ทอท.ปฏิรูปใหญ่2โปรเจ็กต์บินปี’62ฉลอง40ปี
สุวรรณภูมิขึ้นฮับคาร์โก้โลก-ผุดดิจิตอลเซอร์วิส
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=845903042270422&id=100005522016696
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #airportthai
(ติดตามเจาะลึกได้ในรายการ รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทาง FM97.0 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย)
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “AOT/ทอท.” เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 2561 บริษัทได้ดำเนินการมาครบ 39 ปี โดยให้บริการเที่ยวบินทั้งสิ้น 10,503,326 เที่ยว มีผู้โดยสาร 1,573,696,970 คน ปัจจุบันมีสายการบินประจำกว่า 130 สายการบิน เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางกว่า 200 จุดบิน
ส่วนผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561 ระหว่างตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 256 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยาน 6 แห่งของ ทอท. 95,536,222 คน เพิ่มขึ้น 9.88 % แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 55,021,195 คน เพิ่มขึ้น 14.03 % และผู้โดยสารภายในประเทศ 40,515,027 คน เพิ่มขึ้น 4.71 %
ขณะที่ผลประกอบการในรอบ 6 เดือน ระหว่าง 1 ตุลาคม 2560 – 31 มีนาคม 2561 (งบการเงิน
เฉพาะบริษัท) ทำกำไรได้ 13,435.35 ล้านบาท มาจากรายได้รวม 31,259.90 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายหรือให้บริการ 30,501.27 ล้านบาท กับรายได้อื่น ๆ 758.63 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่าย 14,495.72 ล้านบาท กับค่าภาษีเงินได้ 3,328.83 ล้านบาท
นายนิตินัยกล่าวว่าปี 2562 วางแผนก้าวขึ้นสู่ปีที่ 40 โดยจะทำ 2 โปรเจ็กต์ใหญ่ ได้แก่ โปรเจ็กต์ที่ 1 พัฒนาการลงทุนสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Cargo Hub) และได้เจรจาจนกระทั่งขณะนี้ยกระดับสู่มาตรฐานถึงขึ้นเป็น Cirtifly Airport Hub ได้ เป็นสนามบินที่สามารถตรวจสอบสินค้าเกษตรทุกรูปแบบของไทยและลูกค้าในกลุ่มประเทศใกล้เคียงมาผ่านออกทางสุวรรณภูมิเข้ายุโรปได้ทันที โดยไม่ต้องตรวจซ้ำ และจะนำไปใช้ได้กับสนามบินที่ ทอท.เป็น Sister Airport ทั่วโลกด้วยอีก 15 สนามบิน
พร้อมทั้งเตรียมเจรจากับกลุ่มประเทศ CLMV กัมพูชา-สปป.ลาว-เมียนมาร์-เวียดนาม ให้เข้ามาเป็นลูกค้าเพื่อใช้บริการขนส่งสินค้าผ่านทางสุวรรณภูมิซึ่งมีความพร้อมเป็นคาร์โก้ฮับแบบครบวงจร
ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่รองรับการสร้างคาร์โก้ ฮับ กำลังเดินหน้า 3 เรื่อง คือ 1.เตรียมเปิดที่ดินแปลง 37 ของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในใกล้สุวรรณภูมิขนาดกว่า 700 ไร่ กับที่ดินของ ทอท.อีกแปลงขนาด 700 ไร่ เพื่อให้เอกชนที่สนใจเสนอแผนการลงทุนสร้างคลังรองรับการพักสินค้าและจัดทำระบบอีคอมเมอร์ซอย่างเป็นระบบ 2.ระหว่างนี้ ทอท.กำลังเร่งจัดทำแผนแม่บทคาร์โก้ฮับสุวรรณภูมิควบคู่กันไปด้วย เป็นโครงการที่ใช้วิธีร่วมทุน โดย ทอท.จะแปลงทรัพย์สินเป็นทุน แล้วให้เอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านคาร์โก้เข้ามาลงเงิน อาจจะใช้เงินเพียงแค่ประมาณ 1,500 ล้านบาทเท่านั้น
ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวจะสรุปได้หลังเสร็จสิ้นการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม AOT Sister Airport CEO Forum ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอนด์ แบงคอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซนทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 3.วิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศที่จะเกิดขึ้นอีก 3-5 ปีข้างหน้า เมื่อยกระดับสุวรรณภูมิเป็นฮับอย่างสมบูรณ์แล้ว จะช่วยเพิ่มสินค้าการเกษตรของไทยและเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นได้ปีละ 2 หลัก ต่อเนื่องทุกปี
โปรเจ็กต์ที่ 2 ทอท.จะต้องจัดทำ Digital transformation ตามนโยบายรัฐบาลเร่งให้ทุกรัฐวิสาหกิจนำดิจิตอลเข้ามาพัฒนาขีดความสามารถ ทอท.ก็ต้องก้าวสู่ AOT 4.0 ตอนนี้ทยอยทำดิจิตอลแพลทฟอร์ม เพื่อลดความแออัดของสนามบินด้วยบริการสมัยใหม่ด้วยการใช้ดิจิตอลทำแบบจำลอง “โลกเสมือนจริง” สร้าง application ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวม Big Data แล้วบริหารจัดการบริการตั้งแต่หน้าอาคารสนามบิน ลานจอดรถ เข้าสู่ตัวอาคาร เคาน์เตอร์เช็คอิน เคาน์เตอร์ตรวจคนเข้าเมือง เลาจน์สายการบิน ร้านค้า ร้านอาหาร สายพานลำเลียงกระเป๋า CTX สิ่งอำนวยความสะดวกแต่ละประเภท ทั้งการผ่านเข้าและออกของผู้โดยสาร
เพราะขณะนี้สนามบินของ ทอท.ทั้งสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ มีผู้โดยสารใช้บริการเกินขีดความสามารถในการรองรับแต่ละปีไปมากแล้ว คงจะไม่สามารถรอการขยายเฟส 2 หรือสนามบินแห่งที่ 2 แล้วเสร็จได้ ภายใน 1-2 ปีหน้า ต้องนำดิจิตอลแพลทฟอร์ม แอพลิเคชั่น มาจัดการ Big Data เพื่อลดความแออัดของผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการบริหารให้เกิดความรื่นไหลในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนแทน
นอกจากการนำดิจิตอล แพลทฟอร์มเข้ามาใช้งานเต็มรูปแบบภายในปี 2562 แล้ว ยังต้องเตรียมช่องทางการนำที่ดินติดสนามบินสุวรรณภูมิมาเปิดประมูลพัฒนาเป็น “ตลาดหรือแหล่งแวะพัก” ให้ผู้โดยสารมีพื้นที่ชมตลาดหรือนั่งพักผ่อนนอกตัวอาคารสนามบิน โดยไม่ต้องรีบมารวมกันอยู่ในสนามบินก่อนเวลาขึ้นเครื่องล่วงหน้า 2-3 ชั่วโมง เหมือนปัจจุบัน แนวทางนี้จะเป็นช่องทางในการลดความแออัดในอาคารผู้โดยสารลงได้ ก่อนการเปิดใช้สุวรรณภูมิเฟส 2 และ 3 จะสำเร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า
สุวรรณภูมิขึ้นฮับคาร์โก้โลก-ผุดดิจิตอลเซอร์วิส
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=845903042270422&id=100005522016696
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #airportthai
(ติดตามเจาะลึกได้ในรายการ รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทาง FM97.0 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย)
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “AOT/ทอท.” เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 2561 บริษัทได้ดำเนินการมาครบ 39 ปี โดยให้บริการเที่ยวบินทั้งสิ้น 10,503,326 เที่ยว มีผู้โดยสาร 1,573,696,970 คน ปัจจุบันมีสายการบินประจำกว่า 130 สายการบิน เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางกว่า 200 จุดบิน
ส่วนผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือนของปีงบประมาณ 2561 ระหว่างตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 256 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยาน 6 แห่งของ ทอท. 95,536,222 คน เพิ่มขึ้น 9.88 % แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 55,021,195 คน เพิ่มขึ้น 14.03 % และผู้โดยสารภายในประเทศ 40,515,027 คน เพิ่มขึ้น 4.71 %
ขณะที่ผลประกอบการในรอบ 6 เดือน ระหว่าง 1 ตุลาคม 2560 – 31 มีนาคม 2561 (งบการเงิน
เฉพาะบริษัท) ทำกำไรได้ 13,435.35 ล้านบาท มาจากรายได้รวม 31,259.90 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายหรือให้บริการ 30,501.27 ล้านบาท กับรายได้อื่น ๆ 758.63 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่าย 14,495.72 ล้านบาท กับค่าภาษีเงินได้ 3,328.83 ล้านบาท
นายนิตินัยกล่าวว่าปี 2562 วางแผนก้าวขึ้นสู่ปีที่ 40 โดยจะทำ 2 โปรเจ็กต์ใหญ่ ได้แก่ โปรเจ็กต์ที่ 1 พัฒนาการลงทุนสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Cargo Hub) และได้เจรจาจนกระทั่งขณะนี้ยกระดับสู่มาตรฐานถึงขึ้นเป็น Cirtifly Airport Hub ได้ เป็นสนามบินที่สามารถตรวจสอบสินค้าเกษตรทุกรูปแบบของไทยและลูกค้าในกลุ่มประเทศใกล้เคียงมาผ่านออกทางสุวรรณภูมิเข้ายุโรปได้ทันที โดยไม่ต้องตรวจซ้ำ และจะนำไปใช้ได้กับสนามบินที่ ทอท.เป็น Sister Airport ทั่วโลกด้วยอีก 15 สนามบิน
พร้อมทั้งเตรียมเจรจากับกลุ่มประเทศ CLMV กัมพูชา-สปป.ลาว-เมียนมาร์-เวียดนาม ให้เข้ามาเป็นลูกค้าเพื่อใช้บริการขนส่งสินค้าผ่านทางสุวรรณภูมิซึ่งมีความพร้อมเป็นคาร์โก้ฮับแบบครบวงจร
ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่รองรับการสร้างคาร์โก้ ฮับ กำลังเดินหน้า 3 เรื่อง คือ 1.เตรียมเปิดที่ดินแปลง 37 ของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในใกล้สุวรรณภูมิขนาดกว่า 700 ไร่ กับที่ดินของ ทอท.อีกแปลงขนาด 700 ไร่ เพื่อให้เอกชนที่สนใจเสนอแผนการลงทุนสร้างคลังรองรับการพักสินค้าและจัดทำระบบอีคอมเมอร์ซอย่างเป็นระบบ 2.ระหว่างนี้ ทอท.กำลังเร่งจัดทำแผนแม่บทคาร์โก้ฮับสุวรรณภูมิควบคู่กันไปด้วย เป็นโครงการที่ใช้วิธีร่วมทุน โดย ทอท.จะแปลงทรัพย์สินเป็นทุน แล้วให้เอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านคาร์โก้เข้ามาลงเงิน อาจจะใช้เงินเพียงแค่ประมาณ 1,500 ล้านบาทเท่านั้น
ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวจะสรุปได้หลังเสร็จสิ้นการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม AOT Sister Airport CEO Forum ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอนด์ แบงคอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซนทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 3.วิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศที่จะเกิดขึ้นอีก 3-5 ปีข้างหน้า เมื่อยกระดับสุวรรณภูมิเป็นฮับอย่างสมบูรณ์แล้ว จะช่วยเพิ่มสินค้าการเกษตรของไทยและเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นได้ปีละ 2 หลัก ต่อเนื่องทุกปี
โปรเจ็กต์ที่ 2 ทอท.จะต้องจัดทำ Digital transformation ตามนโยบายรัฐบาลเร่งให้ทุกรัฐวิสาหกิจนำดิจิตอลเข้ามาพัฒนาขีดความสามารถ ทอท.ก็ต้องก้าวสู่ AOT 4.0 ตอนนี้ทยอยทำดิจิตอลแพลทฟอร์ม เพื่อลดความแออัดของสนามบินด้วยบริการสมัยใหม่ด้วยการใช้ดิจิตอลทำแบบจำลอง “โลกเสมือนจริง” สร้าง application ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวม Big Data แล้วบริหารจัดการบริการตั้งแต่หน้าอาคารสนามบิน ลานจอดรถ เข้าสู่ตัวอาคาร เคาน์เตอร์เช็คอิน เคาน์เตอร์ตรวจคนเข้าเมือง เลาจน์สายการบิน ร้านค้า ร้านอาหาร สายพานลำเลียงกระเป๋า CTX สิ่งอำนวยความสะดวกแต่ละประเภท ทั้งการผ่านเข้าและออกของผู้โดยสาร
เพราะขณะนี้สนามบินของ ทอท.ทั้งสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ มีผู้โดยสารใช้บริการเกินขีดความสามารถในการรองรับแต่ละปีไปมากแล้ว คงจะไม่สามารถรอการขยายเฟส 2 หรือสนามบินแห่งที่ 2 แล้วเสร็จได้ ภายใน 1-2 ปีหน้า ต้องนำดิจิตอลแพลทฟอร์ม แอพลิเคชั่น มาจัดการ Big Data เพื่อลดความแออัดของผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการบริหารให้เกิดความรื่นไหลในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนแทน
นอกจากการนำดิจิตอล แพลทฟอร์มเข้ามาใช้งานเต็มรูปแบบภายในปี 2562 แล้ว ยังต้องเตรียมช่องทางการนำที่ดินติดสนามบินสุวรรณภูมิมาเปิดประมูลพัฒนาเป็น “ตลาดหรือแหล่งแวะพัก” ให้ผู้โดยสารมีพื้นที่ชมตลาดหรือนั่งพักผ่อนนอกตัวอาคารสนามบิน โดยไม่ต้องรีบมารวมกันอยู่ในสนามบินก่อนเวลาขึ้นเครื่องล่วงหน้า 2-3 ชั่วโมง เหมือนปัจจุบัน แนวทางนี้จะเป็นช่องทางในการลดความแออัดในอาคารผู้โดยสารลงได้ ก่อนการเปิดใช้สุวรรณภูมิเฟส 2 และ 3 จะสำเร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น