ปรับใหญ่“แหล่งท่องเที่ยวรอบพระบรมมหาราชวัง”
ยลโฉมใหม่สวนนาคราภิรมย์-พิพิธภัณฑ์โขนปี’61
นางอรนุช อิ่มอารมย์ หัวหน้าฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารงานอนุรักษ์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ |
นางอรนุช อิ่มอารมย์ หัวหน้าฝ่ายอาวุโส
ฝ่ายบริหารงานอนุรักษ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวว่า
ในการจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบพระบรมมหาราชวัง เริ่มดำเนินการต่อเนื่องกว่า 10 ปี
โดยร่วมกับสำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างอาคารเก่าโดยรอบพื้นที่พระบรมมหาราชวัง
จากโซนแรก คือ อาคารหน้าวังริมถนนพระลาน โซนที่ 2
ท่าช้างซึ่งระหว่างนี้กำลังปรับปรุงกรมสุรสีห์
คุณอรนุช อิ่มอารมย์-ดร.พรธรรม ธรรมวิมล-อานนท์ ฉ่ำชื่นวงศ์ ร่วมกันแถลงข่าวโครงการ "พัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวัง" เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมเทเวศน์ อาคาร 4 |
จากนี้ไปจะปรับโฉมใหม่ในโซนที่ 3
"สวนนาคราภิรมย์"
พื้นที่ประมาณ 7.5 ไร่
ซึ่งพื้นที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะในการเข้าไปปรับปรุงอาคารอนุรัก์แล้วพบปัญหาหลายอย่าง
โดยเฉพาะปัญหาการจราจรที่แออัดด้วยการร่วมมือสนับสนุนกรุงเทพมหานคร
และสำนักพระราชวัง
คุณอานนท์ ฉ่ำชื่นวงศ์ สถาปนิกผู้ดูแลโครงการพัฒนาลานจอดรถใต้ดินสวนนาคราภิรมย์
กล่าวว่า การออกแบบภูมิสถาปัตย์ รองรับกับพื้นที่ท่องเที่ยวรอบพระบรมมหาราชวังนั้น
สถานที่จอดรถมีความจำเป็นอย่างมาก
รวมถึงการสร้างท่าเรือเพื่อข้ามไปท่องเที่ยวยังวัดอรุณราชวรารามฯ ผนวกกับโครงข่ายของรถไฟฟ้าสีนำเงินในอนาคตจะเชื่อมต่อเข้ามาด้วย
แนวคิดหลัก ๆ
ต้องการเปิดมุมมองทัศนียภาพโดยรอบในมุมที่ดีที่สุด ทางเข้าอออกมี 2
ทาง ทางตลาดท่าเตียนกับกรมสวัสดิการทหารเรือ ส่วนการจัดทำผังจะเปิดโล่งกดลงชั้นใต้ดิน
เพื่อให้พื้นที่ด้านบนยังคงสวย 29,000 ตารางเมตร จอดรถขนาดใหญ่ 700
คัน มีช่องจอดรถบัส รถตู้ ช่องจอดจักรยาน
ช่องจอดคนพิการมากกว่าที่กฎหมายกำหนดบริการทุกชั้น
ส่วน “ผลกระทบกับสถานที่ใกล้เคียง”
ในการพัฒนาพื้นที่อาคารจำนวน 5 ไร่ ได้ขุดลงใต้ดินด้วย
และมีโบราณสถานโดยรอบอีกทั้งยังติดแม่น้ำเจ้าพระยา จึงต้องเน้นหนักการออกแบบโครงสร้างป้องกันดินทรุดคือใช้คอนกรีตหนา
ทางด่านฝั่งแม่น้ำมีแรงดันไม่เท่ากันจึงต้องนำเทคนิคการก่อสร้างในการป้องกันดินเคลื่อนตัว
ทำให้อาคารใหม่มีเสถียรภาพปลอดภัย
ขณะที่ “โครงสร้างระบบองค์ประกอบอาคาร” จะมีระบบระบายอากาศ force mainderation ใช้พัดลมดูดอากาศของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในอาคาร 5-10 btm เหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 3
เท่า รวมทั้งเน้นมาตรฐานความปลอดภัย การติดตั้งกล้องCCTV ระบบแนะนำช่องจอดรถ
และเทคโนโลยีครบวงจร ทุกส่วนเหนือเกณฑ์มาตรฐาน
สำหรับการดูแลการก่อสร้างกับสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดมลพิษต่อบริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวังและเกาะรัตนโกสินทร์
ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวและโบราณสถานจำนวนมาก
จึงต้องวางแผนขนดินที่ขุดเป็นแสนคิวออกทางเรือ และทำแนวกำแพงกันฝุ่นละออง ระหว่างที่จะต้องปิดสวนนาคราภิรมย์ชั่วคราวระยะทาง
200 เมตร
ตามแผนงานหลังเสร็จการก่อสร้างแล้วต้องคืนพื้นที่ ทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องการให้มีกิจกรรมเพื่อให้เกิดความคึกคักต่อไป
จึงจะร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อเปิดโครงการงานศิลปะอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ
คุณอรนุชย้ำเสริมว่า ทางสำนักงานทรัพย์สินมุ่งมั่นพัฒนาให้พื้นที่โครงการที่ได้เหนือมาตรฐาน
จึงได้คัดเลือกเครือข่ายพันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมงานกลุ่มคุณภาพซึ่งใช้เวลานานับปี
ทางด้าน “ดร.พรธรรม ธรรมวิมล” วิศวกรออกแบบโครงสร้างลานจอดรถ กล่าวว่า
พื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ล้อมรอบด้วยแลนด์มาร์คของกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นองค์รวมศูนย์ของเมือง ดังนั้นในทางภูมิสถาปัตย์แล้ว ได้มีมุมมองเป็นแกน
ถนนตรงบริเวณวังหน้ามายังถนนพระธาตุที่มีพระบรมมหาราชวัง
ด้านหลังเป็นพระปรางค์วัดอรุณฯ
จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเชื่อมแกนของสถานที่สำคัญของโครงการบอกเล่าเรื่องราวกรุงรัตนโกสินทร์
นำมาซึ่งการรักษาปรัชญาการก่อสร้าง 1.รักษาแกนที่พุ่งตรงไปยังแลนด์มาร์ค 2.เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์
สามารถใช้ประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมได้ 3.สวนสาธารณะ เป็นพื้นที่นันทนาการของคนเมือง
การออกกำลังกายกลางแจ้ง 4.พิพิธภัณฑ์โขน
จะช่วยถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น เผยแพร่ไปยังทั่วโลก
สำหรับพื้นที่ “ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์โขน”
จะใช้อาคารคลังราชการ 5 หลัง มาทำพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว
เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายน 2559 นี้
จะมีการจัดแสดงโขนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อการแสดงจบลงแล้ว
เครื่องทรงโขนแต่ละชุดที่ได้มาจากชาวบ้านจัดทำขึ้นมาถวายโดยเฉพาะ อีกทั้งผ้าแต่ละผืนทอมาด้วยความลำบากใช้เวลา
7-8 เดือน จะรวบรวมมาจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต่อไป ทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าของงานหัตถศิลป์ของไทยที่เกี่ยวข้องกับโขน
โดยพิพิธภัณฑ์จะได้เติมเต็มมากกว่าการได้มาชมวัดโพธ์ วัดอรุณฯ รวมทั้งผู้คนยังจะได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างมีความสุขด้วยกัน ควบคู่กับการนำเสนอข้อมูลการพัฒนาก็เพื่อบอกต่อสาธารณะถึงผลดีที่จะเกิดกับชีวิตผู้คนโดยรอบบริเวณและการท่องเที่ยวของประเทศคู่ขนานกันไป
บทสรุปจากการริเริ่มโครงการนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
สำนักงานทรัพย์สินฯ ระบุว่ามีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
โดยเฉพาะทางด้านการจราจร ไม่ได้แก้ปัญหาแต่เพื่อบรรเทาปัญหา
และไม่ได้ไปแข่งขันเพียงแต่มีส่วนช่วยสนับสนุน
รวมทั้งเป็นแรงกระตุ้นหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมทำด้วยกัน
จากการที่สำนักงานทรัพย์สินเริ่มต้นแล้วเกิดความตื่นตัวไปด้วยกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น