ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปิดใจ "วีระศักดิ์ โควสุรัตน์" รวม.ท่องเที่ยวคนใหม่-เที่ยวเชียงรายมุมใหม่

เปิดใจ “วีระศักดิ์ โควสุรัตน์”รมว.ท่องเที่ยวคนใหม่
ชู”GSTC-คลินิกแก้จนชุมชนท่องเที่ยว”มั่งคั่งยั่งยืน
ทายาทคิงเพาเวอร์ซื้อหุ้นAOT1%ไม่เกี่ยวทับซ้อน
ชมแสงเสียงยุคใหม่อยุธยามรโลกดกยอยศยิ่งฟ้า
ททท.ปลื้มมิชลินไกด์บุ๊คปูทางปั๊มรายได้อาหารพุ่ง
ปี’61บางจากทุ่ม3หมื่นล้านเพิ่มปั๊มน้ำมันสีเขียว
เชียงรายมุมใหม่”หล่อโย-ผาหมี-ดอยตุง-วัดศิลป์”
กลินทร์ฟิตสั่งอีสาน7จังหวัดจัดแถวทัวร์ริมโขง
กรมท่าอากาศยานพลิกโฉม28สนามบินภูมิภาค
วิทยุการบินโอดปี’60ส่อเค้าไม่ถึงล้านเที่ยวบิน
สมาคมแอร์ไลน์เอเชียตีปีกรับลูกค้า262ล้านคน

สวัสดีวันเสาร์ที่ 2  ธันวาคม 2560 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ในรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังเรียลไทม์ได้ทางมือถือ และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen

ช่วงที่ 1 ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ เดินหน้านโยบายเจาะลึกเชิงรุกทันทีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ความ “ยั่งยืน” อย่างแท้จริง ด้วยอาวุธใหม่ GSTC ที่จะมาพร้อมกับ “คลินิกและคลัสเตอร์” ก้าวข้ามปริมาณสู่คุณภาพอย่างสมบูรณ์



“ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า  การทำนโยบายเชิงรุกครั้งสำคัญในขณะนี้คนไทยรับรู้แล้วว่าการท่องเที่ยวของประเทศเติบโตใน “เชิงปริมาณ” มายาวนานมากแล้ว สะท้อนถึงความสามารถในการเชิญชวนคนเข้ามาท่องเที่ยวทำได้ดีจริง สวนทางกับการซ่อมแซมปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ทรุดโทรมลง งานประเภทนี้เป็นงานยากมีคนทำน้อย ปริมาณนักท่องเที่ยวเข้าเมืองไทยปีละ 34-35 ล้านคน ถือว่าเยอะมากเมื่อเทียบกับอัตราส่วนต่อพื้นที่ต่อประชากรแล้วไม่สมดุล

ดังนั้นงานด้านที่เรียกว่า “Supply Size” ทางด้านบริหาร จัดการ สถานที่ท่องเที่ยวให้สะอาด สะดวก ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ ต้องเร่งทำ มุมที่ 2 ต้องมุ่งสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสาระสำคัญ และวิธีการจะต้องไม่เข้าไปทำให้ท้องถิ่น จึงต้องนำกลยุทธ์ “คลินิกเบื้องต้นด้านการท่องเที่ยว” ภายใต้รูปแบบการนำหลายหน่วยงานทำงานร่วมกันด้วยการแชร์ประสบการณ์มาใช้ ผมได้รับมาจากการเป็นประธานองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จะทำด้วยการลงพื้นที่ไปทำกับชาวบ้าน พื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นภารกิจของเฉพาะหน่วยงาน

ทว่าวันนี้เรากำลังทำภาพใหญ่รวมทั้งประเทศ 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก ชาวบ้านมีของดีอยู่แล้วแต่ยังทำธุรกิจท่องเที่ยวไม่ค่อยเป็น จึงต้องนำคลินิกเข้าไปช่วยชาวบ้านทำให้เป็นเพื่อมีรายได้ เรื่องที่สอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวติดตลาดแล้ว แต่ขาดการบริหารจัดการความสะอาด สิ่งแวดล้อม ขยะ มลพิษ การซ่อมเรื่องนี้ยากต้องบูรณาการทำงานกับหลายหน่วยงาน มีปัญหาติดขัดหลายอย่างเพราะมีหน่วยงานรับผิดชอบต่างกัน จึงต้องจับเข่าสนทนาเพื่อแบ่งประโยชน์ทั้งรับและช่วยกันทำให้ได้มาก หมายรวมถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมบทบาทนี้ส่วนใหญ่เอกชนจะนำพนักงานหรือภาคีพันธมิตรเข้าไปทำ ซึ่งทางเราก็จะให้คำแนะนำอย่างถูกทาง


ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานับจากนี้เป็นต้นไป จะนำดัชนีตัวชี้วัดอย่างยั่งยืนเข้ามาใช้คือ GSTC : Global Sustainalble Tourism Criteria เป็นหลักเกณฑ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีรายละเอียดตัวชี้วัดตามเกณฑ์มาตรฐานดูไปถึงสิ่งแวดล้อม การกระจายรายได้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งนำเกณฑ์ชี้วัดที่บ้านเราทำขึ้นมาใช้งานจะดีกว่าไปนำของประเทศอื่น ๆ มาใช้ ตัวอย่าง คนส่วนใหญ่เดินทางไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นต่างก็มีความสุขกลับมา ต่อไปก็อยากจะไปเมืองย่อย ๆ เพิ่มขึ้น เพราะญี่ปุ่นมีวิธีรักษาเอกลักษณ์ ซึ่งประเทศไทยจะใช้ Japan Model ดังกล่าวได้เฉพาะกับบางเรื่องเท่านั้น ด้วยความแตกต่างของอุปนิสัยผู้คนและวัฒนธรรมวิถีชีวิตของญี่ปุ่นทำต่อกันมานับพันปี สั่งสมนิสัยแตกต่างกันไป

ผมคิดว่าหากบ้านเราได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน โดยไม่นำ “เรื่องเงิน” มาเป็นที่ตั้ง ในขณะที่ไปทำท่องเที่ยวเชิงเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ เพราะใช้เงินเป็นที่ตั้งจะไม่ยั่งยืน ล้วนเป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก เพียงแต่ต้องทำให้สมเหตุผล เพราะจังหวัดมีขนาดไม่เท่ากัน บางจังหวัดใหญ่แต่คนไม่พอต้องอาศัยสายงานอื่นมาช่วย หรือบางจังหวัดมีบุคลากรมากน้อยต่างกัน แต่ต้องให้อิงกันได้ การเข้ามารับตำแหน่งครั้งนี้ต้องลงไปคลุกฝุ่นพอสมควรเข่าดำ โดยไปร่วมทำแล้วรับประสบการณ์ส่งต่อกัน ในเรื่องรักษาความสะอาดห้องน้ำ การทำอารยสถาปัตย์ มีทางลาด ราวจับในห้องน้ำ สำหรับผู้สูงวัย คนพิการ ซึ่งต้องทำให้ได้

เพื่อประโยชน์ระยะยาวคือดึงคนกลับมาท่องเที่ยวซ้ำมากขึ้นกว่าคนวัยเดียวเที่ยวได้เฉพาะกลุ่ม แล้วช่วยกันดูแลให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และเป็นการกระจายทั้ง “รายได้-ช่วงเวลา-พื้นที่” ปัจจุบันคนเข้าไปเที่ยวเมืองหลักแน่นขจัดแล้วจะทำอย่างไรให้คนไปเที่ยวเมืองรอง อย่างเชียงใหม่ควรจะกระจายไปลำปางบ้าง สิ่งสำคัญต้องลงไป “ทำแผนร่วมกัน” แล้วสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ อย่าไปตัดสินใจเองควรลงพื้นที่ไปฟังเสียงท้องถิ่นเป็นหลัก เพื่อทำงานในเชิง “คลัสเตอร์” อาจจะต้องเพิ่มคลัสเตอร์เข้าไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้กลุ่มโฟกัสสนใจทำงานร่วมกัน

ปัจจุบันโซเชียล มีเดีย เติบโตขึ้นมาก บางจังหวัดแม้จะไม่แนวเขตติดต่อกันก็สามารถอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกันได้ เช่น คลัสเตอร์ท่องเที่ยวทะเล ฝั่งอ่าวไทย จากสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เรื่อยไปจนถึงสงขลา ขณะที่ทะเลฝั่งอันดามัน อยู่กันคนละคลัสเตอร์ แต่บางเรื่องต้องทำภารกิจเดียวกันจึงต้องทำในบางประเด็นร่วมกันได้

ขณะนี้รัฐบาลได้ประกาศไปแล้วคลัสเตอร์ 8 บวก 1 เรื่องแรก ต้องทำให้การประชุมร่วมกันตอบโจทก์ซึ่งเป็นสำนึกจริง ๆ เกี่ยวกับโครงการที่ทำได้จริง ไม่ใช่ทำผิวเผินที่อยากได้เท่านั้น เพราะบางพื้นที่ยังไม่ได้นำเอกลักษณ์โดดเด่นมาพัฒนาอย่างแท้จริง เพราะผ่านมาเน้นเรื่องชวนคนมามากบ่อย ๆ เป็นตัวตั้ง แต่ต่อไปนี้จะต้องหันไปทำให้พื้นที่ท่องเที่ยวมี “ระบบบริหารจัดการ” ในช่วงเทศกาลนักท่องเที่ยวแน่นมากแย่งกันทุกอย่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเครื่องมือดัชนีชี้วัด GSTC เข้าไปใช้เป็นแม่บทสำคัญเพื่อทำให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้

ตามกรอบแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เขียนแผนไว้ดีแล้ว ต่อจากนี้เป็นเรื่องปฏิบัติ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลนี้มาในช่วงพิเศษก่อนที่จะปรับฐานไปสู่รัฐบาลเลือกตั้งในอนาคตต่อไป จึงอยากทำให้เป็นเรื่อง “การปรับฐานและโครงสร้างท่องเที่ยว” จริงจัง

การจะทำให้ฐานของชุมชนรากหญ้าแข็งแรงในเชิงการท่องเที่ยว ต้องบอกว่าไม่มีประเทศไหนใช้ระยะเวลาอันสั้นทำให้ชุมชนท่องเที่ยวแข็งแรงได้ แต่จะต้องปูฐานเรื่อง “ความยั่งยืน” ทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ แต่อย่าไปสร้างโครงการมากมายจนชาวบ้านสับสน แต่ใช้วิธีนำดัชนีชี้วัดไปใช้ หากชุมชนพร้อมเรื่องไหนก็ลงมือทำไปก่อน ทำสั่งสมไปสักระยะแล้วค่อย ๆ เห็นความสุขคืนมา รายได้เพิ่มขึ้น ความมั่นคง ยั่งยืน สมดุลต่อชีวิต จะแข็งแรง แต่ทั้งหมดต้องเกิดจากความมุ่งมั่นด้วย

ส่วนการท่องเที่ยวชุมชนมิใช่แห่กันไปแล้วเที่ยวได้ทุกที่ เพราะแต่ละแห่งมีความพร้อมต่างกัน ต้องอาศัยการจำแนกแยกแยะพอสมควร การทำงานท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนับจากนี้ไป แตกต่างจากเมื่อ 10 ปีแล้ว ยุคนั้นต้องการให้คนมาปริมาณมาก แต่ยุคนี้และอนาคตต้องการเน้น “คุณภาพ” จริง ๆ หากตอบว่าทำอย่างนี้แล้วจะได้ผลลัพธ์ ก็แสดงว่าเห็นหน้าตาประเทศไทยเหมือนกัน หลักวิธีทำที่ถูกทางคือควร “กำหนดเป็นธรรมนูญท้องที่” ขึ้นมาใช้เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป้าหมายคือความยั่งยืนเหมือนกัน

ในประเทศไทยมีหลายพื้นที่มีธรรมนูญท้องถิ่นแล้ว และใช้งานได้จริงโดยที่รัฐไม่เข้าไปยุ่งก็สามารถจัดการกันเองได้ ทางกระทรวงจะไปนำต้นแบบมาเป็นตัวอย่างให้ชุมชนนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

วันที่1 ธันวาคม 2560 หลังจากผมเข้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาวันแรกพร้อมทั้งรับฟังรายงานสรุปข้อมูลจากหน่วยงานทั้งหมด หลังจากนั้นจะเริ่มขับเคลื่อน มุมของผมคือทำเรื่อง “ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว” เป็นหัวใจหลัก

ปัจจุบันกระทรวงมีหน่วยงานขับเคลื่อน คือ “สำนักงานพัฒนาท่องเที่ยวและกีฬาประจำจังหวัด” ดูแลด้านการพัฒนาแหล่งและพื้นที่ ส่วนสำนักงานท่องเที่ยวภายในประเทศ รับผิดชอบทำการตลาด นั้นจะบูรณาการโดยใช้ “คลินิกท่องเที่ยว” เป็นกลไกเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะที่ผ่านมาสำนักงานพัฒนาท่องเที่ยวฯ มีไม่ครบแต่ปัจจุบันมีครบทุกจังหวัด อีกทั้งยังทำงานเฉพาะในกรมของตนเอง และมีดัชนีชี้วัดเฉพาะ เช่น ททท.มีตัวชี้วัดเรื่องการทำการตลาดแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ห้องน้ำ ทางลาด ถ้าจะไปรอสำนักงานท่องเที่ยวเองก็ไม่รู้ว่าทำแล้วลูกค้าเป็นใคร สิ่งเหล่านี้ต้องจัดระเบียบด้วยการพูดคุยกันจริงจัง รวมถึงไปคุยกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ประเทศไทยมีหน่วยงานประมาณ 150 กรม แต่พูดคุยกันน้อยมาก ดังนั้นเมื่อผมเข้ามาก็จะจับมือคนของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท.ไปคุยกับกระทรวงอื่น ๆ อย่าง มหาดไทย เกษตรและสหกรณ์ ที่มีฐานข้อมูลซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนจากสมัยก่อนเที่ยวแหล่งสวยงามแต่ยุคนี้ต้องการเรียนรู้และมีเรื่องราว อาทิ การดูนาข้าว ในพระบาทห้วยตุ้ม ลำพูน มีแหล่งปลูกข้าวที่คนถือศีล ไม่กินเนื้อสัตว์ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้คนไปเที่ยว

หรือตัวอย่างของ “ตูน บอดี้สแลม” ออกมาวิ่งเหมือนกับอดีตคนก็เคยวิ่งเส้นทางเหนือสู่ใต้ แต่ครั้งนี้ถนนเส้นเดิมมีเรื่องราวบอกเล่าเบื้องหลัง เจตนาการวิ่ง มีความงดงาม จึงทำให้คนอยากออกมาวิ่งด้วย ได้เห็นรอยยิ้มของชาวใต้บนถนนสายนี้ เพราะฉะนั้นชุมชนส่วนใหญ่ที่มีเรื่องเล่าได้เพื่อให้คนมาสัมผัส จะเป็นท่อนที่ทำให้ “รายได้” ตกถึงมือชาวบ้าน และ “ท่องเที่ยว” จะได้รับใช้สังคม ต่อจากนี้จะกลายเป็นท่องเที่ยววิ่งเข้าไปหาความหมายรับใช้ชุมชนและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง

เป็นนโยบายเจาะลึกเชิงรุกที่ “ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” จะเข้ามาสานต่อในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชุดที่ 5 มีภารกิจการนำพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

ฟังข่าวต้นชั่วโมง

ข่าวที่ 1 “ผู้บริหารซื้อหุ้นAOTรายย่อยปกติไม่ได้สิทธิ์พิเศษใดๆ”

เปิดใจ “วีระศักดิ์ โควสุรัตน์”รมว.ท่องเที่ยวคนใหม่
ชู”GSTC-คลินิกแก้จนชุมชนท่องเที่ยว”มั่งคั่งยั่งยืน
ทายาทคิงเพาเวอร์ซื้อหุ้นAOT1%ไม่เกี่ยวทับซ้อน
ชมแสงเสียงยุคใหม่อยุธยามรโลกดกยอยศยิ่งฟ้า
ททท.ปลื้มมิชลินไกด์บุ๊คปูทางปั๊มรายได้อาหารพุ่ง
ปี’61บางจากทุ่ม3หมื่นล้านเพิ่มปั๊มน้ำมันสีเขียว
เชียงรายมุมใหม่”หล่อโย-ผาหมี-ดอยตุง-วัดศิลป์”
กลินทร์ฟิตสั่งอีสาน7จังหวัดจัดแถวทัวร์ริมโขง
กรมท่าอากาศยานพลิกโฉม28สนามบินภูมิภาค
วิทยุการบินโอดปี’60ส่อเค้าไม่ถึงล้านเที่ยวบิน
สมาคมแอร์ไลน์เอเชียตีปีกรับลูกค้า262ล้านคน

สวัสดีวันเสาร์ที่ 2  ธันวาคม 2560 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ในรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังเรียลไทม์ได้ทางมือถือ และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen

ช่วงที่ 1 ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ เดินหน้านโยบายเจาะลึกเชิงรุกทันทีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ความ “ยั่งยืน” อย่างแท้จริง ด้วยอาวุธใหม่ GSTC ที่จะมาพร้อมกับ “คลินิกและคลัสเตอร์” ก้าวข้ามปริมาณสู่คุณภาพอย่างสมบูรณ์

“ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า  การทำนโยบายเชิงรุกครั้งสำคัญในขณะนี้คนไทยรับรู้แล้วว่าการท่องเที่ยวของประเทศเติบโตใน “เชิงปริมาณ” มายาวนานมากแล้ว สะท้อนถึงความสามารถในการเชิญชวนคนเข้ามาท่องเที่ยวทำได้ดีจริง สวนทางกับการซ่อมแซมปรับปรุงสภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ทรุดโทรมลง งานประเภทนี้เป็นงานยากมีคนทำน้อย ปริมาณนักท่องเที่ยวเข้าเมืองไทยปีละ 34-35 ล้านคน ถือว่าเยอะมากเมื่อเทียบกับอัตราส่วนต่อพื้นที่ต่อประชากรแล้วไม่สมดุล

ดังนั้นงานด้านที่เรียกว่า “Supply Size” ทางด้านบริหาร จัดการ สถานที่ท่องเที่ยวให้สะอาด สะดวก ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ ต้องเร่งทำ มุมที่ 2 ต้องมุ่งสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสาระสำคัญ และวิธีการจะต้องไม่เข้าไปทำให้ท้องถิ่น จึงต้องนำกลยุทธ์ “คลินิกเบื้องต้นด้านการท่องเที่ยว” ภายใต้รูปแบบการนำหลายหน่วยงานทำงานร่วมกันด้วยการแชร์ประสบการณ์มาใช้ ผมได้รับมาจากการเป็นประธานองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จะทำด้วยการลงพื้นที่ไปทำกับชาวบ้าน พื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นภารกิจของเฉพาะหน่วยงาน

ทว่าวันนี้เรากำลังทำภาพใหญ่รวมทั้งประเทศ 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก ชาวบ้านมีของดีอยู่แล้วแต่ยังทำธุรกิจท่องเที่ยวไม่ค่อยเป็น จึงต้องนำคลินิกเข้าไปช่วยชาวบ้านทำให้เป็นเพื่อมีรายได้ เรื่องที่สอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวติดตลาดแล้ว แต่ขาดการบริหารจัดการความสะอาด สิ่งแวดล้อม ขยะ มลพิษ การซ่อมเรื่องนี้ยากต้องบูรณาการทำงานกับหลายหน่วยงาน มีปัญหาติดขัดหลายอย่างเพราะมีหน่วยงานรับผิดชอบต่างกัน จึงต้องจับเข่าสนทนาเพื่อแบ่งประโยชน์ทั้งรับและช่วยกันทำให้ได้มาก หมายรวมถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมบทบาทนี้ส่วนใหญ่เอกชนจะนำพนักงานหรือภาคีพันธมิตรเข้าไปทำ ซึ่งทางเราก็จะให้คำแนะนำอย่างถูกทาง

ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานับจากนี้เป็นต้นไป จะนำดัชนีตัวชี้วัดอย่างยั่งยืนเข้ามาใช้คือ GSTC : Global Sustainalble Tourism Criteria เป็นหลักเกณฑ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีรายละเอียดตัวชี้วัดตามเกณฑ์มาตรฐานดูไปถึงสิ่งแวดล้อม การกระจายรายได้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งนำเกณฑ์ชี้วัดที่บ้านเราทำขึ้นมาใช้งานจะดีกว่าไปนำของประเทศอื่น ๆ มาใช้ ตัวอย่าง คนส่วนใหญ่เดินทางไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นต่างก็มีความสุขกลับมา ต่อไปก็อยากจะไปเมืองย่อย ๆ เพิ่มขึ้น เพราะญี่ปุ่นมีวิธีรักษาเอกลักษณ์ ซึ่งประเทศไทยจะใช้ Japan Model ดังกล่าวได้เฉพาะกับบางเรื่องเท่านั้น ด้วยความแตกต่างของอุปนิสัยผู้คนและวัฒนธรรมวิถีชีวิตของญี่ปุ่นทำต่อกันมานับพันปี สั่งสมนิสัยแตกต่างกันไป

ผมคิดว่าหากบ้านเราได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน โดยไม่นำ “เรื่องเงิน” มาเป็นที่ตั้ง ในขณะที่ไปทำท่องเที่ยวเชิงเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ เพราะใช้เงินเป็นที่ตั้งจะไม่ยั่งยืน ล้วนเป็นเรื่องพูดง่ายแต่ทำยาก เพียงแต่ต้องทำให้สมเหตุผล เพราะจังหวัดมีขนาดไม่เท่ากัน บางจังหวัดใหญ่แต่คนไม่พอต้องอาศัยสายงานอื่นมาช่วย หรือบางจังหวัดมีบุคลากรมากน้อยต่างกัน แต่ต้องให้อิงกันได้ การเข้ามารับตำแหน่งครั้งนี้ต้องลงไปคลุกฝุ่นพอสมควรเข่าดำ โดยไปร่วมทำแล้วรับประสบการณ์ส่งต่อกัน ในเรื่องรักษาความสะอาดห้องน้ำ การทำอารยสถาปัตย์ มีทางลาด ราวจับในห้องน้ำ สำหรับผู้สูงวัย คนพิการ ซึ่งต้องทำให้ได้

เพื่อประโยชน์ระยะยาวคือดึงคนกลับมาท่องเที่ยวซ้ำมากขึ้นกว่าคนวัยเดียวเที่ยวได้เฉพาะกลุ่ม แล้วช่วยกันดูแลให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และเป็นการกระจายทั้ง “รายได้-ช่วงเวลา-พื้นที่” ปัจจุบันคนเข้าไปเที่ยวเมืองหลักแน่นขจัดแล้วจะทำอย่างไรให้คนไปเที่ยวเมืองรอง อย่างเชียงใหม่ควรจะกระจายไปลำปางบ้าง สิ่งสำคัญต้องลงไป “ทำแผนร่วมกัน” แล้วสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ อย่าไปตัดสินใจเองควรลงพื้นที่ไปฟังเสียงท้องถิ่นเป็นหลัก เพื่อทำงานในเชิง “คลัสเตอร์” อาจจะต้องเพิ่มคลัสเตอร์เข้าไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้กลุ่มโฟกัสสนใจทำงานร่วมกัน

ปัจจุบันโซเชียล มีเดีย เติบโตขึ้นมาก บางจังหวัดแม้จะไม่แนวเขตติดต่อกันก็สามารถอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกันได้ เช่น คลัสเตอร์ท่องเที่ยวทะเล ฝั่งอ่าวไทย จากสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เรื่อยไปจนถึงสงขลา ขณะที่ทะเลฝั่งอันดามัน อยู่กันคนละคลัสเตอร์ แต่บางเรื่องต้องทำภารกิจเดียวกันจึงต้องทำในบางประเด็นร่วมกันได้

ขณะนี้รัฐบาลได้ประกาศไปแล้วคลัสเตอร์ 8 บวก 1 เรื่องแรก ต้องทำให้การประชุมร่วมกันตอบโจทก์ซึ่งเป็นสำนึกจริง ๆ เกี่ยวกับโครงการที่ทำได้จริง ไม่ใช่ทำผิวเผินที่อยากได้เท่านั้น เพราะบางพื้นที่ยังไม่ได้นำเอกลักษณ์โดดเด่นมาพัฒนาอย่างแท้จริง เพราะผ่านมาเน้นเรื่องชวนคนมามากบ่อย ๆ เป็นตัวตั้ง แต่ต่อไปนี้จะต้องหันไปทำให้พื้นที่ท่องเที่ยวมี “ระบบบริหารจัดการ” ในช่วงเทศกาลนักท่องเที่ยวแน่นมากแย่งกันทุกอย่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเครื่องมือดัชนีชี้วัด GSTC เข้าไปใช้เป็นแม่บทสำคัญเพื่อทำให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้

ตามกรอบแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เขียนแผนไว้ดีแล้ว ต่อจากนี้เป็นเรื่องปฏิบัติ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลนี้มาในช่วงพิเศษก่อนที่จะปรับฐานไปสู่รัฐบาลเลือกตั้งในอนาคตต่อไป จึงอยากทำให้เป็นเรื่อง “การปรับฐานและโครงสร้างท่องเที่ยว” จริงจัง

การจะทำให้ฐานของชุมชนรากหญ้าแข็งแรงในเชิงการท่องเที่ยว ต้องบอกว่าไม่มีประเทศไหนใช้ระยะเวลาอันสั้นทำให้ชุมชนท่องเที่ยวแข็งแรงได้ แต่จะต้องปูฐานเรื่อง “ความยั่งยืน” ทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ แต่อย่าไปสร้างโครงการมากมายจนชาวบ้านสับสน แต่ใช้วิธีนำดัชนีชี้วัดไปใช้ หากชุมชนพร้อมเรื่องไหนก็ลงมือทำไปก่อน ทำสั่งสมไปสักระยะแล้วค่อย ๆ เห็นความสุขคืนมา รายได้เพิ่มขึ้น ความมั่นคง ยั่งยืน สมดุลต่อชีวิต จะแข็งแรง แต่ทั้งหมดต้องเกิดจากความมุ่งมั่นด้วย

ส่วนการท่องเที่ยวชุมชนมิใช่แห่กันไปแล้วเที่ยวได้ทุกที่ เพราะแต่ละแห่งมีความพร้อมต่างกัน ต้องอาศัยการจำแนกแยกแยะพอสมควร การทำงานท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนับจากนี้ไป แตกต่างจากเมื่อ 10 ปีแล้ว ยุคนั้นต้องการให้คนมาปริมาณมาก แต่ยุคนี้และอนาคตต้องการเน้น “คุณภาพ” จริง ๆ หากตอบว่าทำอย่างนี้แล้วจะได้ผลลัพธ์ ก็แสดงว่าเห็นหน้าตาประเทศไทยเหมือนกัน หลักวิธีทำที่ถูกทางคือควร “กำหนดเป็นธรรมนูญท้องที่” ขึ้นมาใช้เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป้าหมายคือความยั่งยืนเหมือนกัน

ในประเทศไทยมีหลายพื้นที่มีธรรมนูญท้องถิ่นแล้ว และใช้งานได้จริงโดยที่รัฐไม่เข้าไปยุ่งก็สามารถจัดการกันเองได้ ทางกระทรวงจะไปนำต้นแบบมาเป็นตัวอย่างให้ชุมชนนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

วันที่1 ธันวาคม 2560 หลังจากผมเข้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาวันแรกพร้อมทั้งรับฟังรายงานสรุปข้อมูลจากหน่วยงานทั้งหมด หลังจากนั้นจะเริ่มขับเคลื่อน มุมของผมคือทำเรื่อง “ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว” เป็นหัวใจหลัก

ปัจจุบันกระทรวงมีหน่วยงานขับเคลื่อน คือ “สำนักงานพัฒนาท่องเที่ยวและกีฬาประจำจังหวัด” ดูแลด้านการพัฒนาแหล่งและพื้นที่ ส่วนสำนักงานท่องเที่ยวภายในประเทศ รับผิดชอบทำการตลาด นั้นจะบูรณาการโดยใช้ “คลินิกท่องเที่ยว” เป็นกลไกเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะที่ผ่านมาสำนักงานพัฒนาท่องเที่ยวฯ มีไม่ครบแต่ปัจจุบันมีครบทุกจังหวัด อีกทั้งยังทำงานเฉพาะในกรมของตนเอง และมีดัชนีชี้วัดเฉพาะ เช่น ททท.มีตัวชี้วัดเรื่องการทำการตลาดแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ห้องน้ำ ทางลาด ถ้าจะไปรอสำนักงานท่องเที่ยวเองก็ไม่รู้ว่าทำแล้วลูกค้าเป็นใคร สิ่งเหล่านี้ต้องจัดระเบียบด้วยการพูดคุยกันจริงจัง รวมถึงไปคุยกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ประเทศไทยมีหน่วยงานประมาณ 150 กรม แต่พูดคุยกันน้อยมาก ดังนั้นเมื่อผมเข้ามาก็จะจับมือคนของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท.ไปคุยกับกระทรวงอื่น ๆ อย่าง มหาดไทย เกษตรและสหกรณ์ ที่มีฐานข้อมูลซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนจากสมัยก่อนเที่ยวแหล่งสวยงามแต่ยุคนี้ต้องการเรียนรู้และมีเรื่องราว อาทิ การดูนาข้าว ในพระบาทห้วยตุ้ม ลำพูน มีแหล่งปลูกข้าวที่คนถือศีล ไม่กินเนื้อสัตว์ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้คนไปเที่ยว

หรือตัวอย่างของ “ตูน บอดี้สแลม” ออกมาวิ่งเหมือนกับอดีตคนก็เคยวิ่งเส้นทางเหนือสู่ใต้ แต่ครั้งนี้ถนนเส้นเดิมมีเรื่องราวบอกเล่าเบื้องหลัง เจตนาการวิ่ง มีความงดงาม จึงทำให้คนอยากออกมาวิ่งด้วย ได้เห็นรอยยิ้มของชาวใต้บนถนนสายนี้ เพราะฉะนั้นชุมชนส่วนใหญ่ที่มีเรื่องเล่าได้เพื่อให้คนมาสัมผัส จะเป็นท่อนที่ทำให้ “รายได้” ตกถึงมือชาวบ้าน และ “ท่องเที่ยว” จะได้รับใช้สังคม ต่อจากนี้จะกลายเป็นท่องเที่ยววิ่งเข้าไปหาความหมายรับใช้ชุมชนและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนโดยแท้จริง

เป็นนโยบายเจาะลึกเชิงรุกที่ “ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” จะเข้ามาสานต่อในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชุดที่ 5 มีภารกิจการนำพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

ฟังข่าวต้นชั่วโมง

ข่าวที่ 1 “ผู้บริหารซื้อหุ้นAOTรายย่อยปกติไม่ได้สิทธิ์พิเศษใดๆ”

ผู้บริหารระดับสูงในวงการตลาดทุน อธิบายว่า กรณีที่กระแสเกี่ยวกับกลุ่มคิง เพาเวอร์ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ผ่านตลาดหลักทรพย์นั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อกรณีจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับการเข้าไปแซกแซงนโยบายบริหารจัดการหน่วยงานดังกล่าวได้ ด้วยตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่สามารถมีอำนาจเข้าเป็นมีส่วนบริหารแต่อย่างใดได้ รวมถึงกรณีของทายาทธุรกิจในเครือคิง เพาเวอร์ เองก็นับเป็นการถือหุ้นในนามส่วนตัว เนื่องจากทายาทของกลุ่ม คิง เพาเวอร์ เป็นเพียงแค่มีรายชื่อถือหุ้นติดอยู่ใน 10 รายชื่อแรก มีหุ้นอยู่รวมกันเพียง 20 ล้านหุ้น สัดส่วนหุ้นรวมเพียง 1.43% ของหุ้นทั้งหมดจากจำนวนหุ้น 1,428 ล้านหุ้น ตามการทุนจดทะเบียนของ AOT มูลค่ารวม 14,285 ล้านบาท

 โดยมีชื่อของนายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ถือหุ้นอยู่ 11.46 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.8% นางสาววรมาศ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ถือหุ้นอยู่ 9 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.63% ซึ่งถือเป็นปกติของผู้ถือหุ้นรายย่อยใครก็มีสิทธิ์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพราะ AOT จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ AOT ยังคงเป็นกระทรวงการคลัง ซึ่งยังคงมีอำนาจเต็มทั้งการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ ร่วมกับกระทรวงคมนาคมและนักลงทุนรายย่อย เรื่อยไปจนถึงนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามทางทายาทกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ระบุในการซื้อหุ้นทุกครั้ง ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการซื้อหุ้น AOT มีเพียงเปอร์เซ็นต์เศษเท่านั้นไม่ถึง 5 % จึงไม่ต้องแจ้งตลาดรวมถึงไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมแต่อย่างใด

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” กล่าวว่า AOT เป็นบริษัทมหาชนมีหุ้นอยู่ในตลาด ซึ่งเปิดกว้างให้ใคร ๆ เข้ามาซื้อหุ้นรายย่อยได้ปกติตามระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับกรณีที่ผู้บริหารของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เองก็มีสิทธิ์ซื้อหุ้นดังกล่าวเช่นกัน

ข่าวที่ 2 “เที่ยวแสงเสียงโฉมใหม่มรดกโลกยอยศยิ่งฟ้า15-24ธ.ค.”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา รายงานว่า จังหวัดจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก” ระหว่าง15 – 24 ธันวาคม 2560 ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพียบพร้อมด้วยการแสดง แสง เสียง  ปีนี้นำชุดการแสดงชื่อ “ยอยศกษัตรา อโยธยาศรีรามเทพนคร” โดยมีบุรพกษัตราธิราช 5 พระองค์ เป็นไฮไลท์โชว์แสดงแสงเสียง สู่สายตาชาวโลก เตรียมประดับไฟสวยงามในเขต เกาะเมือง และนอกเกาะเมือง ตั้งแต่สะพานปรีดี-ธำรง จรดศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ถึงศาลหลักเมือง คุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และวัดพระราม

ดร.สุจินต์  ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลอดการจัดงานนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ทั้งการแสดงท่ามกลางเมืองมรดกโลก แล้วยังจะได้ชมตลาดย้อนยุค ถนนคนเดิน ถนนกินเส้น ลานวัฒนธรรม ร้านกาชาด การประกวด The Best To Be Number One การประกวดเยาวชนคนเก่ง การประกวดหนูน้อยกรุงเก่า การประกวด Miss Ayutthaya การประกวด Ayutthaya Talent การฉายภาพยนตร์ซีรี่  “ศรีอโยธยา” พร้อมกันนี้ยังขอเชิญชวนแต่งกายผ้าไทยเข้าร่วมงาน ตลอดงานจัดรถล้อยางไว้บริการฟรีไว้ด้วย

กิจกรรมภายในงาน มีทั้ง การแสดง แสง เสียง ในชื่อชุด “ยอยศกษัตรา อโยธยาศรีรามเทพนคร”0จัดแสดง ณ วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กิจกรรมตลาดย้อนยุค ณ วัดหลังคาขาว และซุ้มไก่ชน การจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าเกษตร สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP 16 อำเภอ  Food Street จากร้านอาหารจากโรงแรมและภาคเอกชนต่างๆ , ถนนกินเส้น/กินกุ้ง การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดแสดงผลสำเร็จการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลงานสุดยอดภูมิปัญญา OTOP ประกวด Miss Ayutthaya

การออกร้านกาชาด (มัจฉากาชาด) เพื่อจัดหารายได้ช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศลและกิจกรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ สนามวัดพระราม (หลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา) เวลา 16.30 น. – 22.00 น. ทุกวัน โดยจะจับสลากชิงรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลที่ 1 รถยนต์กระบะ TOYOTA REVO 4 ประตู  รางวัลที่ 2 รถยนต์เก๋ง Honda City 4 ประตู  รางวัลที่ 3 รถยนต์เก๋ง MG0รุ่นMG305ประตู

ข่าวที่ 4 “6ธ.ค.ไทยเปิดมิชลินไกด์บุ๊คบูมอาหารสู่ตลาดโลก”

นายกลินทร์ สารสิน ประธานคณะกรรมการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อนุมัติให้ ททท.ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท จัดทำโครงการ “มิชลินไกด์บุ๊ค” โดยจะปรับปรุงข้อมูลทุก ๆ 5 ปี ตามที่ไทยอยู่ในอันดับประเทศของการจัดทำมิชลินไกด์บุ๊ค อันดับ 29 ของโลก อันดับ 6 ของเอเชีย อันดับ 2 ของอาเซียน และกำหนดจะเปิดตัว มิชลินไกด์บุ๊คในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป
เพื่อรวบรวมรายชื่อร้านอาหารดังที่ได้รับการจัดอันดับครั้งแรก เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กระตุ้นนักท่องเที่ยวทั่วโลก เข้ามาใช้จ่ายเงินตลอดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกลุ่มกระเป๋าหนักใช้จ่ายเงินสูงและเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ อาทิ สหภาพยุโรป รัสเซีย และอื่น ๆ ซึ่งแต่ละปีเดินทางเข้าพักในไทยต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน

ทางด้าน “นายยุทธ์ สุภสร” ผู้ว่าการ ททท.กล่าวเสริมว่า ระหว่างมกราคม-พฤศจิกายน  2560 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศจากทั่วโลกเดินเข้ามาไทยเกินกว่า 31 ล้านคนแล้ว แนวโน้มจะมีนักท่องเที่ยวคุณภาพเดินทางเข้ามาจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในปี 2561 จึงเป็นโอกาสดีที่จะโหมประชาสัมพันธ์อาหารไทยและนานาชาติในไทย ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารถิ่นตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจังหวัดท่องเที่ยวทั่วประเทศ จะมีโอกาสเชิญชวนเข้าร่วมชิมแต่ละเมนูซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของร้านที่ได้รับคัดเลือกและมีรายชื่อปรากฎอยู่ใน “มิชลินไกด์บุ๊ค” เล่มแรกที่จะเปิดตัวในวันที่ 6 ธันวาคม 2560

ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยสามารถทำส่วนแบ่งรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มแต่ละปีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 30-35 % ของรายได้ทั้งหมดต่อปี หาก ททท.สามารถขยายผลโดยมีมิชลินเข้ามาช่วยสนับสนุนจะยิ่งเป็นแรงผลักดันทำให้ส่วนแบ่งรายได้จากหมวดอาหารเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว

ข่าวที่ 4 “บางจากทุ่ม3หมื่นล้านผุดปั๊มสีเขียวดูแลสิ่งแวดล้อม”

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โดยบริษัทมีแผนขยายธุรกิจด้านพลังงานสีเขียว ช่วงม.ค.-ก.พ. 2561 จะเปิดโครงการนำร่องปั๊มที่มีระบบบริหารการจัดการด้านพลังงาน 1 แห่ง ภายใต้โครงการกรีน คอมมูนิตี้ เอ็นเนอร์ยี่ แมเนจเม้นต์ ซิสเต็ม หรือ Green-Community Energy Management System : GEMS ตั้งอยู่ที่ถนนศรีนครินทร์ ภายในปั๊มจะติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาและกังหันลมขนาดเล็กรูปทรงต้นไม้ กำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 300 กิโลวัตต์ มีระบบกักเก็บพลังงาน (ลิเทียม แบตเตอรี่) ขนาด 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อจ่ายไฟไว้ใช้ภายในปั๊มได้

ปี 2561 เตรียมงบลงทุนไว้ 20,000-30,000 ล้านบาท ทำปั๊มเพิ่มประมาณ 70-80 แห่ง และธุรกิจโรงไฟฟ้า การปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่น โครงการขยายกำลังการผลิต ซึ่งอยู่ระหว่างออกแบบ คาดจะคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างได้กลางปี 2561 กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563 ตั้งเป้ากำลังการผลิตไว้ที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน จากปีนี้ผลิตได้ 111,000 แสนบาร์เรลต่อวัน

ช่วงที่ 2 ตลุยสัมผัสไอหนาวในเชียงรายกับ “แอ่วเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม -Go North Thailand” ลัดเลาะแหล่งเที่ยวในเมืองซึมซับความสุขอย่างพอเพียงจากพื้นราบที่ หอศิลป์ไตยวน กับสวรรค์บนดิน ฟาร์มสเตย์ ชุมชนปาห้า และไต่เขาขึ้นดอยอำเภอแม่จัน แม่สาย ไปร่วมวงกับชาวอาข่าบนเขาที่พลิกชีวิตใหม่ตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ทำจริงสุขจริง ณ ชุมชนอาข่าหล่อโย ชุมชนดอยผาหมี แล้วกลับลงมาชื่นชมความงดงามวัดศิลปะแนวใหม่ วัดร่องเสือเต้น วัดห้วยปลากั้ง และอีกหลายความงดงามท่ามกลางอากาศเย็นสบาย ส่วนการเลือกกินสุดยอด 6 ผลไม้

@เที่ยวมุมใหม่ในเชียงราย“หล่อโย-ผาหมี-ดอยตุง-วัด-ศิลปะ”

ในปี 2561 เชียงรายเร่งทำปีการท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เติบโตเพิ่มอีก 10 % ด้วยการกระตุ้นยอดช้อปปิ้ง ในฐานะเมืองขึ้นชื่อ แหล่งชา ขนม อาหารที่ทำเมนูศิลปะ รวมทั้งการทำเส้นทาง gastronomy โดยมีแหล่งท่องเที่ยว “แอ่วเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม” ที่กำลังได้รับความนิยม

ทันทีที่เท้าสัมผัสพื้นสนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวใกล้สุดในอำเภอเมืองต้องแวะไปดื่มด่ำงานศิลป์สไตล์ล้านนากันที่ “หอศิลป์ไตยวน” บ้านของศิลปินนักเขียนภาพลายจุดจากดินสอและปาก อ.ฉลอง พินิจสุวรรณ  ไปต่อยัง “วัดห้วยปลากั้ง” เมื่อได้สักการะจะเสมือนได้เดินขึ้นสู่สวรรค์ ภายในบริเวณมีเจ้าแม่กวนอิมขนาดองค์สูงสุด 79 เมตร และมีเจดีย์เก้าชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระอรหันต์ต่าง ๆ

“วัดร่องเสือเต้น” อยู่ใน ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย ใช้ศิลปะใหม่สีน้ำเงินสะท้อนแห่งภูมิปัญญาทางศาสนา เมื่อครั้งอดีตเคยเป็นวัดร้าง เมื่อ 80-100 ปีที่ผ่านมา เดิมบริเวณนี้ยังไม่มีหมู่บ้าน มีแต่สัตว์ป่าจำนวนมาก กระโดดข้ามร่องไปมา โดยเฉพาะเสือที่กระโดดข้ามร่องน้ำ เหมือนท่าทางกำลังเต้น จึงตั้งชื่อว่า "วัดร่องเสือเต้น"

จากนั้นเมื่อปี 2539 ชาวบ้านที่ทยอยเข้ามาอาศัยอยู่ประชุมหารือกัน แล้วตัดสินใจจะรื้อฟื้นวัดขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้าน ภายนอกทั้งหมดจะใช้สีน้ำเงินดป็นหลัก มีความหมายถึงสีแห่งปัญญา ส่วนพระพุทธรูปภายในวิหารจะเป็นสีขาว แห่งความบริสุทธิ์

ภายในวิหารมีพระพุทธรูปเป็นพระประธานสีขาว สร้างเมื่อ 24 ธันวาคม 2550 สูง 6.50 เมตร ภายในบรรจุพระรอดลำพูน 84,000 องค์ พร้อมแก้วแหวนเวินทอง หลายสิ่งใต้ฐานพระ

และได้รับพระราชทานนามพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก บรรจุที่พระเศียรและองค์พระประธาน รวมทั้งได้รับพระราชทานนามองค์พระประธานว่า "พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ"

ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธทั้งในเชียงราย ทั่วประเทศ และทั่วเอเชีย
ขณะนี้ในช่วงเทศกาลจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเริ่มหลั่งไหลเข้ามาบ้างแล้ว

ขณะที่“แหล่งท่องเที่ยวชุมชน” บนพื้นราบที่กำลังมาแรงก็มี “สวรรค์บนดิน ฟาร์ม สเตย์” อำเภอแม่จัน เป็นแหล่งปลูกพืชออร์แกนิกที่ศิลปินคนรุ่นใหม่อย่างคุณโตได้ออกแบบนำสมุนไพรไทยมาปรุงเป็น “ศิลปะแห่งชาสุขภาพ” พร้อมกับคิดค้นคุ้กกี้โฮมเมดสูตรดั้งเดิมขายชิ้นละ 20 บาท

จากนั้นก็ขึ้นดอยไปอำเภอแม่จัน “ชุมชนบ้านหล่อโย” ของ “โยธัน-ประกาศิต เชอร์มูกู” เด็กหนุ่มชาวอาข่าที่ลัดฟ้าไปศึกษาด้านการเกษตรจากอิสราเอลกลับมาพลิกชีวิตชาวชุมชนบนยอดเขา 65 ครอบครัว ให้กลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีระบบบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สะอาด ปลอดภัย เปิดบริการที่พักเป็นบ้านดินวิวพาโนรามา 18 หลัง อยู่ท่ามกลางหุบเขาในอ้อมกอดธรรมชาติ ราคาพักคืนละ 1,500-1,800 บาท และได้สร้างสรรเมนูอาหารถิ่นอาข่าเป็นโตกบริการนักท่องเที่ยวมื้อละ 300 บาท/คน

“ชุมชนภูฟ้าซาเจ๊ะดอยผาหมี” อำเภอแม่สาย ผู้เฒ่าชาวเขาเผ่าอาขาที่อพยพจากยูนานมาอยู่ในดอยผาหมีที่นำการพลิกวิถีการปลูกฝิ่นหันมาปลูกกาแฟ เมื่อปี 2513 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จไปพูดคุยกับเฒ่าซาเจ๊ะถึง 3 ครั้ง พร้อมพระราชทานพันธุ์พร้อมสัตว์เลี้ยงให้ชาวเขาแห่งนี้ กระทั่งกลายเป็นอาชีพหลักหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างมีความสุขมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559 ผู้เฒ่าซาเจ๊ะ ได้สร้างร้าน “ภูฟ้าซาเจ๊ะ” ขึ้น เพื่อนน้อมรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวแวะนั่งจิบชา กาแฟ ชมบรรยากาศจากมุมสูงมองเห็นวิวพาโนรามา 360 องศาของเทือกเขาดอยผาหมี และเขานางนอน สูดอากาศบริสุทธิ์ และมองเห็นสนามขนาดใหญ่ของโรงเรียนกลางหุบเขาสถานที่ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนำเฮลิคอปเตอร์ลงครั้งแรกเมื่อ 47 ปีก่อน เพื่อมาสำรวจป่าและได้พบกับซาเจ๊ะแล้วพระองค์ทรงขอให้เปลี่ยนวิถีชีวิตหันมาปลูกกาแฟแทนฝิ่น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีมาจนถึงทุกวันนี้

ที่ห้ามพลาดคือ “โครงการพัฒนาดอยตุงฯ “ อ.แม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 เตรียมจัด “สีสันดอยตุง” เชิญชวนผู้ประกอบการชาวเขาเผ่าต่าง ๆ 6 ชนเผ่านำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายพร้อมกับอาหาร 50 ร้านขึ้นชื่อมาต้อนรับนักท่องเที่ยว มีกิจกรรมไฮไลต์เที่ยวเชิงผจญภัย Tree Top Walk เดินบนสะพานแขวนชมกาแฟป่าระยะทาง 300 เมตร ค่าบริการคนละ 150 บาท

“ชุมชนบ้านปางห้าโฮมสเตย์” ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย เป็นหมู่บ้านทำกระดาษสา เมื่อครั้งอดีตกลุ่มผู้บุกเบิกนำโดย “คุณจินนาลักษณ์ ชุ่มมงคล” นำไหมมาทอแล้วเคยส่งออกต่างประเทศเพื่อนำไปผลิตสินค้าแฟชั่นมากมาย ปัจจุบันชุมชนได้รวมกลุ่มกันเปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้การทำกระดาษสา ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากรังไหมแบรนด์ CEILK โฮมสเตย์ ซึ่งมีอาหารถิ่นเสิร์ฟสารพัดเมนู ไฮไลต์คือ ข้าวแรมฟืน ขนมปาด และในเชียงรายยังมีร้านอาหารเก๋ ๆ ออกแบบสไตล์สวนอังกฤษเสิร์ฟอาหารถิ่น เต็มไปด้วยพืชผัก วัตถุดิบปลอดสารพิษ เมนูสารพัดสุขภาพ

ออกมาเมืองท่องเที่ยวไทย แล้วจะได้รู้ว่า เที่ยวภาคเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป


@สุดยอด 6 ผลไม้ ที่ช่วยขับล้างพิษได้

ชนิดแรก “แอปเปิ้ล” ผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย แอปเปิ้ลมีสารสำคัญหลายชนิดเช่นเบตาแคโรทีนวิตามินซีและเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำที่ชื่อเพคทินซึ่งสารนี้จะช่วยกำจัดสารพิษทั้งยังป้องกันไม่ให้โปรตีนในลำไส้เกิดการบูดเน่า แอปเปิ้ลยังมีเส้นใยมาก ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ตับและระบบย่อยทำงานได้ดีการรับประทานแอปเปิ้ลที่ดีควรล้างให้สะอาดโดยไม่ปอกเปลือกเพราะจะทำให้ไม่เสียคุณค่าทางโภชนาการไป

ชนิดที่ 2 “แตงโม” มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ดังนั้นจึงช่วยฟอกล้างไตได้เป็นอย่างดี และยังใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดความดันโลหิต และทำให้สบายท้องแตงโม เป็นผลไม้ฉ่ำน้ำ มีความเย็น รสหวาน รับประทานเป็นผลไม้แก้กระหายคลายร้อนได้อย่างดี หรือดื่มเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ น้ำแตงโม ยังช่วยทำให้ร่างกายขับปัสสาวะได้ดี จึงมีผลช่วยล้างไต ล้างกระเพาะปัสสาวะ ไม่ให้ร่างกายมีการสะสมกรดยูริค อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขข้อ โรคเกาต์

ชนิดที่ 3 “องุ่น” มีฤทธิ์เป็นสารฟอกล้างสำหรับผิวหนัง ตับ ลำไส้ และไตโดยเฉพาะ เนื่องจากองุ่นมีคุณสมบัติรักษาน้ำมูกที่ออกมาจากเยื่อเมือกต่างๆในร่างกายองุ่นยังให้พลังงานสูงและนำไปใช้ได้ง่าย อุดมด้วยเกลือแร่ ดังนั้นจึงช่วยบำรุงเลือดและซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย การรับประทานองุ่นเป็นประจำ จะมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้กระหาย ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้งแรงน้อย แก่ก่อนวัย ไม่มีเรี่ยวแรง ถ้ารับประทานองุ่นเป็นประจำ จะช่วยเสริมทำให้ร่างกายค่อยๆแข็งแรงขึ้นได้

ชนิดที่ 4 “สัปปะรด” จัดเป็นผลไม้อมเปรี้ยวอมหวานอีกชนิดหนึ่งที่สามารถล้างสารพิษได้และยังสามารถนำไปทำอาหารทั้งคาวและหวานได้หลายชนิด ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากมาย สัปปะรดมีเอนไซม์โบรมีลินสูง เอนไซม์นี้ช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น เชื่อกันว่าสัปปะรดช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหาร ช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหรอ ช่วยการทำงานของต่อมไร้ท่อ กำจัดน้ำมูก ย่อยอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงกำลัง

ชนิดที่ 5 “มะละกอและมะม่วง” ทั้งสองอย่างนี้มีลักษณะคล้ายกัน ผลไม้ทั้งสองชนิดมีเอนไซม์ชื่อว่าพาเพน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำย่อยเพปซินในกระเพาะอาหาร จึงช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น ช่วยทำความสะอาดลำไส้และช่วยย่อยอาหาร เชื่อกันว่ามะละกอยังช่วยลดอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย

 ชนิดที่ 6”อะโวคาโด” เราอาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ปัจจุบันสามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาดทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลูตาไทโอน ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งกว่า30ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก การรับประทานอะโวคาโดสามารถทานได้สดๆหรือนำมาดัดแปลงทำเป็น*สลัดอะโวคาโดเพื่อเปลี่ยนรสชาติในการรับประทานได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย

ฟังข่าวท้ายชั่วโมง

ข่าวแรก “กลินทร์ดันแจ้งเกิดโปรเจ็กต์อีสาน-EEC”

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหอการค้าไทยและกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มอบหมายให้ ททท. ร่วมมือกับคณะทำงานเอกชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำโครงการแผนที่ท่องเที่ยวริมโขงเชื่อมโยง 7 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี สามารถทำได้แล้วถึง 10 เส้นทาง แต่ละแห่งจะมีจุดขายและเอกลักษณ์ของตัวเองชัดเจนที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว
รวมทั้งจะผลักดันโครงการพัฒนาท่าเรือในพัทยาใต้ เป็น Pattaya On Pier ควบคู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดูจากโมเดล Pier39 ท่าเรือท่องเที่ยวที่โด่งดังของซานฟรานซิสโก นำมาพัฒนาในไทยโดยทำท่าเรือสำราญรองรับเรือขนาดใหญ่ เชื่อมไปยังเกาะล้านแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีนและเอเชีย

ข่าวที่สอง “ทย.หาคู่ทำมาตรฐาน28สนามบิน-พลิกโฉมบริการ”

นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า ภายใน มิถุนายน 2561 จะสร้างมาตรฐานท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 28 แห่ง ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของสำนักงาน การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบการเดินอากาศของประเทศ หลังจากลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ว่าด้วยความร่วมมือการปฏิบัติงานบริเวณท่าอากาศยานสังกัด ทย. เพื่อกำหนดขอบเขตของความร่วมมือ และความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน จัดทำแผนรักษาความปลอดภัยสนามบิน (ASP) และคู่มือการดำเนินงานสนามบิน จัดทำ ASP และคู่มือการดำเนินงานให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอให้ กพท. รับรอง และออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินของกรมท่าอากาศยานต่อไป

ขณะเดียวกัน ทย.ยังได้เปิดแผนปรับภาพลักษณ์ใหม่โดยจัดทำ Mascot ภายใต้แนวคิด DOA FOR All : กรมท่าอากาศยาน ทะยานสู่ความก้าวไกล..มิติใหม่เพื่อให้บริการทุกคน” ตั้งเป้าทำให้นักท่องเที่ยวหรือผู้โดยสารได้รับบริการสะดวกสบาย ความปลอดภัย อบอุ่น และมีความสุขที่ได้มาใช้บริการสนามบินของ ทย.

ไปพร้อมกับการเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ปี 2560-2564 ด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดให้มีการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อส่งเสริมโครงข่ายการบินให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุงบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นไป ตามมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการท่าอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าปี ปี 2568 จะรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 30 ล้านคนต่อปี 2578 รับได้ถึงปีละ 58 ล้านคน

อีกทั้ง ทย.ยังปรับการทำงานแบบบูรณาการ ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ      ทั้งในกระทรวงคมนาคมที่ปฏิบัติงานภายใต้นโยบาย One Transport ของกระทรวงคมนาคม และกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ    ขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอื่นๆ

ข่าวที่สาม “วิทยุการบินชี้จราจรบินปี’60ต่ำกว่าเป้า”

นางสาริณี อังศุสิงห์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บวท. กล่าวว่าตลอดปี 2561 แนวโน้มจะปริมาณการจราจรทางอากาศหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเที่ยวบิน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-6% ต่ำกว่าเป้าหมายตั้งไว้ 9% สาเหตุเพราะผลกระทบโดยภาพรวมของวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทุกประเทศต่างก็ต้องเผชิญความท้าทายจากปัญหาดังกล่าวเหมือนกัน

ขณะที่ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง รองประธานกรรมการ และรักษาการประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย (THAI) กล่าวผลประกอบการของการบินไทยในไตรมาส 4/60 จะมีแนวโน้มดีขึ้นและมีโอกาสพลิกเป็นกำไรได้ เพราะเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว หลังจากไตรมาส 3/60 ยังคงขาดทุนอยู่บ้าง แต่การบินไทยพยายามลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงให้ได้มากที่สุด

ข่าวที่สี่ “สมาคมแอร์ไลน์เอเชียตีปีก10เดือนผู้โดยสารพุ่ง262ล้านคน”

นายแอนดรู เฮิร์ดแมน ผู้อำนวยการสมาคมสายการบินเอเชีย แปซิฟิก (AAPA) กล่าวว่าช่วง 10 เดือนแรกของปีสายการบินเอเชียแปซิฟิกมีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 262 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 10.1% ด้วยเช่นกัน "แนวโน้มความต้องการโดยรวมยังคงเป็นบวก" แม้ว่าสายการบินเอเชียจะดำเนินงานในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 24% เป็น 64 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตลอด 10 เดือนแรกของปีนี้

อย่างไรก็ตามสายการบินเอเชียยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายต่อไปในขณะที่การระบุโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ "

ผู้บริหารระดับสูงในวงการตลาดทุน อธิบายว่า กรณีที่กระแสเกี่ยวกับกลุ่มคิง เพาเวอร์ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ผ่านตลาดหลักทรพย์นั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อกรณีจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับการเข้าไปแซกแซงนโยบายบริหารจัดการหน่วยงานดังกล่าวได้ ด้วยตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่สามารถมีอำนาจเข้าเป็นมีส่วนบริหารแต่อย่างใดได้ รวมถึงกรณีของทายาทธุรกิจในเครือคิง เพาเวอร์ เองก็นับเป็นการถือหุ้นในนามส่วนตัว เนื่องจากทายาทของกลุ่ม คิง เพาเวอร์ เป็นเพียงแค่มีรายชื่อถือหุ้นติดอยู่ใน 10 รายชื่อแรก มีหุ้นอยู่รวมกันเพียง 20 ล้านหุ้น สัดส่วนหุ้นรวมเพียง 1.43% ของหุ้นทั้งหมดจากจำนวนหุ้น 1,428 ล้านหุ้น ตามการทุนจดทะเบียนของ AOT มูลค่ารวม 14,285 ล้านบาท

 โดยมีชื่อของนายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ถือหุ้นอยู่ 11.46 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.8% นางสาววรมาศ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ถือหุ้นอยู่ 9 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.63% ซึ่งถือเป็นปกติของผู้ถือหุ้นรายย่อยใครก็มีสิทธิ์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพราะ AOT จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ AOT ยังคงเป็นกระทรวงการคลัง ซึ่งยังคงมีอำนาจเต็มทั้งการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ ร่วมกับกระทรวงคมนาคมและนักลงทุนรายย่อย เรื่อยไปจนถึงนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามทางทายาทกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ระบุในการซื้อหุ้นทุกครั้ง ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการซื้อหุ้น AOT มีเพียงเปอร์เซ็นต์เศษเท่านั้นไม่ถึง 5 % จึงไม่ต้องแจ้งตลาดรวมถึงไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมแต่อย่างใด

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” กล่าวว่า AOT เป็นบริษัทมหาชนมีหุ้นอยู่ในตลาด ซึ่งเปิดกว้างให้ใคร ๆ เข้ามาซื้อหุ้นรายย่อยได้ปกติตามระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับกรณีที่ผู้บริหารของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เองก็มีสิทธิ์ซื้อหุ้นดังกล่าวเช่นกัน

ข่าวที่ 2 “เที่ยวแสงเสียงโฉมใหม่มรดกโลกยอยศยิ่งฟ้า15-24ธ.ค.”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา รายงานว่า จังหวัดจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก” ระหว่าง15 – 24 ธันวาคม 2560 ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพียบพร้อมด้วยการแสดง แสง เสียง  ปีนี้นำชุดการแสดงชื่อ “ยอยศกษัตรา อโยธยาศรีรามเทพนคร” โดยมีบุรพกษัตราธิราช 5 พระองค์ เป็นไฮไลท์โชว์แสดงแสงเสียง สู่สายตาชาวโลก เตรียมประดับไฟสวยงามในเขต เกาะเมือง และนอกเกาะเมือง ตั้งแต่สะพานปรีดี-ธำรง จรดศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ถึงศาลหลักเมือง คุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และวัดพระราม

ดร.สุจินต์  ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลอดการจัดงานนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ทั้งการแสดงท่ามกลางเมืองมรดกโลก แล้วยังจะได้ชมตลาดย้อนยุค ถนนคนเดิน ถนนกินเส้น ลานวัฒนธรรม ร้านกาชาด การประกวด The Best To Be Number One การประกวดเยาวชนคนเก่ง การประกวดหนูน้อยกรุงเก่า การประกวด Miss Ayutthaya การประกวด Ayutthaya Talent การฉายภาพยนตร์ซีรี่  “ศรีอโยธยา” พร้อมกันนี้ยังขอเชิญชวนแต่งกายผ้าไทยเข้าร่วมงาน ตลอดงานจัดรถล้อยางไว้บริการฟรีไว้ด้วย

กิจกรรมภายในงาน มีทั้ง การแสดง แสง เสียง ในชื่อชุด “ยอยศกษัตรา อโยธยาศรีรามเทพนคร”0จัดแสดง ณ วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กิจกรรมตลาดย้อนยุค ณ วัดหลังคาขาว และซุ้มไก่ชน การจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าเกษตร สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP 16 อำเภอ  Food Street จากร้านอาหารจากโรงแรมและภาคเอกชนต่างๆ , ถนนกินเส้น/กินกุ้ง การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดแสดงผลสำเร็จการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลงานสุดยอดภูมิปัญญา OTOP ประกวด Miss Ayutthaya

การออกร้านกาชาด (มัจฉากาชาด) เพื่อจัดหารายได้ช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศลและกิจกรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ สนามวัดพระราม (หลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา) เวลา 16.30 น. – 22.00 น. ทุกวัน โดยจะจับสลากชิงรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลที่ 1 รถยนต์กระบะ TOYOTA REVO 4 ประตู  รางวัลที่ 2 รถยนต์เก๋ง Honda City 4 ประตู  รางวัลที่ 3 รถยนต์เก๋ง MG0รุ่นMG305ประตู

ข่าวที่ 4 “6ธ.ค.ไทยเปิดมิชลินไกด์บุ๊คบูมอาหารสู่ตลาดโลก”

นายกลินทร์ สารสิน ประธานคณะกรรมการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อนุมัติให้ ททท.ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท จัดทำโครงการ “มิชลินไกด์บุ๊ค” โดยจะปรับปรุงข้อมูลทุก ๆ 5 ปี ตามที่ไทยอยู่ในอันดับประเทศของการจัดทำมิชลินไกด์บุ๊ค อันดับ 29 ของโลก อันดับ 6 ของเอเชีย อันดับ 2 ของอาเซียน และกำหนดจะเปิดตัว มิชลินไกด์บุ๊คในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป
เพื่อรวบรวมรายชื่อร้านอาหารดังที่ได้รับการจัดอันดับครั้งแรก เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กระตุ้นนักท่องเที่ยวทั่วโลก เข้ามาใช้จ่ายเงินตลอดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกลุ่มกระเป๋าหนักใช้จ่ายเงินสูงและเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ อาทิ สหภาพยุโรป รัสเซีย และอื่น ๆ ซึ่งแต่ละปีเดินทางเข้าพักในไทยต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน

ทางด้าน “นายยุทธ์ สุภสร” ผู้ว่าการ ททท.กล่าวเสริมว่า ระหว่างมกราคม-พฤศจิกายน  2560 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศจากทั่วโลกเดินเข้ามาไทยเกินกว่า 31 ล้านคนแล้ว แนวโน้มจะมีนักท่องเที่ยวคุณภาพเดินทางเข้ามาจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในปี 2561 จึงเป็นโอกาสดีที่จะโหมประชาสัมพันธ์อาหารไทยและนานาชาติในไทย ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารถิ่นตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจังหวัดท่องเที่ยวทั่วประเทศ จะมีโอกาสเชิญชวนเข้าร่วมชิมแต่ละเมนูซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของร้านที่ได้รับคัดเลือกและมีรายชื่อปรากฎอยู่ใน “มิชลินไกด์บุ๊ค” เล่มแรกที่จะเปิดตัวในวันที่ 6 ธันวาคม 2560

ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยสามารถทำส่วนแบ่งรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มแต่ละปีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 30-35 % ของรายได้ทั้งหมดต่อปี หาก ททท.สามารถขยายผลโดยมีมิชลินเข้ามาช่วยสนับสนุนจะยิ่งเป็นแรงผลักดันทำให้ส่วนแบ่งรายได้จากหมวดอาหารเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว

ข่าวที่ 4 “บางจากทุ่ม3หมื่นล้านผุดปั๊มสีเขียวดูแลสิ่งแวดล้อม”

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โดยบริษัทมีแผนขยายธุรกิจด้านพลังงานสีเขียว ช่วงม.ค.-ก.พ. 2561 จะเปิดโครงการนำร่องปั๊มที่มีระบบบริหารการจัดการด้านพลังงาน 1 แห่ง ภายใต้โครงการกรีน คอมมูนิตี้ เอ็นเนอร์ยี่ แมเนจเม้นต์ ซิสเต็ม หรือ Green-Community Energy Management System : GEMS ตั้งอยู่ที่ถนนศรีนครินทร์ ภายในปั๊มจะติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาและกังหันลมขนาดเล็กรูปทรงต้นไม้ กำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 300 กิโลวัตต์ มีระบบกักเก็บพลังงาน (ลิเทียม แบตเตอรี่) ขนาด 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อจ่ายไฟไว้ใช้ภายในปั๊มได้

ปี 2561 เตรียมงบลงทุนไว้ 20,000-30,000 ล้านบาท ทำปั๊มเพิ่มประมาณ 70-80 แห่ง และธุรกิจโรงไฟฟ้า การปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่น โครงการขยายกำลังการผลิต ซึ่งอยู่ระหว่างออกแบบ คาดจะคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างได้กลางปี 2561 กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563 ตั้งเป้ากำลังการผลิตไว้ที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน จากปีนี้ผลิตได้ 111,000 แสนบาร์เรลต่อวัน

ช่วงที่ 2 ตลุยสัมผัสไอหนาวในเชียงรายกับ “แอ่วเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม -Go North Thailand” ลัดเลาะแหล่งเที่ยวในเมืองซึมซับความสุขอย่างพอเพียงจากพื้นราบที่ หอศิลป์ไตยวน กับสวรรค์บนดิน ฟาร์มสเตย์ ชุมชนปาห้า และไต่เขาขึ้นดอยอำเภอแม่จัน แม่สาย ไปร่วมวงกับชาวอาข่าบนเขาที่พลิกชีวิตใหม่ตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ทำจริงสุขจริง ณ ชุมชนอาข่าหล่อโย ชุมชนดอยผาหมี แล้วกลับลงมาชื่นชมความงดงามวัดศิลปะแนวใหม่ วัดร่องเสือเต้น วัดห้วยปลากั้ง และอีกหลายความงดงามท่ามกลางอากาศเย็นสบาย ส่วนการเลือกกินสุดยอด 6 ผลไม้

@เที่ยวมุมใหม่ในเชียงราย“หล่อโย-ผาหมี-ดอยตุง-วัด-ศิลปะ”


ในปี 2561 เชียงรายเร่งทำปีการท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เติบโตเพิ่มอีก 10 % ด้วยการกระตุ้นยอดช้อปปิ้ง ในฐานะเมืองขึ้นชื่อ แหล่งชา ขนม อาหารที่ทำเมนูศิลปะ รวมทั้งการทำเส้นทาง gastronomy โดยมีแหล่งท่องเที่ยว “แอ่วเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม” ที่กำลังได้รับความนิยม

ทันทีที่เท้าสัมผัสพื้นสนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวใกล้สุดในอำเภอเมืองต้องแวะไปดื่มด่ำงานศิลป์สไตล์ล้านนากันที่ “หอศิลป์ไตยวน” บ้านของศิลปินนักเขียนภาพลายจุดจากดินสอและปาก อ.ฉลอง พินิจสุวรรณ  ไปต่อยัง “วัดห้วยปลากั้ง” เมื่อได้สักการะจะเสมือนได้เดินขึ้นสู่สวรรค์ ภายในบริเวณมีเจ้าแม่กวนอิมขนาดองค์สูงสุด 79 เมตร และมีเจดีย์เก้าชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระอรหันต์ต่าง ๆ



“วัดร่องเสือเต้น” อยู่ใน ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย ใช้ศิลปะใหม่สีน้ำเงินสะท้อนแห่งภูมิปัญญาทางศาสนา เมื่อครั้งอดีตเคยเป็นวัดร้าง เมื่อ 80-100 ปีที่ผ่านมา เดิมบริเวณนี้ยังไม่มีหมู่บ้าน มีแต่สัตว์ป่าจำนวนมาก กระโดดข้ามร่องไปมา โดยเฉพาะเสือที่กระโดดข้ามร่องน้ำ เหมือนท่าทางกำลังเต้น จึงตั้งชื่อว่า "วัดร่องเสือเต้น"

จากนั้นเมื่อปี 2539 ชาวบ้านที่ทยอยเข้ามาอาศัยอยู่ประชุมหารือกัน แล้วตัดสินใจจะรื้อฟื้นวัดขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้าน ภายนอกทั้งหมดจะใช้สีน้ำเงินดป็นหลัก มีความหมายถึงสีแห่งปัญญา ส่วนพระพุทธรูปภายในวิหารจะเป็นสีขาว แห่งความบริสุทธิ์

ภายในวิหารมีพระพุทธรูปเป็นพระประธานสีขาว สร้างเมื่อ 24 ธันวาคม 2550 สูง 6.50 เมตร ภายในบรรจุพระรอดลำพูน 84,000 องค์ พร้อมแก้วแหวนเวินทอง หลายสิ่งใต้ฐานพระ

และได้รับพระราชทานนามพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก บรรจุที่พระเศียรและองค์พระประธาน รวมทั้งได้รับพระราชทานนามองค์พระประธานว่า "พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ"

ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธทั้งในเชียงราย ทั่วประเทศ และทั่วเอเชีย
ขณะนี้ในช่วงเทศกาลจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเริ่มหลั่งไหลเข้ามาบ้างแล้ว


ขณะที่“แหล่งท่องเที่ยวชุมชน” บนพื้นราบที่กำลังมาแรงก็มี “สวรรค์บนดิน ฟาร์ม สเตย์” อำเภอแม่จัน เป็นแหล่งปลูกพืชออร์แกนิกที่ศิลปินคนรุ่นใหม่อย่างคุณโตได้ออกแบบนำสมุนไพรไทยมาปรุงเป็น “ศิลปะแห่งชาสุขภาพ” พร้อมกับคิดค้นคุ้กกี้โฮมเมดสูตรดั้งเดิมขายชิ้นละ 20 บาท



จากนั้นก็ขึ้นดอยไปอำเภอแม่จัน “ชุมชนบ้านหล่อโย” ของ “โยธัน-ประกาศิต เชอร์มูกู” เด็กหนุ่มชาวอาข่าที่ลัดฟ้าไปศึกษาด้านการเกษตรจากอิสราเอลกลับมาพลิกชีวิตชาวชุมชนบนยอดเขา 65 ครอบครัว ให้กลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีระบบบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สะอาด ปลอดภัย เปิดบริการที่พักเป็นบ้านดินวิวพาโนรามา 18 หลัง อยู่ท่ามกลางหุบเขาในอ้อมกอดธรรมชาติ ราคาพักคืนละ 1,500-1,800 บาท และได้สร้างสรรเมนูอาหารถิ่นอาข่าเป็นโตกบริการนักท่องเที่ยวมื้อละ 300 บาท/คน


“ชุมชนภูฟ้าซาเจ๊ะดอยผาหมี” อำเภอแม่สาย ผู้เฒ่าชาวเขาเผ่าอาขาที่อพยพจากยูนานมาอยู่ในดอยผาหมีที่นำการพลิกวิถีการปลูกฝิ่นหันมาปลูกกาแฟ เมื่อปี 2513 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จไปพูดคุยกับเฒ่าซาเจ๊ะถึง 3 ครั้ง พร้อมพระราชทานพันธุ์พร้อมสัตว์เลี้ยงให้ชาวเขาแห่งนี้ กระทั่งกลายเป็นอาชีพหลักหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างมีความสุขมาจนถึงทุกวันนี้


เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559 ผู้เฒ่าซาเจ๊ะ ได้สร้างร้าน “ภูฟ้าซาเจ๊ะ” ขึ้น เพื่อนน้อมรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวแวะนั่งจิบชา กาแฟ ชมบรรยากาศจากมุมสูงมองเห็นวิวพาโนรามา 360 องศาของเทือกเขาดอยผาหมี และเขานางนอน สูดอากาศบริสุทธิ์ และมองเห็นสนามขนาดใหญ่ของโรงเรียนกลางหุบเขาสถานที่ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนำเฮลิคอปเตอร์ลงครั้งแรกเมื่อ 47 ปีก่อน เพื่อมาสำรวจป่าและได้พบกับซาเจ๊ะแล้วพระองค์ทรงขอให้เปลี่ยนวิถีชีวิตหันมาปลูกกาแฟแทนฝิ่น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีมาจนถึงทุกวันนี้

ที่ห้ามพลาดคือ “โครงการพัฒนาดอยตุงฯ “ อ.แม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 เตรียมจัด “สีสันดอยตุง” เชิญชวนผู้ประกอบการชาวเขาเผ่าต่าง ๆ 6 ชนเผ่านำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายพร้อมกับอาหาร 50 ร้านขึ้นชื่อมาต้อนรับนักท่องเที่ยว มีกิจกรรมไฮไลต์เที่ยวเชิงผจญภัย Tree Top Walk เดินบนสะพานแขวนชมกาแฟป่าระยะทาง 300 เมตร ค่าบริการคนละ 150 บาท

“ชุมชนบ้านปางห้าโฮมสเตย์” ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย เป็นหมู่บ้านทำกระดาษสา เมื่อครั้งอดีตกลุ่มผู้บุกเบิกนำโดย “คุณจินนาลักษณ์ ชุ่มมงคล” นำไหมมาทอแล้วเคยส่งออกต่างประเทศเพื่อนำไปผลิตสินค้าแฟชั่นมากมาย ปัจจุบันชุมชนได้รวมกลุ่มกันเปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้การทำกระดาษสา ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากรังไหมแบรนด์ CEILK โฮมสเตย์ ซึ่งมีอาหารถิ่นเสิร์ฟสารพัดเมนู ไฮไลต์คือ ข้าวแรมฟืน ขนมปาด และในเชียงรายยังมีร้านอาหารเก๋ ๆ ออกแบบสไตล์สวนอังกฤษเสิร์ฟอาหารถิ่น เต็มไปด้วยพืชผัก วัตถุดิบปลอดสารพิษ เมนูสารพัดสุขภาพ

ออกมาเมืองท่องเที่ยวไทย แล้วจะได้รู้ว่า เที่ยวภาคเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป


@สุดยอด 6 ผลไม้ ที่ช่วยขับล้างพิษได้

ชนิดแรก “แอปเปิ้ล” ผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย แอปเปิ้ลมีสารสำคัญหลายชนิดเช่นเบตาแคโรทีนวิตามินซีและเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำที่ชื่อเพคทินซึ่งสารนี้จะช่วยกำจัดสารพิษทั้งยังป้องกันไม่ให้โปรตีนในลำไส้เกิดการบูดเน่า แอปเปิ้ลยังมีเส้นใยมาก ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ช่วยให้ตับและระบบย่อยทำงานได้ดีการรับประทานแอปเปิ้ลที่ดีควรล้างให้สะอาดโดยไม่ปอกเปลือกเพราะจะทำให้ไม่เสียคุณค่าทางโภชนาการไป

ชนิดที่ 2 “แตงโม” มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ดังนั้นจึงช่วยฟอกล้างไตได้เป็นอย่างดี และยังใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดความดันโลหิต และทำให้สบายท้องแตงโม เป็นผลไม้ฉ่ำน้ำ มีความเย็น รสหวาน รับประทานเป็นผลไม้แก้กระหายคลายร้อนได้อย่างดี หรือดื่มเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ น้ำแตงโม ยังช่วยทำให้ร่างกายขับปัสสาวะได้ดี จึงมีผลช่วยล้างไต ล้างกระเพาะปัสสาวะ ไม่ให้ร่างกายมีการสะสมกรดยูริค อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขข้อ โรคเกาต์

ชนิดที่ 3 “องุ่น” มีฤทธิ์เป็นสารฟอกล้างสำหรับผิวหนัง ตับ ลำไส้ และไตโดยเฉพาะ เนื่องจากองุ่นมีคุณสมบัติรักษาน้ำมูกที่ออกมาจากเยื่อเมือกต่างๆในร่างกายองุ่นยังให้พลังงานสูงและนำไปใช้ได้ง่าย อุดมด้วยเกลือแร่ ดังนั้นจึงช่วยบำรุงเลือดและซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย การรับประทานองุ่นเป็นประจำ จะมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้กระหาย ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้งแรงน้อย แก่ก่อนวัย ไม่มีเรี่ยวแรง ถ้ารับประทานองุ่นเป็นประจำ จะช่วยเสริมทำให้ร่างกายค่อยๆแข็งแรงขึ้นได้

ชนิดที่ 4 “สัปปะรด” จัดเป็นผลไม้อมเปรี้ยวอมหวานอีกชนิดหนึ่งที่สามารถล้างสารพิษได้และยังสามารถนำไปทำอาหารทั้งคาวและหวานได้หลายชนิด ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากมาย สัปปะรดมีเอนไซม์โบรมีลินสูง เอนไซม์นี้ช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น เชื่อกันว่าสัปปะรดช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหาร ช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหรอ ช่วยการทำงานของต่อมไร้ท่อ กำจัดน้ำมูก ย่อยอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงกำลัง

ชนิดที่ 5 “มะละกอและมะม่วง” ทั้งสองอย่างนี้มีลักษณะคล้ายกัน ผลไม้ทั้งสองชนิดมีเอนไซม์ชื่อว่าพาเพน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำย่อยเพปซินในกระเพาะอาหาร จึงช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น ช่วยทำความสะอาดลำไส้และช่วยย่อยอาหาร เชื่อกันว่ามะละกอยังช่วยลดอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย

 ชนิดที่ 6”อะโวคาโด” เราอาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ปัจจุบันสามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาดทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลูตาไทโอน ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งกว่า30ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก การรับประทานอะโวคาโดสามารถทานได้สดๆหรือนำมาดัดแปลงทำเป็น*สลัดอะโวคาโดเพื่อเปลี่ยนรสชาติในการรับประทานได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย

ฟังข่าวท้ายชั่วโมง

ข่าวแรก “กลินทร์ดันแจ้งเกิดโปรเจ็กต์อีสาน-EEC”

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหอการค้าไทยและกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มอบหมายให้ ททท. ร่วมมือกับคณะทำงานเอกชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำโครงการแผนที่ท่องเที่ยวริมโขงเชื่อมโยง 7 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี สามารถทำได้แล้วถึง 10 เส้นทาง แต่ละแห่งจะมีจุดขายและเอกลักษณ์ของตัวเองชัดเจนที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว
รวมทั้งจะผลักดันโครงการพัฒนาท่าเรือในพัทยาใต้ เป็น Pattaya On Pier ควบคู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดูจากโมเดล Pier39 ท่าเรือท่องเที่ยวที่โด่งดังของซานฟรานซิสโก นำมาพัฒนาในไทยโดยทำท่าเรือสำราญรองรับเรือขนาดใหญ่ เชื่อมไปยังเกาะล้านแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีนและเอเชีย

ข่าวที่สอง “ทย.หาคู่ทำมาตรฐาน28สนามบิน-พลิกโฉมบริการ”

นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า ภายใน มิถุนายน 2561 จะสร้างมาตรฐานท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 28 แห่ง ให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของสำนักงาน การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบการเดินอากาศของประเทศ หลังจากลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ว่าด้วยความร่วมมือการปฏิบัติงานบริเวณท่าอากาศยานสังกัด ทย. เพื่อกำหนดขอบเขตของความร่วมมือ และความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน จัดทำแผนรักษาความปลอดภัยสนามบิน (ASP) และคู่มือการดำเนินงานสนามบิน จัดทำ ASP และคู่มือการดำเนินงานให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอให้ กพท. รับรอง และออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินของกรมท่าอากาศยานต่อไป

ขณะเดียวกัน ทย.ยังได้เปิดแผนปรับภาพลักษณ์ใหม่โดยจัดทำ Mascot ภายใต้แนวคิด DOA FOR All : กรมท่าอากาศยาน ทะยานสู่ความก้าวไกล..มิติใหม่เพื่อให้บริการทุกคน” ตั้งเป้าทำให้นักท่องเที่ยวหรือผู้โดยสารได้รับบริการสะดวกสบาย ความปลอดภัย อบอุ่น และมีความสุขที่ได้มาใช้บริการสนามบินของ ทย.

ไปพร้อมกับการเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ปี 2560-2564 ด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดให้มีการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อส่งเสริมโครงข่ายการบินให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุงบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นไป ตามมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการท่าอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าปี ปี 2568 จะรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 30 ล้านคนต่อปี 2578 รับได้ถึงปีละ 58 ล้านคน

อีกทั้ง ทย.ยังปรับการทำงานแบบบูรณาการ ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ      ทั้งในกระทรวงคมนาคมที่ปฏิบัติงานภายใต้นโยบาย One Transport ของกระทรวงคมนาคม และกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ    ขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอื่นๆ

ข่าวที่สาม “วิทยุการบินชี้จราจรบินปี’60ต่ำกว่าเป้า”

นางสาริณี อังศุสิงห์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บวท. กล่าวว่าตลอดปี 2561 แนวโน้มจะปริมาณการจราจรทางอากาศหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเที่ยวบิน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-6% ต่ำกว่าเป้าหมายตั้งไว้ 9% สาเหตุเพราะผลกระทบโดยภาพรวมของวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทุกประเทศต่างก็ต้องเผชิญความท้าทายจากปัญหาดังกล่าวเหมือนกัน

ขณะที่ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง รองประธานกรรมการ และรักษาการประธานกรรมการ บมจ.การบินไทย (THAI) กล่าวผลประกอบการของการบินไทยในไตรมาส 4/60 จะมีแนวโน้มดีขึ้นและมีโอกาสพลิกเป็นกำไรได้ เพราะเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว หลังจากไตรมาส 3/60 ยังคงขาดทุนอยู่บ้าง แต่การบินไทยพยายามลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงให้ได้มากที่สุด

ข่าวที่สี่ “สมาคมแอร์ไลน์เอเชียตีปีก10เดือนผู้โดยสารพุ่ง262ล้านคน”

นายแอนดรู เฮิร์ดแมน ผู้อำนวยการสมาคมสายการบินเอเชีย แปซิฟิก (AAPA) กล่าวว่าช่วง 10 เดือนแรกของปีสายการบินเอเชียแปซิฟิกมีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 262 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 10.1% ด้วยเช่นกัน "แนวโน้มความต้องการโดยรวมยังคงเป็นบวก" แม้ว่าสายการบินเอเชียจะดำเนินงานในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 24% เป็น 64 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตลอด 10 เดือนแรกของปีนี้

อย่างไรก็ตามสายการบินเอเชียยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายต่อไปในขณะที่การระบุโอกาสใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ "

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท.คุนหมิงดึงจีน3มณฑลเที่ยวไทยทางบก4ด่านเงินสะพัด

ททท.ปั๊มทัวร์จีนคุนหมิงแบบโอเวอร์แลนด์เงินสะพัดไทย 4 ด่าน ส.ค. 66- ปี ’67 กระหน่ำขาย “ New Ways to Amazing to Thailand” ล็อกเป้าจีน 4 ตลาดใช้จ่ายแสนบาท/ทริป-ดันอีสานอู้ฟู่ 20 จังหวัด ช้อป!!ของขวัญวันแม่ที่คิงเพาเวอร์ลด20%- Firster9 หมื่นไอเท็ม ฉลองวันแม่!พูลแมนคิงเพาเวอร์จัดบุฟเฟต์พรีเมี่ยมกลางวัน/ค่ำ กินฟินที่คิงเพาเวอร์มหานคร-รร.เดอะสแตนดาร์ดตลอดส.ค. 66 ททท.จัดแข่งผัดกะเพราโลก“ World Kaphrao 2023”ชิงเงินล้าน กลุ่มบริษัทบางจากโชว์ครึ่งปีแรก66กวาดรายได้1.48 แสนล้าน TCEB บุกจีนจัด Thailand MICE in China 2023 โกยไมซ์ 990 ล้าน เที่ยววันแม่ใกล้กรุงได้ที่อุทยานเบญจสิริ/ดรีมเวิลด์/สวนนงนุช เคล็ดลับ!!การรักษาแผลให้หายไวด้วยขั้นตอนง่ายๆทำได้เอง บินไทยฟื้นเร็ว!!ครึ่งแรกปี’66กำไร329%พกเงินสด5.1หมื่นล้าน เปิดขายแล้ว!!บัตรชม“โขน”สุดยิ่งใหญ่แห่งดูได้ 5 พ.ย.- 5 ธ.ค. 66   วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ

TCEB นำงานวิจัยMICE for Sightแนะธุรกิจปรับตัวรับไมซ์10ปีหน้า

  นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) "TCEB" “ TCEB ”เปิดคัมภีร์ MICE for Sight ปลุกไมซ์จัดทัพใหม่ 10 ปีหน้า รับมือ Gen Z ผงาดผู้ทรงอิทธิพลไมซ์โลกเขย่าตลาดครั้งใหญ่ ปี 67 เร่งโกย 1.4 แสนล้านโหมซอฟท์เพาเวอร์/ไมซ์ซิตี้/ไมซ์ชุมชน รีบช้อป!!คิงเพาเวอร์เป็นไปได้5รายการรางวัลสูงสุดกว่า 4 ล้าน ด่วน 4 วันสุดท้าย!คิงเพาเวอร์อัดโปร SurpriseOnlineSale ลด 50% คิงเพาเวอร์ช้อปวนไปแจกทันที 3 ฟรี คูปอง/ตั๋ว/รถยนต์ LEXUS ท่องเที่ยวรุกเจรจาธุรกิจ TEJ 2023ฉลุย300นัดโกยญี่ปุ่น9ตลาด บางจาก-กรุงไทยเปิดแอปเป๋าตังจองซื้อหุ้นกู้ดิทัลดีเดย์ 30 ต.ค. เที่ยวประจวบนอนแคมป์ทะเลหมอกบ้านป่าหมาก-วิ่งปราณบุรี บินไทยโชว์ยูนิฟอร์มใหม่ลูกเรือแฟชั่นผ้าลดโลกร้อนเริ่ม1ม.ค.67 คาเธ่ย์ กรุ๊ปทุ่มลงทุนฝูงบินใหม่ A 320 neo เพิ่ม32ลำบินจีน/เอเชีย   วันเสาร์ที่  28 ตุลาคม 2566 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97

ททท.ภาคเหนือ7เดือนปี66โกยแล้ว1.08แสนล้าน

นางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ททท.ภาคเหนืออู้ฟู่ 7 เดือนแรกโกยได้แล้ว 1 แสนล้าน ต.ค.-ธ.ค. 66 ลุยขายเที่ยวไฮซีซัน 4 เทรนด์ใหม่มาแรง นำ The Link จับคู่ทัวร์ข้ามภาคสำเร็จ 3 เส้นทางสุดฮ็อต คิง เพาเวอร์แจกมันส์แจกฟินที่รางน้ำเสาร์16ก.ย.นี้ ช้อป KingPowerOnline รับแบบไม่ยั้ง2สุดคุ้มถึง24ก.ย. ช้อป DUTY FREE SALE นำบิวตี้แบรนด์โลกมาเต็ม ททท.ใช้ฟรีวีซ่าปั๊ม1.4แสนล้านชาเตอร์จีนเฮเข้าไทย บางจากโชว์อุตฯไทย-ไต้หวันชูนวัตกรรมธุรกิจสีเขียว TCEB ผนึก EECAutoPark หนุนไมซ์เอ็กซิบิชั่นอินเตอร์ เที่ยว Unseen “พิพิธภัณฑ์ป่าสัก-วัดขุนอิน-วัดปัญญา” 4วิธี“ปิดล้างเลี่ยงหยุด”ป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกพันธุ์ “สุดาวรรณ”รมว.ใหม่ท่องเที่ยวดึงต่างชาติ40ล้านคน กพท.-สมาคมแอร์ไลน์สไทยแบไต๋ตั๋วบินราคาแพง วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyai