รมว.พิพัฒน์นำ“ททท.-รัฐ-เอกชน”เปิดแล้ว“สมุยพลัสโมเดล”15 ก.ค.64
ตั้งเป้าเดือนแรกพันคนทำเงิน180ล้านบาท-บางกอกแอร์บินวันแรก9คน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ททท #SamuiPlusModel
รมว.พิพัฒน์ชี้เปิดสมุยพลัส+พื้นที่แซนบ็อกแหล่งทำเงิน8แสนล้าน
นายพิพัฒน์
รัชกิจประการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้นำทีมผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครับและเอกชน
ร่วมเปิดโครงการ “สมุย พลัส โมเดล :SAMUI PLUS MODEL ” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว โดยให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสมุยตามนโยบายพลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เปิดสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ร่วมกับกระทรวงหลัก ๆ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ หน่วยความมั่นคง
ทำให้มีความปลอดภัย รองรับการเปิดประเทศอีกครั้งในอีก 120 วัน
ร่วมหารือทำความตกลงเลือกภูเก็ตก่อน เป็นพื้นที่เกาะดูแลป้องกันง่าย
หลังจากนั้นนำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีประกาศเปิดแซนด์บ็อกซ์แล้วเชื่อมมาถึงฝั่งอ่าวไทย
เลือกพื้นที่ซึ่งได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ เกาะสมุย เกาะพะงัน
เกาะเต่า ชาวยุโรปนิยมเข้ามาพักผ่อน ตามที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันเรื่องการเปิดสมุย
พลัส ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
โดยมีเหตุผลในการเลือกเปิด
ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ สมุย พลัส (สุราษฎร์ธานี) กระบี่ พังงา เพราะเมื่อปี 2562
มีนักท่องเที่ยวรวมกันทำรายได้ 800,000 ล้านบาท คิดเป็นเกือบ 80 %
ของรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
สำหรับ
“คนไทย” ที่จะเที่ยวเกาะสมุย
หากมาจากต้นทางจังหวัดควบคุมเข้มสูงสุดต้องกรอกข้อมูลก่อน
สะท้อนถึงมาตรการควบคุมดูแลอย่างมั่นใจ
นักท่องเที่ยวเองก็มั่นใจการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
พื้นที่สมุยยังมีเกาะพยาม หมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งมีปลาโลมาสีชมพู เรื่อยไปจนถึง เกาะสี่ เกาะห้า รวมอยู่ด้วย แต่ละฤดูจะเดินทางได้แตกต่างกัน จะต้องประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ให้ได้มากที่สุด
ผู้ว่าฯสุราษฎร์จัดแผนปลอดภัยชุดใหญ่4ด้านรับมือสมุยพลัส
นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจความพร้อมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563
จากนั้นทุกภาคส่วนร่วมมือกันจนเกิด “สมุย พลัส” การท่องเที่ยวควบคู่เศรษฐกิจ
สำคัญสุดมีความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางเข้ามาสุราษฎร์ธานี ทางจังหวัดเตรียมพร้อมทุกด้านโดยสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว
และทุกภาคส่วนซึ่งมีวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกัน ชาวสมุยฉีดวัคซีนแล้ว 92 %
ภาพรวมทั้งจังหวัดมีประชากร 1.06 ล้านคน ฉีดเข็มแรกแล้ว 1.8 แสนคน 23 %
เข็มสองฉีดไปประมาณ 80,000 คน คิดเป็น 9 %
ส่วนการเตรียมความพร้อมสมุย พลัส โมเดล หลัก
ๆ คือ
1.ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ SOP (Standard Operation Procedures) เช่น พนักงานขับเรือ/รถ ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว กิจการ Wellness พนักงานโรงแรมส่วนหน้า SHA Plus Manager อาสาสมัครโรงแรม
โดยจังหวัดได้สนับสนุนงบพัฒนาจังหวัดให้วิทยาลัยนานาชาติ
เพื่อการท่องเที่ยวเกาะสมุย จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลความปลอดภัยด้านสาธารณสุข
การต้อนรับ ดูแลนักท่องเที่ยวและการให้บริการที่ดีด้วย
2.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติ Command Center 4 ศูนย์
โดยมีทั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดและอำเภอ มีการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในพื้นที่
3 อำเภอ คือ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า
โดยออกคำสั่งจังหวัดเพื่อควบคุม กำกับ ได้แก่ มาตรการก่อนเดินทางเข้าไปในพื้นที่
3.กำหนดการใช้ท่าเทียบเรือ เพื่อมิให้ใช้ร่วมกับเรือสาธารณะ 3 ท่า คือ ท่าเทียบเรือหน้าพระลาน ท่าเทียบเรือท้องศาลา และท่าเทียบเรือบ้านแม่หาด
4.จัดทำแผนเผชิญเหตุไว้ 3 ระดับ คือ รุนแรงน้อย
กรณีพบประชาชนในพื้นที่ติดเชื้อมากกว่า 20 ราย รุนแรงปานกลาง กรณีพบกระจายเชื้อ 3
คลัสเตอร์ ที่เกี่ยวเนื่องภายใน 2 สัปดาห์ และรุนแรงสูงสุด
กรณีนักท่องท่องเที่ยวติดเชื้อจากโครงการมากกว่า 40 คน ภายใน 2 สัปดาห์ และระบาดวงกว้างยากต่อการควบคุมให้กลับสู่สภาวการณ์ปกติ
และได้ขอความร่วมมือประชาชน
ผู้ประกอบการเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยวและให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด
ททท.ชู10ขั้นตอนตั้งเป้าเดือนแรกทำยอดพันคนดึงรายได้180ล้าน
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท. เดินหน้าทำสมุย พลัส โดยประสานกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องวางแผนและวางแนวทางปฏิบัติ 10 ขั้นตอน ได้แก่ แผนการทำความเข้าใจถึงมาตรการรองรับและฝึกอบรมผู้ประกอบการ แผนการรองรับสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ แผนประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร แผนการ คัดกรองเกี่ยวกับขาเข้า ทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางบก แผนการควบคุม ดูแลความปลอดถัย ภายในและภายนอกสถานประกอบการ แผนการขนส่ง ลำเลียงการเดินทางนักท่องเที่ยวและผู้ป่วยทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางบก แผนการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น แผนการติดตามและประเมินผล แผนบริหารจัดการขยะ และแผนการส่งเสริมการตลาด
จนกระทั่งมั่นใจว่าแผนดำเนินการดังกล่าว จะสามารถทำให้โครงการสมุยพลัสประสบผลสำเร็จทั้งเชิงรายได้ ความมั่นใจด้านสาธารณสุข และการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยคาดการณ์ว่าเมื่อผ่านไป 1 เดือนแรก ระหว่าง 15 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม 2564 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 1,000 คน สร้างรายได้ราว 180 ล้านบาท
ขณะนี้
ททท.เดินหน้าประชาสัมพันธ์เชิญสื่อมวลชน เซเลบริตี้ และอินฟลูเอ็นเซอร์ จากทั่วโลกมาสัมผัสประสบการณ์ประทับใจ
สำรวจสินค้าทางการท่องเที่ยว แล้วถ่ายทอดไปยังผู้ชม ผู้ติดตาม แฟนเพจ และเชิญนักธุรกิจจากบริษัทชั้นนำเข้ามาเจรจาธุรกิจหรือลงทุนในเกาะสมุย
สำหรับสถานการณ์เปิดสมุยพลัสวันแรก 15 กรกฎาคม 2564 มีผู้โดยสารต่างชาติเดินทางมา 9
คน เป็นสื่อมวลชนที่ ททท. เชิญมาโดยบางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบินปฐมฤกษ์ PG 5125 กรุงเทพฯ – สมุย 11.10 น. รวม 5 คน จากสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส
และเยอรมนี เที่ยวบิน 2 PG 5171 ถึงสมุย 18.15 น. มี 4
คนจากสิงคโปร์และฮ่องกง
นายรัชชพล พูลสวัสดิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย กล่าวในนามของชาวสมุยว่า ชาวเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทุกคน เลือกมาพักผ่อนและได้ผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติที่งดงาม ทำกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สนุกตื่นเต้น ชิมอาหารรสเลิศ และรับการบริการที่ดีเยี่ยม ตั้งความหวังจากโครงการ สมุย พลัส จะช่วยฟื้นคืนบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้ชาวเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่าได้อีกครั้ง
ส่วนนักท่องเที่ยวคนไทยหรือผู้ที่พำนักในประเทศไทย (expat) สามารถติดตามมาตรการการเข้าและออกเกาะสมุยได้จากเฟสบุคแฟนเพจ”ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอเกาะสมุยwww.facebook.com/covidcenterkohsamui) และค้นหาสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน SHA และ SHA Plus ได้ที่ https://www.thailandsha.com ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบนเกาะสมุย เกาะเต่า และเกาะพงัน ได้รับเครื่องหมาย SHA Plus รวม 160 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564)
บางกอกแอร์เวย์สบินพิเศษสมุย-สุวรรณภูมิวันละ3เที่ยว/วันแรกมี9คน
นายนิจพัฒน์ ปิยะพันธ์
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายสนามบิน สนามบินสมุย ได้จัดพิธีต้อนรับเที่ยวบินปฐมฤกษ์ PG5125 เส้นทาง กรุงเทพฯ
- สมุย ณ สนามบินสมุย เที่ยวบินพิเศษวันแรก เฉพาะผู้โดยสารที่ต่อเครื่องมาจากต่างประเทศและเดินทางต่อมายังอำเภอเกาะสมุย
ตามโครงการ “สมุย พลัส โมเดล” เมื่อวันที่ 15
กรกฎาคม 2564
โดยมี “บางกอก แอร์เวย์ส” เปิดให้บริการเที่ยวบินพิเศษ รับเฉพาะผู้โดยสารที่ต่อเครื่องมาจากต่างประเทศ เส้นทางกรุงเทพฯ – สมุย (ไป-กลับ) วันละ 3 เที่ยว ดังนี้
เที่ยวบินพิเศษออกจากสนามบินสุวรรณภูมิสู่สมุย
วันละ 3 เที่ยว
1.เที่ยวบิน PG5125 จากสุวรรณภูมิ เวลา 10.05 น. ถึงสนามบินสมุย 11.35 น.
2.เที่ยวบิน PG5151 ออกจากสุวรรณภูมิ 14.35 น. ถึงสนามบินสมุย 16.05 น.
3.เที่ยวบิน PG5171 ออกจากสุวรรณภูมิ 17.10 น. ถึงสนามบินสมุย 18.40 น.
เที่ยวบินพิเศษ ออกจากสนามบินสมุยสู่สุวรรณภูมิ
วันละ 3 เที่ยว
1.เที่ยวบิน PG5126 ออกจากสมุย 12.15 น. ถึงสุวรรณภูมิ
13.45 น.
2.เที่ยวบิน PG5152 ออกจากสมุย 16.45 น. ถึงสุวรรณภูมิ 18.15 น.
3.เที่ยวบิน PG5172 ออกจากสมุย 19.20 น. ถึงสุวรรณภูมิ 20.50 น.
นักท่องเที่ยวทุกคนต้องโชว์เอกสารตามกฎเข้มที่ ศบค.กำหนด
ทั้งนี้นักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางเข้ามาในโครงการ “สมุย พลัส โมเดล” ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2564 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2564 กำหนดมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องแสดงเอกสารสำคัญคือ
1.หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ได้ หรือ Certificate
of Entry (COE)
2.ใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
3.เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด และผ่านการคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ ตั้งแต่การเดินทางเข้าประเทศ และระหว่างการพำนักอยู่ในประเทศไทย ตามระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
สำหรับเกณฑ์การรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติที่เดินทางจากต่างประเทศเพื่อเข้าโครงการ สมุย พลัส ต้องมาจากประเทศหรือพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติจาก ศบค. ซึ่งพิจารณาจากหลักเกณฑ์ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผ่านการเสนอจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและ ททท. โดยมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (COE) มีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าปลอดเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล หรือหลักประกันอื่นใด ซึ่งรวมถึงกรณีโรคโควิด-19 ในวงเงินไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐรวมทั้ง มีเอกสารหรือหลักฐานรับรองการรับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนกำหนด ไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนเดินทาง
สำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การได้รับวัคซีนต้องเดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแลและให้มีใบรับรองแพทย์ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงประเทศไทยจะต้องถูกตรวจคัดกรองโดยวิธี RT-PCR อีก 3 ครั้ง ครั้งแรก ในวันที่เดินทางมาถึง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 - 7 และครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 - 13 โดยเมื่ออยู่ครบ 14 วัน จึงจะเดินทางไปพื้นที่อื่นของประเทศไทยได้ ส่วนนักท่องเที่ยวที่ต้องการออกจากประเทศไทยก่อนอยู่ครบ 14 วัน จะต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น
นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเลือกพักโรงแรมมาตรฐานสมุยเอ็กตร้าพลัสเท่านั้น
“การพัก”
ตามโครงการสมุย พลัส นักท่องเที่ยวต้องเข้าพักในโรงแรมที่
Samui
Extra Plus Hotels ซึ่งเป็นโรงแรมระดับมาตรฐาน AQ บนเกาะสมุยเท่านั้น
วันแรก
หากผลการตรวจครั้งแรกเป็นลบจะสามารถออกจากห้องพักและทำกิจกรรมภายในบริเวณของโรงแรมได้
(Chill
at Hotel)
วันที่
4 – 7 จึงเดินทางท่องเที่ยวตามโปรแกรมโดยบริษัทนำเที่ยวที่ผ่านการอบรมนำไปตามเส้นทางที่กำหนดเป็นการเฉพาะ
หรือ Sealed
Route ที่จัดไว้ 3 เส้นทาง ได้แก่ หาดถ้ำร้าง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง การล่องเรือ กิจกรรมเชิงสุขภาพ ( Wellness
and Spa )
วันที่
8 – 14
นักท่องเที่ยวสามารถเปลี่ยนโรงแรมได้ แต่จะต้องเป็นโรงแรมได้รับเครื่องหมาย
SHA
Plus ทั้งบนเกาะสมุย
เกาะพะงัน และเกาะเต่า
นักท่องเที่ยวทุกคนต้องโหลดแอพติดตามได้ทุกวันทุกเวลา
ส่วน “มาตรการดูแลนักท่องเที่ยวเพิ่มเติม” ที่นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติ อาทิ การให้นักท่องเที่ยวติดตั้งแอปพลิเคชั่น Thailand Plus แอปพลิเคชั่น หมอชนะ และลงทะเบียนเพื่อเข้าพื้นที่ อำเภอเกาะสมุย ผ่านทาง healthpass.smartsamui.com รวมไปถึงการนำระบบ SHA Manager มาใช้ เพื่อให้มีผู้สามารถตอบคำถามและคอยดูแลนักท่องเที่ยว พร้อมรายงานปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถให้การช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
รวมไปถึงชาวเกาะสมุย
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาครัฐและภาคเอกชน
ยังให้ความร่วมมือร่วมใจเป็นอย่างดี ได้มีการกำหนด SOP ให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติอย่างละเอียด
ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวและชาวเกาะสมุยได้ปลอดภัยจากการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้อระหว่างกัน
ส่งผลให้สามารถบริหารทรัพยากรด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น