มูลนิธิปิดทองชูโปรเจ็กต์เศรษฐกิจชุมชนสู้ภัยแล้ง
นำร่องอีสานในอุดรต้นแบบความมั่งคั่งยั่งยืนยาว
ทอท.ยืนยันคิงเพาเวอร์ไม่ได้อานิสงส์การเยียวยา
ช้อปคิงเพาเวอร์ครบหมื่นรับฟรี!!โลชั่นล็อกซิธาน
ททท.กอดคอกองทุนหมู่บ้านเที่ยวไทย3.6พันล้าน
ททท.ใต้จัดมหกรรมบอกรักประเทศไทยโกย6แสน
บางจากชู"รักษ์
ปัน สุข"หนุนไทยไปโอลิมปิคโตเกียว
TCEBนำ5พันธมิตรประชุมดันเศรษฐกิจชุมชนคึกคัก
มูลนิธิปิดทองปลุกชุมชนทำผักโรงเรือนปั๊มเงินปี’63
วันธรรมดาน่าเที่ยว!!Scenic Routeเมืองเพชรบุรี
รู้กันไว้เลย!ไขมันกินได้เลือกกินให้ถูกจะดีต่อสุขภาพ
กพท.ชงคมนาคมเยียวยาแอร์ไลน์5มาตรการ6มี.ค.นี้
บินไทยทั้งลดเงินเดือนเทโปรตั๋วบินสู้วิกฤตโควิด-19
สุรจิต นามน้อย หัวหน้าพื้นที่ปิดทองหลังพระ จ.อุดรธานี |
เข้าสู่รายการ
“รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน”
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทางfacebookLiveFM97.0
และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen บล็อกเกอร์
#gurutourza #รวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 # เที่ยวกับกู๋
#ปิดทองหลังพระอุดรธานี # # #
ช่วงที่ 1 ถอดโมเดลเศรษฐกิจชุมชนกับ “นายสุรจิต นามน้อย”
หัวหน้าพื้นที่ปิดทองหลังพระ จ.อุดรธานี ปลุกชุมชน “บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม”
ตำบลบ้านกุดไฟ อำเภอหนองวัวซอ หันปลูกพืชน้ำน้อยสู้มหาภัยแล้งปี’63 ดึงเกษตรกรทุ่มทุนหลายแสนผุดต้นแบบ “20 โรงเรือน” สร้างเครือข่ายปลูกต้นหอม ผักชี
ป้อนแมคโครอุดรธานี โดยใช้เวลา 2 ปี
ถอดองค์ความรู้ทั้งระบบ นำไปขยายผลตามอำเภอ
นายสุรจิต
นามน้อย หัวหน้าพื้นที่ปิดทองหลังพระ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า
ดำเนินการพัฒนาโครงการในพื้นที่บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำหนองวัวซอ
จังหวัดอุดรธานี ทำมาตั้งแต่ปี 2554 ตอนนี้เข้าสู่ปีที่
9 แล้ว
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา”
แนวทางการพัฒนาศาสตร์พระราชาในรูปแบบ Area Base โดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชพระราชดำริ
ดูแลเกี่ยวกับน้ำคือชีวิต จากนั้นก็พัฒนาใช้ประโยชน์น้ำจากอ่างแห่งนี้เพื่อการเกษตร
รวมกลุ่มตามขั้นตอน “อยู่รอด-พอเพียง-ยั่งยืน” รวมทั้งมีกลุ่มกองทุนเกิดขึ้นในชื่อ
“บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม” ทำมา 2-3 ปี
จัดการโดยเกษตรกรจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ ทำธุรกิจด้วยตนเอง ปลูกผักส่งตลาด
“ต้นเขียว” ของกระทรวงเกษตรและกระทรววงสาธารณสุข บริหารจัดการได้ดีในระดับหนึ่ง
ตัวอย่างข้างเป็นกลุ่มที่มูลนิธิปิดทองหลังพระ
เข้าไปช่วยพัฒนา
โดยทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันกับอีกหลายหน่วยงานเช่นเดียวกับหลายพื้นที่
เน้นทำเป็นภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะกับหน่วยงานราชการ เช่น อุดรธานี
ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกยุคให้ความสำคัญกับโครงการดังกล่าว
รณรงค์ให้หน่วยงานในสังกัดเข้ามาร่วมคือ เกษตรอำเภอ พัฒนาที่ดิน เข้ามาสนับสนุน
จนมีการจัดการน้ำอ่างห้วยคล้ายอย่างเพียงพอ เป็นผลงานช่วง 9 ปีที่ผ่านมา
ปี 2563
วางแผนพัฒนาตั้งแต่มกราคมที่ผ่านมา
ทางด้านของผู้อำนวยการมูลนิธิปิดทองหลังพระ
ลงพื้นที่ประเมินการทำงานของแต่ละพื้นที่ในภาคอีสาน ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น
อุดรธานี อีกส่วนหนึ่งปีนี้ข้อมูลสถิติจากกรมอุตุนิยมวิทยา
ระบุข้อมูลด้านฝนและปริมาณน้ำประเมินว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะมารุนแรง
เมื่อดูย้อนหลังไป 2-3 ปีแล้งเพิ่มขึ้น
รวมถึงปี 2564 จะยิ่งแล้งมากขึ้นกว่าเดิม
ทางมูลนิธิปิดทองหลังพระจึงได้มาดูทรัพยากรแหล่งน้ำที่มีอยู่ทั้ง ห้วย หนอง คลอง
บึง อ่างเก็บน้ำ เป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง
จึงต้องกลับมามองแนวทางทำให้พี่น้องเกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยันในการรับมือกับภัยแล้ง
จึงมุ่งเน้นเรื่องการต่อยอดกิจกรรมในช่วง 9 ปี
เดิมทำเกษตรปลูกผักอยู่แล้วก็ยกระดับนำเทคโนโลยีกับนวัตกรรมเข้ามาใช้ โดยนำ
“ธรรมชาติภัยแล้ง” มาเป็นตัวตั้ง แล้วดูสินค้าชุมชนเดิมเป็นอย่างไร
จากนั้นทางฝ่ายบริหารมูลนิธิปิดทองหลังพระก็เปิดประชาคมเพื่อฟังความเห็นประชาชน
ตามปกติชาวบ้านจะปลูกพืชฤดูฝน เมื่อเสร็จจากนาก็ปลูกพืชหลังนา
แต่ปีนี้น้ำแล้งมีมติจากกรมทรัพยากรน้ำไม่ให้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร
เพราะน้ำในอ่างเก็บน้ำเก็บไว้ใช้ทำปะปา ทางออกก็คือแนะนำให้ทำเรื่องเกษตรน้ำน้อย
มองถึงโครงการ “ปลูกผัก” ที่แตกต่างจากเดิม ๆ โดยไปเรียนรู้เรื่องการทำโรงเรือน
แต่ชาวบ้านสูงวัยจะทำอย่างไร
จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปพื้นที่ที่เคยสำเร็จและเคยทำมาแล้ว
จากนั้นก็หาสามาสมัครเข้าร่วมโครงการ
สำหรับโครงการนี้เน้นใช้นวัตกรรมปลูกในโรงเรือนยกแคร่สูง
แต่ชาวบ้านแถบนี้ยังไม่คุ้นชิน
และยังไม่เข้าใจว่าทำแล้วได้เงินหรือได้อะไรมีจำนวนน้อย หลังการทำประชาคม 2-3
รอบ
มีชาวบ้านตัดสินใจเข้าร่วมทันทีประมาณ 10 ราย
ทางปิดทองหลังพระจึงลงพื้นที่ประเมินในแหล่งที่ชาวบ้านสนใจ
โดยเข้าไปดูเรื่องสภาพดิน ปริมาณต้นทุนน้ำ เป็นอย่างไร ห่างไกลหรือไม่
มีความเสี่ยงอย่างไร จึงต้องวิเคราะห์แล้วประเมินออกมาจนเหลือ 10 ราย
เมื่อได้รุ่นแรก
10 ราย
เป็นกลุ่มนำร่อง โดยมีพื้นที่ปลูก 4 จุด
แบ่งเป็น 1.เกษตรกรเจ้าของพื้นที่แต่ละจุดทำข้อตกลงกัน
จะต้องสละพื้นที่ 1 ไร่
เพื่อก่อสร้างโรงเรือน ซึ่งสามารถสร้างได้ 5 โรงเรือน แล้วแบ่งสัดส่วนให้เจ้าของที่ 1 โรงเรือน ส่วนอีก 4 โรงเรือนแบ่งให้ชาวบ้านที่ไม่สะดวกมาทำในโรงเรือนจุดนี้ด้วยกัน
รวมทั้งหมดจะสร้างได้ 20 โรงเรือน
แต่ละแห่งจะตั้งอยู่ใกล้อ่างห้วยคล้าย 1 จุด
อีก 3 จุด
อยู่ใกล้แหล่งน้ำอื่นแล้วเข้าถึงน้ำได้
เกษตรกรเจ้าของพื้นที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องจ่ายเงินค่าลงทุนทำโรงเรือน
1 หลัง
ส่วนรายอื่นที่มาใช้ประโยชน์ต้องทำสัญญาระยะยาวเพราะโครงการนี้ไม่ได้ให้ฟรี
แต่จะให้เกษตรกรรายอื่นไปหาเงินมาหานวัตกรรมทำยกแคร่เองก็ยาก
แต่เพื่อให้เกษตรกรลงมือทำได้ทันที มูลนิธิปิดทองจึงให้งบประมาณตั้งต้นไปก่อน
โดยตกลงกันว่าจะต้องเก็บคืนระยะยาว ผ่อนชำระจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ละรอบ (corp) ใช้วิธีให้เกษตรกร “เขียนแผนกระดาษ”
คำนวณก่อนว่าพื้นที่ขนาดเท่านี้จะเลือกปลูกพืชอะไรเมื่อขายได้จะมีเงินเท่าไร
จะได้ทุนคืนเหลือกำไรเท่าไร แล้วนำกำไรมาเข้าใน “กองทุนหมู่บ้าน”
ตามที่ปิดทองตั้งไว้ให้ชาวบ้าน
เพื่อเก็บสะสมเงินกองทุนให้รุ่นต่อไปได้ใช้ด้วยเช่นกัน
นายสุรจิตกล่าวว่า
การเลือกผักที่จะนำมาปลูก โจทย์ตอนแรกจะขอให้ชาวบ้านปลูกผักมูลค่าสูง เช่น ผักแคว
แตงโมไร้เมล็ด
แต่สุดท้ายชาวบ้านเสนอว่าไม่มั่นใจไม่เคยปลูกจึงขอปลูกพืชที่ตนเองคุ้นชิน เช่น
ต้นหอม ผักชีหอม เริ่มก่อน 2 ชนิด
พอประชาคมตกลงกันได้ ก็มาคำนวนราคาถึงจุดคุ้มทุนปีใด
เพราะเกษตรกรมีค่าลงทุนต้องชำระคืน รายละ 1 แสนบาท ต้องใช้เวลาหลายปี ทางมูลนิธิปิดทองมองเรื่องความคุ้นชินของชาวบ้านเป็นหลัก
2-3 ปีแรกการปลูกต้นหอมและผักชีหอม
เพื่อทดลองฝีมือ การใช้อุปกรณ์ การจัดน้ำ การปลูกร่วมกันทั้ง 20 โรงเรือน ให้เป็นกลุ่มหลักก่อน
พอถึงรอบการปลูกคอร์ปที่ 3-4 อยู่ในช่วงทดลอง
เรียนรู้วิธีวางแผนการปลูก ระหว่างนั้นก็ไปเรียนรู้การปลูกพืชชนิดอื่น
เพื่อหารายได้มาคืนการลงทุนได้เร็วขึ้น
สำหรับช่องทางการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด
ก่อนการปลูกได้ศึกษาตลาด เพราะภารกิจนี้เน้นเรื่อง “การเพิ่มรายได้”
ต่อจากเดิมเคยสอนชาวบ้านให้ “ลดรายจ่าย” มาแล้ว โครงการนี้จึงใช้ “ตลาดเป็นตัวนำ”
ทำจากง่ายไปหายาก มีโอกาสดีได้คุยกับทางห้างขนาดใหญ่กลุ่มแมคโคร
เป็นพืชผักตลาดทั่วไป ชาวบ้านสามารถผลิตป้อนได้ตามสเป็กและปริมาณ
จึงวางแผนผลิตส่งเข้าแมคโครอุดรธานี แต่ฝีมือของบ้านต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ
อาจจะเป็นเกรด A, B , C, D ลดหลั่นกันไป
ผลผลิตที่ได้จะต้องมีตลาดรองรับ
ทางเกษตรกรจะมีช่องทางการขายผ่านตลาดชุมชนและแมคโครควบคู่กันไป
เมื่อเกษตรกรยืนได้ด้วยตนเอง
เมื่อสามารถเลือกปลูกพืชแม่นยำ ใช้น้ำน้อย นั้นทางมูลนิธิปิดทองหลัง อุดรธานี
พระได้รับประสบการณ์เสริมจากหน่วยงานพัฒนาที่ดินเอง เริ่มรุ่น 1 จำนวน 10 รายแรก
ที่บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ตอนนี้มีรุ่น 2 รออยู่กลุ่มที่กำลังปลูกพืชโรงเรียน
วางแผนจะใช้ช่วง 1-2 ปี ระหว่าง 2563-2564 จัดทำโมเดลถอดองค์ความรู้ไปเรื่อย ๆ
การใช้น้ำหยด การทำโรงเรือน การวางแผนต่าง ๆ ตามพื้นที่เป้าหมาย 20 โรงเรือน รวมทั้งการทำควบคู่กันไปเรื่อง “การขยายผล”
โดยได้คุยกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี หารือกันถึงแนวคิดขยายไปยังอำเภอต่าง
ๆ ภายในจังหวัดอุดรธานี ส่วนกระบวนการขับเคลื่อน การใช้งบประมาณ
จะต้องให้หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงเข้ามาดูแล ส่วนมูลนิธิปิดทองหลังพระ
จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ได้
ส่วนที่
1 ทางจังหวัดอุดรธานีอาจจะเริ่มจากแต่ละอำเภอคัดเลือกเกษตรกรที่เคยปลูกอยู่แล้ว
อาจจะทำในลักษณะ 1 อำเภอ 1
โครงการ
โดยดูต้นแบบจากบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม
เพราะตอนนี้เกษตรอำเภอเข้าพื้นที่มาให้คำแนะนำวิธีต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว
ส่วนที่
2 การขยายผลโครงการตามโมเดลของปิดทองหลังพระ มีพื้นที่ต้นแบบในภาคอีสานอีก
2 แห่ง คือ
กาฬสินธุ์ กับขอนแก่น
หากโครงการใดที่ทำในอุดรธานีสัมฤทธิ์ผลก็จะนำไปใช้ในทั้งกาฬสินธุ์และขอนแก่นด้วยเช่นกัน
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1
“เปิดความจริงคิงเพาเวอร์ไม่ได้อานิสงจากทอท.”
การเปิด“ความจริง...ธุรกิจพลังคนไทย”
ของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ด้วยการถอดองค์ความรู้การบริหารธุรกิจ “กิจการสนามบิน
ทอท.” ในสถานการณ์ซูเปอร์วิกฤตจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
“ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” เปิดเผยว่าการเลือกแนวทาง
“เยียวยาผู้ประกอบการ” ในสนามบิน ทอท.ทั้ง 6 แห่ง เป็นการรักษาผลประโยชน์หลักของประเทศไว้คือ “ภาพรวมเศรษฐกิจ”
โดยการเลือกดูแลทั้งสายการบินคู่ค้าจากทั่วโลก ผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่ให้บริการในสนามบิน
ส่วนธุรกิจสัมปทานเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์
ไม่ได้อานิสงส์ใด ๆ ได้ในส่วนที่กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ตามกติกา
เพราะกว่าจะได้ผลสรุปออกมาต้องวิเคราะห์องค์รวมหลายด้านดังนี้
เรื่องแรก “สภาพปัญหา” ผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความหวาดกลัวตื่นตระหนกกระจายไปทั่วโลก
(Global Panic)
นักท่องเที่ยวพากันตัดสินใจหยุดเดินทางและมีผู้โดยสารน้อยมาก
จนทำให้สุวรรณภูมิกับดอนเมืองแทบเกือบจะกลายเป็นสนามบินล้างภายหลังเกิดเหตุไม่ถึง 2
สัปดาห์ แตกต่างจากปกติช่วงตารางบินฤดูหนาวตุลาคม-มีนาคม
ของทุกปี จะต้องมีผู้โดยสารผ่านเข้าออก 4-5
แสนคน/วัน อีกทั้งตอนนี้ผู้โดยสารเริ่มเติบโตแบบถดถอยติดลบลงต่อเนื่องทุกวัน
และยังไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าเหตุการณ์จะยุติเมื่อไร เศรษฐกิจจะเสียหายลึกขนาดไหน
เรื่องที่ 2 “ทางเลือกเยียวยา” ทอท.มีเพียง 2 ทางเลือก คือ 1.เลือกช่วยเหลือเพื่อรักษาผู้ประกอบการทั้งหมดให้อยู่รอดต่อไป เนื่องจากเมื่อสนามบินมีผู้โดยสารลดลงทุกวัน
ร้านค้าต่าง ๆ ไม่มียอดขายขาดรายได้หมุนเวียน บางร้านขอยืดชำระหนี้
บางร้านขอปิดกิจการ หรือ 2.ปล่อยให้ปิดกิจการแล้วหารายใหม่เข้ามาทำธุรกิจ ในสภาพความเป็นจริง
สถานการณ์วิกฤตขนาดนี้จะมีผู้ลงทุนหน้าใหม่หรือไม่
รวมทั้งขั้นตอนตามระเบียบเปิดหารายได้ต้องใช้เวลานานนับปี
ต่อให้เลือกแนวทางหลังพอวิกฤตคลี่คลาย ไม่มีธุรกิจเหลืออยู่
แล้วประเทศจะฟื้นฟูเศรษฐกิจกันอย่างไร
ดร.นิตินัยกล่าวว่ากรณีของ
“กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์”
เมื่อเปรียบประโยชน์ที่จะได้จากมาตรการเยียวยาครั้งนี้ถึงแม้จะมีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุการได้สิทธิ์เยียวยายาว
2 ปี
ทั้งที่ความจริงแล้วอาจได้ประโยชน์น้อยกว่าผู้ประกอบการรายย่อยด้วยซ้ำ เพราะ “สัญญาปัจจุบัน”
คิง เพาเวอร์ ทำกับ ทอท.ในลักษณะ “จ่ายค่าตอบแทนอัตราร้อยละ+ขั้นต่ำ (minimum
Gaurantee)” ปัจจุบันก็จ่ายค่าตอบแทนสูงกว่าขั้นต่ำอยู่แล้ว
และ/หรือ
เมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกตินักท่องเที่ยวเติบโตดีขึ้นก็ต้องจ่ายตามยอดขายจริง
ดังนั้นมาตรการครั้งนี้ ทอท.ยกเว้นการจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำ คิง เพาเวอร์
จึงไม่ใช่ผู้ได้ประโยชน์ใด ๆ ส่วน “สัญญาใหม่”
คิง เพาเวอร์ ต้องจ่าย ทอท.เป็นอัตราร้อยละ 20 ของยอดขาย
แม้จะเริ่มเข้าพื้นที่ภายในกันยายนนี้ก็ไม่ได้อานิสงส์เช่นกัน
อีกทั้งเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ปกติปีถัดไป เมื่อผู้โดยสารฟื้นเติบโตอย่างรวดเร็ว
คิง เพาเวอร์ ก็จะต้องจ่ายค่าตอบแทน ทอท.สูงตามยอดขายใหม่ก็ได้
ในช่วงวิกฤตครั้งนี้นอกจากกลุ่มบริษัท
คิง เพาเวอร์ แทบจะไม่ได้อานิสงส์ใด ๆ แล้ว กลับจะต้องทำแบบเดียวกันกับ
ทอท.ด้วยการเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าของตนเองคือ “ผู้ประกอบการร้านค้า” ใน “พื้นที่เชิงพาณิชย์”
จำนวนมาก
ทั้งนี้
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้รับสัมปทานโครงการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี
และพื้นที่เชิงพาณิชย์ สุวรรณภูมิ กับ 4
สนามบินภูมิภาค
ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ ตามสัญญาใหม่จะเริ่ม 28 กันยายน 2563 -31 มีนาคม 2574 ส่วนสนามบินดอนเมืองจะเริ่มอีก 2 ปีหน้า ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2576
เรื่องที่ 3 “กำหนดเวลาเยียวยายาว 2 ปี” ด้วยอุตสาหกรรมการบินมีลักษณะเฉพาะผูกโยงอยู่กับ
“ตารางบิน” แบ่งเป็น “ฤดูหนาว” ระหว่างปลายตุลาคม-28 มีนาคม กับ “ฤดูร้อน” ปลายมีนาคม-28
ตุลาคม ซึ่งคาบเกี่ยวกันอยู่ 2
ปี
โดยมีข้อตกลงระหว่าง ทอท.กับลูกค้ากลุ่มสายการบินนานาชาติ
แต่ละฤดูในตารางบินจึงห้ามยกเลิกเที่ยวบินเกิน 20 % ของเที่ยวบินตลอดทั้งปี
หากยกเลิกจะต้องสูญเสียช่วงเวลาในตารางบิน (slot) ให้สายการบินรายอื่นเข้ามาเสียบใช้แทน
ทำให้แต่ละสายการบินเองคิดหนักจำเป็นจะต้องรักษาสล็อตไว้เพื่อรอช่วงจังหวะฟื้นตัวกลับสู่สถานการณ์ปกติ
ดังนั้นการกำหนดกรอบมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการครั้งนี้
ทอท.มุ่งช่วยทุกกลุ่มทั้งสายการบิน และผู้ประกอบการภาคพื้นดิน และในสนามบิน
อย่างเท่าเทียมเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
การถอดองค์ความรู้ “อุตสาหกรรมการบิน”
กับมาตรการเยียวยาวิกฤต อานิสงส์ใหญ่คือรักษาเศรษฐกิจประเทศไว้ ส่วน “คิง
เพาเวอร์”
เป็นเพียงกลุ่มธุรกิจที่ยังคงมุ่งเดินหน้ายึดหลักทำเพื่อประโยชน์ของชาติที่ว่า
“เราเชื่อ...พลังคนไทย”
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ให้นักช้อป รับฟรี
L’OCCITANE AROMACHOLOGIE GIFT SET ระหว่างวันนี้
– 31 มีนาคม 2563เมื่อซื้อสินค้าที่ร่วมรายการตั้งแต่
10,000 บาทขึ้นไป (ยอดสุทธิ) ผ่านบัตรมาสเตอร์การ์ด
ยกเว้นสินค้าประเภทแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่ คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, ภูเก็ต,
เชียงใหม่ และอู่ตะเภา รวมทั้งคิง
เพาเวอร์ ร้านค้าในเมือง รางน้ำ, ศรีวารี, มหานคร,
พัทยา และภูเก็ต
ทั้งนี้สินค้ามีจำนวนจำกัด
และจำกัดการแจก 1 ชุด ต่อ 1
บัตรมาสเตอร์การ์ด
ข่าวที่ 3 “ททท.กอดคอกองทุนหมู่บ้านเที่ยวไทย3.6พันล้าน”
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร
ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ได้นำทีมบริหารมีนายนพดล
ภาคพรต รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์
รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว และผู้บริหาร ททท. เข้าร่วมหารือกับนายรักษ์พงษ์
เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เพื่อจับมือกันจัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว
กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศตามแผนงานเร่งด่วน
ที่จะหันมาเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยที่เป็นกลุ่มพันธมิตรขนาดใหญ่หรือ Big Partner
รวมทั้ง กทบ.ก็มีเครือข่ายสมาชิกเป็นจำนวนมาก
ตามที่ นายรักษ์พงษ์
เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.)
ยืนยันว่า ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้
ระหว่างมีนาคม-มิถุนายน 2563
จะรณรงค์ให้สมาชิกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศให้ได้ไม่ต่ำกว่า
3 ล้านคน คิดเป็นการสร้างมูลค่าทางการท่องเที่ยวกว่า 3,600
ล้านบาท
ทั้งนี้ กทบ. จะมอบเงินสมทบให้กองทุนหมู่บ้าน
เพื่อส่งเสริมสมาชิกได้เดินทางศึกษาดูงาน ตามพื้นที่ต้นแบบหมู่บ้านท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวในหมู่บ้านตัวเองด้วย
ส่วนทาง ททท. ก็จะจัดเตรียมแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เพื่อนำมาเป็นโมเดลมาพัฒนาต่อยอดชุมชน
สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนช่องทาง
เป็นกลยุทธ์สร้างประโยชน์ให้เกิดแบบวินวินด้วยกันทั้งสององค์กร
ข่าวที่ 4 “ททท.ใต้ดึงท่องเที่ยวจัดบอกรักประเทศไทยโกย6แสนบาท”
ททท.ภูมิภาคใต้
ดันยอดขายแคมเปญเฉพาะกิจ “บอกรักประเทศไทย ฟ้าใสอันดามัน” 2 วัน ควงแอร์ไลน์ส โรงแรม
ผู้ประสบวิกฤตผลกระทบโควิด-19 ทุ่มโปรโมชั่นลดกว่า
50 % ปั๊มยอดขายได้กว่า
6 แสนบาท “บางกอกแอร์” กับ “โรงแรมภูเก็ต” โกยไปมากสุด
นายนิธิ
สีแพร ผู้อำนวยการ ภูมิภาคภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ร่วมกับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ ห้างเซนทรัล เวิลด์ และพันธมิตร จัดงานส่งเสริมการขายมหกรรม “บอกรักประเทศไทย ฟ้าใสอันดามัน”
นำสินค้าท่องเที่ยวมาขายลดกว่า 50 % ระหว่างวันที่
25-26 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ชั้น 1 โซนอีเดน
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อช่วยกันหารายได้มาเติมเต็มช่วงวิกฤตจากผลกระทบโรคไวรัสโควิด-19 ผลตอบรับจากนักท่องเที่ยวเข้ามาช้อปในงานเพียง 2
วันทำยอดขายรวมได้กว่า 600,145
บาท โดยภาพรวมยอดการขายอาจจะไม่หวือหวา แต่ก็สามารถกระตุ้นกำลังซื้อกลุ่มครอบครัวได้พอสมควร
ซึ่งเดินทางเข้ามาซื้อเบไว้ใช้ท่องเที่ยวช่วงปิดเทอมได้จนถึงเดือนตุลาคมปลายปี 2563
ส่วนนักท่องเที่ยวสนใจและมาซื้อตั๋ว
และจองแพคเก็จ แบ่งเป็น 1.กลุ่มสายการบิน
บางกอก
แอร์เวย์สขายได้มากสุด 172,026 บาท ไทยไลออนแอร์ ขายได้ 79,190 บาท 2.กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมภาคใต้จาก
ภูเก็ต ขายได้มากที่สุด 309,613
บาท กระบี่
ขายได้ 36,816
บาท ส่วนพังงานขายได้ 2,300
บาท
นายนิธีกล่าวว่า
หลังจากนี้จะนำผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคใต้เข้าร่วมขายในงาน “ไทยเที่ยวไทย”
ที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคม 2563 โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผู้ประกอบการ 10 ราย ลงทะเบียนเข้าร่วมขายในพาวิลเลี่ยนของ
ททท.โครงการ วันธรรมดา น่าเที่ยว ส่วนที่ 2 ผู้ประกอบการอีกกว่า 10 ราย
เดินทางมาขายแยกเป็นอิสระออกไป
ขณะที่แผนการทำตลาดเชิงรุกในภาพรวมปี 2563 ททท.ภูมิภาคภาคใต้
จะมุ่งใช้กลยุทธ์รุกเจาะกลุ่มพันธมิตรขนาดใหญ่
ระหว่างนี้กำลังเข้าไปคุยกับทางสหกรณ์ตำรวจซึ่งมีสมาชิกพร้อมเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นจำนวนมาก
ข่าวที่ 5 “บางจากชู"รักษ์ ปัน สุข" หนุนไทยไปโอลิมปิคโตเกียว”
นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการบริษัท
บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรม เดิน
วิ่ง Olympic Day 2020 ในวันที่ 1 มีนาคม
2563 ณ สนามศุภชลาศัย โดยบางจากฯ จะขอเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงาน
พร้อมจัดให้มีกิจกรรมพิเศษ “รักษ์ ปัน สุข x Olympic Day” เก็บขวดน้ำดื่มและขวดเกลือแร่ที่ได้จากงานไปรีไซเคิลผลิตเป็นเสื้อ
กีฬา หมวก กระเป๋าผ้า รวมถึงกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
เพื่อจัดทำเป็นของที่ระลึกให้นักกีฬาและคณะกรรมการต่างชาติในงาน
Tokyo 2020 เพื่อรณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนนั่นเอง
ข่าวที่ 6
“TCEBนำ5พันธมิตรประชุมเมืองไทยดันศก.ชุมชนคึกคัก”
นายจิรุตถ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่าได้จัดโครงการ “ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ”
กระตุ้นรายได้อุตสาหกรรมไมซ์ตลาดคนไทยเดินทางจัดงานประชุม สัมมนา อินเซ็นทีฟ
ในประเทศ ตั้งเป้าจะทำให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 กรุ๊ปขึ้นไป
กรุ๊ปละกว่า 40 คน ให้สิทธิ์ขอก่อนได้ก่อน เฉพาะช่วงกุมภาพันธ์-เมษายน
นี้ จะมีไม่ต่ำกว่า 500 กรุ๊ป
ต้องอาศัยพลังสามัคคีร่วมใจกันดูแลเศรษฐกิจ
พร้อมทั้งมีกิจกรรมซีเอสอาร์สามารถใช้เงินเพื่อทำกิจกรรมไมซ์ในประเทศได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ล่าสุดเมื่อวันที่
26 กุมภาพันธ์ 2563 ได้จัดทริป"ประชุมเมืองไทย
ภูมิใจช่วยชาติ" นำบรรดาผู้นำองค์กร 5 พันธมิตร
ลงพื้นที่พร้อมทั้งลงมือทำกิจกรรมชงกาแฟสูตรใหม่ "อเมริกาโนเย็น"
โดยใช้น้ำและเนื้อมะพร้าวชงกาแฟพื้นบ้าน
โดยมีบาริสต้าหนุ่มตัวแทนคนรุ่นใหม่ในชุมชนตะเตียนเตี้ย อ.บางละมุงจ.พัทยา
เป็นผู้สอน เพื่อให้บรรดาไฮโซเมืองกรุง ร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
โดยได้รับเกียรติจากทั้ง
คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
และตัวแทนหอการค้าต่างประเทศ นายกรด โรจนเสถียร นายกสมาคมสปาไทย น.ส.เพ็ญศรี สุธีรศานต์
เลขาธิการและผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นายเรืองฤทธิ์ อัมพุช อุปละนาละ
หัวหน้างานยุทธศาสตร์และบริหารจัดการข้อมูล บมจ.ไทยเบฟเวอเรจและตัวแทนองค์กรต่าง ๆ
ในพัทยา ร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง
สำหรับเป้าหมายหลัก
แคมเปญ "ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ"
ต้องการให้ทุกองค์กรพันธมิตร
ออกมาเดินทางจัดประชุมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563
เป็นต้นไป ตลอดโครงการนี้ TCEB หงวังจะได้ยอด
10,000 แพ็ก แพ็กละ 40 คน
รวมผู้ประชุมที่จะกระจายรายได้ทั่วประเทศตลอดปีงบประมาณ 400,000 คนขึ้นไป
ข่าวที่ 7 “มูลนิธิปิดทองปลุกชุมชนทำผักโรงเรือนปั๊มรายได้ปี63”
นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ
ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
กล่าวว่า ได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี นำร่องทำโครงการ “ปลูกผักโรงเรือน
แก้ปัญหาภัยแล้ง” เป็นเกษตรแม่นยำเพื่อสร้างรายได้มากกว่าปลูกข้าว 25
เท่า และมากกว่ามันสำปะหลัง 71
เท่า
เพราะสถานการณ์น้ำแล้งปีนี้จะรุนแรงกว่าทุกปี ดังนั้นในช่วงขาดแคลนน้ำต้องนำองค์ความรู้เข้าไปช่วยชาวบ้านทำเกษตรแม่นยำเพื่อมีรายได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
โดยได้คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบเข้าร่วมโครงการ 19 ราย ในพื้นที่ปิดทองหลังพระฯ
บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
โดยทางสถาบันฯ
เป็นผู้สนับสนุนโรงเรือนให้เจ้าของที่ดินผู้ร่วมโครงการฯ
โดยคัดเลือกเกษตรกรที่สมัครใจ มีประสบการณ์ปลูกผักอยู่แล้ว มีน้ำต้นทุนเพียงพอ
พร้อมแบ่งพื้นที่และน้ำให้เกษตรรายอื่นที่เข้าร่วมด้วย
โดยบริการกลุ่มในรูปแบบกองทุนที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ต้องคืนเงินสมทบเข้ากองทุนหลังจากมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตแล้ว
โครงการนี้จะสามารถรายได้ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมมากกว่า
190,000 บาท/ไร่/ปี ต่างจากการปลูกพืชชนิดอื่น
ได้แก่ข้าว มีรายได้เพียง 4,365 บาท/ไร่/ปี
ข้าวโพด 3,321 บาท/ไร่/ปี รวม 7,686 บาท เปรียบเทียบแล้วการปลูกผักในโรงเรือนใช้น้ำน้อยได้กำไรมากกว่าข้าวและข้าวโพด
25 เท่า และเป็น 71 เท่าของมันสำปะหลัง ที่ทำรายได้แค่ 2,700 บาท/ไร่/ปี
ช่วงที่
2 ออกเที่ยวกันเถอะ!! เลือก “วันธรรมดา” จะน่าเที่ยวอย่างมากบนเส้นทางโรแมนติก Scenic Route เพชรบุรี จากประติมากรรมนาเกลือ คลองโคลน วัด วัง ศิลปวัฒนธรรม สวนตาล
แหล่งอาหารทะเลสดอร่อย พร้อมกับการเลือก “ไขมันกินได้ดีต่อสุขภาพ”
@วันธรรมดาน่าเที่ยว!!Scenic Routeเมืองเพชรบุรี
ออกเดินทางเที่ยวในประเทศไปสัมผัสวิถีชีวิตหลากหลายรูปแบบในพื้นที่
“จังหวัดเพชรบุรี” บนถนนสาย “Scenic Route”
แสนโรแมนติกจากถนนพระราม 2 (กรุงเทพฯ)
ที่นักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตากับประติมากรรม “ทุ่งนาเกลือ” เดือนมีนาคม-เมษายน
นี้ จะมีนาเกลือขาวโพลนสุดลูกหูลูกให้เห็นตลอดเส้นทาง คลองโคน บางตะบูน
อำเภอบ้านแหลม อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ทั่วโลกนิยมมา ส่องดู “นกชายเลนปากซ้อน”
หายาก เส้นทางท่องเที่ยวสายนี้เชื่อมโยงต่อไปยังอำเภอชะอำ หาดเจ้าสำราญ ได้ด้วย
ระหว่างทางก็มีสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลต์หลายจุดให้สักการะ
“ศาลาการเปรียญแม่นกเอี้ยง” พระมารดาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงเรือนไทยสมัยอยุธยาอายุกว่า 250 ปี
ยกมาไว้ที่ “วัดในกลาง” อำเภอบ้านแหลม
ในบริเวณไม่ไกลกันมี “วัดใหญ่สุวรรณาราม”
ซึ่งมีความสำคัญมากกับคนเมืองเพชร เพราะเป็นแหล่งรวมฝีมืองานช่างชาวเพชรบุรี
ปรากฎอยู่บนภาพจิตกรรมฝาผนังปราณีตอ่อนช้อยสวยงาม จากนั้นลองไปทำสปาเกลือที่ “ร้านกังหันทอง”
ตำบลบางแก้ว เจ้าของรางวัลสปาภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ได้นำความมหัศจรรย์ของเกลือทะเลมาแปรรูปใช้บำบัดดูแลสุขภาพหลากหลายรูปแบบ
และสอนทำเกลือสมุนไพรไว้ใช้เองได้ด้วย
เมื่อมาถึงเพชรบุรีแล้ว
ต้องแวะพักค้างคืนแถวหาดเจ้าสำราญ
เพื่อรอเช้าวันใหม่ไปชมวิวทรายเม็ดแรกแห่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก
จากนั้นก็ไปเยี่ยมชมโครงการ “ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”
อำเภอบ้านแหลม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ศึกษาดูงานปลูกป่าชายเลน การบำบัดน้ำเสีย
ตามศาสตร์พระราชา ไปสักการะ “หลวงพ่อดำ วัดถ้ำรงค์”
พระพุทธรูปปางค์ยืนอายุกว่าพันปีแกะจากหินทรายบนผนังถ้ำ ไปชมวิถีชีวิต “สวนตาลลุงถนอม” ต.ถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด กว่า 10 ไร่ มีตาลอยู่ 450 ต้น หลายต้นมีอายุกว่าร้อยปี
พร้อมสาธิตการอนุรักษ์ปีนขึ้นไปเก็บผลตาลมาทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งเครื่องดื่ม
น้ำตาลปึก ชาตาล รวมทั้งมี “ร้านวิสาหกิจชุมชนถ้ำรงค์” ของเชฟชุมชนสอนทำนมตาลกันสด
ๆ ทุกวัน
สำหรับร้านอาหารถิ่นระหว่างเส้นทาง
Scenic Route ก็มี “ร้านกาแฟเกลือหวาน”
เก๋ ๆ มีเมนูเด็ดอเมริกาโนเกลือหวาน “ร้านโอ้โหปูอร่อย”
เสิร์ฟอาหารทะเลสดอร่อยทุกเมนู
เป็นวิสาหกิจชุมชนจุดเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาปล่อยไข่ปูลงสู่ทะเล หรือจะเป็น “ร้านเอกชัย”
ริมทะเลอาหารสดอร่อยไม่แพ้กัน “ร้านข้าวแช่แม่อร” ตลาดริมน้ำเพชรบุรี “ร้านป้าหยัน”
สไตล์เก๋ ๆ เสิร์ฟเมนูไทยรสชาติจัดเต็มทุกจาน ไฮไลต์ต้องห้ามพลาดแวะดู “โรงงานขนมลุงเอนก”
เป็นแหล่งผลิตขนมเมืองเพชรด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ ผลิตภัณฑ์เด็ดเป็นอัตลักษ์คือ “หม้อแกงคัพเค้ก”
ส่งออกต่างประเทศ และทั่วเมืองไทย ยอดสั่งซื้อทางออนไลน์วันละ 800-900 ลัง ส่งสินค้าถึงมือลูกค้าภายในวันเดียว
ก่อนกลับแวะอุดหนุนร้านเทรนด์ใหม่ของฝากจากเมืองเพชร “ร้านสุคันธา”
อยู่ในซอยบนเส้นทางกลับเข้ากรุงเทพฯ
ตอนนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) สำนักงานเพชรบุรี เชิญชวนคนไทยออกเที่ยวเมืองเพชรบุรีได้ทุกวันกับแคมเปญ “ไหว้พระข้ามถิ่น
ได้ศีล ได้บุญ คูณ 2” และห้ามพลาดเที่ยวงาน “งานพระนครคีรี
เมืองเพชร” ครั้งที่ 34
จะจัดระหว่างวันที่ 6-15
มีนาคม 2563 ณ
บริเวณเขาวัง และอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.4 ตลอดงาน ททท.ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน
เชิญชวนนักท่องเที่ยวแต่งไทยมาเดินชมเขาวัง ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 17.00-23.00
น.
นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชมบนเขาวังตอนกลางคืนได้จนถึง
22.00 น.
ภายในงานมีกิจกรรมมากมายในพื้นที่โปร่งโล่งสบายให้เลือกชมอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้แก่
สกุลช่างเมืองเพชร ชมลายปั้นโบราณ ดูสาธิตการทำขนมหวาน ไฮไลต์การทำขนมหม้อแกง
พร้อมกับเดินช้อป ชิม ร้านค้าจากทุกอำเภอกว่า 1,000 ร้าน แต่ละวันรองรับนักท่องเที่ยวได้ถึง 10,000
คน
อาหารถิ่นต้องลองชิมในงานพระนครคีรี คือ ขนมจีนทอดมัน ขนมตาลโตนด ยำหัวตาล แกงตาล
อาหารทะเลทุกร้านสด สะอาด อร่อย
“วันธรรมดา น่าเที่ยว”
มาได้เลยเมืองเพชรบุรี ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน ทุกวัน ทุกเวลา
@ไขมันกินได้เลือกกินให้ถูกจะดีต่อสุขภาพ
มาทำความรู้จัก ไขมันดีในอาหารกันเถอะ
ถ้ารู้จักเลือกกินไขมันดีในปริมาณที่เหมาะสม จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
เเถมยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย
กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในปลา มีกรดไขมันหลักๆ 2 ตัว คือ 1.EPA (Eicosapentaenoic Acid) 2.DHA (Docosahexaenoic Acid) พบมากใน ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาเเซลมอน
ปลาทูน่า เเละปลาน้ำจืดบางชนิด
ประโยชน์ > ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี > ลดความหนืดของเลือด > ลดการอักเสบภายในร่างกาย > ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมอง > DHA ช่วยเพิ่มเมตาบอลิซึ่มของเซลล์ไขมันในร่างกาย
โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง
กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในพืช ALA (Alpha- linolenic Acid) พบมากใน ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง
เมล็ดเเฟล็กซ์ คาโนลา ผักสีเขียวบางชนิด เช่น กะหล่ำเล็ก ผักโขม
กรดไขมันโอเมก้า 6 (LA) พบมากใน น้ำมันพืชชนิดต่างๆ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) พบมากใน น้ำมันมะกอก อะโวคาโด อัลมอนด์
พิตาชิโอ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ประโยชน์ > มีส่วนช่วยในกลไกการลดน้ำหนัก > ช่วยยับยั้งการกลับมาเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว
ส่วนผู้ที่ต้องการลดเเละควบคุมน้ำหนัก > ควรออกกำลังกายเป็นประจำ > เลือกใช้น้ำมันเพื่อปรุงอาหารในปริมาณน้อยๆ > เลือกอาหารประเภทอบ นึ่ง ต้ม
หรือผัดน้ำมันน้อยเป็นหลัก เลี่ยงอาหารทอด
เพื่อสุขภาพที่ดี ควรกินปลา ธัญพืช ผัก
เเละผลไม้ กินอาหารรสอ่อน ในปริมาณพอเหมาะทุกวัน
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก
“ชงคมนาคมเยียวยาแอร์ไลน์5มาตรการ6มี.ค.นี้”
นายจุฬา สุขมานพ
ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) “CAAT” เปิดเผยว่า
ขณะนี้มีข้อสรุปเบื้องต้นของ
20 สายการบินในไทยที่เข้าร่วมหารือกันถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ซึ่งต้องหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ เพราะตั้งแต่มกราคม-
31 มีนาคม
2563 สิ้นสุดตารางบินฤดูหนาว สายการบินระหว่างประเทศแจ้งยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว
9,797 เที่ยวบิน ทำให้ผู้โดยสารหายไป 3 ล้านคน ถ้าหากสถานการณ์ดีขึ้นในเดือนเมษายนนี้
ช่วงครึ่งปีหลังการท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาดีขึ้นตามลำดับ
ทาง กพท.จะสรุปมาตรการทั้งหมดเสนอคณะกรรมการการบินพลเรือน
(กบร.) ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติในวันที่
6 มีนาคม 2563 ถึงข้อเสนอของสายการบินต่าง
ๆ ที่ขอ 5 มาตรการที่ขอให้ภาครัฐช่วยเหลือ 5 มาตรการ ประกอบด้วย
1.ขอให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด
(มหาชน) “ทอท.” และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ลดค่าธรรมเนียมการขึ้นลงและค่าหลุมจอดเครื่องบิน
ค่าเช่าอาคารสำนักงาน
ขอให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ลดค่าบริการจัดจราจรทางอากาศของ50%
ถึงสิ้นปี 2563 ขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ จาก 1 เป็น 2 เดือน
2.ขอให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกเพื่อหารายได้เพิ่ม 2.1 ขอให้เปลี่ยนเส้นทางบินได้เร็วขึ้น
เพราะมีแนวโน้มสายการบินจะกลับมาบินในเส้นทางในประเทศมากขึ้น 2.2 เร่งพิจารณาอนุมัติในกรณีการขายเครื่องบิน
หรือนำเครื่องไปให้เช่า เพื่อเพิ่มกระแสเงินสด
หลังยกเลิกเส้นทางบินในประเทศกลุ่มเสี่ยง
3. ขอให้ภาครัฐเร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว
4. ขอให้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
ปรับลดค่าธรรมเนียมคนโดยสาร (PSC) ลง 50%
5.ขอให้ช่วยประสานธนาคารรัฐจัดหาแพกเกจวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สายการบิน
ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวกว่าปกติ เพราะอีก 3-4 เดือนข้างหน้าสายการบินน่าจะเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง
อย่างโลว์คอสต์ที่บินประจำสู่ประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ติดตามฟังรายการได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
เวลา 11.00-12.00 น.ทาง สวท.FM 97.0 MHz.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น