TCEBปั้นสถาบันอาเซียนไมซ์ต่อยอดAMVS
เปิดแผน5ปีโต7ด้านปี’63ดึงอพท.-ทบ.ร่วมวง
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #www.facebook.com/penroongyaisamsaen
‘TCEB’ ปั้น “สถาบันอาเซียนไมซ์” ต่อยอดโปรเจ็กต์ AMVS มาตรฐานไมซ์อาเซียน ตั้งเป้า 5 ปีหน้า พ.ศ.2567
จัดทัพมาตรฐาน 7 ด้าน โตไม่ยั้ง เร่งพัฒนาอย่างยั่งยืน
“สถานที่จัดในไทย-อาเซียน-ผู้เชี่ยวชาญ- การบริหาร-แรงงานฝีมือ-โค้ช-ชมเยาวชน” ปี’63 ผนึก “อพท.-กองทัพบก”
เพิ่มสถานที่พิเศษรองรับไมซ์สร้างเงินเพิ่มโอกาสท้องถิ่นเติบโต
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” |
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่า ปี 2563
ทีเส็บวางกลยุทธ์เดินหน้ายกระดับประเทศไทยเป็น
“สถาบันองค์ความรู้ไมซ์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (ASEAN MICE Institute)
ทำหน้าที่ให้องค์ความรู้ไมซ์แบบครบวงจรแก่อาเซียนและห่วงโซ่อุตสาหกรรมไมซ์ทั้งทางด้าน
การกำหนด รับรองมาตรฐานต่างๆ ออกแบบหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการไมซ์ทั้งบุคคลและองค์กร
ให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
มุ่งสร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรมไมซ์ไทยยั่งยืน สร้างผู้ประกอบการทุกสาขาให้มีมาตรฐานสูง
เสริมความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
TCEB เดินหน้าเพิ่มมาตรฐาน
ด้วยโครงการ Thailand MICE Venue Standard :TMVS
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ทีเส็บได้จัดงาน MICE Standards Day 2020 ขึ้น เพื่อขยายพันธกิจนอกเหนือจากเรื่องการดึงงาน (WIN) การทำประชาสัมพันธ์ (PROMOTE) แล้วยังจะต้องเดินหน้าทำอีก 2 เรื่อง ได้แก่ 1.การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ (DEVELOP) ยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยแข่งขันได้ในเวทีสากล ตั้งเป้าให้ไทยเป็นประเทศศูนย์กลางการศึกษาไมซ์แห่งอาเซียน และภูมิภาคเอเชียด้วยมาตรฐานสากล 2.เป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียในการจัดงานอย่างยั่งยืน ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยการใช้ ASEAN MICE Institute เป็นหัวหอก
ขณะนี้ทีเส็บทำแผนพัฒนามาตรฐานไมซ์ระยะ 5 ปี ไว้แล้ว ระหว่างปี 2563-2567
มุ่งสร้างผู้ประกอบการไมซ์ไทยให้มีความสามารถทางการแข่งขันระดับประเทศและอาเซียนได้
เริ่มจากปี 2563 จะนำร่องทำ 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.สร้างแบรนด์การสื่อสารมาตรฐานร่วมกับพันธมิตรที่เป็นผู้ใช้บริการในการทำประชาสัมพันธ์
2.สร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านกิจกรรมต่าง
ๆ 3.สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและสถานที่จัดงาน
4.สร้างผู้ประกอบการไมซ์
อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษาให้ผ่านการรับรองมาตรฐานในหลักสูตรต่าง ๆ
เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไมซ์ในอนาคตต่อไป
รวมทั้งได้กำหนดเป้าหมาย 7 มาตรฐานไมซ์ จากปัจจุบันไปจนถึงปีที่สิ้นสุดแผน
2567 ไว้ดังนี้
1.สถานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand
MICE Venue Standard: TMVS) จากปัจจุบัน 453
แห่ง / 1,083 ห้อง เป็น 1,500 แห่ง / 2,000 ห้อง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.สถานที่จัดงานแสดงสินค้า 25 แห่ง 29 ฮอล์ล และ 2.สถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ 31 แห่ง
2.มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน (ASEAN
MICE Venue Standard: AMVS) จากปัจจุบัน 53 เป็น 350 องค์กร
3.มาตรฐานการบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน
(Thailand Sustainable Event Management Standard: TSEMS ) จากปัจจุบัน 20 เป็น 300 องค์กร
4.ผู้เชี่ยวชาญด้านไมซ์อย่างมืออาชีพ (MICE
Professionals) จากปัจจุบัน
941 เป็น 1,200 คน
5. MICE
Coach (อาจารย์ด้านไมซ์)
จากปัจจุบัน 900
เป็น 1,200 คน
6.มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
ช่างไฟฟ้าไมซ์ จากปัจจุบัน 0 เป็น 500 คน
7.ชมรมเยาวชนไมซ์ (Student
Chapter) จากปัจจุบัน
241 (จาก 17มหาวิทยาลัย) เป็น 550
คน
TCEB ผนึกความร่วมมือกับ อพท.และสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก นำสถานที่มาตรฐานเข้าร่วมรองรับการกิจกรรมพิเศษไมซ์เพิ่มโอกาสและรายได้กระจายสู่ท้องถิ่นทั่วประเทศ |
ล่าสุดทีเส็บร่วมกับ 2 พันธมิตร ได้แก่ 1.สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก
2.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) หรือ อพท. นำสถานที่ที่ให้บริการจัดงาน หรือชุมชนที่พร้อมจัดงานไมซ์ได้เข้าร่วมโครงการตรวจประเมินมาตรฐาน
TMVS ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) เพิ่มโอกาสการจัดงานไมซ์กระจายไปทั่วประเทศ
และเพิ่มรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่
“พลตรี ธนณัฐ ยังเฟื่องมนต์”
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก กล่าวว่า
การสร้างมาตรฐานสถานที่จัดงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
จะทำให้องค์กรได้พัฒนาสถานที่จัดงานของตนให้มีมาตรฐาน สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่องค์กรอื่นหันมาพัฒนาอย่างทัดเทียม
ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้
นายอุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ
นายกสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศจุดหมายปลายทางการจัดงานไมซ์ระดับโลก
(Global MICE
Destination) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนามาตรฐานให้สอดคล้องกับตลาดผู้จัดงานทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อเครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกนำงานมาจัดในไทย
นายทวีพงษ์
วิชัยดิษฐ
ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า
มาตรฐานคือสิ่งที่แสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่จะเลือกจุดหมายปลายทางการจัดงานและท่องเที่ยว
ทาง อพท. ยินดีสนับสนุนและผลักดันสถานที่ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบเข้าร่วมรับการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ
(Special Event Venue) เปิดโอกาสในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความพร้อมรับตลาดกลุ่มไมซ์ ซึ่งมีคุณภาพเพิ่มรายได้กระจายสู่ชุมชนมากขึ้นในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น