำนักงานใหญ่ของแต่ละสายการบิน ต้องผ่านการตรวจสอบทางการแพทย์ คลาส 1 ตรวจละเอียดต้องสอบจิตเวช
ปัญหาของไทยที่มีการเปิดรับนักเรียนการบินหลายสถาบันแห่กันเปิดบริการ
หลักการเข้ามาเรียนนักบิน
ขั้นแรกจะต้องสอบจิตเวชด้วย (นอกเหนือจากเรื่องการตรวจสมรรถนะร่างกาย)
มีสถานที่ตรวจเพียงแค่ 2 แห่ง คือ
เวชศาสตร์การบินโรงพยาบาลภูมิพลกับโรงพยาบาลกรุงเทพ
ถึงแม้จะเข้าเรียนเป็นนักบินจนจบตลอดหลักสูตรจะใช้เงินประมาณ 3 ล้านบาท
เมื่อเรียนจบก็ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าเป็นนักบินได้เลย
เพราะเด็กจบใหม่ที่ไปเป็นนักบินผู้ช่วย ต้องเข้าสู่ระบบเกณฑ์จากทางสายการบิน เช่น
ไทยแอร์เอเชีย การบินไทย
ใช้วิธีไปคัดตั้งแต่เริ่มต้นก่อนเข้าเรียนไว้ตั้งแต่แรกที่เรียนจากนั้นจึงให้กลับมาใช้ทุน
ดังนั้นผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจว่าถึงแม้จะส่งลูกไปเรียนจนจบก็ไม่ได้หมายความว่าจะเข้ามาเป็นนักบินได้ทันที
ปัญหาคอขวดของ “อาชีพนักบิน” ทุกสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรต้องสอบก่อน
พอจบแล้วสำคัญที่สุดต้องไปสมัครงานกับทางสายการบิน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะขึ้นไปบินได้เลย ต้องใช้เวลาฝึกหัดทักษะบิน
สิ่งแรกที่ต้องเจออีกครั้งคอขวดหลัก ๆ คือ
1.“เวชศาสตร์การบิน” ด้วยความที่เมืองไทยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่เพียง
2 แห่งเท่านั้น
คิวรอตรวจจิตเวชนักบินจึงยาวมากบางครั้งคิวข้ามปี
เป็นปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอสำหรับการตรวจ ขณะนี้ “พลอาอาศเอกประจินต์ จั่นตอง” รองนายกรัฐมนตรี
มีนโยบายให้สร้างสถาบันเวชศาสตร์การบินแห่งที่ 2
2.ปัญหาการติดธงแดงของไทยจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
(ICAO)
แนวโน้มกว่าจะปลดได้ต้องรอถึงประมาณกลางปี 2560 ส่งผลให้ต้องรอจังหวะเรื่องนี้ด้วย
ถึงจะเดินหน้าเพิ่มบุคลากรการบินด้านต่าง
ๆ
โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาต (ไลเซ่น) ตรวจสอบมาตรฐานการบินทั้งระบบด้วย
3.การออกใบอนุญาตสายการบินซึ่งเกิดจากการถูกติดธงแดง
2 เรื่อง คือ 1.ใบสำคัญการดำเนินการเดินอากาศ
และการขนส่งสินค้าอันตราย
จึงต้องแก้ไขโดยการออกคู่มือและการแก้กฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ผลจากการติดธงแดงทำให้สายการบินของไทยไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินหรือจุดบิน
หรือเปลี่ยนแปลงแบบเครื่องบินได้
ส่งผลให้สายการบินของไทยโดยรวมยังไม่สามารถขยายธุรกิจได้
ขณะที่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของนักเรียนที่จะเข้ามาสู่
“อาชีพการบิน” ของเมืองไทยในปี 2560 นั้น
ล่าสุดคณะกรรมาธิการขนส่งทางอากาศ
กระทรวงคมนาคม ได้จัดสัมมนาเรื่องปัญหาเฉพาะ “ไทยขาดแคลนบุคลากรการบิน”
รวมถึงการผลิตคนเพื่อไปทำงานในประเทศต่าง ๆ ด้วย คำตอบสำคัญคือสถาบัน 1.ผลิตบุคลากรต้องมีมาตรฐาน
โดยสำนักงานการบินพลเรือน มีหน้าที่หลักออกกฎเกณฑ์ เข้มงวดในการตรวจสอบ 2.หน่วยงานไม่สามารถบังคับสายการบินให้รับบุคลากรจบใหม่ได้
ดังนั้นจึงควรใช้วิธีร่วมมือกับสายการบินกับสถาบันผลิตนักบิน
ซึ่งมีสูตรการคัดเลือกนักบินเข้าเรียนตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงสุดทาง
สำหรับการเติบโตใน “อาชีพนักบิน” ปัจจุบันทั้งในไทยและตะวันออกกลาง
ยังคงขยายตัวสูงมาก แต่คอขวดที่กล่าวมาคือเรื่อง รูปแบบวิธีการคัดนักบิน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การบินผู้ตรวจสอบด้านจิตเวช
สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานบุคลากรการบิน ความร่วมมือตั้งแต่ต้นทางระหว่างสายการบินกับผู้ที่จะเข้าเรียนการบิน
และกฎระเบียบมาตรฐานใหม่ที่ไทยจะต้องปรับแก้ให้สอดคล้องกับสากลตามกติกาขององค์การการบินพลเรือน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น