“สมาคมการบินประเทศไทย”ถก7แอร์ไลน์สุดทนรัฐเมินช่วยเงินกู้2.4หมื่นล้าน เท“การบิน-ท่องเที่ยว”ดิ่งเหวหลังสั่งหยุดบิน21ก.ค.-บีบตกงานกว่า2หมื่นคน
“สมาคมการบินประเทศไทย”ถก7แอร์ไลน์สุดทนรัฐเมินช่วยเงินกู้2.4หมื่นล้าน
เท“การบิน-ท่องเที่ยว”ดิ่งเหวหลังสั่งหยุดบิน21ก.ค.-บีบตกงานกว่า2หมื่นคน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #สมาคมสายการบินประเทศไทย #7แอร์ไลน์สไทยขอซอฟท์โลนด่วน5พันล้าน #บีบอาชีพการบินตกงาน2หมื่นคน
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ นายกสมาคมสายการบินประเทศไทย
เปิดเผยว่า ได้จัดประชุมนัดพิเศษเสมือนจริงทางออนไลน์ (virtual conference) กับร่วมกับคณะกรรมการของ 7
สายการบิน เพื่อทวงถามรัฐบาลอีกครั้งถึงเรื่องการพิจารณาช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
(soft Loan) ซึ่งเคยยื่นไปแล้วนานถึง
478
วัน วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท
ล่าสุดวันนี้จะขอลดเหลือเพียง 5,000
ล้านบาท เพื่อนำมาดูแลรักษาการจ้างงานพนักงานภาคอุตสาหกรรมการบินช่วงครึ่งปีหลังจำนวนกว่า
20,000 คน โดยเฉพาะการรับมือกับสถานการณ์ใหม่หลังศูนย์บริหารสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 (ศบค.)
มีคำสั่งให้สายการบินระงับการบินในประเทศชั่วคราว ตั้งเเต่วันนี้ 21
กรกฎาคม 2564
ตามมาตรการรัฐบาลล่าสุด มีคำสั่งให้จำกัดการเดินทาง
ส่งผลต่อการระงับการให้บริการชั่วคราวทุกเส้นทางบินเข้าออกพื้นที่สีเเดงเข้ม
ตั้งเเต่ 21 กรกฎาคม 2564 เพื่อร่วมมือกันป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้
7 สายการบิน ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส
ไทยแอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ ไทยสมายล์ ไทยไลออนแอร์ นกแอร์ ไทยเวียดเจ็ต มีเหตุจำเป็นจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเข้ามาใช้บริหารจัดการ
ปัจจัยหลัก
1.ยังต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานแต่ละเดือนรวม 900
ล้านบาท เพราะเครื่องบินจะต้องจอดอยู่กับที่เพื่อร่วมมือกับภาครัฐหยุดบินชั่วคราวกว่า
170 ลำ
2.มีต้นทุนด้านการปฏิบัติการบินและการบำรุงรักษาเครื่องบินแต่ละเดือนมูลค่ามหาศาล
ดังนั้นกรรมการสมาคมสายการบินประเทศไทย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซีอีโอของแต่ละสายการบิน ประเมินแล้วแล็งเห็นว่า ทั้ง 7
สายการบินของไทยอาจจะเเบกรับภาระไม่ไหว หากรัฐไม่มีมาตรการเร่งด่วนมาตรการช่วยเหลือเเละเยียวยา
อาจจะนำไปสู่อุตสาหกรรมการบิน และการท่องเที่ยวภาพใหญ่ของประเทศในอนาคตด้วย
ทั้งนี้สมาคมสายการบินประเทศไทย เคยเข้าพบ
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อ 28 สิงหาคม 2563
เพื่อร้องขอให้เร่งพิจารณาในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งส่งหนังสือติดตามล่าสุดอีกครั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม
2564 จนถึงปัจจุบนก็ยังคงไม่ได้รับการพิจารณาจากรัฐบาล
นับจากวันยื่นหนังสือถึงตอนนี้รวมเวลากว่า 478
วัน
ดังนั้นจึงหารือกันใหม่โดยปรับลดตัวเลขวงเงินการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
(Soft Loan) ทั้ง 7 สายการบิน จาก 24,000 ล้านบาท
ซึ่งเป็นตัวเลขเดิมที่เคยยื่นขออนุมัติครั้งเเรกเมื่อมีนาคม 2563 วันนี้ 21 กรกฎาคม 2564 ขอลดลงมาเหลือเพียง 5,000 ล้านบาท
ทั้ง 7
สายการบิน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งพิจารณามาตรการความช่วยเหลือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำด่วน
เพื่อช่วยประคองธุรกิจสายการบินเเละการจ้างงาน ลดผลกระทบความเสียหายต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจเเละท่องเที่ยวภาพรวม
เพราะการบินถือเป็นด่านหน้าในการกระจายเเละสร้างรายได้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของทั้งประเทศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น