TCEBชงครม.16ส.ค.65ดันไทยจัดทัพชิงSpecial Expo 2028ซีซั่น 2
ตั้งทูตหาเสียงสมาชิกทั่วโลกเทคะแนนโหวตให้ภูเก็ตก่อนมิ.ย.ปี66
ปลาย65-ปี’66แจกงบกระตุ้นไมซ์ในประเทศ-ดันไทยฮับเอ็กซิบิชั่น
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza
“TCEB” เปิดเกมใหม่รอบชิง Special Expo 2028 รองนายกฯ อนุทินชง ครม.16 ส.ค.พร้อมตั้งกรรมการ Thailand Candidature Committee 23 ส.ค.บุกขอเสียงโหวตทั่วโลกก่อน มิ.ย.66 เปิดแผนตลาดอินเตอร์ปลายปีนี้ “Meeging-Incentive” อินเดียฮ็อตสุด ๆ พร้อมดันไทยขึ้นนำศูนย์กลาง Exhibitionเอเชีย ด้านในประเทศ ต่อยอดหนุนงบ“ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า” ซีรีย์ต่อเนื่องอีก 2 แคมเปญ ส่งเสริมบริษัทบริหารจัดการงานประชุมสัมมนาหรือการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล DMC : Destination Management Company
นายจิรุตถ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
“TCEB”
เปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมนำเสนอการประมูลรอบที่สอง เดือนพฤศจิกายน 2565
เพื่อชิงงาน Special Expo
2028 เข้ามาจัดในจังหวัดภูเก็ต
หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนของคณะกรรมการ BIE : Bureau International des Expositions เดินทางมาตรวจสถานที่รองรับการจัดงานจริงเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ตัวแทนของประเทศไทยทุกฝ่ายได้ใช้เวลาถึง 16 ชั่วโมง อธิบายรายละเอียดตามเกณฑ์ 14 ข้อ
ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับความพร้อม แผนงานอนาคต
ผมมีโอกาสได้คุยกับทางประธานและเลขาธิการ BIE มีสัญญาณดีประเทศไทยน่าจะผ่านเกณฑ์การเสนองานรอบแรกเรื่องความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าว
ในการเสนอแผนรอบที่ 2 ทีเส็บและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมทุกอย่างตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป โดยมีขั้นตอนสำคัญเรื่องการโหวตประเทศที่ลงแข่งขันทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ เซอร์เบีย อาร์เจนตินา สเปน สหรัฐอเมริกา และไทย โดยจะต้องขอเสียงโหวตถึง 4 ครั้ง เพื่อให้เหลือผู้ชนะเพียงประเทศเดียว
ส่วนขั้นตอนวันที่
16
สิงหาคม 2565 นายอนุทิน
ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรี จะได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ให้เห็นถึงผลสรุปความสำเร็จ และแผนงานขั้นตอนไปที่ทุกฝ่ายจะต้องดำเนินงาน
โดยมีกระทรวง ทบวง กรม เกี่ยวข้องเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะ ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุนการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Special Expo 2028
อย่างเต็มที่ การนำเข้า ครม.จะทำให้ภารกิจเดินหน้าต่อไปอย่างเข้มข้นและแข็งแกร่ง
เนื่องจากทางเอกชน
ภาคประชาสังคม และหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แสดงพลังเข้ามาร่วมระหว่างคณะกรรมการ
BIE เดินทางมาตรวจเยี่ยมสถานที่จัดงานจริงในจังหวัดภูเก็ต
เช่น นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ นายกสมาคมสายการบินแห่งประเทศไทย นายสนั่น
อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทย นายกฤษณะ ละไล นายกสมาคมอารยะสถาปัตย์
ทางด้านเอ็นจีโอ ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
เข้ามาช่วยสนับสนุนเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับธีมเอ็กซโปที่ไทยเสนอ Future of Life ตอกย้ำให้คณะกรรมการ
BIE เกิดความมั่นใจการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
ขั้นตอนต่อเนื่องคือ “การโหวต” เป็นเรื่องสำคัญดังนั้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นประธานการประชุมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการ Thailand Candidature Committee โดยมีกระทรวงหลัก ๆ เข้าร่วม ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ในฐานะสมาชิก BIE กระทรวงสาธารณสุข พร้อมกับแต่งตั้งผู้แทนพิเศษเป็นฑูต (influencer) ของประเทศไทยเดินสายไปตามประเทศต่าง ๆ จะต้องช่วยกันหาเสียง หลัก ๆ ได้แก่ทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง และสาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจากนั้นไทยจะต้องส่งเอกสารการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Special Expo 2028 เพื่อขอเสียงสนับสนุนจากสมาชิกประเทศต่าง ๆ ในปี 2566 ขณะนี้ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบด้านประชาสัมพันธ์โดยได้รับงบประมาณแล้ว รวมทั้งสถานเอกอัครราชฑูต สถานกงศุลไทย ทั่วโลก ร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ด้วยอีกช่องทาง
ไฮไลต์ที่ประเทศไทยต้องวางแผนจัดควบคู่กันไปในระหว่างนี้ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมสัมมนา “Future of Life Series” เพื่อสร้างการตระหนักรู้ พร้อมทั้งบรรยายเนื้อหาและธีมงานที่แต่ละประเทศจะเข้ามาร่วมจัดในภูเก็ต ประเทศไทย ปี 2571 กิจกรรมที่ 2 เชิญคณะฑูต ภาคเอกชนและผู้นำทางความคิดต่างชาติที่ประจำอยู่ประเทศไทยเข้าร่วมแสดงความคิด ทางทีเส็บได้จัดเตรียมงบประมาณไว้แล้วที่จะจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องปี 2565-2566 ปีละ 2 ครั้ง เพื่อยืนยันความมั่นใจเรื่องความเป็นเจ้าภาพจัดงาน
โดยมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบคมนาคมโลจิสติกส์ แผนการเดินทาง ซึ่งตอนนี้จังหวัดภูเก็ตต้องลงทุนสร้างรถไฟฟ้ารางเบา
กระเช้าตามสถานที่หลัก สนามบินนานาชาติ
เพื่อสนับสนุนการเดินทางได้ง่ายขึ้นในการเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงาน Special Expo 2028
ไทม์ไลน์ก่อนเดือนพฤศจิกายน
2565 จะต้องเชิญคณะฑูตจากประเทศที่มีเสียงค่อนข้างสูงเป็นหลักที่จะช่วยโหวตให้ประเทศไทยมาพบปะพูดคุยกัน
ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขก็ได้เตรียมดำเนินการในส่วนการดูแลทางโรงพยบาลวชิระภูเก็ตอย่างเต็มพื้นที่
ซึ่งจะต้องเดินหน้าโครงการเมดิคัล ฮับ โดยมีรองนายกฯ อนุทิน ประธานคณะกรรมการ
ควบคู่กับ Thailand
Candidature Committee ขณะนี้รัฐบาลได้สนับสนุนให้งบประมาณเพื่อนำมาใช้ในปี
2566-2567 จัดวางไว้เรียบร้อยแล้ว
เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จช่วงการเป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซโปแล้วหลังจบงานก็จะได้วางแผนบริหารจัดการให้เป็นระบบอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย
นายจิรุตถ์กล่าวต่อถึงแผนงานกระตุ้นตลาดไมซ์ก่อนสิ้นปีงบประมาณภายใน
30
กันยายน 2565
ขณะนี้ลุยกระตุ้น “ไมซ์ตลาดในประเทศ” โดยได้ผลิตคลิปโฆษณาประชาสัมพันธ์
“ประชุมเมืองไทย มนต์เสน่ห์แห่งความสำเร็จ”
ออกสู่สาธารณะระหว่างสิงหาคม-กันยายน-ต้นตุลาคม นี้
โดยมีแนวคิดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน นี้
โดยจะมีหน่วยงานราชการจะจัดประชุมจำนวนมากขึ้น เนื่องจากจะต้องเตรียมแผนปีงบประมาณใหม่
2566
และภาคเอกชนจะต้องเตรียมแผนการตลาดปีหน้าด้วยเช่นกัน
ทีเส็บจึงได้ใช้จังหวะนี้นำเสนอสถานที่จัดประชุมนอกห้องซึ่งมีให้เลือกจัดกลางแจ้งตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติอีกหลายหลายมิติกระจายอยู่ทั่วประเทศ
ตอนนี้ตลาดประชุมสัมมนาค่อนข้างคึกคักมาก มีทั้งหน่วยราชการ บริษัท ห้างร้าน
องค์กร ออกเดินทางไปจัดกิจกรรมนอกสถานที่เพื่อพัฒนางานตนเอง และจิตใจบุคลากร
ทำทีมบิลดิ้งต่าง ๆ
เมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณ
2566 เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม
2565
เป็นต้นไป ทีเส็บจะเริ่มเดินหน้าแคมเปญต่อเนื่อง “ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า”
เป็นซีรีย์ต่อเนื่องอีก 2
แคมเปญ
ส่งเสริมบริษัทบริหารจัดการงานประชุมสัมมนาหรือการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
DMC : Destination
Management Company
สำหรับการวางแผนกระตุ้น
“ตลาดต่างประเทศ” ทีเส็บเพิ่งจัดงานประชุมแบบไฮบริด Meeting & Incentive มีผู้สนใจเข้าร่วมเพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยนแนวคิด
สินค้าใหม่ อัพเดทตลาด
ผลจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการได้รับการยืนยันสถานการณ์ตลาดไมซ์ดีขึ้นมาก
บางส่วนมาจากทวีปไกล ยุโรป สหรัฐอเมริกา แต่ลักษณะกรุ๊ปจะเปลี่ยนแปลงไป คือ
1.ขนาดของกรุ๊ปจัดงานจะเล็กลงมีประมาณ 30-50 และไม่เกิน 100 คน/กรุ๊ป/ครั้ง
2.การเลือกใช้เงินสูงกว่าปกติมาก
โดยเลือกจองพักวิลลาหรูแทนการจองห้องพักโรงแรมทั่วไป
3.การเดินทางเลือกซื้อตั๋วโดยสารชั้นธุรกิจ
(business class)
เป็นหลัก
4.การจองกับทาง DMC จะเน้นเดินทางมาเป็นซีรีย์
มาด้วยความถี่บ่อยมีจำนวนครั้งการเดินทางเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น
เพียงแต่จำนวนคนแต่ละครั้งจะน้อยลง
หมายถึงแต่ละบริษัทซึ่งเดิมในสถานการณ์ก่อนโควิดเคยมาพร้อมกันครั้งละ 300-400 คน
หลังสถานการณ์โควิดจะมาเป็นกลุ่มของผู้บริหารหรือเอ็กเซ็กคลูทีฟครั้งละ 30,50, 100 คน/ครั้ง
นายจิรุตถ์กล่าวว่า
ทางทีเส็บกับผู้ประกอบการจึงต้องปรับกลยุทธ์ใหม่เรื่องบริการรับรองไมซ์ต่างประเทศที่เปลี่ยนพฤติกรรมไป
เรื่องที่ 1 ปรับวิธีอำนวยความสะดวกต้อนรับการเดินทางเข้าประเทศ
เช่น เปิด MICE LANE ในสนามบินนานาชาติหลักอย่าง
สุวรรณภูมิ ภูเก็ต เรื่องที่ 2 เพิ่มเรื่องการนำเข้าสิ่งของนำเข้ามาจัดแสดงในงานต่าง
ๆ เรื่องที่ 3 การจัดรถนำขบวนเพื่อความรวดเร็ว
เป็นทริปเอ็กซ์คลูซีฟมากขึ้น
เรื่องที่
4 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมไมซ์อย่างยั่งยืนหรือ
Sustainsibity เพราะหลังโควิดบริษัทส่วนใหญ่ต้องการนำเสนอการลดคาร์บอนไดออกไซด์และการชดเชยการปล่อยคาร์บอนออกไซด์
(carbon offset)
จะต้องรักษาสิ่งแวดล้อม ในการจัดแต่ละอีเวนต์ตามสถานที่ต่าง ๆ
จะต้องคำนึงถึงไม่ทำลายธรรมชาติ เช่น การเลือกใช้วัสดุ
ของจัดเลี้ยงจะต้องใช้จากภายในท้องถิ่น ทีเส็บจึงใช้โอกาสที่ดีนำเสนอ 7 Theme MICE แนะนำให้สินค้าในพื้นที่
เช่น
จัดงานที่พัทยาก็เลือกใช้วัตถุดิบอาหารงานเลี้ยงเป็นหมวดอาหารทะเลในพื้นที่และชุมชนนั้น
ๆ ก็จะทำให้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้
กลยุทธ์ดังกล่าวทีเส็บสามารถโชว์ศักยภาพให้เห็นถึงการจัดงานไมซ์ซึ่งสามารถอุดหนุนสินค้าชุมชน
กระจายรายได้จากการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น สามารถลดหรือชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
ประการสำคัญยังช่วยโลกสร้างความยั่งยืนได้อย่างชัดเจน
อันเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรขนาดใหญ่ (corporate)
จากการศึกษาพบว่าบริษัทเกินกว่า 70 % ที่เดินทางเข้ามาจัดไมซ์ในเมืองไทยเรียกร้องต้องการให้มีสูตรคำนวณการลดหรือชดเชยคาร์บอนแต่ละงาน
ถือเป็นสินค้าสำคัญในอนาคตการดูแลลูกค้าแบบเอ็กซ์คลูซีฟควบคู่กับการทำงานอินคลูซีฟใกล้ชิดกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ต้องเน้นส่งเสริมอย่างยั่งยืนต่อไป
ส่วนกระแสตลาดไมซ์มาแรงปี
2565
ต่อเนื่องปี 2566 การจัดประชุมหรือ
M :Meeting กับ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล I : Incentive
ตลาดที่เดินทางเข้าเมืองไทยมากที่สุดขณะนี้คือ อินเดีย และ ตะวันออกกลาง
ทางทีเส็บรุกทำตลาดอย่างเข้มข้น
สำหรับตลาด จัดนิทรรศการแสดง หรือ E : Exhibition ส่อเค้ามาแรงตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 เอ็กซิบิชั่นหลั่งไหลเข้าเมืองไทยมากกว่า 50 % ของไมซ์ทั้งหมด เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนยังไม่เปิดประเทศ และเมื่อ 2 ปีก่อนฮ่องกงเปิดปัญหาการเมืองภายใน ส่งผลทำให้บริษัทผู้จัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ ออร์กาไนเซอร์อินเตอร์เนชั่นแนลทั้งหลาย “ย้ายฐาน” เข้ามาอยู่ในเมืองจำนวนมากพอสมควร แล้วก็ “ดึงงานเอ็กซิบิชั่น” พร้อมกับ “สร้างงานใหม่” ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามาจัดในเมืองไทย
ล่าสุดทีเส็บกับสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) หรือ TEA :Trade of Exhibition Association คือการจัดงานโครงการ EO Pro LEAGUE :Journey to Business Success โดยมีมืออาชีพซึ่งเป็นบริษัทออร์กาไนเซอร์แถวหน้าของเมืองไทยมาร่วมกันกว่า 20 ราย มาจากเมืองใหญ่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ภูเก็ต และจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นการสร้างออร์กาไนเซอร์ท้องถิ่นได้เข้าร่วมอบรมถึงเทคนิควิธีการทำอย่างไรรู้ทันต่างชาติ ทั้งทางด้านระเบียบกฎหมาย การทำตลาด มีโอกาสขยายผลสู่ความสำเร็จทั้งทางด้านธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในเวทีระดับชาติได้ โดยเฉพาะการนำเสนอแนวทางพัฒนาศักยภาพ ทักษะ การจัดการทางกฎหมาย
เป็นกลยุทธ์การสร้างออร์กาไนเซอร์ระดับท้องถิ่นเพื่อไปจับคู่กับคู่ค้าไมซ์ในเวทีระดับนานาชาติ
แทนที่ให้เฉพาะชาวต่างชาติเข้ามาทำได้เพียงอย่างเดียว
หลังจากนี้เป็นต้นไปคนไทยก็สามารถทำได้ “ EO Pro LEAGUE ถือเป็นโครงการที่ดีทางทีเส็บจะเดินหน้าผลักดันอย่างเต็มที่ต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น